ถกประเด็น 'Tech ที่เข้าตา-น่าลงทุน' จากงาน 'Technology Investment: The Game Changer' | Techsauce

ถกประเด็น 'Tech ที่เข้าตา-น่าลงทุน' จากงาน 'Technology Investment: The Game Changer'

'Technology Investment: The Game Changer' เป็นหนึ่งในอีเวนต์ที่พูดคุยเรื่อง การลงทุนด้านเทคโนโลยี ที่ไม่ควรปล่อยผ่าน โดยเฉพาะประเด็นที่ได้จากวงเสวนาของผู้นำทางความคิด ผู้บริหารระดับสูง และผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง ที่มาพูดคุย ถกประเด็น เล่าสู่กันฟัง ทั้งเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงโลก เทคโนโลยีที่ช่วยพลิกโฉมธุรกิจ บริษัทสตาร์ทอัพที่สร้างอิมแพ็กให้สังคม ฯลฯ

Technology InvestmentPanel #1 Shaping the Future with Technology

Technology Investmentงานนี้ UC Berkeley, MIT, and Stanford University ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดงาน โดยผ่านทาง PrimeStreet Group, xLab Digital และ Innovation Club 

The Game Changerภายในงานมีศิษย์เก่าจากสถาบันต่างๆ มาร่วมพบปะพูดคุยเกี่ยวกับการสร้างอนาคตให้ประเทศไทย โดยเป็นส่วนหนึ่งของธีม Remaking the Future of Thailand

'Tech ที่เข้าตา-น่าลงทุน' และประเด็นที่น่าสนใจจากงาน 'Technology Investment: The Game Changer'

เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนผ่านมาหลายยุคและได้รับการพัฒนามากขึ้นทุกขณะ เทรนด์การลงทุนด้านเทคก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน โดยวงเสวนาแรกพูดคุยในหัวข้อ อนาคตสร้างได้ด้วยเทคโนโลยี (Panel #1: Shaping the Future with Technology) 

Panel #1: Shaping the Future with Technology 

สำหรับวงเสวนาแรก ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ จี๊ป ไคลน์ (Jeep Kline) ผู้ร่วมก่อตั้งกองทุน VC ในซิลิคอน วัลเลย์ และ Professional Faculty, Berkeley Haas School of Business สหรัฐอเมริกา เป็นสองผู้ร่วมเสวนา โดยมี ดร.ณชา อนันต์โชติกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลยุทธ์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKPFG) เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

Panel #1 Shaping the Future with Technology

Messages บางส่วนจาก ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

  • 'เทคโนโลยี' ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นสิ่งที่มีมานานและมีพัฒนาการมาตลอด และถ้าดูการเติบโตของบริษัทเทค มีทั้งที่เติบโตและล้มเหลว แต่ตอนนี้อาจเป็นช่วง Moore’s Law เป็นการเร่งการเติบโตของธุรกิจในตอนท้าย อย่างไรก็ตาม อาจได้เห็นความเปลี่ยนแปลงด้านเทคอีกมากในช่วงชีวิตของเรา 

  • การนำเอา Hi-tech (เทค) มาเจอ Hi-touch (คน) เป็นตัวอย่างการผสมผสานจุดแข็งของประเทศไทยที่จะทำให้เมืองน่าอยู่ขึ้นและดึงดูด Talents เข้ามามากขึ้น ซึ่งก็ต้องดูว่าจะ Combination อย่างไรเพื่อความอยู่รอด ดูอย่าง Agoda ทำไมเข้ามาตั้งสำนักงานในไทยและมีพนักงานถึง 2,500 คน หรือในด้าน Healthcare ทำไมชาวต่างชาติเดินทางมารักษาที่ประเทศไทยจำนวนมาก เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ถ้ามี Hi-touch แล้ว Hi-Tech ก็จะตามมา

  • การเข้าถึงเทคโนโลยีใน Smart City มี 2 แบบ คือTechnology Centric หรือ People Centric เช่น บางแห่งมี Supplier ติดกล้องวงจรปิดเต็มเมือง แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จัดว่าใช้เทคโนโลยีเป็นศูนย์กลาง (Technology Centric) ซึ่งไม่ได้ตอบโจทย์คนที่อาศัยในเมือง ดังนั้น การพัฒนาเมืองต้องทำให้คนเป็นศูนย์กลาง (People Centric) มากขึ้น โดยเริ่มจาก 'คน' หรือ 'ผู้นำ' ที่ต้องมี Design Thinking ก่อน และต้องมองได้หลากหลายมิติร่วมด้วย เช่น มิติทางสังคม มิติทางเศรษฐกิจ 

  • ในหนังสือ 'The Smart Enough City' ที่เขียนโดย Ben Green บอกว่า เมืองไม่ต้องฉลาดมากหรอก แค่ 'เมืองฉลาดพอเหมาะ' ก็พอ เพราะถ้าเป็น Smart City เมืองฉลาดเกินไป คนอาจตามไม่ทัน ซึ่งการออกแบบเมืองฉลาดพอเหมาะต้องเริ่มพิจารณาจาก ความต้องการของคน (People 'Desirable') การทำให้ธุรกิจดำเนินการได้ (Business 'Viable') และสุดท้าย ใช้เทคโนโลยีที่เป็นไปได้ในเชิงเทคนิค (Technology 'Feasible') สามส่วนนี้จะนำไปสู่การลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม

Jeep Kline VCจี๊ป ไคลน์ (Jeep Kline) ผู้ร่วมก่อตั้งกองทุน VC ในซิลิคอน วัลเลย์ 

Messages บางส่วนจาก จี๊ป ไคลน์

  • ในฐานะที่เคยเป็นที่ปรึกษาให้ไต้หวัน ไช่ อิงเหวิน (蔡英文) ผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ถามว่า "ไต้หวันควรส่งเสริมและพัฒนาการลงทุนด้านไหน" จี๊ปตอบว่า ให้ดู ความได้เปรียบด้านการแข่งขัน (Competitive Advantage) จากอุตสาหกรรมที่มีอิมแพ็กต่อเศรษฐกิจก่อน กล่าวคือ ไต้หวันขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยี  (Technology-based Economy) มีคนเก่งด้านเทคโนโลยีมาก และในมหาวิทยาลัยก็มีคนที่รู้ด้าน Life Sciences อยู่มาก จึงควรส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ก่อน ไช่ อิงเหวิน ถามต่อว่า "ถ้าเข้าไปสนับสนุนด้าน Life Sciences จะการันตีได้อย่างไรว่าจะมีอิมแพ็กต่อไต้หวัน" จี๊ปตอบว่า สำหรับประเทศในเอเชีย พวกเราต้องการ ทั้ง Financial Returns และ Impact Returns

  • ความหมายของ 'Impact Investing' ในมุมของ Impact VC Fund คือ Financial Returns are necessary but not sufficient. คือ การได้กำไรเป็นสิ่งจำเป็น แต่มันอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากหลายคนไม่ได้มองเรื่องกำไร ทั้งที่จริง เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ และการเป็น VC ต้องมองหาจุดคืนทุนด้วย ไม่อย่างนั้นก็จะไม่มีนักลงทุน ธุรกิจก็จะไม่เกิดการเติบโตแบบก้าวกระโดด (Leapfrog) ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมได้ และต้องเป็นอิมแพ็กที่วัดผลได้

  • ตัวอย่าง Impact Investing : ช่วงแรกที่โควิด-19 ระบาด คนขับแท็กซี่ได้รับผลกระทบ บริษัทสตาร์ทอัพในละตินอเมริกาจึงเปิดคอร์สให้คนขับแท็กซี่ Reskill, Upskill ฟรี เพื่อเป็น Developer ต่อมาสตาร์ทอัพก็ช่วยหางานให้ จ่ายเป็นค่าจ้างและให้เปอร์เซ็นต์เพิ่ม ทำให้คนขับแท็กซี่สาย Dev มีรายได้มากกว่าการขับรถ 3 เท่า ต่อมาเขาก็กลับมาเรียนเพิ่มในระดับ Mid-Level Developer ทำให้ได้ค่าจ้างมากกว่าการขับแท็กซี่ 5 เท่า | สิ่งที่ได้ในด้าน Financial Returns คือ 1) บริษัทเทคนี้อยู่ในซีรีส์ A แต่มี VC อยากลงทุนมากกว่าเงินที่บริษัทอยากได้ 2) บริษัททำกำไรได้ ซึ่งในโลกความจริงทำได้ค่อนข้างยากเพราะยังอยู่ในซีรีส์ A | สิ่งที่ได้ในด้าน Impact Returns คือ 1) ผู้ก่อตั้งเป็นผู้หญิง 2 คน การได้เงินสนับสนุนการลงทุนเท่ากับว่า ผู้หญิงได้รับการส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศ 2) ช่วยเพิ่มอัตราการจ้างงานให้คนในสังคม 3) ช่วยเพิ่มค่าจ้างและการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ

  • การเป็น VC ที่เห็นธงแดงแล้วว่า SVB จะล้ม จึงขยับตัวได้เร็ว โดยถอนเงินออกมาจากกองทุนก่อน ต่อมา VC ก็รวมตัวกันแก้สถานการณ์ด้วยการให้สตาร์ทอัพทั้งที่กองทุนเข้าไปลงทุนและไม่ได้ลงทุน กู้เงินไปจ่ายเงินเดือน (payroll) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องของบริษัทสตาร์ทอัพก่อน

  • จากการได้สัมภาษณ์ Kai Fu Lee ในเดือนพฤศจิกายน 2022 เขาบอกว่า “AI สำคัญสำหรับทุกเซ็กเตอร์” แต่ถ้าดูว่า อุตสาหกรรมไหนที่จะมีความก้าวหน้ามากที่สุด Kai Fu Lee ตอบว่า “Healthcare & Life Sciences” เช่น ไบโอเทค การพัฒนายา การริเริ่มพัฒนาเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ และก่อนที่ ChatGPT จะออกมา Kai Fu Lee บอก "เพิ่งเห็นว่า AI มีบทบาทด้านความคิดสร้างสรรค์" ถามว่าแทนคนได้ไหม เขาตอบว่า ”ทดแทนไม่ได้" เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ทำงานตามคำสั่ง (Objective Function) 

Panel #2: Financing the Future, Transforming Business 

วงเสวนาที่ 2 เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับอนาคตด้านการเงินกับการเปลี่ยนผ่านธุรกิจ โดยมี ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ มุขยา พานิช ซีอีโอ SCB10X กระทิง - เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกสิกร บิสซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เป็นผู้ร่วมเสวนา และ ชานนท์ เรืองกฤตยา ซีอีโอ อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

Panel #2: Financing the Future, Transforming Business

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ

Messages บางส่วนจาก ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

  • ทุกครั้งที่ไปอินโดนีเซียจะเห็นว่า ตลาดคึกคักมาก ไม่ว่าจะเป็นคนให้เงินหรือคนรับเงิน ทุกคนมีความมั่นใจและทำให้เห็นว่าเขากำลังไปได้ดี ขณะที่เมืองไทยกลับดูห่อเหี่ยว ซึ่งถ้ามองในด้านตัวเงิน มองว่าเงินไม่ได้เป็นปัญหามากนัก เนื่องจากประเทศไทยมีเงินช่วยเหลือสตาร์ทอัพจากหน่วยงานภาครัฐ อย่าง NIA, DEPA, TED Fund, BOI, TCELs, TCEP ซึ่งมีการให้ทุนตั้งแต่ระยะเริ่มแรก (Seed Funding) เป็นต้นไป

  • อิสราเอลเป็นประเทศเล็กๆ แต่เป็นประเทศชั้นนำในการทำเรื่องสตาร์ทอัพ เพราะ 1) มีหน่วยงานเดียวที่ทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง จึงแก้ปัญหาได้ตรงจุด 2) คนอิสราเอลมีความเข้าใจด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ 3) มีกฎหมายที่เอื้อต่อการสร้างสตาร์ทอัพและการพัฒนาประเทศ ต่างจากประเทศไทยที่มีหน่วยงานจำนวนมาก เช่น หน่วยงานที่ดูแลเรื่อง 'น้ำ' มีเป็น 50 หน่วยงาน แต่ไม่มีหน่วยงานใดที่รับผิดชอบโดยตรง มีบุคลากรที่ยังขาดความรู้ ไม่เข้าใจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และยังมีกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการสนับสนุนให้สตาร์ทอัพเติบโตในประเทศไทย ทั้งหมดนี้จึงเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขต่อไป

มุขยา พานิช ซีอีโอ SCB10X

Messages บางส่วนจาก มุขยา พานิช

  • มีคนกล่าวไว้ว่า ทุก 14 ปี จะมี Leapfrog ของเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้น จากปี 1994 ที่เป็นยุคของอินเทอร์เน็ต ต่อมาปี 2008 เป็นยุคของ Mobile ที่มี Smart Device มาถึงปี 2022 เป็นยุคของ AI ทั้งๆ ที่ AI มีมานานมากแล้ว แต่ตอนนี้ทุกคนรู้จักและจับต้องได้ผ่าน ChatGPT

  • ปกติแล้ว นักลงทุนจะลงทุนในตลาดใหญ่ มีโอกาสเป็นยูนิคอร์น ซึ่งถ้าเทียบใน SEA 'อินโดนีเซีย' มีตลาดขนาดใหญ่เพราะมีประชากร 300 ล้านคน นักลงทุนจึงสนใจ ถัดมาก็จะเป็น 'เวียดนาม' ประเทศที่มีประชากรที่เป็นคนรุ่นใหม่จำนวนมาก คนเวียดนามเป็นคนขยัน และประเทศนี้ก็มี GDP per Capita ที่โตมาก เรียกว่า Demographic ดีจึงดึงดูดนักลงทุน ส่วน 'ไทย' มีจำนวนประชากรปานกลางเป็นสังคมสูงวัย และ GDP ก็ไม่ได้เติบโตมากเท่าเวียดนาม ส่งผลให้นักลงทุนไม่สนใจประเทศไทยเท่าประเทศอื่นๆ กอปรกับประเทศไทยมีนักเรียนทุนเยอะมากแต่ส่วนใหญ่เรียนแล้วกลับมาทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ ไม่ได้ทำสตาร์ทอัพมากนัก เพราะได้เงินมากกว่าการทำสตาร์ทอัพ ตรงข้ามกับอินโดนีเซียที่สตาร์ทอัพได้เงินเดือนสูงมาก

กระทิง - เรืองโรจน์ พูนผล

Messages บางส่วนจาก กระทิง - เรืองโรจน์ พูนผล 

  • ย้อนไปที่ปี 2012 สตาร์ทอัพในไทยระดมทุนได้ถึง 1.5 ล้านดอลลาร์ ตอนนั้นสตาร์ทอัพรู้จักกันหมด แต่ปัญหาคือ 'ขาด Startup Founder' กระทิงจึงเปิดโรงเรียนสอน Startup Founder ด้วยตัวเองจนมีผู้ที่เรียนจบราว 1,100 คน สตาร์ทอัพมาบอกอีกว่า ไม่มีเงินทุน ไม่มีแหล่งบ่มเพาะ กระทิงจึงเปิด dtac Accelerate เพื่อบ่มเพาะและลงทุนในสตาร์ทอัพไป 40 กว่าตัว ตามมาด้วยเสียงเรียกร้องอีกข้อคือ ไม่มี Seed Fund จึงเปิด กองทุน 500 TukTuks และหลังจากนี้ก็สนใจจะเปิด Impact Fund เป็นกองทุนต่อไป

  • หลายธุรกิจสตาร์ทอัพเดินหน้าจนได้ Small Exit (ขายกิจการได้แต่ไม่ถึง 1,000 ล้านบาท) ทำให้ Founder รวยเพียงพอ บางรายจึงเตรียมเปิดบริษัทใหม่ บางรายเป็น Angel Investor ทำให้เกิดการ Recycle & Pay back สร้างอิมแพ็กต่อๆ กันไป กล่าวคือ สตาร์ทอัพรุ่นแรกๆ กลับมาลงทุนในสตาร์ทอัพรุ่นหลังๆ และแชร์ความรู้เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอย่างแต่ก่อน

  • หลังจากสนับสนุนระบบนิเวศสตาร์ทอัพทำให้เห็นว่า บริษัทในไทยขาด Tech Talents จำนวนมากจึงจัด EdTech Conference เพื่อให้ความรู้และสร้างคนด้านเทค ตามมาด้วยการจัด Hackathon และต่อยอดด้วยการเปิด Accelerator ด้านการศึกษา เน้นลงทุนด้าน EdTech โดยเฉพาะเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ระบบการศึกษาของไทย จนในที่สุดก็สามารถสร้างอิมแพ็กต่อสังคมไทยเป็นวงกว้าง โดยทำให้มีผู้เรียนในระบบนิเวศ EdTech แล้วเกือบ 10 ล้านคน จากการลงทุนใน 17 สตาร์ทอัพ ทั้งนี้สตาร์ทอัพที่สร้างความภูมิใจให้มากที่สุดคือ Vulcan Coliation บริษัทที่ Reskill ให้คนตาบอดมาเป็นผู้ฝึกสอนใช้ AI และหลังจากเข้ามาทำงานใน KBTG ก็ยังคงปั้น Tech Talents โดยล่าสุดเน้นสอนเรื่อง Cybersecurity

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

4 เสาหลักสู่นวัตกรรม ความสำเร็จที่ยั่งยืน ที่องค์กรขาดไม่ได้

ปัญหาจริงของการขาดนวัตกรรมคือ "คุณภาพ" รวมถึงวิธีการ ”เลือก” ไอเดียที่เหมาะสมเพื่อนำไปพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าได้จริง จากการวิจัย องค์กรที่ประสบความสำเร็จในด้านนวัตกรรมมักม...

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

เมื่อพายุเศรษฐกิจโหมเข้า CFO จะขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร? ดีลอยท์ชวรรู้จัก CFO Trilemma

CFO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยการสร้างสมดุลระหว่างการฟันฝ่าวิกฤต สร้างคุณค่าระยะยาว และพัฒนาขีดความสามารถของทีม เพื่อความยั่งยืนขององค์กร...