CVC (Venture Capital Fund หรือธุรกิจเงินร่วมลงทุน) เป็นหนึ่งในกลไกที่กลุ่มบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด เลือกให้เป็นเครื่องมือก่อร่างอนาคตจากการเข้าไปคัดสรรและลงทุนธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะกิจการ Startup ด้วยถือว่าเป็นหนึ่งใน New S-Curve หรือธุรกิจแห่งอนาคตที่น่าสนใจ ตามมุมมองของทายาทรุ่น 4 อย่าง ภูริต ภิรมย์ภักดี ในฐานะประธานกรรมการบริหาร กองทุน สิงห์ เวนเจอร์ส (Singha Venture Capital Fund) ที่เชื่อว่าการปรับตัวก่อนถูก disrupt คือหนทางที่จะทำให้กิจการของครอบครัวอยู่ยืนยาวได้อีก 100
ทั้งนี้ปัจจุบันธุรกิจในเครือบุญรอดฯ ครอบคลุม 5 เสาหลัก ซึ่งประกอบด้วย 1.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในสินค้ากลุ่มเบียร์ 2.เครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ ในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจร้านอาหาร 3.ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 4.การผลิตบรรจุภัณฑ์ และ 5.ธุรกิจโลจิสติกส์
ส่วนบทบาทและพัฒนาการที่โดดเด่นของ Singha Venture Capital Fund จะมีแนวทางเช่นไรนั้น วรภัทร ชวนะนิกุล กรรมการผู้จัดการ กองทุน สิงห์ เวนเจอร์ส ในฐานะเจ้าภาพหลักจะมาให้คำตอบ
หน่วยงานด้านการลงทุนหรือที่เราเรียกว่า Singha Ventures ก่อตั้งมาเมื่อต้นปี 2560 อยู่ภายใต้บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่สำคัญของกลุ่มบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด โดยเรามีบทบาทหลักเพื่อค้นหาเทคโนโลยี หรือ solution ต่าง ๆ มาส่งเสริมหรือเติมเต็มธุรกิจปัจจุบัน เช่นเดียวกับที่อาจมีบางส่วนแม้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมไม่มาก แต่มองว่ามีโอกาสทางธุรกิจที่ทางกลุ่มบุญรอดฯ จะสามารถช่วยกิจการ Startup ให้ขยายการเติบโตขึ้นเป็นธุรกิจใหม่ในเครือได้
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ Singha Ventures ให้ความสนใจเข้าไปลงทุน ประกอบด้วย 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่
เริ่มจากกลุ่มแรกที่เราเรียกว่า Future of Food หรือเน้นในด้านสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer products) ทั้งกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เครื่องปรุงรส รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เพราะเป็นเสาหลักของธุรกิจในเครือ อีกทั้งเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์
ทุกวันนี้มีการพูดถึงเรื่อง sustainability เราเองก็ต้องมองในมุมว่าทำอย่างไรให้ธุรกิจเราเติบโตอย่างยั่งยืนและสามารถต่อยอดเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างการเติบโตในสังคมได้
กลุ่มที่สองเราเรียกว่า Future of Retail and Logistics นั่นคือจะทำอย่างไรให้เราขายและส่งสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคได้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะไปเกี่ยวเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในการจัดการห่วงโซ่การผลิต (Supply chain) ด้านการขนส่งและการจำหน่ายสินค้า เช่น การขนส่งถึงลูกค้าปลายทางโดยตรง (last mile) การขนส่งระหว่างภาคธุรกิจ (business to business solution : B2B) และการส่งสินค้าและบริการ e-commerce
