ในวงการธุรกิจสตาร์ทอัพ เป้าหมายที่สำคัญอย่างหนึ่งของเหล่าสตาร์ทอัพก็คงหนีไม่พ้นการเป็น Unicorn (ยูนิคอร์น) ให้ได้ หลายคงเคยได้ยินคำว่า “อยากเป็น Unicorn” แต่ว่าการเป็น Unicorn ในวงการสตาร์ทอัพคืออะไร? เราจะมาหาคำตอบในบทความนี้
Unicorn (ยูนิคอร์น) หมายถึง ธุรกิจ Startup ที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในต่างประเทศเราจะเห็น Startup ชื่อดังใน Sillicon Valley ประเทศสหรัฐอเมริกา อย่าง Uber, Airbnb หรือ Snapchat เป็นต้น โดยปัจจุบันก็มีสตาร์ทอัพจากจีน อย่าง Xiaomi หรือ Didi Chuxing ผู้ให้บริการเรียกแท็กซี่ผ่านแอปรายใหญ่ในจีน ที่ได้ผ่านจุดประสบความสำเร็จเป็น Unicorn กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ยังไม่รู้จัก Startup? ชวนอ่านบทความ "Startup Guide : Startup คืออะไร พร้อมบทเรียนการทำธุรกิจใหม่ฉบับสมบูรณ์"
นอกจากคำว่า Unicorn ยังมีคำว่า ‘Centaur’ (เซนทอร์) เป็นสัตว์ที่มีตัวเป็นคนพร้อมมีขาหลังเป็นม้า รวมเป็นมี 4 ขา ในวงการสตาร์ทอัพหมายถึงธุรกิจที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอีกคำหนึ่งคือคำว่า ‘My Little Pony’ (มายลิตเติ้ลโพนี่) ในวงการสตาร์ทอัพหมายถึงธุรกิจมูลค่าบริษัทมากกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐนั่นเอง มากไปกว่านั้นยังมีคำว่า Decacorn (เดเคคอร์น) มาจากคำว่า (Deca-) ที่แปลว่า 10 หมายถึง ธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 10 Billion USD หรือ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐอีกด้วย
คำถามคือแล้วเมื่อไรจะถึงคราวของประเทศไทยที่จะมี Unicorn มาผงาดโลดแล่นในเวทีโลกบ้างล่ะ?
ในภูมิภาคเอเชีย เราก็ได้เห็น Startup ระดับ Unicorn ที่มีบทบาทโลดแล่นทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นฝั่งจีนที่ได้ชื่อว่ามี Unicorn เกิดใหม่ถึง 6 แห่งในปี 2020 ที่ผ่านมา นำโดย ByteDance บริษัทแม่ของแอปยอดฮิตอย่าง TikTok ขณะเดียวกันอินเดียก็ไม่น้อยหน้า มี Startup ที่ก้าวสู่ระดับ Unicorn ถึง 5 แห่ง โดยสามอันดับแรกอยู่หมวดเทคโนโลยีและ E-Commerce ทั้งสิ้น นั่นก็คือ Flipkart, Ola Cabs และ Paytm นอกจากนี้ เกาหลีใต้ เจ้าของซีรีส์ยอดฮิต Start-up เองก็มี Startup ที่เป็น Unicorn ถึง 12 แห่ง น่าสนใจที่แต่ละแห่งล้วนมาจากอุตสาหกรรมที่หลากหลาย สามารถติดตามรายละเอียดของ Startup เกาหลีใต้ได้ที่นี่
ถ้าเจาะลึกในมุมของอาเซียน ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงนั้น ที่ผ่านมา Startup ที่เป็น Unicorn อันร้อนแรงมักจะอยู่ในประเทศสิงคโปร์และอินโดนีเซีย โดยชื่อที่คุ้นหูย่อมไม่พ้น Grab บริการขนส่งอาหารและพัสดุ, Gojek ที่อยู่ในช่วงควบรวมกิจการกับ Tokopedia สู่ GoTo แพลตฟอร์มเรียกรถและ E-Commerce แบบครบวงจร, Traveloka Startup บริการด้านการท่องเที่ยวและที่พัก จะเห็นได้ว่า Startup ในฝั่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีศักยภาพขยายตัวได้อย่างรวดเร็วทั่วอาเซียน แม้แต่ในไทยเราก็ได้ใช้บริการจาก Startup เป็นประจำจนชินตา เพราะทุกแห่งต่างเกิดขึ้นมาตอบสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกชีวิตประจำวันของคนอย่างแท้จริง
หลังจากที่เราเห็นภาพรวม Startup ในเอเชียแล้ว หลายคนอาจจะสงสัยว่าประเทศไทยนั้นจะมีศักยภาพที่จะให้ Startup สามารถผงาดออกมาขึ้นแท่นระดับ Unicorn ได้หรือไม่ คงให้คำตอบชัดเจนไม่ได้ว่ามีหรือไม่มี แต่แนวโน้มในเร็ว ๆ นี้ อาจจะมีข่าวดีให้ลุ้น เพราะในปี 2564 เราอาจได้เห็น Startup สัญชาติไทยก้าวเข้าสู่ระดับ Unicorn ได้รายแรก นั่นก็คือ Flash Express ซึ่งเป็นบริการด้านโลจิสติกส์ ขนส่งพัสดุทั่วไทย ก่อตั้งโดยคุณคมสันต์ ลีนั่นเอง
บทความที่คุณอาจสนใจ
DeFi 101 เริ่มต้นเรียนรู้โลก DeFi ฉบับมือใหม่ โอกาสทางการเงินแห่งอนาคต
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด