บทเรียนจากดิสนีย์แลนด์ที่เจ้าของธุรกิจมือใหม่ (ไม่) ต้องรู้ | Techsauce

บทเรียนจากดิสนีย์แลนด์ที่เจ้าของธุรกิจมือใหม่ (ไม่) ต้องรู้

ว่ากันว่าการศึกษาเส้นทางของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จแล้วจะช่วยให้ผู้ประกอบการมือใหม่ประสบความสำเร็จได้ แต่ความเชื่อนี้อาจจะเป็นแค่ความเชื่อ ไม่ใช่ความจริง

ที่ดิสนีย์แลนด์ธีมปาร์คในอเมริกากำลังมีงานเฉลิมฉลองปีทอง มีงานปาร์ตี้ข้ามคืนและกิจกรรมพิเศษอีกมากในช่วงสุดสัปดาห์นี้ ความสำเร็จที่ก้าวผ่านกาลเวลาของดิสนีย์แลนด์ได้รับการพิสูจน์ด้วยอาณาจักรสวนสนุกที่ขยายตัวไปตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก และกลายเป็นจุดหมายปลายทางของวันพักผ่อน

getty_55376773_970576970450085_57497

คำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ เจ้าของธุรกิจมือใหม่จะเรียนรู้อะไรจากความสำเร็จของดิสนีย์แลนด์ได้บ้าง?

คำตอบคือ “เกือบจะไม่”

โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์ของคุณคือกำลังจะเปิดตัวกิจการใหม่ ไม่ใช่แค่ดิสนีย์แลนด์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบริษัทใหญ่ๆ ระดับตำนานของโลกนี้ เช่น IBM, Coca-cola, GE, GM, Google, Intel, Microsoft และ Apple.

เว้นแต่ว่าคุณมีแผนที่จะขายผลิตภัณฑ์หรือบริการให้กับบริษัทเหล่านี้ พวกเขาจะเป็นลูกค้าของคุณและมันก็จะเข้าสู่หลักการที่ว่า “จงเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจของลูกค้า”

แต่เมื่อคุณไม่ได้ตั้งใจไว้แบบนั้น การศึกษาธุรกิจระดับโลกอาจจะทำให้คุณเลือกทางเดินที่ผิดๆ ให้กับธุรกิจของตัวเอง คือ 1). เลียนแบบพวกเขาซะ หรือ 2). เป็นคู่แข่งกับพวกเขา

ทั้งสองทางเลือกฟังดูไม่ฉลาดและอาจทำให้ธุรกิจของคุณล่มสลายได้ง่ายๆ อีกด้วย

เพราะอะไร?

บริษัทใหญ่ๆ มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีรูปแบบเฉพาะตัว มีวัฒนธรรมองค์กรเป็นของตัวเอง และมีจุดถ่วงดุลทางการตลาดที่ไม่สามารถเลียนแบบได้ง่ายๆ

ในขณะที่สตาร์ทอัปจะต้องคงไว้ซึ่งความคล่องตัวเพื่ออยู่รอด และนั่นคือจุดที่ทำให้ต้องสร้างความแตกต่าง ทั้งในแง่ของโครงสร้างองค์กรและการทำงาน

ดังนั้น พฤติกรรมที่ดูจะมีเหตุมีผลและเป็นประโยชน์ในองค์กรใหญ่ๆ อาจจะเป็นภัยต่อบริษัทเล็กๆ

ยกตัวอย่างเช่น สายการบังคับบัญชาในบริษัทใหญ่ๆ จะบังคับให้พนักงานทั่วไปต้องรายงานหัวหน้าของตัวเองโดยตรงเท่านั้น ในทางเดียวกัน คนระดับ VP ก็ไม่ควรสั่งงานไปยังผู้ปฏิบัติการโดยตรง ถ้ายังไม่ผ่านหัวหน้าของพวกเขาก่อน

กฏระเบียบแบบนี้จะต้องฟังดูไร้สาระแน่นอนเมื่อเอามาใช้กับบริษัทสตาร์ทอัปเล็กๆ ที่มีพนักงาน 8 คน ที่ทำงานอยู่ในออฟฟิศขนาดไม่กี่สิบตารางเมตร

เช่นเดียวกันกับกลยุทธ์ทางการตลาด บริษัทใหญ่ๆ ทุ่มงบประมาณจำนวนมากไปกับแผนการตลาด ใช้เวลาสร้างรากฐานมานานหลายปี การรับรู้ที่อยู่ในใจผู้บริโภคมีความแข็งแกร่ง

สำหรับสตาร์ทอัป การลงทุนในแง่การตลาดและการสร้างแบรนด์ที่เกินกว่าเรื่องพื้นฐานอย่างชื่อบริษัทหรือเว็บไซต์ จะเป็นการผลาญเงินกับเรื่องไม่จำเป็น

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ก่อนที่ทุกคนจะก้าวเท้าเข้าสู่ประตูดิสนีย์แลนด์ พวกเขารู้ดีอยู่แล้วว่าจะได้พบกับประสบการณ์แบบไหนที่อีกด้านของประตู

มันไม่มีคำถามเรื่องนั้นในใจของผู้บริโภคอย่างแน่นอน เพราะดิสนีย์แลนด์ทุ่มเททั้งเวลาและเงินในการสร้างมัน ขณะที่สตาร์ทอัปไม่มีทั้งชื่อเสียงที่จะสร้างประสบการณ์เหล่านั้นและไม่มีข้อแลกเปลี่ยนอะไรให้ผู้บริโภคลองเสี่ยงเข้ามาหาประสบการณ์กับสตาร์ทอัปของคุณ

การศึกษาเส้นทางสู่ความสำเร็จของดิสนีย์แลนด์อาจจะเป็นความพยายามที่สูญเปล่า เพราะคุณจะเรียนรู้วิธีเลียนแบบบริษัทที่คุณไม่มีวันจะเลียนแบบได้

นอกจากนี้ ไม่ว่าคุณจะฉลาดและมีความคิดสร้างสรรค์แค่ไหน คุณก็ไม่สามารถลุกขึ้นมาเป็นคู่แข่งกับดิสนีย์แลนด์ได้โดยตรง ไม่เฉพาะดิสนีย์แลนด์เท่านั้น แต่พูดรวมๆ ถึงบริษัทใหญ่ๆ ทั้งหลายที่ยืนหยัดมานานหลายทศวรรษ

ในช่วงหลายปีมานี้ มีบริษัทอย่างน้อยๆ 5 แห่งที่ประกาศตัวว่าเป็น “IBM หมายเลข 2” หลังจากนั้นพวกเขาก็ทำลายตัวเองด้วยการเลียนแบบกลยุทธ์ของ IBM และในบางครั้ง Microsoft ก็เคยอ้างว่าเป็นผู้สร้างนวัตกรรมที่แตกตัวมาจาก IBM อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดว่า IBM ก็ยังอยู่ดีมีสุข ไม่ได้ล้มหายตายจากไปไหน

ไม่ใช่ว่าการศึกษาเส้นทางสู่ความสำเร็จของบริษัทใหญ่ๆ เป็นเรื่องไม่น่าสนใจ แต่ประเด็นคือมันอาจไม่มีประโยชน์เท่าที่ควรถ้าคุณกำลังเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง

ยังมีอีกหลายๆ บริษัทที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ ควรเข้าไปเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น คนธรรมดาๆ สามารถสร้างสตาร์ทอัปที่ประสบความสำเร็จได้อย่างไรในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นประโยชน์กว่ามาก ในขณะที่ประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของดิสนีย์อาจไม่ได้ช่วยอะไรคุณเท่าที่ควร

ที่มา : Inc.

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...