เปิดกลยุทธ์ AIS Academy สำเร็จได้ด้วยการสร้าง ‘คน’ | Techsauce

เปิดกลยุทธ์ AIS Academy สำเร็จได้ด้วยการสร้าง ‘คน’

ในสังคมยุค Digital Disruption แทบจะไม่มีองค์กรไหนเลยที่ไม่ได้รับผลกระทบ การไม่ได้เตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลงและโดน Disrupt เสียเอง นับว่าเป็นฝันร้ายของบริษัทผู้สร้างนวัตกรรมทั้งสิ้น บริษัทจะก้าวสู่อนาคตไม่ได้เลยหากไม่ได้เตรียมแผนรับมือ แต่การที่จะประสบความสำเร็จในการทำ Transformation ได้ ไม่ใช่การที่องค์กรนั้นมีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าที่สุด แต่เป็นเพราะการมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์เปิดรับต่อการเปลี่ยนแปลงพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และการพัฒนา ‘คน’ ให้พร้อมเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน

Techsauce ได้มีโอกาสรับฟังทัศนะของคุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล เอไอเอส ถึงกลยุทธ์ภาพรวมของ AIS Academy ด้านการดูแลและพัฒนาบุคลากร สู่การเป็นผู้นำองค์กรของคนรุ่นใหม่ ตลอดจน การนำองค์ความรู้ของ AIS และพาร์ทเนอร์นานาชาติจากหลากหลายอุตสาหกรรมสู่ Public ในรูปแบบสัมมนาผ่าน AIS ACADEMY for THAIs ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดในฐานะองค์กรที่คิดเผื่อการพัฒนา “คนไทย”

ที่มาของการจัดตั้ง AIS Academy 

เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ CEO- AIS ได้ประกาศพลิกโฉมธุรกิจด้วยแนวคิดดิจิทัล (Digital Transformation) ภายในองค์กร อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงคำว่าดิจิทัล คนมักจะนึกถึงเรื่องของฮาร์ดแวร์มากกว่าซอฟต์แวร์ อย่างการลงทุนในแอปพลิเคชันหรือในเครื่องมือต่างๆ แต่ทาง AIS เรามองว่า กลยุทธ์ที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงคือเรื่อง ‘คน’ เพราะหากมีเครื่องมือที่ล้ำหน้าแต่คนไม่พร้อมก็ไม่มีประโยชน์ ความพร้อมของคนจึงเป็นเรื่องสำคัญ เราจึงทำการจัดตั้งทีมภายในช่วงปีแรก โดยเริ่มจากการ Disrupt แผนกทรัพยากรบุคคล หรือ Human Resources (HR) ก่อน เพราะถือเป็นแผนกที่มีความสำคัญยิ่งต่อองค์กรและต่อการทำ Transformation จากนั้น ในปีต่อมา เราได้เปลี่ยนการอบรมพนักงานแบบเก่า ด้วยเหตุที่เกิดความไม่สอดคล้องในตลาดแรงงานด้านการศึกษา จึงเป็นที่มาของการก่อตั้ง AIS Academy ขึ้นมา

กลยุทธ์ที่สำคัญในการทำ Digital Transformation ของ AIS คือเรื่อง ‘คน’ เพราะหากมีเครื่องมือที่ล้ำหน้า แต่คนไม่พร้อมก็ไม่มีประโยชน์ ความพร้อมของคนจึงเป็นเรื่องสำคัญ

กลยุทธ์ภาพรวมของ AIS Academy ในการพัฒนาบุคลากร

เนื่องจากกว่า 70% ของคน AIS เป็น Gen Y อีกทั้งสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนไป ทาง AIS จึงเริ่มทำการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการทำงานทั้งหมดให้เข้ากับคนรุ่นใหม่ ทำการเปลี่ยนฝ่ายฝึกอบรม พัฒนาคนในหลายๆ Segment จากที่แต่เดิมโอกาสของความก้าวหน้าเป็นเรื่องของการที่ผู้บังคับบัญชามอบโอกาสให้  แต่ทาง AIS ได้ปรับมุมมองใหม่ เปิดโอกาสให้พนักงานได้เป็นเจ้าของความก้าวหน้าด้วยตัวเอง

โดยเริ่มจากการสร้างวัฒธรรมของการเรียนรู้ Learning Community การสร้าง Knowledge Stationเปรียบเสมือน Community ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน พนักงานสามารถเข้ามาทำงาน ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม อีกทั้ง ยังเป็นพื้นที่ในการแบ่งปันความรู้ บ่อยครั้งที่ได้มีการจัดการบรรยาย ทำการเชิญชวนเหล่าผู้บริหารมาแลกเปลี่ยนความรู้อีกด้วย

นอกจากนี้ เราเชื่อว่าพนักงานสามารถพัฒนาตัวเองได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านที่ไหนก็ได้ จึงมีการนำ Digital Learning Platform เข้ามาประยุกต์ใช้ ให้พนักงานศึกษาเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่จะช่วยในการพัฒนาในสายงานด้วยตนเอง ทำการพัฒนา Education Platform “Learn Di” “Read Di” เพื่อตอบโจทย์ Self-Learning ขึ้นใน ปี 2016 เป็นแหล่งเรียนรู้แบบออนไลน์ สามารถปรับเวลาการเรียนรู้ได้ตามไลฟ์สไตล์ ในระหว่างที่พนักงานเรียนรู้ ทาง AIS จะมอบ Token เป็นรางวัล จากการอ่านหนังสือ เข้าเรียน เข้าร่วมกิจกรรม Wellness ไปจนถึงเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ

ห้องสมุดดิจิทัล 'AIS Read Di'

'การสร้าง Smart Office’ เปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่ ปรับสภาพแวดล้อมของการทำงาน แชร์พื้นที่ทำงานระหว่างกัน จากที่แต่ก่อนมีการเส้นแบ่งระหว่างระดับการทำงานแต่ละตำแหน่ง แต่ละแผนกชัดเจน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเคลื่อนตัวของบริษัท ทาง AIS จึงได้ลดความสำคัญในส่วนนี้ลง ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดเจนคือ เกิดความโปร่งใส (Transparency) มากขึ้น มีการแบ่งแยกลดลง องค์ความรู้ในการเข้าถึงคนในทุกระดับ ทำให้เห็น Fast Track ของคนรุ่นใหม่ เราอาจจะเริ่มเห็นผู้บริหารที่เป็น Young Generation มากขึ้น

จริงๆ แล้ว เมื่อมองย้อนกลับไป การทำ Transformation คนที่เป็นรุ่นพี่ต้องปรับตัวมากกว่า จากที่แต่ก่อน เราให้ระยะเวลางานเป็นเกณฑ์ตัดสินการเลื่อนขั้น แต่ปัจจุบัน เรานำ Performance เป็นเกณฑ์การวัดหลักที่สำคัญ ตลอดจนการสร้างเรือใหม่ ขณะเดียวกัน ก็ได้มีการลดชื่อตำแหน่งออกจากบริบทของทาง AIS ให้เหลือน้อยลงทั้ง VP, SEVP, SVP, AVP เหลือเพียง Head of เท่านั้น เนื่องจากการทำงานแบบ Hierarchy ทำให้ Process ของการทำงานเยอะขึ้น เมื่อเราทำงานแบบ Transparency มากขึ้น ทำให้ลดความไม่เข้าใจระหว่างกันลง สามารถทำงานเร็วขึ้น

จัดหลักสูตรในการพัฒนาบุคลากรทุกระดับของเอไอเอส

ภาพบรรยากาศ ‘โครงการ รู้ จาก ล้ม’

นอกจากนี้ AIS ยังได้จัดหลักสูตรเพื่อเสริมสร้าง Inspiration มากมาย เนื่องจากไม่ต้องการให้คน AIS ติดกรอบความสำเร็จ แต่จากประสบการณ์เราได้เรียนรู้ว่า นวัตกรรมจะเกิดก็ต่อเมื่อต้องล้มได้บ้าง ต้องไม่อายที่จะยอมรับว่าตัวเองพลาด จึงสรัางวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาใหม่ โดยเรียกว่า ‘โครงการ รู้ จาก ล้ม’ โดยให้พนักงานนำเรื่องราวมาแบ่งปันเพื่อนๆ ในองค์กรเพื่อไม่ได้พวกเขาทำซ้ำในเรื่องนั้นอีก ซึ่งเราพบว่าเป็น Change Agent ที่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องงานเท่านั้น แต่เป็นเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่ง Growth Mindset เป็นเรื่องสำคัญ โดยโครงการนี้ ได้คัดเลือกพนักงานกว่า 200 คน ต่อยอดสร้างเครือข่ายของตนเอง 

