ช่วงนี้มีหลายๆ คนออกมาว่า ทำไมค่าไฟแพงจัง ขึ้นมาตั้ง 2–3 เท่า หรือบางคนมากกว่านั้นไปเยอะ ไหนการไฟฟ้าบอกว่าจะลดค่าไฟให้ไง?? คงมีคำถามค้างคาใจของใครหลายๆ เยอะแยะมากมาย รวมทั้งตัวผมเองซึ่งเป็นวิศวกรไฟฟ้าด้วย ตัวอย่างคำถามก็เช่น
คำถามต่างๆ เหล่านี้ต่างติดอกติดใจ ของใครหลายๆ คน อุตส่าห์พักอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ทำไมยังมาซ้ำเติมด้วยค่าไฟ ค่าน้ำ แพงๆกับเราอีก บางคนถึงขนาดเดินออกไปหน้าบ้านนั่งมองดูมิเตอร์จานหมุน ที่มันหมุนไป มองแล้วมองเล่า หมุนติ้วๆ มันก็หมุนเหมือนเดิม กำ!! แล้วค่าไฟมันขึ้นมาจากไหนฟระ เชคระบบไฟฟ้าด้วยสายตา หรือเรียกช่างมาก็แล้วอุปกรณ์ทุกอย่างทำงานเหมือนเดิม ไม่มีอะไรผิดปรกตินี่นา แต่พอได้บิลค่าไฟมาแทบลมจับ!!!
มิเตอร์จานหมุนหน้าบ้านเรา ของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ตามพื้นที่ให้บริการ) บ้านที่เล็กหน่อยใช้ไฟ 1 เฟส มีสายไฟ 2 เส้นเข้าไปที่บ้าน บ้านหลังใหญ่หน่อยใช้ไฟ 3 เฟส มี 4 เส้นเข้าไปที่บ้าน
ก่อนอื่นเรามาลองดูปัญหาที่เกิดขึ้นกันก่อนครับ ข้างล่างนี้คือค่าไฟที่คอนโดผม ก่อนที่จะบ่นว่าแพงจะขอเล่าพฤติกรรมและลักษณะของคอนโดก่อนนะครับ
จากค่าไฟฟ้าที่น่าตกใจ แต่ก่อนตะหนก ต้อง ตระหนักก่อน มา มาดูกันว่าใบเสร็จมีอะไรบ้าง (ถอนหายใจแพรพ) ก่อนอื่นไปส่องประกาศอัตราค่าไฟฟ้าก่อน
ประกาศอัตราค่าไฟฟ้า ประเภทบ้านอยู่อาศัย ของการไฟฟ้านครหลวงสามารถดูได้ที่นี่
https://www.mea.or.th/profile/109/111
ประกาศอัตราค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสามารถดูได้ที่นี่
https://www.pea.co.th/Portals/0/demand_response/Electricity Reconsider.pdf?ver=2018-10-01-155123-370
แต่ถ้าจะให้สรุปคร่าวๆ ค่าไฟของการไฟฟ้าตามหน่วยการใช้งาน คิดราคาตามขั้นบันไดใช้เยอะใช้น้อย เป็นประมาณนี้ครับ
ซึ่งการนำหน่วยมาคูณราคานี้จะเรียกว่า 1. ค่าพลังงานไฟฟ้า ยังไม่รวม 2. ค่าบริการ 3. ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) 4. ส่วนลดค่าไฟ และ 5. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% (นำ 1 2 3 4 แล้วคูณ 0.07 จะได้ภาษีที่ต้องจ่าย)
ค่าไฟที่ต้องจ่ายการไฟฟ้าคือ 1 2 3 4 5 นะครับ
* แต่สำหรับบ้านหลังใหญ่หน่อยที่รับไฟ 3 เฟสจากการไฟฟ้า และติดตั้งมิเตอร์แบบ TOU (time of use) การคิดค่าไฟต่อหน่วยจะแตกต่างกันตาม ช่วงเวลาของวัน
ตัวอย่างใบเสร็จค่าไฟที่มาบ้านเราในแต่ละเดือนครับ (เปิดดูใน mobile app ก็ได้นะ ของ กฟน. (กทม, นนทบุรี, สมุทรปราการ) ก็ MEA Smart Life ของ กฟภ. (จังหวัดอื่นๆ) ก็ PEA Smart Plus ครับ
เข้าใจละว่าในใบเสร็จมันมีอะไรบ้างเค้าคิดค่าอะไรเราบ้าง แต่เฮ้อก็ค่าไฟมันแพงอะ ไม่เข้าใจทำไมมันเยอะ เราก็ยังต้องจ่ายอยู่ดี - -”
บ่นมาเยอะ 55 มาดูกันว่าจะมีวิธีอื่นที่ดีกว่าไหมในการที่จะรู้ให้ได้ว่าทำไม
ก่อนอื่นไปดูคลิปที่ผมใช้ IoT มิเตอร์ อธิบายและสาธิตตัวอย่างวัดการใช้ไฟฟ้าของแต่ละเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแบบ real-time ก่อนครับ เพื่อดูว่าอุปกรณ์แต่ละตัวเช่น ทีวี พัดลม เครื่องกรองอากาศ หลอดไฟ แอร์ ใช้ไฟกันเยอะมากน้อยแค่ไหน จะคำนวณการใช้ไฟของบ้านเราง่ายๆ ได้ยังไง สำหรับคนที่ไม่มีอุปกรณ์ก็สามารถคำนวนง่ายๆ บนกระดาษได้ครับ หน่วยไฟฟ้า = กำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละตัว (watt) x ชั่วโมงที่ใช้งาน (hr) / 1000 แล้วนำผลที่ได้ของทุกอุปกรณ์มารวมกันก็จะได้ประมาณการหน่วยของไฟฟ้าที่เราจะใช้ในแต่ละวันและแต่ละเดือนครับ
ทีนี้มาไล่ดูกันดีกว่าว่าตั้งแต่ปลายปีที่แล้วมาจนถึงปีนี้ค่าไฟ เป็นยังไงกันบ้าง ขอยกตัวอย่างจากคอนโดที่ผมอยู่ละกัน
จากกราฟนี้จะเห็นได้ว่าอุณหภูมิภายนอกมีผลจริงๆต่อการใช้ไฟภายในบ้านของเรา แม้เราจะเปิดแอร์ 25 องศา และมีพฤติกรรมเหมือนเดิม หรืออาจจะเปลี่ยนไปเนื่องจากช่วงนี้เราต้อง “อยู่บ้าน ลดเชื้อ เพื่อชาติ” กัน แต่เดือนนี้มันร้อนนะครับ อยู่บ้านเปิดแอร์ 25 เหมือนเดิม แต่คอมเพลสเซอร์แอร์มันทำงานหนักขึ้น เราเอาลมร้อนภายในบ้านเราไปทิ้งข้างนอกที่อากาศร้อนๆ เปิดตู้เย็นหยิบน้ำไอติม ทำกับข้าวก็บ่อยเพราะเราอยู่บ้าน ค่าไฟมันก็พุ่งขึ้นเป็นปรกติครับ
ถ้าท่านไหนพอมีงบประมาณหน่อยก็สามารถติดตั้งอุปกรณ์ IoT เช่น สมาร์ทปลั๊ค หรือสมาร์ทมิเตอร์ ภายในบ้าน คล้ายๆที่ผมสาธิตให้ดูในคลิป ตามตัวอย่างของการติดตั้งอุปกรณ์ด้านล่างนี้ครับ
จากนั้นเราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บมาจากสมาร์ทมิเตอร์ เพื่อให้เห็นหน้าตาของการใช้พลังงาน ในแต่ละช่วงเวลาของวัน ซึ่งเราก็สามารถที่จะดูได้ว่าช่วงเวลาไหนมีการใช้ไฟสูง (unit Wh มีค่าเยอะ) เพื่อทำความเข้าใจบิลค่าไฟของบ้านเราครับ
จากกราฟด้านล่าง จะเห็นได้ว่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ (1kWh = 1หน่วย) แบ่งตามช่วงเวลาของวันได้ดังนี้
1. ช่วงเช้า เที่ยงคืน ถึง 6.30 น. ในทุกๆวันไม่ว่าจะเป็น weekend (สีเทา) หรือ weekday (สีส้ม) ก็จะเหมือนกัน2.ช่วงระหว่างวัน 6.30 น. ถึง 16.30 น. ในช่วง weekend (สีเทา) จะสูงในช่วงกลางวันเนื่องจากเราอยู่บ้านนั่นเอง ปรกติช่วงนี้มันร้อนเราก็จะเปิดแอร์ เปิดไฟ นั่งดูทีวี ทำอาหาร(บางบ้านใช้เตาไฟฟ้า) เลยทำให้การใช้ไฟในช่วงกลางวันมันพุ่งสูง แต่ช่วง weekday (สีส้ม) มันจะต่ำเนื่องจากเราออกไปทำงานข้างนอกบ้าน
