AFTERKLASS STARTUP FOR BETTER SOCIETY HACKATHON 2022 พื้นที่แสดงศักยภาพเด็กไทย เพื่อการบริหารเงินและทำธุรกิจอย่างยั่งยืน | Techsauce

AFTERKLASS STARTUP FOR BETTER SOCIETY HACKATHON 2022 พื้นที่แสดงศักยภาพเด็กไทย เพื่อการบริหารเงินและทำธุรกิจอย่างยั่งยืน

เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา AFTERKLASS โดย KBank ได้จัดการแข่งขันโครงการ STARTUP FOR BETTER SOCIETY HACKATHON 2022 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในรอบสุดท้าย เพื่อเฟ้นหาทีมที่มีสุดยอดไอเดียในการทำธุรกิจด้วยนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์กรสหประชาชาติมาเป็นแนวคิดหลัก จากทั้ง 8 ทีมสุดท้าย ที่ผ่านการแข่งขันมาอย่างเข้มข้น

AFTERKLASS ให้ความรู้ด้านการทำธุรกิจกับเด็ก ม.ปลาย

สำหรับโครงการ AFTERKLASS นี้เกิดขึ้นจากการที่ KBank มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของเยาวชน โดยนำความเชี่ยวชาญด้านการเงินของธนาคารเข้ามาผนวกกับ Passion ของเด็กในยุคนี้ ให้เกิดไอเดียที่สามารถต่อยอดไปสู่ธุรกิจได้

คุณรวี อ่างทอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายสื่อสารและองค์การสัมพันธ์ ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะผู้จัดโครงการ กล่าวว่า จากงานวิจัยเกี่ยวกับเด็กไทย พบว่าเด็กไทยมีปัญหาการใช้จ่ายเงินค่อนข้างมาก และไม่รู้วิธีการใช้จ่ายเงินที่ถูกต้อง ทำให้เกิดการใช้จ่ายที่เกินตัว KBank จึงจัดโครงการ AFTERKLASS ขึ้นมาเพื่อให้เด็กเข้าใจว่าการทำธุรกิจนั้นเรื่องเงินเป็นเรื่องสำคัญ

"เรามองว่าช่วงมัธยมปลายเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในการสอนคนให้เติบโต โดยการสร้างทักษะด้านการเงินและต่อยอดไปสู่ Passion ผ่านการนำ Influencer ที่เด็กชื่นชอบมาเป็นผู้สอน คิดโปรเจกต์ให้เด็กทำและสอดแทรกเรื่องการเงินเข้าไปด้วย" คุณรวี กล่าว

กว่า 10 ปี ที่ได้จัดโครงการ AFTERKLASS นั้นเกิดการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและเติบโตขึ้นทุกปี ถึงแม้ว่าพฤติกรรมของเด็กจะเปลี่ยนแปลงไป มีจุดมุ่งหมายเปลี่ยนไป และใช้โซเชียลมีเดียกันอย่างหลากหลาย แต่ทีมงานก็คอยปรับตัวเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ปรับเนื้อหาให้เข้ากับบริบทของสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนไป ผ่านการพัฒนาแพลตฟอร์ม ศึกษาความสนใจของเด็ก และการเลือก Influencer ที่เด็กในยุคจะอินไปกับการสอนได้ นอกจากนี้ยังจัด Road Show ไปตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อเปิดโอกาสให้คนทั้งประเทศเข้าถึงแพลตฟอร์มได้ และยังเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

โครงการใน 2 ครั้งหลังสุดของ AFTERKLASS ถูกจัดในธีม STARTUP FOR BETTER SOCIETY เพราะ KBank มองว่าการทำธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญมาก ประกอบกับผลวิจัยเปิดเผยว่า เด็กรุ่นใหม่มี Passion ในการช่วยเหลือสังคมมากขึ้น เพราะฉะนั้นหากเด็กกลุ่มนี้สามารถทำธุรกิจไปควบคู่กับการช่วยเหลือสังคม ก็จะสร้างความเข้มแข็งให้สังคมและพัฒนาประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน

"แต่ในความเป็นจริงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการทำธุรกิจต้องรู้เรื่องการเงิน การตลาด การทำแบรนด์ และการสร้าง Cash Flow ซึ่งในโครงการนี้จะสอนให้เด็กได้รู้วิธีการทำธุรกิจจริงๆ สามารถ Scale ธุรกิจต่อได้" คุณรวี กล่าว

และจากความตั้งใจของทีมงาน ส่งผลให้โครงการ AFTERKLASS STARTUP FOR BETTER SOCIETY HACKATHON 2022 ที่ผ่านมา มีนักเรียนสมัครเข้าร่วมการแข่งขันมากถึง 140 กว่าทีม จากทั่วประเทศ

จาก 140 ทีม สู่ 8 ทีมสุดท้าย

การแข่งขันโครงการ AFTERKLASS STARTUP FOR BETTER SOCIETY HACKATHON 2022 ในรอบสุดท้ายนั้น เป็นการคัดเลือกน้อง ๆ จากทั้ง 140 กว่าทีม จนมาถึงรอบ 15 ทีมสุดท้าย และมาจบที่รอบ 8 ทีมสุดท้าย เพื่อหาผู้ชนะของโครงการ

บรรยากาศการ Pitching นั้นคล้ายกับการ Pitching ของ Startup โดยเข้ามาเสนอผลงานบนเวทีทีละทีม และแต่ละทีมมีเวลานำเสนอแผนงานทีมละ 7 นาที มีคณะกรรมการทั้งหมด 7 ท่าน คอยถามข้อสงสัยต่างๆ อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งทุกทีมนั้นนำเสนอได้น่าสนใจ และสามารถตอบคำถามคณะกรรมการได้เป็นอย่างดี

สำหรับการนำเสนอของทั้ง 8 ทีม นั้นได้แก่

1.ทีม DKRG นำเสนอโครงการ NornTidLor (หนอนติดล้อ) เป็นการทำโปรตีนจากหนอนนก เพื่อแก้ปัญหา Whey Protein ราคาสูง โดยการตั้งฟาร์มหนอนนกไว้ใกล้กับศูนย์คัดแยกสารอินทรีย์ ซึ่งเป็นการช่วยลดขยะที่ถูกวิธี และใช้ต้นทุนต่ำ จากนั้นเมื่อหนอนนกโตแล้วจึงนำส่งโรงงานเพื่อแปรรูปเป็น Whey โดยจะเริ่มทำตลาดในไทยก่อนขยายไปสู่เอเชียและตลาดโลก ทั้งนี้น้อง ๆ ทีม DKRG ตั้งเป้าจะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ 2,880 ตัน

2.ทีม Being Gimmic กับโครงการ Eduflex เป็นแพลตฟอร์ม EdTech แบบ Subscription มีจุดเด่นด้านความหลากหลายของคอนเทนต์ ใช้ UCG ที่เป็นติวเตอร์หรืออาจารย์สอนพิเศษ เป็นผู้ผลิตเนื้อหา ขณะที่ผู้ใช้สามารถให้ดาวกับติวเตอร์ที่สอนเก่งได้ ด้านแพ็กเกจมีความหลากหลาย ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกวิชาให้ตรงตามความต้องการกับที่สนใจได้ ทำให้ค่าสมาชิกถูกกว่าคู่แข่ง

3.ทีม Single Lead ส่งแพลตฟอร์มการศึกษาชื่อ KnowHere สำหรับเด็กมัธยมที่ศึกษาด้าน IT โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มี Community คอยแลกเปลี่ยนความรู้กัน มีระบบ P2P Learning ที่ทำงานบน Blockchain ให้ผู้เรียนด้วยกันเข้ามาช่วยตรวจงานได้

4.ทีม Stratosphere เสนอโครงการ WasteInCard เข้ามาแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยการนำส่วนที่ไม่ใช่โลหะมาทำเป็นบัตรนักศึกษา ทดแทนการนำ PVC มาใช้ และยังสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากกว่าการผลิตบัตรของตลาดทั่วไป โดยเบื้องต้นต้องการเจาะกลุ่มโรงเรียนที่ต้องใช้บัตรนักศึกษา

5.ทีม TINGTING - TANGTANG นำเสนอแพลตฟอร์มรับบริจาคเพื่อการศึกษาโดยไม่ต้องผ่านมูลนิธิ DEDIICATION เพื่อให้เด็กได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ วิธีการคือ ผู้ขอรับทุนสามารถเขียนเรื่องราวเพื่อขอทุนการศึกษา ขณะที่คนให้ทุนสามารถตรวจสอบความโปร่งใสของผู้รับบริจาคได้ 

6.ทีม Prosperity นำเสนอโครงการ SoluLong เป็นแอปพลิเคชันที่เข้ามาจัดการให้เกษตรกรทุเรียนสามารถส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศได้เองโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เพื่อให้เกษตรกรทุเรียนมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ภายในแอปฯ ยังสามารถจัดอันดับสวนทุเรียน และมีการตรวจคุณภาพของทุเรียนก่อนส่งออกเพื่อป้องกันการตีกลับ

7.Better together นำเสนอแพลตฟอร์มสำหรับสายมู ศรัทธา (Sat-tha) เข้ามาตอบโจทย์ผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านการจัดเตรียมของไหว้สำหรับแก้บน โดยระบบจะให้ข้อมูลพร้อมแนะนำสถานที่พร้อมของถวายที่ต้องใช้ ช่วยประหยัดเวลาการหาข้อมูลและออกไปหาซื้อของที่ต้องการใช้

8.ทีม Classy นำเสนอโครงการ สานฝัน (Sarn-fun) เป๋นแพลตฟอร์มแบบ One Stop Service ที่เข้ามาช่วยจัดการเรื่องพินัยกรรม แนะนำการลงทุน และบำบัดจิตใจ ให้กับผู้ป่วยโรคร้ายแรงที่ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า

ซึ่งผู้ชนะในการแข่งขันโครงการ AFTERKLASS STARTUP FOR BETTER SOCIETY HACKATHON 2022 คือทีม DKRG รับเงินรางวัลไป 50,000 บาท สำหรับรางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Single Lead รับเงินรางวัล 30,000 บาท และรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม Being Gimmic รับเงินรางวัลไป 20,000 บาท

นอกจากนี้ยังมีทีม Prosperity ได้รางวัล Teamwork for Better Society รับเงินรางวัลไป 12,000 บาท และทีม Classy ได้รางวัล Popular Vote รับเงินรางวัล 5,000 บาท

การแข่งขันที่เกินมาตรฐานเด็กวัยเรียน

หลังการตัดสินผู้ชนะในแต่ละรางวัล ทางคณะกรรมการได้ออกมาเปิดใจถึงการให้คะแนน และเลือกผู้ชนะในครั้งนี้ โดย คุณธนพงษ์ ณ ระนอง Managing Director, Beacon Venture Capital กล่าวว่า "ส่วนตัวมองว่าทีม DKRG ผู้ชนะในครั้งนี้ทำแผนไอเดียได้ชัดเจน และยังตอบคำถามกรรการได้ดี เมื่อเทียบกับเด็กที่เรียนอยู่ในชั้นมัธยมปลาย ถือว่าทำได้เกินมาตรฐานของเด็กวัยนี้"

คุณธนพงษ์ กล่าวต่อว่า ไอเดียของทีม DKRG แตกต่างจากทีมอื่นเพราะเป็นการคิดธุรกิจแบบ DeepTech ขณะที่ทีมอื่นๆ เป็นแพลตฟอร์มที่ทำธุรกิจ Matching ซึ่งไม่เคยเห็นในระดับมัธยม

ด้าน คุณเชษฐพันธุ์ ศิริดานุภัทร Managing Director, KLabs กล่าวว่า "ในฐานะที่ได้ดูการ Pitching มามากมาย ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้มาพบกับเด็กมัธยมที่ต้องจเอกับคำถามค่อนข้างกดดัน แต่ทุกทีมกลับทำได้ดีเมื่อเทียบกับวัย นอกจากนี้ยังคิดโปรเจกต์ออกมาตอบโจทย์ด้าน SDGs เป็นอย่างดี"

"สิ่งที่เราอยากเห็นและช่วยผลักดันต่อไปหลังจากนี้คือ ให้เด็กรุ่นนี้ได้พัฒนากระบวนการกลั่นกรองไอเดีย การรวบรวมข้อมูล การสร้าง Story ของธุรกิจ ให้เด็กกลุ่มนี้มีความกระตือรือร้นของการสร้างธุรกิจที่มีความยั่งยืน สร้างผลกระทบทางบวกกับสังคม" คุณเชษฐพันธุ์ กล่าวเสริม

ขณะที่ ดร.รณกร ไวยวุฒิ อาจารย์ประจำสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาฯ กล่าวเสริมว่า "ส่วนตัวมองว่าทุกทีมเตรียมตัวกันมาอย่างดีมาก ทั้งการค้นคว้าข้อมูล การแก้ปัญหาจากการเปลี่ยนสิ่งที่คนส่วนมากไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้เด็กในยุคนี้ยังมีความกล้ามากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี"

ถึงจะผ่านความยากลำบาก แต่คุ้มค่า

ด้านน้อง ๆ ทีม DKRG ผู้ชนะการแข่งขันได้เล่าให้ฟังถึงแนวคิดและประสบการณ์ที่ได้รับจากการร่วมโครงการว่า "เราเริ่มต้นจากการตั้งคำถามว่ามีวิธีการกำจัดเศษอาหาร หรือขยะส่วนเกินที่ถูกกำจัดไม่ถูกวิธี เพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้หรือไม่ จากนั้นจึงค่อยเจาะลึกลงไปว่าต้นตอของปัญหามาจากอะไร มีวิธีการอะไรใหม่ๆ ที่จะช่วยลดสิ่งเหล่านี้ หรือยังไม่มีใครเคยทำหรือไม่ และนำสิ่งเหล่านั้นมาทำเป็นธุรกิจ"

น้อง ๆ ในทีม DKGR ยังเล่าต่อว่า กว่าจะกลั่นกรองไอเดียออกมาแต่ละขั้นตอนนั้นยากมาก เพราะหากไม่กลั่นกรองให้ดีก็จะมีข้อเสีย มีจุดบกพร่อง ต้องพิสูจน์ได้ว่าไอเดียนำไปใช้ได้จริง ต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังต้องหาจุดเด่นของผลิตภัณฑ์อีกด้วย

ด้านการวางแผน ต้องมีทีมเวิร์คที่ดี คิดเห็นเหมือนกัน ซึ่งกว่าจะสรุปออกมาเป็นแผนการตลาด ทีมต้องเข้าใจเกือบทุกขั้นตอน ตั้งแต่การสร้างโรงงาน อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ขณะที่การเปรียบเทียบกับคู่แข่งจะประมาณการไม่ได้แต่ต้องมีตัวเลขที่ผ่านทำ Research จากคู่แข่งในตลาดจริงๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก

"เรามีกันแค่ 5 คน ขณะที่เวลามีไม่มาก ซึ่งกดดันมาก ทำให้ทุกคนต้องทำงานของตัวเองในเวลาจำกัดมาก แต่เราอยากทำผลิตภัณฑ์ให้มันพัฒนาได้ในระดับที่ยืนได้ด้วยตนเอง และสามารถช่วยสังคมในตัวมันเองได้ในระยะยาว" ทีม DKGR กล่าวเพิ่มเติม

เมื่อถามถึงสิ่งที่ได้ตั้งแต่วันแรกที่เข้าร่วมโครงการจนมาถึงวันนี้ ทีม DKGR เล่าให้ฟังว่า ทั้งความรู้ที่ได้รับจาก Mentor และการได้ขึ้นเวที Pitching เหมือนการได้ลองทำธุรกิจในสนามจริง สามารถนำไปต่อยอดในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ว่า ทีมเวิร์คที่ดี คือการที่แต่ละคนทำหน้าที่ของตัวเองอย่างสมบูรณ์ และช่วยกันผลักดันผลงานออกมาได้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด

นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้เรื่องการสื่อสารกับเพื่อนร่วมทีม การสร้างความสัมพันธ์กับทีม การแลกเปลี่ยนมุมมอง ทำให้สามารถนำข้อคิดเห็นไปพัฒนา Business Model ให้สมบูรณ์มากขึ้นได้

KBank ร่วมต่อยอดความฝันเด็ก

ทีม DKGR ยังได้แนะนำไปถึงรุ่นน้องที่จะเข้ามาร่วมโครงการ AFTERKLASS ในครั้งหน้าว่า รางวัลนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการชนะโครงการ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ การได้เพิ่มความรู้ด้านธุรกิจ ดีไซน์ และเทคโนโลยี ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นต้นทุนในการประกอบอาชีพในอนาคต อย่ามองว่าตัวเองไม่มีความสามารถ หากสนใจและมีโอกาสได้มาเข้าร่วม ถึงแม้จะมาได้ไม่ถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย ก็มีค่ามากพอกับการที่จะสมัครเข้ามาและได้ประสบการณ์กลับไป

"เราเห็นพัฒนาการของเด็กตั้งแต่เริ่มโครงการจนมาถึงวันนี้ เราเชื่อว่าพวกเขาจะสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี นำไปต่อยอดกับคนรอบข้าง ขณะเดียวกันธนาคารได้แสดงเจตนารมณ์ให้คนได้เห็นว่าเป็นองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเราอยากทำโครงการเหล่านี้โดยไม่ได้มองผลกำไร แต่มองเรื่องการช่วยเหลือสังคมให้เติบโตไปด้วยกัน สร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้จริง" คุณรวี กล่าวเสริม

คุณรวี กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการที่น่าสนใจทาง KBank มีแผนจะต่อยอดโดยพาเข้าโครงการ Katalyst เพื่อช่วยเจียระไน Startup ให้เติบโตต่อไปได้ นอกจากนี้ยังมีบริษัท KBTG ที่พัฒนาเทคโนโลยีให้ KBank หากน้องคนใดที่ผลงานเข้าตาก็จะผลักดันให้ไปได้ไกลมากที่สุด

ทั้งนี้ โครงการ AFTERKLASS BUSINESS KAMP แบบนี้จัดทุกปี ปีละ 1 ครั้ง แต่จะมีการปรับรูปแบบต่อไปในอนาคต เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ประโยชน์และความรู้ที่ครบวงจรมากขึ้น ซึ่งไม่ได้เป็นการสอนให้เด็กรวย แต่สอนให้รู้จักใช้เงิน และสอนให้ลงมือทำจริงจึงจะประสบความสำเร็จจากการทำธุรกิจได้อย่างยั่งยืน สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจเตรียมตัวรอฟังข่าวแล้วมาร่วมกิจกรรมด้วยกัน

บทความนี้เป็น Advertorial


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มรดกแนวคิด Steve Jobs ที่ส่งต่อถึง Tim Cook เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของ Apple

Tim Cook ยกหนึ่งคำสอนล้ำค่าในการทำงานจาก Steve Job ที่ทำให้ Apple เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลก ในด้านการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กร นั่นก็คือ ‘ทุกคนสามารถสร้าง...

Responsive image

ทำไมองค์กรต้องมี ‘Innovation Culture’ พื้นฐานที่ขาดไม่ได้ถ้าอยากสร้างนวัตกรรม

ในบทความนี้ Techsauce ขอพาผู้อ่านไปรู้จักคำว่า Innovation Culture หรือ วัฒนธรรมนวัตกรรม อีกฟันเฟืองสำคัญของการสร้างนวัตกรรมองค์กรที่ขาดไปไม่ได้...

Responsive image

เจาะกลยุทธ์ ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ IKEA ร้านเฟอร์นิเจอร์เก่าแก่เอาตัวรอดในยุคดิจิทัล

กลยุทธสำคัญอย่าง ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ทำให้ IKEA สามารถรักษาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของบริษัท ไปพร้อมกับการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง...