ดร.พิเชฐ ชวน Startups ถกประเด็น "คิดอย่างไรถ้าภาครัฐเปิด Open Data?" | Techsauce

ดร.พิเชฐ ชวน Startups ถกประเด็น "คิดอย่างไรถ้าภาครัฐเปิด Open Data?"

ไม่เพียงแต่ภาคเอกชนที่เห็นความสำคัญของ Big Data ในปีนี้ภาครัฐให้ความสำคัญกับ Big Data เป็นอย่างมาก จึงเป็นที่มาของเรื่อง Open Data ที่ต้องการให้เกิดการนำข้อมูลภาครัฐไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยมีกระทรวงดิจิทัลฯ เป็นหน่วยงานหลักในการดำนเนินนโยบายเรื่องนี้ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้กระทรวงดิจิทัลฯ นำโดย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเวทีชวนกลุ่มสตาร์ทอัพร่วมเสวนาหัวข้อ “คิดอย่างไรถ้าภาครัฐ เปิด Open Data” เพื่อร่วมขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จาก Open Data ไปในทิศทางเดียวกัน

Open Data คืออะไร

Open Data คือ ข้อมูลเปิดที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างเสรี ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านได้ด้วยคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ต้องระบุแหล่งที่มาและต้องใช้เงื่อนไขเดียวกันกับที่มาหรือตามที่เจ้าของงานกำหนด  แนวคิด Open Data เป็นการเปิดฐานข้อมูลของภาครัฐ ที่แสดงข้อมูลให้เห็นว่าภาครัฐมีความน่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้ โดยประโยชน์ของการเปิดข้อมูลภาครัฐคือ ภาคเอกชน ภาคประชาชนสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้ ซึ่งในเวลานี้ เรียกได้ว่าข้อมูลเป็นเครื่องมือและทรัพยากรอันสำคัญในการสร้างนวัตกรรม  หากภาครัฐเปิดเผยข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ต่อยอด ก็สามารถช่วยผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆกับประเทศขึ้นได้

คิดอย่างไรถ้าภาครัฐเปิด Open Data

กระทรวงดิจิทัลฯ นำโดย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเวทีชวนกลุ่มสตาร์ทอัพร่วมเสวนาหัวข้อ “คิดอย่างไรถ้าภาครัฐ เปิด Open Data” โดยงานนี้กระทรวงดิจิทัลฯได้มอบหมายให้ DEPA จัดเวทีเสวนาดังกล่าวขึ้น เพื่อระดมความคิดเห็นจาก Startups ในการนำข้อมูลภาครัฐไปใช้สร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมีการนำเสนอข้อมูลของ 4 หน่วยงานคือ

1. กรมอุตุนิยมวิทยา

มีการฝึกอบรมบุคลากรเรื่อง Big Data เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์สภาพอากาศ ตามบทบาทของกรมอุตุนิยมวิทยา รวมทั้งสนับสนุนข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการพยากรณ์อากาศ ความปลอดภัยด้านการบิน การเตือนภัยพิบัติต่าง ๆ เช่น การตรวจคลื่นความร้อน พยากรณ์ปริมาณน้ำฝนเพื่อการเกษตร โดยข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา  ด้านต่างๆ อาทิ การวางแผนการเดินทาง การส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น การชมดอกไม้ การชมทะเลหมอก วางแผนด้านโลจิสติกส์ เป็นต้น

นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง หรือ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ในการพัฒนาการพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลข ผสมผสานกับข้อมูลการตรวจอากาศ ข้อมูลดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา และเรดาร์ตรวจอากาศ เพื่อให้ได้ผลการพยากรณ์อากาศที่มีรายละเอียดสูงในระดับตำบลที่ถูกต้อง แม่นยำ ซึ่งการมีเครื่องมือสื่อสารการพยากรณ์อากาศที่ชัดเจนในหลายช่องทาง ทั้งทางสื่อสารมวลชนประเภทต่างๆ และสื่อสังคมออนไลน์ โดยมุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง จะทำให้ประชาชนทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลอุตุนิยมวิทยาได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งได้นำ Big Data มาใช้ในการวิเคราะห์ และจัดการข้อมูล เพื่อพัฒนาผลผลิตและตอบสนองต่อความต้องการของทุกภาคส่วนให้มีข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการอย่างชาญฉลาด อาทิ ความปลอดภัยด้านการบิน การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และพลังงาน เป็นต้น ส่งผลต่อความเชื่อมั่น ความมั่นคง และความปลอดภัยในอนาคต

2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ได้มีข้อมูลเผยแพร่ต่อสาธารณะ 21 สาขา ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งหน่วยงานต่างๆ สามารถนำไปวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ เช่น กระทรวงแรงงานนำข้อมูลไปวางแผนหรือประเมินนโยบายการสนับสนุนและส่งเสริมการจ้างงาน เป็นต้น

3. กระทรวงยุติธรรม

ที่มีการทำศูนย์เก็บข้อมูลมาก่อนหน้านี้ โดยจะเก็บข้อมูลของผู้ต้องหาที่ถูกดำเนินคดีและศาลตัดสินให้จำคุกแต่ยังออกไปมีพฤติกรรมผิดซ้ำซากจนต้องได้รับการลงโทษใหม่ พวกเขาเหล่านั้น มีหน้าตาอย่างไร บุคลิกท่าทางเป็นอย่างไร เพื่อรวบรวมไว้เป็นสถิติด้านอัตลักษณ์ ซึ่งถือเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่เป็นอย่างมาก

4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ตัวแทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวถึงการส่งเสริม Open Data สามารถทำให้ Startup นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ ตัวอย่างเช่น Startup ธุรกิจเลี้ยงผึ้ง ซึ่งใช้อุปกรณ์ IoT Data ในการตรวจจับคลื่นเสียงและใช้ Deep Learning ในการวัดปริมาณน้ำผึ้งภายในรัง โดยไม่ต้องเปิดดูรังผึ้ง ซึ่งจะเป็นการรบกวนผึ้ง และหากมีการเชื่อมโยง Platform Open Data กับหน่วยงานภาครัฐ จะทำให้สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ สามารถนำไปต่อยอดได้หลากหลายขึ้น หรือสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ต้องการสร้าง Data Platform และเปิดเป็นบริการให้ภาคธุรกิจสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ข้อมูลบางส่วนยังต้องการความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนจากภาคเอกชนอยู่ ซึ่งอาจทำให้ภาคเอกชนสูญเสียความได้เปรียบทางธุรกิจ และข้อมูลบางประเภทควรถือเป็นความลับเพราะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลทางการแพทย์ อีกทั้งการนำ Open Data มาใช้แก้ปัญหาสังคมยังต้องการข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐทุกภาคส่วน ดังนั้น ต้องมีการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้สามารถเปิดเผยข้อมูลแต่ยังคงรักษาความเป็นส่วนตัวของเจ้าของข้อมูลไว้

ในการเสวนาครั้งนี้ได้มีการเปิดโอกาสให้ Startup ร่วมแสดงความคิดเห็น โดยข้อมูลความคิดเห็นต่างๆ ที่ได้รับครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่จะนำไปใช้ประกอบการขับเคลื่อนการดำเนินการจัดทำ Big Data และการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data) ให้มีประสิทธิภาพในทุกมิติต่อไป

จากความเห็นของ Techsauce ที่รับฟังการเสวนาในครั้งนี้ ได้เห็นมุมมองจากทั้งสองด้าน ด้านแรกคือภาครัฐที่พยายามจะเปิดให้ Startup ผู้ที่มีศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมมาขับเคลื่อนประเทศได้ เข้ามาใช้ข้อมูลที่ภาครัฐมีเปิดเผยอย่างดีที่สุด แต่ในขณะเดียวกันด้าน Startup เองก็ให้ความเห็นว่า ข้อมูลที่ภาครัฐเปิดเผยยังไม่สามารถนำไปต่อยอดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ และยังเปิดเผยข้อมูลไม่มากพอ ดังนั้นการเปิด Open Data ของภาครัฐอาจจะต้องพบกันคนละครึ่งทางกับ Startup ความหมายคือ ภาครัฐต้องเปิดข้อมูลที่สามารถเปิดได้ในสัดส่วนที่มากพอและเป็นประโยชน์เพื่อให้ด้าน Startup  สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีพัฒนา Product และ Service พร้อมพัฒนานวัตกรรมต่อไปได้ ซึ่งควรมีการเสวนา และพูดคุยเพื่อทางออกในการร่วมมือกันต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...