3. ช่วงเย็นถึงกลางคืน หลัง 16.30 น. หลายท่านคงเลิกงานกลับมาถึงบ้านแล้วเราก็เปิดทีวีดู ทำกับข้าวพฤติกรรมคล้ายๆเดิม จึงทำให้การใช้ไฟของเราคล้ายกัน เมื่อเทียบระหว่าง weekday และ weekend
ถึงตรงนี้หลายๆท่านก็อาจจะพอเดาได้แล้วว่าเกิดอะไรขึ้นระหว่างที่เรา work from home อากาศร้อนๆ ของในตู้เย็นก็เร้าใจให้เปิดบ่อยๆซะเหลือเกิน ทั้งไอติม ทั้งอาหารที่เราสั่งให้ food rider มาส่งให้ บางทีไม่อยากสั่งบ่อยก็สั่งมาทีเยอะๆ แล้วเอาของร้อนๆแช่ไปในตู้เย็นซะเลยกลัวมันจะเสีย !!
credit Kittin Doungnate, Towards Promoting Energy Efficiency at the Asian Institute of Technology, Jan 2020
เหมือนที่กล่าวไปข้างต้น ช่วงนี้เรา work from home กันนี่นา นั่นหมายความว่า การใช้ไฟของบ้านเรามันจะเป็นสีเทาทุกวัน!!! oh my gosh นี่ไงสาเหตุแห่งทุกข์ของเรา และช่วงนี้ยิ่งร้อนด้วยอุณหภูมิภายนอกเฉลี่ยตลอดวันของช่วงเมษา จะเกิน 30 องศา ทุกวันตั้งแต่ต้นเดือนมาแล้วซึ่งสูงกว่าอุณภูมิเฉลี่ยของช่วง พ.ย และ ธ.ค. ปีที่แล้ว รวมถึง ม.ค จนถึง มีนา ของปีนี้ด้วย นั่นไงเป็นสามาเหตุให้กราฟสีเทา มันยิ่งพุ่งสูงขึ้นอีกในเดือนเมษานี้ ทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ซิ่งกินไฟเยอะต้องทำงานหนักขึ้น หมายถึงนานขึ้นถ้าเราตั้งอุณหภูมิที่ 25 องศา ก็จะต้องนำเอาความร้อน 5–10 องศาที่แผ่มาจากข้างนอก ออกไปทิ้งให้เรา ถ้าคิดง่ายก็เหมือนบ้านเรามีขยะมากขึ้น แต่คนขนไปทิ้งมีคนเดียว เวลาที่จะแบกออกไปทิ้งก็จะใช้เวลานานขึ้น เพราะขยะเรากองเป็นภูเขาเลย แทนที่จะเป็นแค่อยู่ในถังเล็กๆเหมือนตอนเดือน พฤษจิกา ธันวา หรือมกรา ที่ผ่านมานะครับ
อีกอย่างจากกราฟด้านล่างถ้าเราติดตั้งสมาร์ทปลั๊ค เราก็จะสามารถแยกการใช้ไฟฟ้า และค่าไฟ รายอุปกรณ์ได้ด้วย ทีนี้เราจะได้รู้กันชัดๆ ไปเลย ว่าอุปกรณ์ตัวไหนใช้ไฟมากน้อยแค่ไหน ค่าไฟ 3–4 พันหรือมากกว่านั้นต่อเดือนที่มันพุ่งมามันมาจากอุปกรณณ์ตัวไหน ตามตัวอย่างข้างล่างจะเห็นว่า อุปกรณ์ที่ใช้ไฟเยอะๆ ก็คือ 1. แอร์ 2. เครื่องทำน้ำร้อน 3. เตารีด 4. เครื่องซักผ้า 5. ตู้เย็น หากบ้านไหนมีเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะๆก็สามารถที่จะไล่ดูอุปกรณ์พวกนี้ก่อนว่าทำงานผิดปรกติรึปล่าว การกินไฟผิดปรกติรึปล่าว หรือแอร์ไม่ค่อยได้ล้าง filter ทำความสะอาด ใส่ของร้อนๆในตู้เย็น หรือเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้แล้วชอบลืมปิดรึปล่าว
credit Kittin Doungnate, Towards Promoting Energy Efficiency at the Asian Institute of Technology, Jan 2020
เริ่มพอเห็นภาพกันแล้วใช่ปะครับ แต่ก็อยากรู้ชัดๆว่าอุณหภูมิภายนอกส่งผลต่อการใช้พลังงาน แค่ไหน ทีนี้มาดูตัวอย่างอื่นๆที่ไม่ใช่บ้านดูบ้าง ถ้าเป็น office ร้านกาแฟ co-working space และพื้นที่อื่นๆจะเป็นยังไงบ้าง ในที่นี้ขอยกตัวอย่างของ Naplab Co-Working Space สาขาจุฬาฯ (ที่ทาง AltoTech ของเราเข้าไปพัฒนาระบบ AI และ IoT ตั้งแต่ช่วงต้นปี 63 สำหรับการจัดการพลังงานและลดค่าไฟฟ้าลงที่เป้าหมาย 30% ลงกันครับ)
ติดตั้งอุปกรณ์ IoT เข้าไปจะได้เห็นชัดๆ ว่าการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นอย่างไรบ้าง และติดตั้งระบบควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วย AIoT ของ AltoTech
จากกราฟด้านล่างนี้เราจะเห็นได้ชัดๆ เลยว่า เออจริงด้วย กำลังไฟฟ้าที่ใช้มันแปรผันตามอุณหภูมิภายนอก เนื่องจากคอมเพลสเซอร์แอร์ต้องทำงานหนักขึ้น ในการนำความร้อนภายในห้อง ออกไปทิ้งข้างนอก ซึ่งถ้าอากาศข้างนอกเย็น เช่นซัก 23 องศา เราตั้งแอร์ไว้ที่ 25 องศา คอมเพรสเซอร์ทำงานน้อยลง กำลังไฟฟ้าที่ใช้ก็น้อยลง หากอุณภูมิสูงขึ้นเป็น 34 องศา คอมเพรสเซอร์แอร์ ก็ต้องงานหนักขึ้นในการที่จะลดอุณหภูมิลงถึง 9 องศา เห็นได้ชัดเจนมากๆจากกราฟข้างล่างครับ (ในที่นี้เป็นตัวอย่างจากชั้น 4 ของ Naplab Co-Working Space)
กำลังไฟฟ้าที่ใช้ (kW) เทียบกับอุณหภูมิภายนอก (outdoor temperature °C) มันขึ้นตามอุณหภูมิภายนอกจริงๆด้วย ดังนั้นเดือนเมษามันร้อนกว่าเดือนอื่นๆ ตามภาพด้านล่างก็ไม่แปลกครับที่ค่าไฟจากแอร์ซึ่งเป็นค่าไฟส่วนใหญ่จะส่งผลให้บิลค่าไฟจากการไฟฟ้าพุ่งกระฉูดขึ้น
เปรียบเทียบอุณหภูมิภายนอกในแต่ละเดือน ชัดเจนเมษาร้อนกว่าเพื่อน ค่าไฟกระฉูดเลย บ้านผม 73% แล้วบ้านเพื่อนๆหละ เป็นยังไงกันบ้างครับ
การใช้ไฟฟ้าในแต่ละวันก็จะสามารถดูได้ตามกราฟนี้ครับ
แต่เอ เราเปิดแอร์ไว้ครบทุกตัวแต่ลูกค้าก็ไม่ได้มีอยู่ตลอดทุกช่วงเวลานี่นา แล้วเราเปิดแอร์ทั้งหมดให้ใครหว่า ดังนั้นระบบการจัดการการใช้พลังงานให้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพตามพฤติกรรมของแต่ละพื้นที่จึงจำเป็นอย่างมากครับ ไม่งั้นเราเปิดแอร์ไว้ก็จ่ายค่าไฟฟรี และค่าไฟก็วิ่งตามอุณหภูมิภายนอกซะด้วยสิ
ทาง AltoTech เลยเข้าไปช่วย Naplab ซึ่งเป็น Co-Working Space ที่เปิด 24 ชั่วโมง ในการบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ด้วย AI และ IoT ครับ (www.altotech.net)
ตอนนี้เราก็อาจจะคิดว่าเออก็จริงนะ เราใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านเหมือนเดิม แต่ช่วงนี้ Work From Home แอร์ก็ใช้ช่วงกลางวัน ตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 25 องศา ก็เย็นเหมือนเดิม แต่จริงๆ แล้วมันต้อง 25 องศารึปล่าว ปัจจัยอะไรที่จะบอกว่าเราจะเย็นสบายหรือจะร้อนเกินไปกันแน่นะ ตั้งอุณหภูมิเบอร์อื่นเราจะเย็นสบายได้เหมือนเดิมรึปล่าว ?
ถ้าตามทฏษฏีแล้ว เราสามารถอธิบายได้ด้วย human comfort model ตาม ASHRAE Standard 55–2017 ดังนี้ครับ
ดังนั้นหากเราเก็บข้อมูลความชื้นและอุณหภูมิไว้ตลอดแล้วนำมาพลอตร่วมกัน เราอาจจะเห็นได้ว่าเออ ส่วนใหญ่เราเปิดแอร์เย็นไปนี่นา เราน่าจะสามารถเพิ่มอุณหภูมิแอร์ เปิดพัดลมร่วม ลดความชื้นภายในห้องต่างๆของบ้านเราให้เราประหยัดไฟเพิ่มได้ ว้าวๆๆๆ!!!
หากเราต้องการที่จะรู้ว่า comfort zone ของบ้านเราอยู่ใน zone ไหน มันเย็นไป หนาวไป หรือว่าจะเพิ่มการตั้งค่าอุณหภูมิของแอร์ได้อีกนิด ลดความชื้นภายในบ้านด้วย dehumidifier อีกหน่อย หรือเปิดพัดลมเข้าช่วย ถ้าท่านไหนพอมีกำลังซื้อก็อาจจะหาเซนเซอร์ที่สามารถวัดอุณหภูมิภายในห้อง วัดความชื้น ความเร็วลม และอาจรวมไปถึงความเข้มข้นของ carbon dioxide ภายในบ้าน แล้วนำไปป้อนข้อมูลลงใน CBE Thermal Comfort Tool ของ UC Berkeley ได้ เพื่อที่จะรู้ได้เราสามารถที่จะลดค่าไฟลงได้อีกรึปล่าว จาก comfort zone ของเราครับ (หรือสามารถใช้นาฬิกาหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่มีราคาถูกลงมาในการอ่านค่าอุณหภูมิและความชื้นภายในบ้านได้ครับ)
ok เข้าใจแล้วหละว่ามันเกิดอะไรขึ้น ทีนี้วิธีการแก้ปัญหาหล่ะ จะทำยังไงได้บ้างเพื่อลดค่าไฟ
4. ติดตั้ง AIoT (AI และ IoT) มิเตอร์ ที่จะวัดกำลังไฟฟ้าที่ใช้ของบ้านแบบ real-time และสามารถแยกแยะการใช้ไฟฟ้าของแต่ละอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านได้ ด้วย Non-Intrusive Load Monitoring Algorithm (NILM) จะได้รู้ชัดๆกันไปเลยเครื่องใช้ไฟฟ้าไหนกินไฟเยอะกินไฟน้อย
หวังว่าคำแนะนำต่างๆ เหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านนะครับ ใครมีวิธีดีๆ มาเล่าสู่กันฟังได้ครับ
แต่ช้าก่อนการใช้ไฟเราในช่วงหน้าร้อนนี้มันพุ่งขึ้นไปก็จริง แต่ทางกระทรวงพลังงาน ได้หารือกับการไฟฟ้าฯ และกำลังจะรอมติจากครม. ในวันนี้เพื่อจะช่วยลดค่าไฟ ระหว่างเดือนมี.ค. — พ.ค. 63 (3 เดือน)ให้พวกเราแล้ว เข้าใจว่าหลายๆ ท่านคงได้ยินผ่านข่าวมาแล้ว แต่ผมขอสรุปให้เป็นสูตรการคำนวณอีกรอบตามมาตรการดังนี้ครับ
กลุ่มที่ 1: บ้านที่ใช้ไฟฟ้าน้อย (มิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์): ใช้ไฟฟรี ไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน
บ้านส่วนใหญ่ที่ใช้มิเตอร์ขนาด 5 แอมป์คือบ้านขนาดเล็ก มีอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่เยอะมากเช่นทีวี หลอดไฟไม่กี่หลอด หม้อหุงข้าว พัดลม แต่ไม่มีแอร์ ไม่มีเครื่องซักผ้า
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบ้านเราใช้ไฟไป 100 หน่วย ในเดือนเมษายนนี้
ค่าไฟใช้ฟรี = 100 หน่วย (kWh)
(ยังไม่รวม 1.ค่าบริการ 8.19 บาท , 2.ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ซึ่งเป็นค่าปรับปรุงต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าบวกบ้างลบบ้าง แล้วแต่ราคาเชื้อเพลิง เช่นเดือนเมษานี้ ค่า Ft -0.1160 บาท/หน่วย, 3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม อีก 7%)
สรุปเป็นตารางง่ายๆได้ดังนี้ครับ
กลุ่มที่ 2: สำหรับกลุ่มใช้ไฟฟ้า 150 หน่วยถึง 800 หน่วย (มิเตอร์ขนาด 15 แอมป์ขึ้นไป): ถ้าใช้ไม่เกิน 800 หน่วยค่าไฟเท่ากับเดือน ก.พ. 63
ลองคิดตามตัวอย่างนี้นะครับ
กลุ่มที่ 3: สำหรับกลุ่มใช้ไฟฟ้า 801– 3000 หน่วย (มิเตอร์ขนาด 15 แอมป์ขึ้นไป): ส่วนเกินจากบิลเดือน ก.พ. 63 ลดให้ 50%
กลุ่มที่ 4: สำหรับกลุ่มใช้ไฟฟ้า 3001 หน่วยขึ้นไป (มิเตอร์ขนาด 15 แอมป์ขึ้นไป): ส่วนเกินจากบิลเดือน ก.พ. 63 ลดให้ 30%
อ้างอิงประกาศอัตราค่าไฟประเภทบ้านอยู่อาศัย https://www.pea.co.th/Portals/0/demand_response/Rate2015Update.pdf?ver=2018-10-02-111212-590
สุดท้ายหวังว่าผู้อ่านจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุของค่าไฟทำไมมันแพงขึ้น และวิธีการประหยัดค่าไฟที่น่าจะเป็นประโยชน์กับแต่ละบ้านนะครับ วันนี้เรารอลุ้นมติ ครม. ว่าจะอนุมัติมาช่วยเราลดค่าไฟจริงๆรึปล่าวกันครับ 😄
บทความโดย
ดร. วโรดม คำแผ่นชัย
Warodom Khamphanchai, Ph.D.
CEO and Co-Founder
AltoTech, Co. Ltd.
(Ex-IoT Software Development Engineer,
Samsung SmartThing in Silicon Valley)
Email: [email protected]
Website: www.altotech.net
Linkedin: www.linkedin.com/in/kwarodom
Medium: https://medium.com/altotech
ทีมงานบริษัท AltoTech รับรางวัลชนะเลิศจากโครงการ The Energist#2 จากสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ) กระทรวงพลังงาน
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด