เจาะเส้นทางการ Transform ขององค์กร เพื่อก้าวสู่การเป็น Data Driven Organization | Techsauce

เจาะเส้นทางการ Transform ขององค์กร เพื่อก้าวสู่การเป็น Data Driven Organization

ในยุคนี้ใคร ๆ ก็ต่างพูดกันว่า Data is a new oil จนเราต่างรู้สึกคุ้นชินกันไปแล้ว และเห็นถึงความสำคัญของ Data หรือข้อมูลในการขับเคลื่อนธุรกิจในโลกใหม่ที่กำลังดำเนินไปในยุคเทคโนโลยีกันไม่น้อย 

แต่อีกหนึ่งประการที่สำคัญ แม้ว่า Data จะเปรียบเป็นน้ำมันดิบก็จริง แต่หากไม่มีการกลั่นออกมาให้เป็นเชื้อเพลิงให้เราสามารถนำไปใช้งานต่อได้ ซึ่งก็เหมือนกัน
การสกัดข้อมูลออกมาผ่านการวิเคราะห์แยกแยะ เพื่อให้ได้ Insight นำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจต่อนั้นก็ไม่มีค่าอะไรเช่นกัน  

Data มีความสำคัญต่อองค์กรมากแค่ไหน ถ้าหากองค์กรจะ Transform เพื่อก้าวสู่การเป็น Data Driven Organization จะเริ่มต้นอย่างไร ต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง ในบทความนี้ คุณกนกกมล เลาหบูรณะกิจ Head of Sales บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจไว้ดังนี้

คุณกนกกมล เลาหบูรณะกิจ Head of Sales บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด

ทำไมองค์กรต้องให้ความสำคัญกับ Data ? 

ในโลกธุรกิจ ก็ไม่ต่างอะไรกับการทำศึกสงครามที่มักจะมีสุภาษิตจีนที่ว่า รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ดังนั้น Data จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ที่จะทำให้องค์กรได้รู้จักและเข้าใจตัวเองมากขึ้น นอกจากมุมภายในองค์กรแล้ว ยังทำให้องค์กรรู้จักลูกค้าของตัวเองได้ดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มประสบการณ์ที่ดีของลูกค้าได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย สามารถปรับปรุงบริการเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ได้ 

นอกจากนี้ Data ทำให้องค์กรรู้จักตัวเองแล้ว ยังทำให้องค์กรสามารถรู้จักคู่แข่ง ด้วยการเข้าใจตลาดมากขึ้น นำไปสู่การคาดการณ์ยอดขาย และจับเทรนด์ของความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้าด้วย และที่สำคัญที่สุด คือ Data จะเป็นตัวช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งองค์กรยังสามารถที่จะนำ Data มาเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน (competitive edge) ได้อีกด้วย 

ก่อนจะสร้าง Data Driven Organization องค์กรต้องมี Data Strategy 

ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนของการ Transform องค์กรไปสู่การเป็น Data Driven Organization นั้นจะต้องการวางกลยุทธ์ข้อมูล (Data Strategy) ก่อน โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้ด้วยการตอบคำถามให้ได้ว่า เราจะใช้ Data เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อะไร ? หลังจากนั้นต้องหาคำตอบต่อไปอีกว่า  Data ที่เราได้มานั้นมาจากไหน เช่น จากคนในองค์กรที่ใส่ไปทุกวัน จาก ERP หรือจะเป็นข้อมูลทางการตลาดจากภายนอก 

เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดมาแล้ว เราจะสกัดข้อมูลจากหลากหลายที่มาเหล่านั้นให้ออกมาเป็นข้อมูลเชิงลึก (Insight) หานัยยะสำคัญได้อย่างไร ซึ่งตรงนี้อาจจะต้องใช้การระดมสมอง ผ่านการคิดเชิงตรรกะ (Critical Thinking) 

หลังจากที่ได้ผ่านกระบวนการข้างต้นแล้ว ขั้นตอนต่อมาของการวางกลยุทธ์ข้อมูล คือ การใช้เทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยในแง่ของการจัดเก็บ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการจัดเก็บบน Cloud หลังจากนั้นก็จะนำไปสู่การชี้วัดความสามารถของข้อมูล (data competency) ที่ได้รวบรวมมา และสุดท้ายคือ การวางนโยบายหรือกระบวนการในการจัดการข้อมูล (data governance) ได้อย่างชัดเจน   

Data Driven Mindset หัวใจสำคัญของการสร้างความเปลี่ยนแปลง 

เมื่อองค์กรมีการวางกลยุทธ์ข้อมูลได้อย่างชัดเจนแล้ว ความท้าทายที่เกิดขึ้นระหว่างการเปลี่ยนผ่านนั้น คงหนีไม่พ้นการทำให้ทั้งองค์กรสามารถมองเห็นภาพเดียวกันได้ ตั้งแต่ผู้บริหาร จนถึงพนักงานที่จะต้องมีแนวคิดและเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งองค์กรจะสามารถก้าวสู่การเป็น Data Driven Organization ได้นั้น ทุกคนในองค์กรจะต้องมี Data Driven Mindset ผ่านการสร้างวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญของ Data ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในองค์กร 

สำหรับองค์กรที่กำลังเปลี่ยนผ่าน แม้ว่า Data Driven Mindset  จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องปลูกฝังให้กับพนักงานทุกคน แต่อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การฝึกฝนให้เกิดการใช้งานจริง ซึ่งสามารถทำได้โดยอย่างแรกต้องเริ่มที่ผู้บริหาร ที่จะต้องเป็นผู้นำในการใช้ข้อมูล และต้องมีความเชื่อมั่นในข้อมูล เพื่อที่จะทำให้พนักงานมั่นใจไปด้วย ต่อมาในการฝึกฝนพนักงานนั้นจะต้องให้พวกเขารู้จักตั้งคำถาม เกิดอะไรขึ้น  จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ซึ่งการตอบกลับมานั้นพนักงานใช้ข้อมูลเพื่อ Support ความคิดเห็นของตนเอง อาจจะเป็นการให้พวกเขานำ tools มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล  

Data Driven Organization จะประสบความสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อทุกคนในองค์กรต้องลงเรือลำเดียวกัน เพราะความท้าทายหลักที่จะเปลี่ยน คือ วัฒนธรรมองค์กร ดังนั้นบางองค์กรที่ Fail หรือเกิดการต่อต้านระบบ เป็นเพราะว่า ทุกคนไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงขององค์กร

สิ่งที่ผู้บริหารควรทำ เมื่อทำ Data Transformation ไม่สัมฤทธิ์ผล 

ข้อมูลจาก Harvard Business Review ได้ให้คำแนะนำไว้ 3 ประการ เมื่อองค์กรทำ  Data Transformation แล้วไม่สัมฤทธิ์ผล ดังนี้ 

Quick Win หรือกลยุทธ์ที่จะสร้างให้เกิด High Impact ดังนั้นถ้าจะสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในองค์กร หรือจะสร้างให้เกิดโมเมนตัมที่จะก่อให้เกิด Data Driven Organization ต่อไปได้ องค์กรจะต้องหา quick win ให้เจอเพื่อที่จะสร้าง Impact ด้วยทุนที่ต่ำและเวลาอันสั้น เพราะปกติแล้วการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ตาม มักจะสร้างผลกระทบกับหลายส่วน และต้องมีการลงทุนทั้งเงินและเวลา 

ผู้บริหารจะต้องกลับมาพิจารณาซ้ำอีกครั้ง ถึงการจัดการ Data ขององค์กร  โดยเฉพาะเรื่องของการสื่อสาร (communication) ให้คนในองค์กรเชื่อว่า Data คือ สินทรัพย์ (Asset) ขององค์กร ต้องทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน หรือ Common Goal ว่าองค์กรต้องการ Data ไปทำไมและได้ประโยชน์อะไร

ผู้บริหารต้องเชื่อมั่น อย่าใจร้อน และต้องระลึกเสมอว่า Data transformation เป็นกระบวนการที่ใช้เวลานาน เพราะการเปลี่ยนแปลงองค์กรเช่นนี้อาจจะไม่ได้ส่งผลในเวลาอันรวดเร็ว แต่เป็นการที่ทำไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง แล้วจะค่อย ๆ เห็นผล โดยเฉพาะการเห็นว่าคนส่วนใหญ่ในองค์กรมีความเห็นและมองภาพไปในทิศทางเดียวกัน


กระบวนการทำ Data Analytics องค์กรเริ่มได้จากตรงไหน 

ข้อมูล Data Analytics Pathway จากฟูจิตสึ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการชั้นนำในด้านโซลูชันเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารระดับโลก ได้แบ่ง Data Analytics เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ขั้นตอนของ Digitalization และนำมาเข้าสู่ขั้นตอนของ Data Analytics

Digitalization เป็น Transaction Based หรือ Reporting ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิทัล หลายองค์กรยังมีการทำงานที่อยู่ใน Stage ที่เป็น Traditional ซึ่งยังมีการเก็บข้อมูลในรูปแบบกระดาษอยู่ก็มี ดังนั้นอาจจะต้องมีการปรับตั้งแต่ส่วนนี้ก่อน ที่จะมาเข้าสู่ ขั้นของ Data Analytics ได้ 

ต่อมาเมื่อองค์กรมีการเก็บข้อมูลที่เป็นแบบ Digitalization สู่ Data Analytics 5 steps ดังนี้ 

1 Visibility เป็นการทำให้องค์กรมองเห็น (Seeing) Data ที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อที่จะนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลแบบพื้นฐานได้ (Descriptive Analytics) เช่น  Standard Report หรือสร้าง Query ในการถามว่าเราต้องการจะรู้ข้อมูลอะไร ก็จะได้ข้อมูลจากตรงนั้น

2 Transparency เป็นขั้นของการทำความเข้าใจ (Understanding) Data เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงวินิจฉัย (Diagnostic Analytics) เช่น Statistical Analytics

สำหรับ  2 ขั้นตอนนี้จะเป็นการทำ Business Intelligence  ขององค์กรด้วยการนำข้อมูลต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมาแสดงผลในรูปแบบของ Dashboard ซึ่งจะต้องมีการใช้  tools ที่เข้ามารองรับ เช่น Power BI 

3 Predictive  เป็นขั้นของการเตรียมการ (Being Prepared) นำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงทำนาย (Predictive Analytics) ตรงนี้จะทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าในธุรกิจของเราจะเกิดอะไรขึ้นในระยะต่อไป หรือเทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นอย่างไร 

4 Adaptability  เป็นขั้นของการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กร (Self Optimizing) ผ่านการวิเคราะห์ด้วยคำแนะนำ (Prescriptive Analytics) เช่น การสามารถบอกได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นถ้าทำลองทำสิ่งนี้ หรือการบอกว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดที่ควรทำ 

5 Cognitive เป็นขั้นที่ทำให้องค์กรดำเนินไปด้วยระบบอัตโนมัติ (Automation) ผ่านการวิเคราะห์องค์ความรู้ (Cognitive Analytics) โดยการเรียนรู้จากเหตุและผล เลือกการกระทำและผลลัพธ์ออกมาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นขั้นของการที่องค์กรใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วย 

สำหรับทั้ง 3 ขั้นตอนนี้จะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Advance ด้วยการใช้รูปแบบวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science Model) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

ทั้งนี้ทั้งนั้นกระบวนการที่สำคัญในการเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ การเป็น  Data Driven Organization ก็คือ การทำ Data Analytics ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะต้องมีการประเมินศักยภาพด้าน Data ขององค์กรในเบื้องต้น เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนที่เหมาะสม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยในกระบวนการดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันทาง Fujitsu สามารถที่จะ support องค์กรได้แบบ end-to-end  รวมถึง Data Analytics ได้ครบทั้ง 5 ขั้น โดย Fujitsu จะทำการวิเคราะห์ในเบื้องต้นเพื่อเลือกขั้นตอนที่เหมาะสมที่สุดให้กับองค์กร สามารถนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด 

อย่างไรก็ตามการทำ Data Driven Organization ให้ประสบความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กร และ Data Driven Mindset ซึ่งการจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้นั้น ต้องมีการนำ Data มาใช้ โดยเกิดจากความร่วมมือของทุกคนในองค์กร และในการทำเรื่องใหม่ องค์กรก็ควรที่จะมีหน่วยงานเฉพาะที่จะเข้ามาดูแลกระบวนการและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ในที่สุด

สามารถสัมผัสบริการ Digital Service อื่นๆ สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมไปงานงานสัมมนาออนไลน์ FUJITSU New Normal Digital Service Expo ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ที่จะถึงนี้ 

สามารถคลิกลงทะเบียนได้ที่นี่ 

สำหรับองค์กรที่ Transform ขององค์กร สู่การเป็น Data Driven Organization สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด 

อาคาร เอ็กเชน ทาวเวอร์ ชั้น 22-23 

เลขที่ 388 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 

โทร. + 66 (0) 2302 1500 แฟ็กซ์ + 66 (0) 2302 1555 

http://th.fujitsu.com

บทความนี้เป็น Advertorial 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...