มัดรวมบริการและเทคโนโลยีตัวอย่างที่ AIS Business ยืนหยัดเพื่อ ‘การเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน’ | Techsauce

มัดรวมบริการและเทคโนโลยีตัวอย่างที่ AIS Business ยืนหยัดเพื่อ ‘การเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน’

ปี 2023 จัดเป็นปีที่ผู้คนและองค์กรตื่นตัวกับการใช้เทคโนโลยีอย่างมาก โดยเฉพาะ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ที่มาแรงและสะเทือนถึงความสามารถในการเรียนรู้ของผู้คน การดำเนินงานขององค์กร AIS Business ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มุ่งเป้าหมายสู่การเป็น Cognitive Tech-co ที่ให้ความสำคัญในการร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์และร่วมสร้างบริการเพื่อสนับสนุนพาร์ตเนอร์ คู่ค้า ลูกค้า ในการทำ Digital Transformation ด้วยแนวคิดหลัก ‘เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน’ เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน จึงนำบริการและโซลูชันที่ AIS Business ช่วยซัพพอร์ตธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมและกรณีศึกษาจากการร่วมพัฒนาเทคโนโลยีกับองค์กรต่างๆ จนประสบความสำเร็จ มาเผยโฉมในงาน AIS Business Digital Future 2024 – DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION เพื่อให้เห็นตัวอย่างการใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม ว่าองค์กรระดับใดก็สามารถเข้าถึงเครื่องมือดิจิทัลหรือเลือกใช้โซลูชันที่ทั้งเหมาะและใหม่ได้ เพื่อทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนในแบบของตัวเอง

ความร่วมมือทางธุรกิจนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและ Sustainable Nation

AIS Business

สถานการณ์โลกในวันนี้ ไม่มีใครหรือองค์ใดที่สามารถเติบโตและอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ แม้แต่ AIS องค์กรขนาดใหญ่ที่มีรายได้รวมในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ 1.37 แสนล้านบาท ยังตระหนักถึงความสำคัญของการผนึกกำลังกับพันธมิตรเพื่อเดินหน้าธุรกิจท่ามกลางสารพัดความท้าทาย ด้วยแนวคิด Ecosystem Economy หรือ การสร้างเศรษฐกิจแบบร่วมกัน ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตร่วมกันของผู้คน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และ อนาคตของประเทศไทยที่ยั่งยืน (Sustainable Nation) 

AIS จัดตั้ง SD Committee เพื่อกำหนดนโยบายและแผนงานด้านความยั่งยืน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างธุรกิจและซัพพอร์ตลูกค้า โดยหากพิจารณาตามแนวทาง Ecosystem Economy AIS เน้นให้ความสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจแบบร่วมกัน 3 แกน ได้แก่ แกน Digital Intelligence Infrastructure, แกน Human Capital & Sustainability และแกน Cross Industries Collaboration (อ่านรายละเอียดเพิ่มได้ในบทความ AIS ยกระดับ Intelligence Infrastructure รองรับ Enterprise Platform ธุรกิจไทย) โดยหนึ่งในแกนที่ AIS ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ Human Capital & Sustainability ซึ่งเป็นแกนที่โฟกัสการสร้างความยั่งยืนเพื่อธุรกิจ 3 ด้าน ได้แก่ 1) Sustainable Business Operations การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน 2) Sustainable Customer Engagement การให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการสร้างความยั่งยืน และ 3) Sustainable Environment & Carbon Emission การทำให้สิ่งแวดล้อมยั่งยืนและลดการปล่อยคาร์บอน

AIS Business

E-Waste โครงการที่ใส่ใจความยั่งยืนและแมสมาก!

เชื่อว่าผู้อ่านส่วนใหญ่รู้จัก โครงการคนไทยไร้ E-Waste ที่มีการรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์และส่งกำจัดอย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นโครงการที่ AIS ทำอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2019 จากบุคลากรภายในองค์กรกระจายสู่บุคคลภายนอก เพื่อให้คนไทย ‘ทิ้ง E-Waste ให้ถูกที่ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีไปด้วยกัน’ 

และไม่ใช่แค่การทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ลงถังแล้วจบ แต่ AIS ยังทำให้ผู้ที่นำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้งสามารถติดตามเส้นทางของขยะผ่านแอป E-Waste+ ของ AIS ได้ด้วยว่า การทิ้งขยะอย่างถูกต้องในแต่ละครั้งช่วยรักษาสภาพแวดล้อมอย่างไร หรือเทียบได้กับการปลูกต้นไม้จำนวนกี่ต้น 

หลังจากผลักดันโครงการนี้มาหลายปี AIS มีพันธมิตรเข้าร่วมโครงการในลักษณะของ Green Partnership แล้ว 190 ราย และ AIS ยังจริงจังขึ้นอีกขั้นด้วยการเป็น HUB of e-waste หรือ แกนกลางด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยลงแรงลงใจทำทั้งด้านการสร้างองค์ความรู้ ด้านสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ๆ ด้านจุดรับทิ้ง ด้านการขนส่ง ไปจนถึงด้านรีไซเคิลตามเป้าหมาย Zero e-waste to Landfill ซึ่งโครงการนี้สอดคล้องกับความยั่งยืนที่บริษัทโฟกัสทั้งด้าน Sustainable Business Operations, Sustainable Customer Engagement และ Sustainable Environment & Carbon Emission

‘ทักษะดิจิทัล’ ที่คนไทยต้องมี เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างรู้เท่าทันและยั่งยืน

AIS Business

เพราะการใช้เครื่องมือดิจิทัลสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย ในแผนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ AIS จึงให้ความสำคัญในเรื่อง

  • สร้างการเข้าถึงดิจิทัลให้แก่ทุกคนในสังคม ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (Digital Divide)

  • ให้ความรู้ สอนและส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้แก่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกวัย เพื่อใช้ประโยชน์และใช้พัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ โดยเฉพาะในเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ เนื่องจากมีข้อมูลบ่งชี้ใน Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) หรือ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ระบุว่า เด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกหลอกลวงหรือถูกคุกคามทางไซเบอร์มากกว่าวัยอื่น 

  • สนับสนุนการสร้างอาชีพให้แก่ประชาชนทั่วไปด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน

  • คัดสรรโซลูชันหรือนำเสนอเครื่องมือป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ฯลฯ

เพื่อส่งเสริมสังคมออนไลน์ที่ปลอดภัยและสร้างภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ AIS จัดทำ อุ่นใจ CYBER หลักสูตรให้ความรู้และทักษะด้านดิจิทัลหลากหลายด้าน และยังแยกออกเป็นหลายเซกเมนต์ ทั้งสำหรับเด็ก ผู้สูงวัย บุคคลทั่วไป องค์กร อาทิ การจัดการเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์, Cyber Communication การจัดการร่องรอยทางไซเบอร์, Cyber Security การจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ส่วนบุคคล โดย อุ่นใจ CYBER อยู่ภายใต้โครงการ ภารกิจคิดเผื่อ เพื่อคนไทย ซึ่งใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ทางออนไลน์ LearnDi สร้างโอกาสที่เท่าเทียมและหลากหลายในการพัฒนาทักษะทางด้านดิจิทัลและเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา 

ส่วนการส่งเสริมการเรียนรู้ยุคดิจิทัลเพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต บนแพลตฟอร์ม LearnDi ยังเปิดให้ผู้สนใจเข้าไปเรียนรู้ได้หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี การทำธุรกิจ ภาษา สุขภาพ ซึ่งมีทั้งแบบเรียนฟรีและมีค่าใช้จ่าย เช่น คอร์สเรียนออนไลน์ เทคโนโลยี ไอที 5G for Everyone, วิธีคิด เพื่อสร้างความสำเร็จในการทำงาน, คอร์สเรียนออนไลน์ ธุรกิจค้าปลีก RETAIL BUSINESS DEVELOPMENT, คอร์สเรียนออนไลน์ ธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต MANUFACTURING BUSINESS DEVELOPMENT

5 โซลูชันตัวอย่างสำหรับภาคธุรกิจ ลดความยุ่งยาก พร้อมซัพพอร์ตความต้องการที่แตกต่างอย่างยั่งยืน

AIS Business

นอกจากการดำเนินงานและกิจกรรมเพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อมแล้วตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว AIS Business ยังพร้อมพัฒนา และนำเทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนธุรกิจไทย ให้สามารถก้าวข้ามขีดความสามารถเดิม ๆ พร้อมต่อการเปลี่ยนผ่าน สร้างคุณค่าใหม่ ให้ธุรกิจ เติบโตอย่างยั่งยืน โดยเทคโนโลยีหรือโซลูชันที่มาช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่ภาคธุรกิจ จากการได้รับฟังข้อมูลในบิ๊กอีเวนต์ AIS Business Digital Future 2024 – DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION สะท้อนว่า การทำงานร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลาย ทั้งพันธมิตรด้านเทคโนโลยี พันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในแต่ละภาคอุตสาหกรรม สามารถช่วยสนับสนุนให้องค์กรมากมายดำเนินธุรกิจได้คล่องตัวขึ้น ยืดหยุ่นมากขึ้น  ด้วยแพลตฟอร์มและโซลูชันที่รองรับความต้องการขององค์กรธุรกิจทุกขนาด มากกว่านั้น…ยังช่วยแก้ปัญหาที่เวียนวนและช่วยให้ธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลได้เร็วขึ้นอีกด้วย อาทิ 

  • ตัวอย่างที่ 1 : แบรนด์ได้รับผลกระทบจากกรณีที่มิจฉาชีพอ้างชื่อบริษัท โดยโทรเข้าไปหลอกลวง ขโมยข้อมูลของลูกค้า

ปัญหานี้แก้ได้ด้วยการใช้ระบบเชื่อมต่อข้อมูลบริษัทจากทุกช่องทางผ่านแพลตฟอร์มเดียว เพื่อให้ข้อมูลจากบริษัทต้นทาง เช่น เบอร์ติดต่อ Service Center ปรากฏบนอุปกรณ์ของผู้รับปลายทางอัตโนมัติ โดย AIS พัฒนาบริการร่วมกับกลุ่ม Bridge Alliance ในรูปแบบของ Cloud-based APIs ที่เรียกว่า CPaaS (Communications Platform-as-a-Service) เพื่อช่วยให้องค์กรเชื่อมต่อทุกช่องทางการสื่อสารเข้ากับแอปพลิเคชันที่ใช้อยู่อย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Teams, Zoom, Slack ผ่านแพลตฟอร์มเดียว จึงช่วยเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลองค์กรและข้อมูลลูกค้าได้

CPaaS AIS Business

  • ตัวอย่างที่ 2 : บริษัทที่ต้องการพัฒนาบริการ Call Center หรือเพิ่มคู่สายเพื่อตอบคำถามลูกค้าได้มากขึ้น รวดเร็วยิ่งขึ้น 

งานนี้ไม่ต้องเสียเวลาเทรนพนักงานเก่า รับสมัครพนักงานใหม่ เพราะ AIS พัฒนาโซลูชันที่มี AI ช่วยตอบคำถามลูกค้าได้อย่างอัจฉริยะจากข้อมูลที่ป้อนเข้าไปในระบบ ด้วยบริการใหม่ที่เรียกว่า AI Voice Bot และ AI ยังโต้ตอบได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งยังสามารถให้บริการอื่น ๆ ได้อีก เช่น โทรนัดหมายให้บริการ เสนอขายสินค้า 

AIS Business

  • ตัวอย่างที่ 3 : บริษัทต้องการโซลูชันมาช่วยให้พนักงานทำงานได้เร็วขึ้น สรุปการประชุมได้แบบปัจจุบันทันด่วน ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลและหาอินไซด์ได้อย่างอัจฉริยะ

ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร เลขา เซลล์ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ก็สามารถใช้โซลูชันที่ AIS ร่วมกับ Microsoft นำเสนอด้วยบริการที่ชื่อว่า Microsoft 365 Copilot for Enterprise ต่อยอดบริการ Microsoft 365 ที่มี Generative AI เข้ามาเป็นผู้ช่วยอัจฉริยะ โดยฝัง AI เอาไว้ในโปรแกรม Word, Excel, PowerPoint, Outlook และ Teams ผู้ใช้งานเพียงพิมพ์คำสั่ง (Prompt) ว่าต้องการให้โปรแกรมเขียนหรือวิเคราะห์อะไร (บนพื้นฐานข้อมูลที่มีทั้งของภายในและภายนอกองค์กร) หรือสั่งทำพรีเซนเทชัน ระบบก็จะประมวลผลและให้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ประหยัดเวลาการทำงานและได้เพิ่มทั้งประสิทธิภาพการทำงานและผลิตภาพ

AIS Business

  • ตัวอย่างที่ 4 : ผู้ประกอบการที่ต้องการระบบอัตโนมัติไปใช้ในคลังสินค้า หรือเปลี่ยนคลังสินค้าให้เป็นคลังสินค้าอัจฉริยะ (Smart Warehouse) แต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน

หากคิดไม่ออก AIS Business มีผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาและหาโซลูชันหรือแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับแต่ละองค์กร เช่น สินค้าในคลังมีจำนวนมากขึ้น แต่จำนวนพนักงานยังคงเท่าเดิม ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะให้เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการใช้โซลูชันช่วยบริหารจัดการสินค้าในคลัง ตั้งแต่การใช้หุ่นยนต์ช่วยคัดแยกสินค้า การลำเลียงสินค้า การเก็บสินค้าเข้าชั้น ด้วยบริการ Smart Warehouse ซึ่งมัดรวมหลายโซลูชันเข้าไว้ด้วยกันและควบคุมการทำงานผ่านแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อกันผ่านเครือข่าย 5G เช่น Automated Storage and Retrieval System (AS/RS) ระบบจัดเก็บและกระจายสินค้าอัตโนมัติ Automated Guide Vehicle (AGV) รถขนถ่าย ลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ Automated Picking & Handling System ระบบหยิบและขนถ่ายสินค้าอัตโนมัติ ข้อดีคือ หุ่นยนต์ทำงานได้อย่างรวดเร็วและเก็บสินค้าเข้าคลังได้อย่างแม่นยำ จึงช่วยประหยัดเวลา ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ลดการใช้แรงงานคน ตลอดจนลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายสินค้าด้วยแรงงานคนได้

AIS Business

  • ตัวอย่างที่ 5 : บริษัทอยากนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยบริหารจัดการการใช้พลังงานในโรงงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเก็บข้อมูลคาร์บอนเครดิต

ตัวอย่างนี้เข้ากับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล หรือ ESG (Environment, Social, Governance) ซึ่ง AIS กำหนดทิศทางสำหรับองค์กรและแนวทางสนับสนุนพาร์ตเนอร์ คู่ค้า ให้ดำเนินการตามหลัก ESG เพื่อร่วมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน สำหรับโซชูชันที่ตอบโจทย์ข้อนี้ AIS พัฒนาระบบบตรวจสอบการใช้ค่าพลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่างๆ ในโรงงาน ทำให้เห็นข้อมูลการใช้งานแบบเรียลไทม์ มีข้อมูลมาวิเคราะห์และหาวิธีการปรับปรุงการใช้พลังงานไฟฟ้าในโรงงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำข้อมูลมาคำนวณคาร์บอนเครดิตได้อีกต่อ ผ่านบริการที่เรียกว่า Energy Management Platform

เช่นที่ บริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด โดยทางสยามโตโยต้านำเทคโนโลยี 5G และ Energy Management Platform ของ AIS ไปใช้ติดตามข้อมูลการใช้พลังงานแบบเรียลไทม์ ทั้งยังใช้ตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลการผลิต จึงเป็นความร่วมมือที่เสริมแกร่งให้ธุรกิจผลิตยานยนต์ซึ่งอยู่กันคนละอุตสาหกรรม สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนท่ามกลางความท้าทายได้ต่อในระดับภูมิภาค

AIS Business

กรณีศึกษา AIS x SCG การผนึกกำลังข้ามไลน์ธุรกิจเพื่อความยั่งยืน 

“AIS เชื่อว่า การทำ Cross Industries Collaboration ไม่ได้ทำเพื่อการเติบโตทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่เรากำลังสร้าง Greenovation นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และทำให้เกิดความยั่งยืนในการทำธุรกิจ” คุณนวชัย เกียรติก่อเกื้อ Head of Enterprise Marketing Management Unit, AIS Business กล่าวในงาน AIS Business Digital Future 2024 – DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION 

เกริ่นก่อนว่า Siam Cement Group (SCG) มีหลายธุรกิจในเครือ โดยหนึ่งในนั้นเป็นธุรกิจเหมืองเพื่อการผลิตปูนซีเมนต์ และเมื่อต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ร่วมกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก SCG จึงต้องเปลี่ยนภาพของ Mining ให้เป็น Green Mining หรือ เหมืองแร่สีเขียว

AIS Business

แต่ด้วยความท้าทาย 3 ด้านที่ SCG ต้องเผชิญ ได้แก่ 1) ทำอย่างไรให้ธุรกิจแข็งแรงและมุ่งมั่นสู่การทำตามหลัก ESG ได้ เช่น การทำเหมืองให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2) ทำอย่างไรให้ธุรกิจตอบสนองความต้องการของบุคคลทั่วไปได้ในอนาคต และ 3) ทำอย่างไรที่บริษัทจะลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้แก่พนักงานได้ 

จากความร่วมมือกันระหว่าง SCG และ AIS Business สามารถต่อยอดความสำเร็จจากการพัฒนาต้นแบบรถ Forklift ร่วมกัน เพื่อให้สามารถควบคุมรถได้จากระยะไกลด้วยเทคโนโลยี 5G จนเกิดเป็น

  • 5G Smart Autonomous Vehicle Solution For Sustainable Industrial Advancement หรือ นวัตกรรมขนส่งไร้คนขับ เพื่อลดปัญหาและอุปสรรคในการทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัยให้พนักงาน พร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อม

  • Autonomous EV Vehicle เช่น EV Unmanned Dump Truck รถบรรทุกไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดยรถสามารถวิ่งตามเส้นทางที่กำหนด หลบหลีกสิ่งกีดขวาง วัดระยะห่างจากจุดที่กำหนด เมื่อแบตใกล้หมดก็กลับไปชาร์จแบตที่สถานีอัตโนมัติ และควบคุมการเดินรถและหยุดรถได้ด้วยเทคโนโลยี 5G ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานในเหมืองได้

  • Intelligent Dispatching System ระบบบริการจัดการการเดินรถอัจฉริยะ เป็นการทำงานเชื่อมต่อกันของระบบยานยนต์ไร้คนขับ ระบบการควบคุมรถระยะไกล และระบบบริหารจัดการการเดินรถด้วย 5G ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงได้ถึง 65-100% ลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 35% และยังเพิ่มความปลอดภัยให้แก่พนักงานอีกทางหนึ่ง

AIS Business

ตัวอย่างองค์กรจากหลากหลายอุตสาหกรรมที่ AIS Business เข้าไปมีส่วนร่วมในการสนับสนุนและพัฒนาโซลูชันนี้ เห็นได้ชัดว่า ฝั่งที่ต้องการพัฒนาธุรกิจ หรือทำ Digital Transformation ขาดเพียงเครื่องมือดิจิทัลซึ่งเป็น ‘ข้อต่อ’ ที่ช่วยให้ธุรกิจเดินต่อได้โดยไม่สะดุด อย่างไรก็ตาม ‘ข้อต่อ’ ที่แต่ละองค์กรต้องการนั้นมีความหลากหลาย หลายรายจึงต้องออกแบบเทคโนโลยีที่ Customization และยืดหยุ่นได้ ยิ่งในภาวะ Climate Change ทุกธุรกิจยิ่งต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อม คำนึงถึง ‘ความยั่งยืน’ ตามหลัก ESG ร่วมด้วย ทั้งหมดนี้จึงเป็นทั้งความต้องการและความท้าทายสำหรับองค์กรธุรกิจแต่ไม่ว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนไปอย่างไร ความต้องการขององค์กรจะเปลี่ยนแปลงหรือซับซ้อนมากเพียงใดก็ตาม AIS Business จะยังคงยืนหยัดในการเป็นพาร์ตเนอร์ ร่วมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมอย่างสุดกำลัง

เพราะสุดท้ายแล้ว การร่วมพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี และโซลูชัน ไม่ว่าจะเพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การเพิ่มศักยภาพ ผลผลิต ผลิตภาพ ลดการสร้างขยะหรือปล่อยของเสีย การเพิ่มทักษะให้พนักงาน ลดการใช้เวลาทำงานของพนักงานลง การที่พนักงานสามารถทำงานได้อย่างสะดวกปลอดภัยยิ่งขึ้น รวมถึงการจัดเก็บและใช้ข้อมูลอย่างถูกต้อง โปร่งใส เชื่อถือได้ การใช้เทคโนโลยีช่วยลดต้นทุน การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในอนาคต ฯลฯ หรือก็คือ การใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการทรัพยากรใดๆ ขององค์กรซึ่งก่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางบวก และส่งผลต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจในระยะยาวได้ ปลายทางแห่งความสำเร็จของการผนึกกำลังกันก็คือ ทำให้ธุรกิจเติบโตและอยู่ได้อย่างยั่งยืนร่วมกัน ส่งผลต่อ อนาคตของประเทศไทยที่ยั่งยืน (Sustainable Nation) ต่อไป

AIS Business

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย

เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน

"Your Trusted Smart Digital Partner"

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่ 

Email : [email protected] 

Website : https://www.ais.th/business

...............................................

บทความนี้เป็น Advertorial 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

เมื่อพายุเศรษฐกิจโหมเข้า CFO จะขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร? ดีลอยท์ชวรรู้จัก CFO Trilemma

CFO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยการสร้างสมดุลระหว่างการฟันฝ่าวิกฤต สร้างคุณค่าระยะยาว และพัฒนาขีดความสามารถของทีม เพื่อความยั่งยืนขององค์กร...

Responsive image

ทำไมองค์กรยุคใหม่ ต้อง AI Transformation องค์กร

Session AI Tranformation โดย ดร.ลิสา พัทธ์วิวัฒน์ศิริ Chief Digital Officer The King Power Corporation และ คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ CEO & Co-Founder Techsauce ที่ได้ร่วมพูดคุยในหัวข...