ย้อนรอยธุรกิจยักษ์ใหญ่จีนกับการขยายสู่ตลาด SEA ใครซื้อใคร ใครลงทุนในใคร

ย้อนรอยธุรกิจยักษ์ใหญ่จีนกับการขยายสู่ตลาด SEA ใครซื้อใคร ใครลงทุนในใคร

คงไม่มีช่วงเวลาไหนที่บริษัทจีนจะถาโถมกันเข้ามาครอบครองกิจการต่างๆ ทั่วโลกมากที่สุดและเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเวลานี้อีกแล้ว และแน่นอนในภูมิภาคใกล้ๆ อย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เช่นกัน เป็นแหล่งที่จีนเข้ามาเจาะตลาดไปเป็นที่เรียบร้อย

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสาย Ecommerece, FinTech, Logistic, Content, Transportation, Retail แทบจะเรียกว่าครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ในบทความนี้เราจะไปย้อนรอยดูว่าบริษัทสายเทคโนโลยียักษ์ใหญ่รายไหนของจีนบ้างที่ก้าวขามาเหยียบพื้นที่เราแล้ว

Alibaba

เมื่อพูดถึงยักษ์ใหญ่จากจีน และชื่อที่คุ้นหูบ้านเรามากที่สุดคงหนีไม่พ้น Alibaba พร้อมกับภาพลักษณ์ผู้บริหารที่ทุกคนติดตาอย่างแจ็ค หม่า (Jack Ma) ไม่ว่าจะเป็นความพยายามกระชับความสัมพันธ์กับภาครัฐฯ ในแต่ละประเทศต่างๆ อาทิ ไทย มีการลงนาม MOU พร้อมลงทุนใน EEC 11,000 ล้านบาท การเปิดสำนักงานในมาเลเซียเพื่อจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า

ในแง่ของบริษัทที่ Alibaba รุกเข้ามาทั้งซื้อและลงทุนในภูมิภาคนี้ อาทิเช่น

Lazada - ถือเป็นดีลที่สะเทือนวงการที่สุด ดีลหนึ่งในช่วงหลายปี ทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่าสไตร์ทำธุรกิจของ Rocket Internet นั้น เน้นปั้มธุรกิจให้โตไวๆ พยายามครอบคลุมหลายประเทศและรอ exit ซึ่งแน่นอนผู้ที่เล็งไว้ ก็คือรายที่ต้องการเข้ามาครอบครองตลาดนี้ ใครหล่ะที่ต้องการครอบครองตลาดให้เร็วที่สุด โดยการเข้าซื้อกิจการ ถ้าไม่ใช่จากค่ายตะวันตก ก็ต้องจากจีน และสุดท้าย Lazada ก็ตกเป็นของ Alibaba ไปโดยปริยาย

โดยตัว Lazada ก็ไปซื้อกิจการอย่าง Redmart ธุรกิจ online grocery shopping and delivery ในสิงคโปร์ เรียกว่าอาณาจักรแผ่ขยายทุกส่วน

Tokopedia - marketplace ยักษ์ใหญ่ของอินโดนีเซีย ซึ่งก่อนหน้านั้นมีข่าวลือว่า JD จะเข้ามาซื้อกิจการ แต่ไปไปมากลับเป็น Alibaba แทนที่เข้ามาลงทุนในระดับ Series F Tokopedia ก่อตั้งขึ้นในปี 2009 โดยเป็นเว็บ e-commerce ที่ให้ผู้ค้าปลีกและแบรนด์ใหญ่ขายสินค้าแก่ผู้บริโภคในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนหน้านี้ในปี 2014 บริษัทได้ระดมทุน 100 ล้านดอลลาร์จาก SoftBank และ Sequoia อีกทั้งมี East Ventures, CyberAgent และ Beenos Partners เป็นผู้สนับสนุนในช่วงต้น ซึ่งปัจจุบัน Tokopedia เป็นหนึ่งในธุรกิจสายไอทีที่เป็น Unicorn ของอินโดนีเซีย มีร้านค้ามากมายอยู่บนแพลตฟอร์ม

Ascend Money - บริษัทในเครือของยักษ์ใหญ่ CP ของไทย ก็ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท Ant Financial บริษัทลูก Alibaba ที่ดูด้าน FinTech โดย Ascend Money คือบริษัทที่ดู E-wallet อย่าง True Money นั่นเอง ถือเป็นการเข้ามาในธุรกิจของตลาดไทยอย่างรวดเร็วที่สุด เพราะจับมือกับ CP ซึ่งมีธุรกิจแทบทุกอย่างในตลาดบ้านเรานั่นคือ Retail, Telecom, FinTech และอื่นๆ อีกมากมาย ถือเป็นข่าวใหญ่ของบ้านเราในช่วงเวลานั้น เพราะใครหลายคนก็กังวลเรื่องการผูกขาดที่จะตามมาอีกมากมาย

Mynt - Mynt คือบริษัทลูกด้าน FinTech ในเครือ Globe Telecom ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ฟิลิปปินส์ โดยใช้ Ant Financial ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ดูด้าน FinTech มาลงทุนในบริษัทนี้ ถ้าดูดีๆ แทบไม่ต่างกับกลยุทธ์ที่ลงทุนในไทย Globe Telecom ยังมีผู้ถือหุ้นที่น่าสนใจอย่าง SingTel ถืออยู่ที่ (21.51%)  Ayala Corporation หนึ่งใน conglomerates ใหญ่สุดของประเทศ ถือหุ้นอยู่ที่ (13.85%) และหุ้นใหญ่คือ บริษัท Asiacom (54.43%) แทบจะเรียกว่ากลยุทธ์คล้ายและใกล้เคียงกับที่ลงทุนในไทยพอควร

HelloPay - เป็นแพลตฟอร์มด้าน payment ที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศสิงคโปร์ โดยรายนี้ Ant Financial ไม่ใช่แค่ลงทุนแต่เป็นการเข้าซื้อกิจการกันเลยทีเดียว และเปลี่ยนแบรนด์เป็น Alipay Singapore เพื่อกลายเป็นแพลตฟอร์มด้าน payment ของ Lazada

CompareAsiaGroup - ธุรกิจด้านการเปรียบเทียบราคาไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ที่เปิดให้บริการหลายประเทศ ทั้งฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และไทยในชื่อ MoneyGuru.co.th เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ Alibaba มาลงทุนโดยเป็นการลงทุนผ่าน Alibaba Fund

Getlinks - Startup ของไทยเรานี่เอง ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก Alibaba Fund เช่นกัน โดยธุรกิจนี้อาจจะแตกต่างกับธุรกิจข้างต้นที่เน้นด้านอีคอมเมิร์ซ และ FinTech แต่เป็นแพลตฟอร์มด้านการจัดหางานนั่นเอง

Tencent

เจ้าของแพลตฟอร์มที่ทรงอำนาจที่สุดแพลตฟอร์มหนึ่งของโลก นั่นคือ WeChat ที่มีชาวจีนใช้กันทั่วโลก Tencent นำโดย Pony Ma ถือเป็นบุคคลผู้ร่ำรวยที่สุดของจีนจากการจัดอันดับในแง่ของมูลค่าทรัพย์สิน แต่หลายคนอาจไม่ค่อยรู้จักเขามากเท่า Jack Ma เท่านั้นเอง

Sanook - เว็บไซต์ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองไทยมาโดยตลอด ก่อตั้งโดยปรเมศวร์ มินศิริ  ซึ่งช่วงเวลาหนึ่งเคยเป็นของ MWEB มาก่อน แต่ปัจจุบัน Sanook ได้ถูกซื้อกิจการไปโดย Tencent ปัจจุบัน Tencent ประเทศไทยมีธุรกิจด้านคอนเทนต์ในรูปแบบต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย อาทิ JOOX, VOOV, Tencent Social Ads, Tencent Cloud, Tencent Games,Topspace, Noozup เป็นต้น

Gojek -เป็น Unicorn รายใหญ่ของอินโดนีเซียและคู่ปรับของ Grab โดยเริ่มต้นธุรกิจจากการให้บริการเรียกรถมอเตอร์ไซต์ และเป็นธุรกิจที่ขยับขยายต่อยอดไปธุรกิจอื่นอีกมากมาย อย่าง Gopay, GoFood, GoMart เป็นต้น และกำลังขยายธุรกิจไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน ทั้งเวียดนาม ไทย (ภายใต้ชื่อ Get) และ สิงคโปร์ โดย Gojek ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก Tencent ในระดับ Series E

SEA SEA Group เป็นบริษัทที่ออก IPO แล้วที่สหรัฐฯ ต้นกำเนิดจากสิงคโปร์ เป็นเจ้าของธุรกิจต่างๆ ที่ถ้าเอ่ยชื่อแล้ว จะร้อง อ๋อ มากขึ้น อย่างธุรกิจเกม Garena Shopee ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และ Airpay ระบบ Ewallet โดย Tencent เป็นผู้ถือหุ้นหลักของ SEA และเกมดังต่างๆ บนแพลตฟอร์ม Garena นั้นก็มาจาก Tencent นี่เอง อาทิ ROV

Ookbee -แพลตฟอร์มออนไลน์หนังสือของไทย และเป็น Startup ชื่อดังของไทย ได้มีการร่วมลงทุน Joint Venture กับทาง Tencent ด้วย ภายใต้ชื่อบริษัท Ookbee U โดยประกอบด้วยกลุ่ม Ookbee Comics, Fungjai, Storylog และ Fictionlog

อย่าพึ่งแปลกใจถ้าดูแล้วส่วนใหญ่ทำไมไม่ค่อยเห็น Tencent ลงทุนในธุรกิจ Ecommerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ส่วนใหญ่เป็นสายคอนเทนต์ เหตุผลถัดไปคือรายนี้ JD

JD 

ชื่อนี้เริ่มคุ้นหูกันในไทยสักพักแล้ว เป็นยักษ์ใหญ่ ecommerce อีกรายของจีน ซึ่งจริงๆ แล้วเบื้องหลังของ JD ก็คือมี Tencent ถือหุ้นอยู่ด้วย และตัว JD เองก็มียักษ์ใหญ่ Retail ระดับโลกถือหุ้นอีกรายอย่าง Wallmart ดังนั้นการมาของ JD ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือมีเหน็บเอา Tencent มาด้วยอยู่แล้ว และตัว JD เองก็ลงทุนใน Gojek ด้วยเช่นกัน เพื่อเสริมกันระหว่างธุรกิจกันเอง นั่นคือซื้อสินค้า และมีระบบ logistic ขนส่งของ Gojek ส่วนดีลใหญ่ของ JD นั้นเกิดขึ้นที่ไทยนั่นคือ

Central Group จับมือกับ JD ตั้ง JD CENTRAL ภายใต้ชื่อเว็บไซต์ JD.co.th และในปีหน้าเตรียมเปิดตัว Central JD FinTech อีกอัน

ไทยไม่ใช่แค่ประเทศที่ JD จับตลาดเพราะจริงๆ เขามาทีก็ต้องไปตลาดใหญ่ๆ ก่อนอย่างอินโดนีเซีย มีการเปิด Flagship Store ไร้พนักงานที่อินโดนีเซียไปแล้ว ก่อนไทยเสียด้วยนะ

Pomelo - เปิดตัวในปี 2014 เป็นแบรนด์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย มีเป้าหมายในการเป็นผู้นำด้านแฟชั่นออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการระดมทุนระดับ Series B มูลค่า 19 ล้านดอลลาร์ นำโดยยักษ์ใหญ่ด้าน E-Commerce จากจีนอย่าง JD.com  และซึ่งแน่นอนว่าจะมีกลยุทธ์ที่ไปต่อยอดร่วมกับ Central Group อีกด้วย

Didi

ชื่อนี้บ้านเราอาจไม่ค่อยคุ้นนัก แต่เค้าคือรายที่ผลักเอา Uber ออกจากตลาดจีนไปได้ เป็นธุรกิจเรียกรถ Taxi เหมือนกันนั่นเอง ถ้าไปดูให้ดีแล้วจริงๆ Didi ก็มีนักลงทุนอย่าง Tencent และ Alibaba อยู่เบื้องหลังทั้งคู่ เรียกว่าไม่ปล่อยให้หลุดมือไป การที่มี backup ใหญ่ขนาดนี้ ทั้ง Didi เองและนักลงทุนทั้ง 2 ค่ายมองไปไกลว่า ธุรกิจเรียกรถ Taxi มันไม่ใช่แค่นั้น แต่คือแค่หนึ่งบริการที่จะพาต่อยอดไปสู่สิ่งอื่นๆ แห่งอาณาจักรของทั้งคู่ สุดท้าย Uber ก็ล่าถอดจากตลาดไป

สำหรับ Didi คือผู้เล่นในตลาดจีน และก็ลงทุนในธุรกิจลักษณะเดียวกันในย่านเรา จะเป็นใครอื่นไปไม่ได้ นั่นก็คือ Grab นั่นเอง ซึ่งก็คือรายที่ผลักเอา Uber ออกจากตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยการเข้าซื้อกิจการ Uber ในภูมิภาคนี้ไป

นี่ถ้าดูกันดีๆ แล้วเรียกว่า Tencent มีทั้งแบบ Direct และ Indirect ที่ซับซ้อนใช่เล่น นั่นคือมี Gojek ในพอร์ต และมีลงทุนใน Didi และ Didi ลงทุนใน Grab ซึ่ง Gojek และ Grab เป็นคู่แข่งกันโดยตรง

Ping An

ชื่อนี้น่าจะยังไม่คุ้นหูนัก เขาคือยักษ์ใหญ่ธุรกิจประกันและมีธุรกิจดังอย่าง Lufax จากเดิมที่เป็น Peer to Peer Lending ไปสู่ Wealth Management Platform และขยับขยายสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเริ่มต้นที่สิงคโปร์ก่อน ให้ชาวจีนสามารถลงทุนในต่างแดนได้ โดยกลุ่มเป้าหมายคือนักลงทุนที่ลงทุนในระดับตั้งแต่ 5,000 ถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ล่าสุด Ping An ได้ลงทุนใน Grab รอบ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (นำโดยบริษัทโตโยต้า) และยังให้ Ping An Healthcare and Technology Company จับมือกับ Grab ในรูปแบบของการร่วมทุนเพื่อเปิดให้บริการด้านสุขภาพออนไลน์ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

จะเห็นว่าธุรกิจจากจีนเข้ามาใกล้ตัวกว่าที่เราคิดนัก แม้ในอดีตจีนจะเข้ามาอิทธิพลมากแค่ไหนก็ตาม แต่ก็ไม่น่ากลัวเท่ากับยุคนี้ ยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือที่ช่วยแทรกซึม เพราะทุกธุรกรรม ทุก transaction ที่เกิดขึ้นคือเดต้าคือข้อมูลที่ถูกส่งกลับไปให้พวกเขาเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคของเรา (และกลับมาขายเรา) มากกว่าคนของเราเข้าใจกันเองเสียอีก การสู้และชนตรงๆ นั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย และนั่นคือความท้าทายของผู้ประกอบการไทยว่าจะหาพื้นที่ยืนตรงไหนดี หา niche market ไหนที่เราถนัดและทำได้ดี เพื่อความอยู่รอดให้ได้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...