ถอดแนวคิด AMATA Smart City สร้างนิคมอุตสาหกรรมอย่างไร ให้อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล | Techsauce

ถอดแนวคิด AMATA Smart City สร้างนิคมอุตสาหกรรมอย่างไร ให้อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล

Smart City ในความคิดของคุณคืออะไร ? ...

ปัจจุบันหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Smart City กันอย่างคุ้นหูมากขึ้น จากการที่ไม่ว่าภาครัฐบาล หรือ ภาคเอกชนเองต่างก็กระตุ้นให้เกิดขึ้น และสามารถจับต้องได้จริง โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่หลายภาคส่วนต่างให้ความสำคัญในการพัฒนาเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้าด้วยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น

นอกจากภาคประชาชนแล้ว ทางด้านภาคอุตสาหกรรมเองก็ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างเมืองอัจริยะเช่นเดียวกัน อย่างกรณีศึกษาของ บมจ.อมตะ คอร์ปอร์เรชั่น ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมรายใหญ่ของประเทศไทย ที่มีความต้องการที่จะพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ด้วยวิธีการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดการใช้งานน้อยที่สุด แต่สามารถตอบสนองต่ออุตสาหกรรมได้มากที่สุดเช่นกัน 

โดยในบทความนี้ Techsauce ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ ‘วิบูลย์ กรมดิษฐ์’ กรรมการบริหาร และประธานเจ้าที่บริหารด้านการตลาดของอมตะ ซึ่งเป็นกำลังหลัก  ในการขับเคลื่อนการสร้าง AMATA Smart City ให้กลายเป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งโลกอนาคตที่เป็นการผสมผสานอุตสาหกรรมให้สามารถอยู่กับสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นเนื้อเดียวกันได้  โดยการพัฒนาให้อมตะเป็นดั่งศูนย์กลางของการวิจัยและพัฒนา (Center of research and development) 

smart-city-amata

สำหรับกลุ่มธุรกิจของอมตะ ได้มีการดำเนินงานใน 4 ธุรกิจหลัก ได้แก่ กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม กลุ่มสาธารณูปโภค กลุ่มการให้บริการ และการลงทุนอื่นๆ  โดยรายได้หลักจะมาจากกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมในการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับการพัฒนาแล้ว (Land Sale) และการให้บริการด้านสาธารณูปโภคภายในนิคม ซึ่งจะสามารถสร้างการเติบโตในแง่ของรายได้ให้กับบริษัทปีละประมาณ 10%

แต่ในขณะเดียวกันการทำธุรกิจไม่สามารถที่จะพึ่งพิงรายได้จากธุรกิจ Land Sale ในไทยได้ตลอด ดังนั้นทำให้อมตะต้องหาพื้นที่ในประเทศที่มีแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมได้ดี อย่างเช่น เวียดนาม ในการเข้าไปพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการลงทุนที่จะหลั่งไหลเข้ามา

นอกจากนี้ในแง่ของประเทศไทยเอง อมตะก็ต้องมีการปรับตัวให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จึงทำให้กลุ่มอมตะได้พัฒนาโครงการ AMATA Smart City หรือ เมืองอัจริยะอมตะขึ้นมา

โดยจะส่งเสริมให้เป็นเหมือนกับ Thing Tank ศูนย์กลางการเรียนรู้และพัฒนา พร้อมกับเป็นพื้นที่พิเศษที่จะดึงดูดการลงทุนของอุตสาหกรรมระดับ High Technology ซึ่งสอดคล้องกับการที่ภาครัฐบาลผลักดันโครงการ ‘ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก’  (Eastern Economic Corridor : EEC) ที่จะเป็นการส่งเสริมให้พื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง ได้รับการพัฒนาให้สามารถยกระดับเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยี ซึ่งมีทั้งหมด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย แบ่งเป็น

  •  First S-Curve 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ ได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 

  • New S-Curve 5 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต  ได้แก่ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ การบินและโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ การแพทย์ครบวงจร และดิจิทัล

ผมเชื่อว่าในประเทศไทย ยังมีช่องทางการเติบโตของธุรกิจากพอสมควร เพียงแต่เราต้องปรับตัว อย่าไปใช้อุตสาหกรรมที่มัน Low Tech ที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเกินไป จึงเป็นที่มาให้อมตะ ต้องสร้างสมาร์ทซิตี้ให้เกิดขึ้น

AMATA Smart City นิคมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

“มนุษย์เราทำร้ายสิ่งแวดล้อม ตอนนี้เห็นกันหรือไม่ว่าเราเริ่มจะโดนสิ่งแวดล้อมเอาคืน เมื่อก่อนพวกคุณมีการใช้ฟอสซิล ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ สร้างก๊าซเรือนกระจก อะไรต่อมิอะไรไม่รู้ที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม จนวันนี้มีพายุต่างๆที่เกิดขึ้นมากมาย หรือที่เราเรียกว่า climate change สิ่งเหล่านี้ปรากฎขึ้น ซึ่งเป็นการเอาคืนจากธรรมชาติ และถ้ามนุษย์ต่างคนต่างก็บอกว่า ไม่เป็นไร เราทำแค่เล็กน้อย  แต่ถ้าหลาย ๆ คนคิดแบบนี้ เมื่อเกิดขึ้นมากเข้า และนานวันเข้า ลองคิดดูว่ามันจะเป็นอย่างไร” 

จากคำบอกเล่าของวิบูลย์ กรมดิษฐ์ ที่มองเห็นถึงสาเหตุที่ทำให้มนุษย์ต้องหันมาสร้างทุกอย่าง และปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมโดยไม่ทำร้ายกัน ถือเป็นเหตุผลหลัก ๆ ของการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ ขึ้นในอาณาจักรของอมตะ 

smart-city-amataภาพจำลองการแบ่งโซนของอุตสาหกรรมใน AMATA Smart City

สำหรับ AMATA เป้าหมายสำคัญ คือ ความต้องการที่จะเป็น united sustainable company ดังนั้น การสร้างสมาร์ทซิตี้ สำหรับอมตะ ก็คือ การสร้างเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาก ๆ โดยการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด หรือใช้ทรัพยากรที่รบกวนสิ่งแวดล้อมน้อย ๆ แต่มีประสิทธิภาพต่ออุตสาหกรรมมากเช่นกัน 

ยกตัวอย่างเช่น ด้านพลังงาน กลุ่มอมตะหันมาผลิตพลังงานไฟฟ้าจาก Solar Cell มากขึ้น เพราะไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเกิดความเสียหาย แต่ได้ประสิทธิภาพ คือ สามารถ Covert มาเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานได้ ทั้งนี้ยังมีการทำ Smart Factory คือ โรงงานที่ไม่ปล่อยควันพิษที่สร้างมลพิษ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งเราสร้างมาอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องอาศัยความค่อยเป็นค่อยไป ปรับเรื่อย ๆ เพื่อให้สามารถ Matching กับ Demand ของลูกค้าเราได้ 

smart-city-amataการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะของอมตะทั้ง 10 ด้าน

สมาร์ทซิตี้ที่อมตะจะทำนั้น เราจะมีพื้นที่สำหรับการพัฒนาตรงนี้โดยเฉพาะ แบ่งการพัฒนาเป็นส่วน ๆ ให้กับกลุ่มนักลงทุนของแต่ละประเทศ และให้เขามาช่วยบริหารจัดการ เพราะทุกประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทย ล้วนมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมที่จะทำให้อุตสาหกรรมไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว 

โดยสาเหตุที่เราจัดแบ่งเช่นนี้ ก็เพราะว่า อมตะต้องที่จะบริหารจัดการอย่าง Work Smart โดยเรารู้จักตัวเองดีว่าเราเก่งอะไร และเราคือใคร ดังนั้นอะไรที่เป็นส่วนเสริมเราจะหาพันธมิตรเก่ง ๆ และมี Know How เข้ามาช่วยทำ 

ยกตัวอย่างโครงการสมาร์ทซิตี้ในเฟสแรกที่จะได้เห็น คือ กลุ่มของประเทศญี่ปุ่น โดยในพื้นที่ที่เราวางไว้ให้เป็นสมาร์ทซิตี้นั้น เราได้มีการ Join กับทาง Hitachi ในการเปิดตัว ศูนย์ลูมาด้า (Lumada Center) ซึ่งเป็นโซลูชั่นบริการและเทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูงของ Hitachi ที่จะวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อช่วยสร้าง Smart Factory เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตได้มากขึ้น และพื้นที่โซนดังกล่าวอมตะก็ได้ร่วมมือกับทางเทศบาลเมืองโยโกฮาม่าให้มาช่วยดีไซน์พื้นที่ให้เป็น Smart Area ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะสามารถแล้วเสร็จภายใน 18 เดือน

smart-city-amataภาพจำลองบรรยากาศส่วนหนึ่งใน AMATA Smart City

Center of  Research and Development

สิ่งที่อมตะวางไว้ ในการสร้างสมาร์ทซิตี้ จะมีจุดเด่นในเรื่องของ Think Tank หรือเป็นเหมือนสมองของอุตสาหกรรม จากเมื่อก่อนเราเน้น Production แต่ในสมาร์ทซิตีตรงนี้จะเป็น Research and Development (R&D) และต้องเอามารวมเป็น Center  เพราะจะทำให้ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ดังนั้นสิ่งที่เราคิด คือ เราต้องการจะเป็น Center of R&D

นอกจากภายในศูนย์กลางตรงนี้จะมีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นด้วย เพราะเราต้องการสร้างให้เป็น Smart Education โดยเมื่อปี 2561 บริษัทได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยอมตะ ในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาและอบรมเรื่องการผลิตอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิต รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการผลิตของไทย     

สำหรับภายใน smart city ที่เราสร้างขึ้น อมตะจะรับผิดชอบในส่วนของ Land Development ที่จะเป็นการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ สิ่งอำนวยความดวก และสาธารณูปโภค ส่วนกลุ่มนักลงทุนที่จะเข้ามาเราก็จะแบ่งตามพื้นที่ที่วางไว้ ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของ EEC และต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่กับสิ่งแวดล้อมโดยผสานเป็นเนื้อเดียวกันได้ 

ขณะที่ความคาดหวังในการพัฒนาของอมตะ Concept ของเราคือ Today better than yesterday และ Tomorrow better than today ดังนั้นสิ่งที่เราได้พัฒนาให้เป็น Smart ในวันนี้ ในวันข้างหน้ามันจะเป็น Smart อีกหรือไม่ แน่นอนว่ามันก็ต้องดีขึ้นกว่านี้ ในอนาคตจะต้องมีคนรุ่นใหม่ที่จะต้องอยู่ต่อไป ซึ่งรุ่นของเราทำหน้าที่สร้างพื้นฐานทุกอย่างไว้ให้มันดี เพื่อให้ Gen ต่อไปสามารถพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้นไปกว่านี้อีกได้ 

การพัฒนาสมาร์ทซิตี้ขึ้นมา คือ การสร้างเมือง ไม่ให้เป็นเมืองที่ตาย นั่นคือ เมืองที่ไม่เกิดการพัฒนาแล้ว ดังนั้นเราต้องทำให้มันมีการพัฒนาตลอดเวลา เพื่อให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้าน และนี่ก็คือ วิถีของอมตะ

smart-city-amataภาพจำลองบรรยากาศ AMATA Smart City

‘คน’ จะ Smart ได้ ต้องปรับที่ Mindset

ในด้านของการพัฒนาคนให้สามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยเแพาะทางด้านเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามานั้น เริ่มแรกเราต้องมองดูก่อนว่า เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างไร เมื่อมองเห็นตรงนี้ได้แล้วก็ลงมือปรับ และต้องอย่าไปกลัว อย่าไปคิดว่าจะทำให้เราตกงาน เพราะความคิดแบบนี้ผิดมหันต์

ยกตัวอย่างเมื่อก่อนที่มีการเข้ามาของคอมพิวเตอร์ ต้องปรับความคิดให้มองว่าจริง ๆแล้วถ้าลองศึกษาจะพบว่า คอมพิวเตอร์จะทำให้คุณสามารถทำงานสะดวกมากขึ้น ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น ช่วยทำในสิ่งซ้ำซากให้เรา ทำให้เรามีเวลาเหลือไปทำอย่างอื่น ดังนั้นเทคโนโลยีอื่น ๆ ก็เหมือนกัน เพียงแค่ปรับ Mindset ในการมองเท่านั้นเอง 

สำหรับการทำงานของอมตะ เราไม่ได้ทำงานกันแบบ Very Serious on figure แต่เราทำงานโดยเติมความเป็นครอบครัวลงไปบ้าง หากมีปัญหาก็สามารถปรึกษากันได้  เราก็จะมีการแนะนำกัน  บางครั้งหากมีเรื่องใหม่ ๆ เข้ามา เราก็จะให้คนของเราได้เรียนเพิ่ม เพราะเราเชื่อไม่ว่ามีอะไรเกินความสามารถของพวกเขา แค่ไปเรียนเพื่อ just how to use it เท่านั้น แต่สิ่งที่องค์กรอยากเพิ่มเติม คือ เรื่องของความ Create เพื่อจะได้นำไปสู่การสร้าง Innovation จากคนของเราเองได้ 

อีกสิ่งหนึ่งที่อมตะปลูกฝังคนในองค์กรเลยก็คือ การทำงานแบบ Work Smart เมื่อมีปัญหาใด ๆ เข้ามาก็ตามต้องอย่าแบก ให้เอามาปรึกษา เพื่อจะได้จัดสรรให้มีการแก้ไขได้อย่างตรงจุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวคุณเองก็ต้อง Try your best ก่อน 

เมื่อใดก็ตามที่มีปัญหา แล้วแบกไว้คนเดียว นั่นเป็นสิ่งที่ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความเก่งกาดสามารถของคุณ แต่แสดงให้เห็นถึงความโง่เขลา เบาปัญญาของคุณต่างหาก ดังนั้นผมถึงได้บอกว่า การทำงานในองค์กรมันต้องทำแบบ Work Smart แบ่งงานกันทำ และกระจายงานกันให้ดี 



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

เมื่อพายุเศรษฐกิจโหมเข้า CFO จะขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร? ดีลอยท์ชวรรู้จัก CFO Trilemma

CFO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยการสร้างสมดุลระหว่างการฟันฝ่าวิกฤต สร้างคุณค่าระยะยาว และพัฒนาขีดความสามารถของทีม เพื่อความยั่งยืนขององค์กร...

Responsive image

ทำไมองค์กรยุคใหม่ ต้อง AI Transformation องค์กร

Session AI Tranformation โดย ดร.ลิสา พัทธ์วิวัฒน์ศิริ Chief Digital Officer The King Power Corporation และ คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ CEO & Co-Founder Techsauce ที่ได้ร่วมพูดคุยในหัวข...