เราได้เรียนรู้ว่า คน AIS อยากจะเป็นคนที่พลาดบ้าง ไม่ต้องประสบความสำเร็จตลอดเวลา เพราะหากองค์กรทำให้พนักงานรู้สึกว่าพลาดแล้วจะเป็นบาปติดตัวไปเลย ไอเดียนวัตกรรมจะไม่เกิดขึ้นในองค์กร

รวมทั้ง การจัด 'โครงการ ACT - AIS Creative Talents' โดยสำเร็จไปแล้ว 2 รุ่น และกำลังเข้าสู่รุ่นที่ 3 เป็นโครงการที่ช่วยผลักดันให้พนักงานกล้าแสดงออก กล้าทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ และเปิดโอกาสให้พนักงานในทุกระดับมาเรียนรู้ร่วมกันในลักษณะ Networking ที่จะช่วยให้เกิด Cross Functional อีกด้วย รวมไปถึง โปรเจค Inno Jump โดยทีม NEXT ด้วยแนวคิดว่า Innovative ไม่ได้หมายถึง Product เพียงอย่างเดียว แต่อาจจะหมายถึง Process ใหม่ก็ได้ วิธีการทำอะไรใหม่ก็ได้

ภาพบรรยากาศ 'โครงการ ACT'

‘Career Model’ แผนที่ของพนักงานในการ Navigate ตัวเองให้เติบโตในสายอาชีพ

เราเชื่อว่า โอกาสที่พนักงานจะเติบโตได้นั้น อยู่ที่พนักงานเป็นผู้กำหนดเอง หากพนักงานทำงานอย่างเต็มที่มากกว่า 50% ส่วนที่เหลือก็จะขึ้นอยู่กับผู้บริหารเองว่าจะให้โอกาสหรือไม่ ทุกคนมักจะคิดว่าการเติบโตจะต้องเป็นในลักษณะด้านบนด้านเดียว แต่ AIS ไม่ได้เชื่อเช่นนั้น จึงได้ทำ Career Model ขึ้นมา เพราะเราเชื่อว่าโอกาสในการเติบโตอยู่ในมือของพนักงาน ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับตัวพนักงานเองว่าอยากจะเติบโตไปในทิศทางใด บริษัทมีหน้าที่มอบแผนที่ให้ 

Career Model เป็นตัวไกด์ว่าในการที่จะเติบโตในสายงานแต่ละงาน พนักงานควรจะต้องมีความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญในด้านใดบ้าง ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง พนักงานต้องเป็นคนรับผิดชอบในการไขว่คว้าความรู้ด้วยตัวเอง หากพนักงานไม่มีความรับผิดชอบในการเติมเต็มความรู้ให้กับตนเอง ทางบริษัทก็ไม่สามารถรับผิดชอบในตัวของเราได้

เราเชื่อว่าสภาพแวดล้อมของ AIS จะเป็นสภาพแวดล้อมของคนที่รับผิดชอบตนเอง เราเลิกเช็คเวลาทำงาน อายุงานไม่ได้เป็นคำตอบของทุกอย่าง คนที่ทำงานมานานอาจจะทำงานน้อยกว่าคนที่เข้ามาอยู่ได้ไม่กี่ปี อีกทั้งคนเราอาจจะไม่ได้ต้องการก้าวหน้าในสายงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ แต่อาจจะมีความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำอะไรได้มากกว่าหนึ่งอย่าง หลายองค์กรที่เสียคนข้างในไป เพราะว่าไม่ได้มีโอกาสให้ พนักงานได้ลองทำอะไรใหม่ๆ แต่การที่เปิดโอกาสให้พนักงาน องค์กรจะไม่เสียคนเหล่านี้ไป เพราะคนเหล่านี้ไม่ได้นั่งรอให้บริษัทมอบโอกาสให้ พวกเขาจะเตรียมความพร้อมของตัวเองอยู่ตลอดเวลา อนาคตพนักงานประจำอาจลดน้อยลง คนรุ่นใหม่อยากทำอะไรที่มากกว่าการได้เงินเพียงอย่างเดียว ดังนั้น การพัฒนาพนักงานควบคู่กับการให้โอกาสพนักงานได้ลองทำอะไรใหม่ๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญ

หลายองค์กรที่เสียคนข้างในไป เพราะว่าไม่ได้มีโอกาสให้พนักงานได้ลองทำอะไรใหม่ๆ แต่การที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้ลองทำอะไรใหม่ๆ องค์กรจะไม่เสียคนเหล่านี้ไป

บทบาทของ HR ที่เปลี่ยนไป

HR ของ AIS นั้นถือว่าเป็น Business Partner เราจึงปรับแผนกลยุทธ์ให้ HR เข้าใจเรื่องธุรกิจด้วย เพราะหาก HR ไม่เข้าใจว่าธุรกิจจะไปทางไหน ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ HR จะเตรียมความพร้อมของคนให้ตอบโจทย์ของธุรกิจ 

AIS มีการปรับใช้สวัสดิการแบบยืดหยุ่น (หรือ Flexible Benefit) เข้ากับการทำงาน เพื่อให้พนักงานสามารถควบคุมการใช้ชีวิตของตนเองได้ การจัดทำ AIS Wellness Program เนื่องจากคนรุ่นใหม่ ไม่ได้สนใจว่าป่วยแล้วจะรักษาอย่างไร แต่สนใจว่าบริษัทมีโปรแกรมอะไรที่จะทำให้เขาไม่ป่วย ไปจนถึงยกเลิกการบันทึกเวลา โดยมุ่งเน้นว่าความรับผิดชอบตนเองของพนักงานเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด

AIS ACADEMY for THAIs ภารกิจคิดเผื่อ เพื่อคนไทย นำองค์ความรู้สู่ Public 

เนื่องจากเรามองเห็นว่า เรื่อง Transformation คนที่เข้าถึงองค์ความรู้นี้ ส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานบริษัทเอกชนหรือภาครัฐ จึงเป็นภารกิจที่ทาง AIS มุ่งมั่นที่จะเติมเต็มนำองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์กับ AIS เผยแพร่สู่สาธารณะ

ในฐานะองค์กรที่ “คิดเผื่อ” มุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาทักษะความรู้ และขยายขีดความสามารถของ “คนไทย” AIS ได้นำองค์ความรู้ทั้งจาก AIS และพาร์ทเนอร์ระดับนานาชาติ ในหลากหลายอุตสาหกรรมมาร่วมแบ่งปันผ่านรูปแบบงานสัมมนา โดยจัดงานสัมมนานานาชาติ ACADEMY for THAIs ขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงเดือนตุลาคม ปี 2561 ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Disruption ที่มีชื่อเสียงระดับโลก อย่างมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มาร่วมแชร์แนวคิด การก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนในโลกธุรกิจ จากนั้น ช่วงต้นปีที่ผ่านมา AIS Academy ได้จัดงาน AIS ACADEMY for THAIs: Intelligent Nation Series โดยนำ Case Study ที่น่าสนใจในบริบทของไทยและระดับโลกอย่าง Netflix, IBM, Skype, เซ็นทรัลกรุ๊ป, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) และ Class Café มาสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดการก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

ล่าสุด AIS Academy ได้ขยายองค์ความรู้ต่อเนื่องไปยังส่วนภูมิภาคเป็นครั้งแรก ในงาน AIS ACADEMY for THAIs: to the Region องค์ความรู้สู่ภูมิภาค ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยนำสูตร Business Transformation จากองค์กรชั้นนำของไทยและนานาชาติ ทั้ง Google Cloud, IBM, Amazon, ไทยคม, The Standard และ AIS มาร่วมแลกเปลี่ยน เปิดมุมมองให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ได้มีความพร้อมรับมือกับความท้าทายของโลกยุคดิจิทัล และเห็นถึงความสำคัญของการใช้ Data ในการต่อยอดเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของการเพิ่มองค์ความรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญต่อการพัฒนาเมืองสู่ SMART CITY และถอดบทเรียนการดึงเอา “ข้อมูล” มาช่วยหนุนเสริมให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ซึ่งนับเป็นการกระจายองค์ความรู้ที่จำเป็นในโลกอนาคต มาแบ่งปันเพื่อ “คนไทย” ได้ยกระดับคุณภาพชีวิตและเติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

เมื่อพายุเศรษฐกิจโหมเข้า CFO จะขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร? ดีลอยท์ชวรรู้จัก CFO Trilemma

CFO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยการสร้างสมดุลระหว่างการฟันฝ่าวิกฤต สร้างคุณค่าระยะยาว และพัฒนาขีดความสามารถของทีม เพื่อความยั่งยืนขององค์กร...

Responsive image

ทำไมองค์กรยุคใหม่ ต้อง AI Transformation องค์กร

Session AI Tranformation โดย ดร.ลิสา พัทธ์วิวัฒน์ศิริ Chief Digital Officer The King Power Corporation และ คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ CEO & Co-Founder Techsauce ที่ได้ร่วมพูดคุยในหัวข...