สำหรับกลุ่มที่ 3 เรียกว่า Future of Enterprise Solution หรือการที่ทำอย่างไรให้ชีวิตของคนเราง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนผู้บริโภค การขายและการตลาดของบริษัทให้ทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและให้สามารถเข้าใจผู้บริโภคได้ดีขึ้น จึงเน้นลงทุนในระบบหรือโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อช่วยในการทำงานขององค์กร(Enterprise solutions) เช่น Software as a service (SaaS) Cloud computing ระบบการจ่ายเงิน และระบบการให้สินเชื่อแก่คู่ค้า
นอกจากนี้ ยังเปิดกว้างความสนใจในการลงทุนธุรกิจอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ธุรกิจด้านสุขภาพ (Healthcare) เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotech) เทคโนโลยีสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Property technology) และ Internet of Things (IoT) เป็นต้น
ไม่ได้เฉพาะเจาะว่าต้องเป็นเทคโนโลยีอะไร แต่มองถึง solution ที่จะมาขยายหรือเติมเต็มธุรกิจของเรา
ในส่วน Future of Enterprise Solution เราได้มีการลงทุนไปเมื่อปีที่แล้วและกำลังต่อยอดคือธุรกิจที่ใช้ VR Technology (Virtual reality Technology หรือระบบเสมือนจริง/เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน) ที่มาดูแลในเรื่อง Share of shelf ที่จะมาช่วยให้การตอบสนอง การปรับชั้นวางสินค้า และการเติมผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ระหว่างทำ pilot project แล้วจะนำใช้กับตลาดในประเทศ
บ้านเราอยู่เมืองไทย จึงต้องการนำเทคโนโลยีและ Startup ในเมืองไทยให้ขยายและเติบโตขึ้นไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) อย่างไรก็ตามในแง่ของเทคโนโลยีก็ให้ความสนใจและมองหาทั่วโลก ทั้งอิสราเอล สหรัฐ และสหภาพยุโรป แต่ฐานผู้บริโภคที่ต้องการขยายอยู่ที่ SEA
CLMV เป็นกลุ่มที่เราพยายามขยายมากที่สุด
เราลงทุนทั้งผ่านกองทุนและลงทุนโดยตรง ที่เราเริ่มต้นจากเม็ดเงินจำนวน 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก่อนจะเพิมเป็น 100 ล้านเหรียญในปีนี้ เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา บริษัทลงทุนผ่านกองทุน 2 แห่ง ในรูปแบบ Fund of Funds กับ 2 Venture Capital คือ Kejora Ventures จากอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบนระบบ Technology Ecosystem ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ Vertex Ventures จากสิงคโปร์
ในส่วนของ Kejora เน้นการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินหรือ Fin Tech (Financial Technology) การขนส่ง และระบบงานเพื่อองค์กร ส่วน Vertex Ventures เป็นกองทุนในเครือของ Temasek จากสิงคโปร์ ที่เน้นการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ทั้งเทคโนโลยีที่ใช้ผ่านมือถือหรืออินเตอร์เน็ต อุปกรณ์หรือระบบที่ช่วยให้เทคโนโลยีทำงานได้ดีขึ้น และเทคโนโลยีอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย ทั้งนี้ Vertex Ventures มีเครือข่ายทั่วโลกทั้งใน Silicon Valley จีน และอิสราเอล
"ที่ลงทุนใน Fund เพราะต้องการมาช่วยในเรื่องของ network โดย Fund เหล่านั้นสามารถนำเทคโนโลยีและ solution มาเชื่อมโยงกับธุรกิจของเรา รวมถึงทำงานโดยตรงกับบริษัทต่าง ๆ ที่ได้รับการแนะนำจากกองทุนที่เราไปลงทุนด้วย"
ขณะที่การลงทุนโดยตรงจะเริ่มที่ Startup ซึ่งมีธุรกิจชัดเจน มีตลาด และมีรายได้แล้ว หรือระดับ Series A รวมถึงได้เริ่มมองโอกาสการลงทุนใน Series B และ Series C ด้วย ทั้งนี้ มุ่งเน้นในธุรกิจที่สามารถต่อยอดกับธุรกิจในเครือได้ กระนั้นก็ไม่ได้ปิดโอกาสที่จะลงทุนใน Seed Fund หากธุรกิจดังกล่าวเป็นไอเดียที่โดดเด่น และอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีสามารถนำมาพัฒนาต่อยอด เสริมศักยภาพองค์กร (Synergy) ได้ และเป็นประโยชน์ต่อพันธมิตรควบคู่กัน โดยวรภัทรเน้นย้ำว่าในส่วนของ Seed Fund นั้นช่วงระยะเริ่มแรกพร้อมช่วยเหลือในแง่แนวคิดได้ แต่ในส่วนของเงินทุนต้องรอสักระยะ เพราะต้องการต่อยอดจากที่เริ่มมีลูกค้าแล้วเป็นหลัก
หาก Startup ในไทยต้องการสนใจเข้ามาคุย ก็สามารถติดต่อผมโดยตรงหรือกับทีมงานก็ได้ ซึ่งเรามีช่องทางให้ติดต่อได้ที่ [email protected]
ทุกคนต่างก็หวังว่าจะมี Unicorn Startup ของเมืองไทยได้ในเร็ว ๆ วันนี้ ซึ่งหลายคนก็คงตอบเหมือนกันว่าคือ network เพราะ Startup หลายรายต่างก็ focus ตลาดเมืองไทย ทำให้ไม่สามารถขยายธุรกิจได้พอที่จะเป็น Unicorn Startup ได้ ดังนั้นอย่างน้อยจึงต้องมองเป้าหมายขยายธุรกิจไปยังตลาดภูมิภาคหรือมองไปถึงตลาดทั่วโลก นั่นคือทำอย่างไรให้ solution หรือ product หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีสามารถไปต่อยอดถึงระดับภูมิภาคหรือทั่วโลกได้
นอกจากนี้ด้วยเครือข่ายและ CVC ในเมืองไทยที่แข็งแรงก็สามารถช่วยให้ Startup ใช้เป็น springboard ออกไปยังต่างประเทศได้
"เวลาที่ร่วมทุนเพราะต้องการช่วยจริง ๆ จึงพยายามขยายตลาดไม่ว่าจะในประเทศหรือ regional ผ่านเครือข่ายของเราในต่างประเทศด้วย"
หลัก ๆ คือ ด้วยเงิน 1 ล้านเหรียญ ที่ลงทุนไปแล้วรายใดสามารถต่อยอดได้ นั่นคือเรามีส่วนเข้าไปขยายตรงไหนได้บ้าง เพราะเรามี network มากมายที่จะช่วยบริษัทต่าง ๆ ให้ขยายได้
ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณเป็นบริษัท Fin Tech เราก็มีคู่ค้ามากมายโดยเฉพาะกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ส่วนใหญ่ใช้เงินสดเป็นหลัก ดังนั้นถ้าสามารถนำเทคโนโลยีไปช่วยตรงจุดนั้นได้ก็เท่ากับไม่ได้เริ่มต้นที่ศูนย์แล้ว แต่เป็น springboard ที่ไปต่อยอดได้
ผมมองว่า resource ทั้งของตัว Startup เองและฝั่ง CVC ต่างก็มีจำกัด ถ้าจะคุยกับคนเป็นร้อยก็คงลำบากกว่า แต่ถ้าเราเลือกที่จะคุยแค่หนึ่งถึงสองรายที่มองว่าจะช่วยขยายขอบเขตธุรกิจได้ย่อมดีกว่า นอกจากนี้ด้วยรูปแบบการทำงานของเราที่อยู่ภายใต้บุคคลเดียวกัน ทั้งการตัดสินใจเลือกนำเทคโนโลยีมาใช้กับธุรกิจหลักและ drive ในส่วนของ Singha Ventures ได้แบบไร้รอยต่อ
จุดเด่นของเราคือทำงานแบบ seamless กับธุรกิจหลักหรือบริษัทแม่ ซึ่งเป็นจุดที่เราจะให้กับ Startup ได้
ทั้งนี้วรภัทรยังได้ทิ้งท้ายถึงอีกบทบาทที่สำคัญของหน่วยงาน Singha Ventures เพิ่มเติมอีกว่า “ไม่เพียงแต่ดูแลการลงทุนในกิจการ Startup เท่านั้น แต่มีส่วนช่วยดูการลงทุนในกลุ่มธุรกิจดั้งเดิมในแง่ของการทำ M&A ด้วย”
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด