เมื่อต้นปี 2018 สหรัฐฯ ได้ทำการ ‘ปลดล็อก’ ให้ชาวสหรัฐฯ ในบางรัฐสามารถบริโภค 'กัญชา' เพื่อผ่อนคลายส่วนบุคคลได้ หลังจากที่อนุญาตให้ใช้ด้านการแพทย์ตั้งแต่ปี 2017 ส่งผลกระเพื่อมมาถึงประเทศไทยซึ่งกำลังอยู่ในขั้นพิจารณามุมมองต่อพืชชนิดนี้อีกครั้ง แต่ก็โลกก็ไม่ได้หยุดนิ่งรอให้เราคิด เพราะปัจจุบันเกิด Tech Startup พัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับกัญชาโดยเฉพาะในกลุ่ม Healthtech และ Agritech ซึ่งรับทรัพย์จากการระดมทุนไปมากมาย เราจึงขอพาไปรู้จักกับ Startup กลุ่มดังกล่าวให้ทุกท่านได้รู้จักกัน
หลังจากที่หลายประเทศอนุญาตให้ปลูกและจำหน่ายกัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์ในปี 2017 ยอดการลงทุนใน Startup ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกัญชาในปี 2017 ขึ้นถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2016 ทั้งส่วนของจำนวน Deal และจำนวนเงินลงทุนซึ่งมีมูลค่าถึง 593 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย Startup ที่เปิดตัวและรับการระดมทุนนั้นดำเนินกิจการในอุตสาหกรรมกัญชาอย่างหลากหลายทั้ง Health Care, Agriculture, Retail Operation, Digital Content และ Data&Insight ซึ่งตอบโจทย์ผู้ใช้เพื่อการรักษาอย่างครบวงจร แต่ในบทความนี้ เราจะจับเพียงส่วนของ Healthcare และ Agriculture เท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนที่มีความชัดเจนว่าสามารถทำได้ในหลายประเทศ ทั้งยังมียอดการลงทุนสูงที่สุดด้วย
สำหรับ Startup ด้าน Healthtech และ Agritech ในอุตสาหกรรมกัญชาที่โดดเด่นมีดังนี้
เริ่มกันที่ Tilrey บริษัท Startup ด้าน Healthtech จากประเทศแคนาดา สร้างผลิตภัณฑ์จากกัญชาสำหรับการแพทย์ทั้งแบบดอกจนถึงน้ำมันหอมระเหยและแคปซูล ด้วยความเชี่ยวชาญและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์จึงได้รับการ Funding ไปแล้วกว่า 47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนคือสภาการวิจัยแห่งชาติแคนาดา ทั้งยังมีแผนร่วมมือกับบริษัทยาในเครือ Novatis สร้างผลิตภัณฑ์ยาที่ผลิตจากกัญชาโดยเฉพาะด้วย
อีกหนึ่งบริษัทที่สร้างนวัตกรรมด้าน Healthtech เกี่ยวกับกัญชาอย่างจริงจัง Startup จากสหรัฐฯ รายนี้เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยสารสกัด Cannabinoid บนพื้นฐานการวิจัยและเทคโนโลยีหลากหลาย รองรับการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์มากมาย โดยปัจจุบัน TEEWINOT ได้รับ Funding เป็นมูลค่า 19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับ Healthtech ของกัญชาไม่ได้มีแค่การพัฒนาสาขา Biotech เท่านั้น แต่ยังมี Telemedicine Platform สำหรับผู้ป่วยที่สนใจใช้กัญชารักษาเกิดขึ้นด้วย โดย HelloMD เป็นบริการให้คำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญบนเว็บและแอพพลิเคชั่น ให้คำแนะนำการใช้กัญชารูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับการรักษาของคนไข้แต่ละราย และยังมีสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยกัญชาจำหน่ายด้วย ซึ่ง HelloMD ได้รับเงินระดมทุนเป็นมูลค่า 7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แล้ว
เมื่อการใช้กัญชาทางการแพทย์เป็นที่ยอมรับมากขึ้น ทำให้เกิดการผลิตที่เน้นคุณภาพสูงเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ทางการแพทย์ยิ่งขึ้น PharmaCielo คือ Startup ที่พัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าวโดยเฉพาะ ความพิเศษของ Startup จากแคนาดารายนี้อยู่ที่นวัตกรรมควบคุมผลการเพาะปลูกและกระบวนการสกัดน้ำมันสำหรับทำตัวยาที่ได้ปริมาณและคุณภาพมากกว่าทั่วไป อีกทั้งยังเลือกปลูกที่ประเทศโคลัมเบียที่มีสภาพภูมิอากาศเหมาะสมต่อการปลูกพืชชนิดนี้ โดย Agritech Startup รายนี้ได้รับ Funding ไปแล้วเป็นมูลค่าถึง 12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
Startup จากประเทศสหรัฐฯ ที่พัฒนานวัตกรรมสำหรับควบคุมสภาพแวดล้อมพืชโดยเฉพาะกัญชาแบบครบวงจร ทั้งระบบแสง น้ำ ลม และอุณหภูมิซึ่งปรับเปลี่ยนตามสภาพของพืชโดยอัตโนมัติ ไม่เพียงเท่านี้ อุปกรณ์ทั้งหมดยังเป็น Internet of Things เชื่อมต่อเป็นเครือข่ายซึ่งผู้พัฒนาสามารถรับข้อมูลของผู้ใช้แต่ละรายมาปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบอย่างต่อเนื่องด้วย ระบบของ urban-gro เป็นที่นิยมของเซเลบในสหรัฐฯ เนื่องจากสามารถปรับสภาพให้ปลูกพืชได้ทุกที่ ซึ่งตอนนี้ urban-gro ได้รับเงินระดมทุนเป็นมูลค่าราว 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ปฏิเสธไม่ได้ว่า Startup เหล่านี้ได้รับการระดมทุนมหาศาลอย่างที่เห็นเป็นผลมาจากการอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ ซึ่งการพัฒนาสินค้าเพื่อการแพทย์ไม่เพียงแต่มีผลต่อการเป็นทางเลือกในการรักษาเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับของกระบวนการผลิตและคุณภาพของสินค้าในภาพรวมอันเนื่องมาจากมาตรฐานของการแพทย์ที่คำนึงถึงชีวิตเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะอนุญาตให้ใช้นอกเหนือจากนี้ต่อไป ประเทศไทยเองก็เริ่มมีการขยับโดยเริ่มพิจารณาเพื่อใช้ในด้านการแพทย์ก่อนแล้ว ซึ่งหากมีการอนุญาตเพื่อการแพทย์ก็น่าจะมีบุกเบิก Startup ที่เกี่ยวข้องกับพืชชนิดนี้แบบในต่างประเทศเช่นกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก CB Insights
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด