Exclusive: CEO แห่ง Life.SREDA VC ด้าน FinTech ถอดรหัสเทรนด์และความท้าท้ายของ FinTech ในปีนี้ | Techsauce

Exclusive: CEO แห่ง Life.SREDA VC ด้าน FinTech ถอดรหัสเทรนด์และความท้าท้ายของ FinTech ในปีนี้

ยุคที่ FinTech ยังไม่เติบโตมากนัก มีสถาบันการเงินหลายแห่งที่ไม่ได้สนใจหรือให้ความสำคัญกับศักยภาพของ FinTech แต่ในขณะนี้สถาบันเหล่านั้นกลับเริ่มศึกษาและจับตามองเหล่า FinTech Startup อยู่ไม่ห่าง จนวันนี้เราได้เข้าสู่ยุคที่ธนาคารต้องร่วมมือและลงทุนใน FinTech แล้ว

slava-tssm2016-2-1024x683

Vladisslav Solodkiy CEO และ Managing Partner ของ Life.SREDA VC ผู้เชี่ยวชาญด้าน FinTech และ การลงทุนใน Finserv ที่พึ่งจะปล่อยกองทุนนวัตกรรม Blockchain มูลค่า 100 ล้านเหรียญออกสู่ตลาด โดย Solodkiyนำเสนอความคิดเห็นในเรื่องเเนวโน้มของวงการ fintech ในปี 2016 ผลจากการลงทุนต่างๆ ไปจนถึงความท้าทายต่างๆที่บริษัท fintech กำลังเผชิญ ระหว่างการนำเสนอที่งานประชุม Techsaucesummit 2016 โดย Digital Ventures

Solodkiy กล่าวว่า “ครึ่งปีแรกของปี 2016 นี้ เราได้เห็นการเติบโตของการลงทุนในกลุ่ม FinTech เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาด โดยมียอดการลงทุนสูงถึง 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปีเเรกนั้น ทวีปเอเชียได้กลายเป็นกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตด้าน FinTech รวมในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นไปตามที่ Life.SREDA ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเมื่อสองปีก่อน”

ซึ่งวิจัยของเขาระบุว่ายอดการลงทุนส่วนใหญ่ที่มูลค่า 10,550 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้ถูกนำไปลงใน 9 ประเทศในเอเชีย ขณะนี้ Life.SREDA ได้ทำการลงทุนใน 20 บริษัททั้งในอเมริกาและยุโรป รวมถึงอีก 6 บริษัทในเอเชีย นับตั้งแต่ก่อตั้ง

จากที่ Solodkiy กล่าว เรามองเห็นแนวโน้มธนาคารจะสนับสนุนการกู้เงินให้กับ FinTech รวมไปถึงเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน FinTech อีกด้วย เพราะในปี 2015 มีเพียง 24% ของการลงทุนใน FinTech ที่ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากสถาบันธนาคาร แต่ในทางกลับกันเพียงครึ่งปีแรกของปี 2016 มีเงินก้อนใหม่กว่า 30%จากกลุ่มธนาคารที่เข้ามาลงทุนใน FinTech ซึ่งมีธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง Goldman Sachs, Citi Group และ Barclay’s เป็นแกนนำในการลงทุนกับ FinTech

ความท้าทายของ FinTech ในปี 2016

Solodkiy ระบุถึงความท้าทายสำคัญที่อุตสาหกรรม Fintech ต้องเผชิญในปี 2016

การขยายธุรกิจ - ผู้เล่นหลักไม่ว่าจะรายเล็กหรือรายใหญ่ต่างต้องเผชิญกับปัญหาด้านการขยายของธุรกิจทั้งสิ้น ท่ามกลาง FinTech startup ทั่วโลกกว่า 5000 ราย มีเพียง 30 รายเท่านั้นที่พิสูจน์ได้ว่าสามารถขยายธุรกิจจนสามารถก้าวสู่ระดับสากลได้ ซึ่งโดยทั่วไปบริษัทของชาวเอเชียจะเสียเปรียบด้านการเเข่งกันในด้านการขยายของธุรกิจอยู่เสมอ เมื่อเทียบกับยุโรปกับอเมริกา โดยเหล่าผู้ประกอบการ Starup ชาวเอเชียต้องใช้พละกำลังกว่า 80% ในการหาลูกค้าใหม่ๆ แต่มีเพียง 20% เท่านั้นที่สามารถจะดึงดูดและตอบโจทย์ลูกค้าได้ ซึ่งอัตราส่วนนี้กลับตรงกันข้ามกับฝั่งยุโรปและอเมริกา

ปัญหา Round B - Round B นั้นหมายถึงช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งเป็นช่วงของธุรกิจที่ท้าทายที่สุดของเหล่า Fintech startups คือช่วงที่เราต้องพยายามดึงดูดเงินลงทุนจากนักลงทุนในช่วงที่เราเริ่มมีจำนวนลูกค้าใน portfolio มากแล้ว แต่ว่ายังไม่มีกำไรจากการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในแต่ละปี มี FinTech ที่ดีหลายบริษัท แต่ก็ล้มหายตายจากไปในช่วงนี้มากมายเพราะขาดเงินลงทุน ในจุดนี้จึงอยากให้ทางนักลงทุนนำไปพิจารณาในการมอบเงินลงทุนให้กับ Startup ที่กำลังเผชิญกับช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดของธุรกิจว่าจะไปต่อได้หรือไม่

Startup หลายบริษัทต่างเผชิญกับภาวะที่ยากลำบาก จากทั้งการขยายขนาดของธุรกิจและการหาเงินลงทุนในช่วง Round B ซึ่งในส่วนนี้นักลงทุนอาจจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับ Startup ได้ ด้วยการรวมแพคเกจธุรกิจหลายๆ เจ้าเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น รายหนึ่งมีกำไรน้อยแต่สามารถหาลูกค้าได้ไวและเสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งบริษัทนี้สามารถไปรวมกับอีกเจ้าหนึ่งได้ที่มีกำไรสูง แต่ความสามารถในการหาลูกค้าใหม่ๆ ด้อยกว่า คำถามก็คือการควบรวมแบบนี้จะส่งผลเชิงบวกต่อ Startup หรือไม่ และช่วยให้ประสบความสำเร็จในการขยายขนาดของธุรกิจหรือไม่

สำหรับทวีปเอเชีย Solodkiy ระบุว่าเรายังขาดโครงสร้างพื้นฐานอยู่อีกมาก โดยเฉพาะระบบธนาคารที่เปิด APIs และ Bank as a Service platforms เพื่อที่จะสนับสนุน FinTech startup ให้ขยายธุรกิจได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อความพร้อมในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ

ในขณะที่แนวคิดใหม่ๆ อย่าง FinTech สำหรับผู้ที่เข้าไม่ถึงระบบธนาคาร อย่าง loT และ Online-to-Office (O2O) ที่อาศัยหุ่นยนต์สำหรับพูดคุยทำธุรกรรม กำลังจะกลายเป็นทางออกสำหรับปัญหาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว กับอีกอย่างที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ InsurTech

Solodkiy พูดถึงแนวโน้มของ FinTech ที่กำลังเติบโตดังนี้

Online remittances - Life.SREDA บอกว่าบริษัทในกลุ่มนี้ นั้นประสบความสำเร็จในการหาเงินลงทุนรอบใหม่ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา แต่สำหรับกลุ่ม  Social based remittances (ยกเว้น WeChat) นั้นไม่ได้มีการเติบโตที่โดดเด่นซักเท่าไหร่ ทั้งในแง่ของรายได้และจำนวนลูกค้า

e-wallets - Fintech ในหมวดนี้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว สำหรับ Solodkiy ความท้าทายของของ e-Wallets คือการทำผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย เพื่อให้เป็นมากกว่าช่องทางจ่ายเงิน เขายกตัวอย่าง Alipay ซึ่งเป็น FinTech startup ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย

Neo- and challenger banks- องค์กรเหล่านี้กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงและเข้าสู่เฟสการเติบโต ด้วยการสนับสนุนจากกลุ่มผู้วางกฏระเบียบในอังกฤษ

สุดท้ายแล้ว Solodkiy แนะนำว่าบริษัท FinTech ต้องเข้าไปสู่การสร้างพันธมิตรเพื่อขยายความสามารถของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าให้ครบถ้วน ก่อนหน้านี้ บริษัท FinTech เป็นเหมือนกับแปรงสีฟัน กล่าวคือผลิตภัณฑ์ทำได้แค่หนึ่งอย่างเท่านั้น และบางครั้งก็ทำในสิ่งที่เกินความจำเป็นไปมาก แต่ก็ยังเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการด้านการเงินของลูกค้าได้

ในอนาคตอันใกล้นี้ อย่างน้อยๆ FinTech ต้องสามารถสร้างสินค้าหรือบริการเพิ่มเติมโดยการร่วมมือกับเหล่า FinTech ด้วยกัน เพื่อเอาชนะระบบธนาคารดั้งเดิม หรือแม้กระทั่งในการเป็นผู้นำในการสร้างสินค้าและบริการแบบเดียวกันกับที่สถาบันการเงินดั้งเดิมและธนาคารสามารถทำได้

หากสนใจในประเด็นเรื่องแนวโน้มของ FinTech สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ใน “Money of Future 1H 2016” รายงานอุตสาหกรรมราย 2 ปี ฉบับล่าสุดได้ที่นี่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...