ทำความเข้าใจ Blockchain Layer 2 คืออะไร และทำไมถึงน่าจับตามอง ? | Techsauce

ทำความเข้าใจ Blockchain Layer 2 คืออะไร และทำไมถึงน่าจับตามอง ?

ก่อนมาทำความเข้าใจ Blockchain Layer 2 ย้อนกลับไปยังเรื่องของ Blockchain Layer เป็นที่รู้กันว่า Layer 1 แม้จะเป็น Blockchain ที่เกิดขึ้นมาก่อน แต่ก็มีปัญหาในเรื่องของ Blockchain Trilemma กล่าวคือ เป็นกำแพงที่ขัดขวาง ไม่ให้ Blockchain สามารถมีทั้ง ความปลอดภัย (security) การกระจายอำนาจ (decentralization) และความสามารถในการขยายเครือข่าย (scalability) 

Blockchain Layer 2

ทำไมต้องมี Layer 2 ?

จากที่เกริ่นมาข้างต้นปัจจุบันยังไม่มี Blockchain ใดที่มีครบทั้ง 3 องค์ประกอบ ในการที่จะทำให้สามารถก้าวสู่ Mass Adoption ได้  ซึ่งสิ่งที่เป็นปัญหาของ Layer 1 ส่วนใหญ่ คือ scalability ที่ทำให้เกิดการทำธุรกรรมที่ช้าและค่าธรรมเนียมที่สูง จากปัญหาดังกล่าวจึงเป็นจุดกำเนิดให้เกิด Layer 2 ขึ้นมา

สำหรับ Layer 2 เป็นเครือข่ายรองที่พัฒนามาจาก Blockchain  Layer1 โดยการทำงาน Blockchain Layer 2 เปรียบเสมือนกับ Third-party ที่ใช้ร่วมกับ Layer 1 ซึ่งเป็นการเพิ่ม node เข้ามาแก้ไขในส่วนของการทำธุรกรรมให้มีการประมวลผลที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้นและค่าธรรมเนียมที่ถูกลง โดยวิธีการนั้นจะเป็นการนำธุรกรรมของ Blockchain Layer 1 มาประมวลผลและหลังจากนั้นก็ส่งข้อมูลกลับไปยัง Layer 1 นั้นเหมือนเดิม

การปรับ Scale ของ Blockchain บน Layer 2 มีวิธีการแก้ไขอยู่หลายแบบ ได้แก่  

Rollup

Solution เฉพาะของ Layer 2 ที่จะนำธุรกรรมหลายร้อยรายการนอก Layer 1 รวมกันเป็นข้อมูลที่บีบอัดชิ้นเดียว แล้วส่งข้อมูลกลับไปยังเครือข่ายหลักเพื่อให้ทุกคนตรวจสอบ นอกจากนี้ Rollup ยังช่วยในการรักษาความปลอดภัยของ Ethereum และช่วยลดค่าธรรมในการธุรกรรมให้ถูกลง 10 - 100 เท่า

ตัวอย่างของ Rollup ยอดนิยม ได้แก่ Arbitrum, Metis และ Optimism

State channel

เป็นการเพิ่มความจุและความเร็วของธุรกรรมโดยรวม ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกในการสื่อสารแบบสองทางระหว่างช่องทางการทำธุรกรรมในเครือข่ายหลักและการทำธุรกรรมนอกเครือข่ายผ่านวิธีการต่างๆ

ยกตัวอย่างเช่น Bitcoin's Lightning Network คือเครือข่ายที่มาช่วยแก้ไขในเรื่องความล่าช้าในการประมวลธุรกรรมของ bitcoin

Sidechain

สำหรับ Sidechain จะมีการประมวลผลธุรกรรมมาจาก Layer 1 แต่จะแตกต่างจาก state channel ตรงที่ Sidechain จะมีการบันทึกธุรกรรมทั้งหมดลงบน network เนื่องจากมีการใช้ระบบฉันทามติ (Consensus mechanism) เหมือนกับ Layer 1

ยกตัวอย่างเช่น  Polygon เป็น Sidechain ที่แยกมาจาก Ethereum


ทั้งนี้  Layer 2 จะไม่สามารถมาแทนที่ Layer 1 ได้ แต่จะเป็นการทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด 

ทำไมอนาคตของ Layer 2 ถึงน่าจับตามอง ?

การเกิดขึ้นมาของ Layer2 นั้นนอกจากที่ช่วยในเรื่องการประมวลผลธุรกรรมที่รวดเร็วและค่าธรรมเนียมที่ถูกลงแล้ว ยังสามารถช่วยในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้งาน รวมถึงช่วยขยายขอบเขตของการพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ (dApp) ที่พัฒนาอยู่บน Layer 2 ได้อีกด้วย ซึ่งการที่มีนักพัฒนามาทำ Project ต่าง ๆมากขึ้นก็จะยิ่งดึงดูดรายได้และเพิ่มความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย

นอกจากนี้ Layer 2 ยังมีบทบาทในเรื่องของการสร้าง Bridge เพื่อเชื่อมระหว่างแพลตฟอร์มต่างๆมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากความสามารถในการทำงานร่วมกันของ Blockchain ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

และในขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรม Cryptocurrency จะเกิดความร่วมมือกัน สร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องที่จะช่วยส่งเสริมให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจแบบกระจายอำนาจ 

ดังนั้นจากประโยชน์และอนาคตของ Layer 2 ข้างต้นล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนสนใจและจับตามอง


อ้างอิง Binance Academy, chaindebrief.com, cryptonews.com, coindesk.com, cointelegraph.com




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...