รู้จักกับ Blind Trust การจัดเงินของนักการเมืองป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

รู้จักกับ Blind Trust การจัดเงินของนักการเมืองป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

ในช่วงการดำรงตำแหน่งของอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร เรามักได้ยินคำว่า ‘ซุกหุ้น’ กันบ่อยครั้ง เพราะการดำรงตำแหน่งทางการเมือง อาจทำให้นักธุรกิจที่มาเล่นการเมืองสามารถสร้างผลประโยชน์ทับซ้อน เช่นการออกนโยบายเอื้อธุรกิจตัวเอง หรือการซื้อหุ้นจากข้อมูลจากวงในที่ตนเองทราบ ง่ายๆคือการคอร์รัปชั่นนั่นเอง ทำให้ในต่างประเทศมีวิธีหนึ่งในการจัดงานเงินจำนวนมากของนักธุรกิจที่มาเล่นการเมือง นั่นคือ Blind Trust

Blind Trust คืออะไร

Blind Trust คือกองทุน ที่นักธุรกิจที่เล่นการเมือง จะทำการการโอนทรัพย์สินทั้งหมดเข้าไปใน ‘กองทุนทรัสต์’ โดยผู้ที่เป็น Trustee (บุคคลอื่นที่มาบริหารทรัพย์สิน) จะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ และมีดุลยพินิจกับสินทรัพย์นั้นๆ ตามหลักแล้วเจ้าของสินทรัพย์จะไม่สามารถมีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจ (หรือ Blind) กับสินทรัพย์นั้นๆ ได้ โดยอำนาจจะอยู่ที่ Trustee เพียงผู้เดียว ซึ่งเจ้าของทรัพย์สินจะไม่ทราบว่า Trustee คนนั้นคือใคร

ทำไมถึงต้องเลือกวิธีนี้

ปกติแล้ว Blind Trust จะถูกใช้ในกรณีเมื่อมีบุคคลร่ำรวยได้รับเลือกเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง การตัดสินใจในการลงทุนส่วนบุคคลอาจทำให้ส่งผลกระทบก่อให้เกิดความขัดแย้งที่อาจขัดต่อผลประโยชน์ เนื่องจากปัญหาด้านกฎระเบียบหรือการใช้อำนาจทางการเมืองที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน ในการมอบความไว้วางใจ อย่างน้อยที่สุดก็แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่เลือกวิธีนี้ได้ตระหนักถึงการลงทุนในระยะยาวที่จะไม่กระทบต่อการตัดสินใจในอนาคต ผู้ที่เป็น ‘Trustor’ (ทรัสเตอร์) อาจจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์การจัดการการลงทุน และทำการเลือก ‘Trustee' (ทรัสตี) ที่สามารถไว้เนื้อเชื่อใจได้ เพื่อที่จะได้เกิดประสิทธิภาพในการขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างแท้จริงและสามาถทำการตรวจสอบได้ มีนักการเมืองที่มีความมั่งคั่งจำนวนมากที่ใช้ วิธีนี้ เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า อย่างน้อยก็ได้มีความพยายามนำมันมาใช้เพื่อสร้างความเป็นกลางและโปร่งใส

มีตัวเลือกอื่นๆอีกหรือไม่?

Blind Trust มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างสูง ทำให้นักการเมืองเลือกวิธีอื่นในการขจัดความขัดแย้งแทน บางคนทำให้การลงทุนของพวกเขาง่ายขึ้นโดยการขายการลงทุนของบริษัทออกไป นอกจากนี้ก็เพื่อการถือครองทรัพย์สินและธุรกิจเอกชน โดยบรรดานักการเมืองมีความป้องกันปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนต่อธุรกิจหรือภาคอุตสาหกรรมที่ตัวเองดูแล โดยการแปลงการถือครองเป็นเงินสด อย่างไรก็ตาม กระบวนการขายเงินลงทุนอาจก่อให้เกิดผลกระทบทางภาษีและความยุ่งยากอื่นๆ ที่อาจตามมา เนื่องจากสินทรัพย์ทั้งหมดไม่ได้มีสภาพคล่องเท่ากัน ในกรณีนี้ทำให้การเลือก Blind Trust อาจกลายเป็นตัวเลือกเดียวเท่านั้น และวิธีอื่นที่จะสามารถขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทางการเงินจากบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ โดยที่ผ่านมาวิธีที่อาจจะเคยพบกัน เมื่อเกิดกระแสความไม่ชัดเจนและมีการกระทำที่ผิดหลักจริยธรรมคือจะเป็นการใช้สื่อและการข่มขู่ต่อสาธารณะชน สรุปแล้ววีธีนี้นั้นเป็นทางเลือกที่ดี แต่ก็ไม่ได้รับประกันด้านจริยธรรมอย่างเต็มร้อย

ตัวอย่างนักการเมืองที่ใช้วิธีนี้ เช่นประธานาธิบดีสหรัฐเกือบทุกคนใช้วิธีโอนทรัพย์สินเข้าทรัสต์ ยกเว้นประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในประเทศไทยมีคุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจที่เพิ่งประกาศว่าได้เซ็นต์ MOU ได้ใช้วิธีนี้ โดยอาจเป็นนักการเมืองไทยคนแรกที่ประกาศว่าใช้วิธีดังกล่าว

อ้างอิง Investopedia

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

EV จีนวิกฤตหนัก สงครามราคาเดือด รถขายไม่ออก ผู้ผลิตรายเล็กส่อไปไม่รอด

ประเทศจีนเจ้าของตลาดรถยนต์ EV ที่ใหญ่ที่สุดในโลกกำลังตกอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ กำลังเผชิญกับภาวะอุปทานส่วนเกินและการแข่งขันราคาที่ดุเดือด สร้างผลกระทบครั้งใหญ่ให้กับผู้ผลิตร...

Responsive image

AI จีนไปไกลแค่ไหน สู้สหรัฐฯ ได้ไหม ในวันที่ถูกบีบจนมุม

จีนเข้าสู่ภาวะขาดแคลนชิปอย่างหนัก ชิปที่สต็อกไว้อาจเพียงพอสำหรับใช้พัฒนา AI ได้อีก 1 ปี หรืออีก 18 เดือนข้างหน้าเท่านั้น สงครามครั้งนี้เพิ่งเริ่ม และยังไม่มีทีท่าที่จะจบลงง่าย ๆ เพ...

Responsive image

ETDA เปิดตัว SMEs GROWTH ชวนผู้ประกอบการไทย ยกระดับนวัตกรรมด้านดิจิทัลเชิงพื้นที่ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจดิจิทัล

ETDA เปิดตัว SMEs GROWTH ชวนผู้ประกอบการไทย ยกระดับนวัตกรรมด้านดิจิทัลเชิงพื้นที่ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจดิจิทัล...