Zilingo ระดมทุน 226 ล้านเหรียญ เสริมระบบ Digital Supply Chain ในอุตสาหกรรมแฟชัน | Techsauce

Zilingo ระดมทุน 226 ล้านเหรียญ เสริมระบบ Digital Supply Chain ในอุตสาหกรรมแฟชัน

Zilingo ขึ้นแท่นเตรียมเป็น unicorn ตัวต่อไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังประกาศว่าได้รับเงินระดมทุนในรอบ Series D ไป 226 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้จะเป็น startup ที่เพิ่งมีอายุเพียง 3 ปีครึ่งเท่านั้น โดย Zilingo ตั้งเป้าพิชิตการยกระดับระบบ supply chain ของวงการแฟชันในแถบเอเชียให้มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น

การระดมทุนรอบใหม่นี้ทำให้ Zilingo ได้รับเงินทุนรวมแล้วกว่า 308 ล้านเหรียญ นับจากการระดมทุนครั้งแรกในปี 2015 โดยในรอบ Series D นี้ประกอบไปด้วยนักลงทุนหน้าเดิมอย่าง Sequoia India, Temasek, Burda and Sofina และ Myntra รวมถึงมีนักลงทุนหน้าใหม่อย่าง EDBI ของ Economic Development Board ประเทศสิงคโปร์ร่วมด้วย

มีการพูดกันว่า Zilingo มีสิทธิเป็น Unicorn ตัวต่อไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงมาก เนื่องจากหลังการระดมทุนในรอบใหม่นี้ มูลค่าบริษัทก็พุ่งจนเกือบแตะที่ 1 พันล้านเหรียญเข้าไปทุกที โดยเฉพาะเมื่อนึกถึงการที่ Zilingo สามารถระดมทุนระดับ Series D ได้รวดเร็วเช่นนี้

นอกจากนี้ การที่ Zilingo ได้รับเงินลงทุนสูงกว่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ปัจจุบัน Zilingo กลายเป็นหนึ่งใน startup ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสาเหตุหลักที่ผลักดันให้บริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงปีที่แล้ว คือการขยายธุรกิจสู่บริการ B2B เพิ่มเติมจากธุรกิจ e-commerce ดั้งเดิมของตน

Ankiti Bose และ Dhruv Kapoor ผู้เป็น CEO และ CTO ของ Zilingo ร่วมกันสร้างแพลตฟอร์ม E-commerce ที่รวบรวมร้านค้าแฟชันขนาดเล็กในท้องถนนกรุงเทพและจาร์กาตา โดยช่วงแรกโฟกัสไปที่บริการต่อผู้บริโภค แต่หลังจากนั้น Zilingo ได้ขยับตัวครั้งใหญ่ ปรับโมเด็ลธุรกิจสู่ B2B ในด้าน supply chain โดยการทำให้ระบบหลังบ้านของร้านค้าเปลี่ยนไปสู่ระบบแบบดิจิทัล

Bose กล่าวว่า รายได้ของ Zilingo เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากธุจกิจ B2B ที่คิดเป็น 75% ของรายได้ และแม้ว่าปัจจุบัน Zilingo จะยังไม่ทำกำไร แต่ Bose ก็มั่นใจว่าธุรกิจ B2B จะช่วยนำทางไปสู่การทำกำไรในอนาคต จากบทบาทการช่วยเหลือบริษัท e-commerce ต่างๆ ที่แข่งขันในตลาด

เทคโนโลยีล้าหลังในระบบ supply chain

Zilingo หมายมั่นปั้นมือกับธุรกิจ Supply chain มาระยะหนึ่ง ก่อนที่จะเริ่มขยายตัวสู่ธุรกิจนี้อย่างเต็มตัว

เริ่มแรก Zilingo มีแพลตฟอร์มพื้นฐานที่ช่วยให้ผู้ขายสามารถจัดการธุรกิจขายของออนไลน์ ซึ่งรวมถึงระบบบริหารจัดการคลังสินค้า และระบบติดตามการขาย แต่ไม่นานนัก Zilingo ก็เพิ่มการบริการที่กว้างมากขึ้น เช่น บริการการเงิน บริการจัดหาสินค้า และแม้แต่ ‘Style hunter’ ที่คอยช่วยอัพเดทเทรนด์แฟชั่น นอกจากนี้ Zilingo ยังขยายกลุ่มเป้าหมายจากร้านค้าขนาดเล็กในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปสู่ร้านค้าและแบรนด์ขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมแฟชั่นของยุโรปและอเมริกาที่ต้องการเข้าถึงกำลังการผลิตในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดการผลิตขนาดใหญ่และมีมูลค่าสูงถึง 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

เป้าหมายต่อไปของ Zilingo คือการให้บริการ ข้อมูลเชิงลึกและเครือข่ายสำหรับแบรนด์สินค้าต่างๆ อย่างที่ Zara เคยทำได้

สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Zilingo ตั้งเป้าช่วยร้านค้าขนาดเล็ก, SME และร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ในการหาสินค้ามาขายออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มของ Zilingo ขณะที่ในยุโรปและอเมริกา Zilingo พยายามเข้าหาร้านค้าขนาดเล็กที่ต้องการมีหน้าร้านออนไลน์และมองหาช่องทางซื้อสินค้าราคาส่งจากเอเชีย ซึ่งนอกจากการช่วยเลือกสินค้ามาขายแล้ว Zilingo ก็ยังช่วยร้านค้าสร้างแบรนด์ของตัวเองด้วยระบบ supply chain อีกด้วย

Bose กล่าวว่า “พวกระบบในโรงงานผลิตไม่ค่อยได้รับการพัฒนาเท่าไหร่ เนื่องจากพนักงานในโรงงานส่วนใหญ่มักไม่ค่อยได้สัมผัสกับเทคโนโลยีใหม่ๆ พวกเขาไม่ใช้แม้แต่ Excel ดังนั้นเราจึงเลือกโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อช่วยเพิ่มกำลังการผลิต ช่วยบริหารเงินเดือน รวมถึงช่วยด้านการเงินต่างๆ”

Kapoor ผู้ร่วมก่อตั้งเสริมว่า ระบบ supply chain ในอุตสาหกรรมแฟชันกำลังถูกทำลายด้วยเทคโนโลยีที่ล้าหลัง

“เราจำเป็นต้องสร้าง product ที่ใช้เทคโนโลยีอย่าง machine learning และ data science เข้ามาช่วย SME ขณะเดียวกันก็ต้องทำระบบให้ใช้งานสะดวกและง่ายต่อการสเกล" Kapoor มั่นใจว่าความคิดนี้จะช่วยพัฒนาระบบ supply chain ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

เส้นทางก่อนหน้านี้ของ Zilingo คือการเผชิญหน้ากับคู่แข่งใหญ่ๆ อย่าง Lazada, Shopee และ Tokopedia แต่การขยับโมเด็ลธุรกิจสู่การโฟกัสที่ supply chain นั่น ช่วยปรับบทบาทของ Zilingo ให้เป็นผู้บริการที่ส่งเสริมทั้งระบบแทน ทำให้ Zilingo ไม่ต้องต่อสู้กับสงคราม E-commerce ที่มีการแข่งขันด้านราคาและกลยุทธ์กันแทบตลอดเวลา จนในที่สุด Zilingo ก็กลายเป็นหนึ่งใน startup ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแม้ว่าเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจสู่อเมริกาอาจไม่ง่ายนัก แต่นั่นก็ทำให้ Zilingo เป็น startup ที่น่าจับตาที่สุดในปี 2019 ไปแล้ว

อ้างอิงภาพและเนื้อหา TechCrunch

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...