หนึ่งในไฮไลต์ของ Techsauce Global Summit 2022 คือเหล่า Speaker บุคลากรชั้นนำจากทั่วทุกมุมโลกที่มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแวดวงสตาร์ทอัพ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
และหัวข้อที่ได้รับความสนใจจากองค์กรทุกระดับในทุก ๆ ปี คือหัวข้อ เทคนิคในการบริหารคนหรือวัฒนธรรมองค์กรที่จะส่งเสริมให้เกิดค่านิยมที่สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว
หากกล่าวถึงกรณีศึกษาวัฒนธรรมองค์กรอันยอดเยี่ยมขององค์กรระดับโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก Netflix โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่หนังสือ No Rules Rules:Netflix and the Culture of Reinvention ซึ่งเขียนโดย อีริน เมเยอร์ (Erin Meyer) ร่วมกับ Reed Hastings CEO Founder, Netflix ออกวางขาย
โดย Techsauce Global Summit ในปีนี้ อีริน เมเยอร์ จะมาร่วมเป็นหนึ่งใน Speaker ของเราด้วยเช่นกัน
ซื้อบัตรเข้างานตอนนี้ ก่อนปรับราคาขึ้น : https://www.zipeventapp.com/event/ticketing/TSGS2022
อีริน เมเยอร์ (Erin Meyer) เป็นนักเขียนและผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมชาวอเมริกัน และเป็นศาสตราจารย์อยู่ที่ INSEAD โรงเรียนสอนธุรกิจระหว่างประเทศชั้นนำ ปัจจุบันงานของอีรินมุ่งเน้นไปที่การศึกษาแนวทางในการบริหารองค์กรที่ประสบความสำเร็จท่ามกลางความซับซ้อนของความแตกต่างทางวัฒนธรรมในสภาพแวดล้อมทั่วโลก
อีรินเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทต่าง ๆ ในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง และนำเสนอกลยุทธ์ที่ล้ำสมัยเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงการต่าง ๆ ทั่วโลก
โดยผลงานที่ผ่านมา อีรินได้แนะนำผู้บริหารหลายพันคนให้เข้าใจความซับซ้อนของวัฒนธรรมแบบ Cross-Cultural Complexities ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของคนในองค์กร และการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผลงานของอีรินปรากฏใน Harvard Business Review, The New York Times และ Forbes ในปี 2018 เธอได้รับเลือกจากนิตยสาร HR ให้เป็นหนึ่งใน 30 นักคิดด้าน HR หรือ Influential HR Thinkers ที่ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งปี นอกจากนี้ ในปี 2020 อีริน ได้รับเลือกเป็นครั้งที่สามโดย Thinkers50 ให้เป็นหนึ่งใน 50 นักคิดทางธุรกิจหรือ Influential Business Thinkers ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลก งานของ Erin ที่ INSEAD รวมถึงการกำกับโครงการ Leading Across Borders and Cultures
อีริน เมเยอร์ ยังเป็นผู้เขียนหนังสือที่ได้รับความนิยมและขึ้นแท่นแนะนำในหลายร้านอย่าง The Culture Map: Breaking Through the Invisible Boundaries of Global Business (2014) และ No Rules Rules:Netflix and the Culture of Reinvention (2020)
สำหรับ The Culture Map อีรีนตั้งใจบอกเล่ามุมมองที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของคนทั่วโลกที่ส่งผลถึงพฤติกรรมการแสดงออก วิธีคิด สไตล์การทำงานและการทำธุรกิจ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในแง่มุมของความแตกต่างของคนเพื่อการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานร่วมกันภายในองค์กรที่ประกอบไปด้วยผู้คนจากหลากหลายแบ๊คกราวน์ อีรินเสนอมุมมองที่แตกต่างในการเข้าใจธรรมชาติของเพื่อนร่วมงานที่เราพบเจอในทุกวัน รวมถึงความต้องการในการบริโภค การเลือกซื้อของในชีวิตประจำวันที่จำเป็นต่อการออกแบบธุรกิจ อีรินเสนอเครื่องมือที่ชื่อว่า Culture Map : Country Mapping Tool ให้องค์กรได้ทดลองเลือกประเทศที่เราจะทำงานด้วยเพื่อเปรียบเทียบว่าวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศหรือมากกว่านั้นให้เห็นถึงรายละเอียดลักษณะโดยรวมเพื่อทำความเข้าใจคนที่เราจะทำงานด้วย
นอกจากนี้อีรินำเสนอเครื่องมืออีกหนึ่งเครื่องมือที่ชื่อว่า Corporate Culture Map สำหรับวางแผนสร้างแผนที่ของวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเหมาะกับองค์กรระดับโลกที่ต้องทำความเข้าใจบริบทการทำงานที่แตกต่างกันของสาขาที่กระจายอยู่ตามทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก
ซึ่งอีรินได้นำไปใช้ในช่วงที่เข้าไปทำการศึกษาเชิงลึกใน Netflix ร่วมกับ Reed Hastings เพื่อสำรวจหลักการพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สร้างสรรค์ รวดเร็ว และยืดหยุ่น โดยผลงานดังกล่าวถูกตีพิมพ์ในหนังสือเล่มใหม่นั่นเอง
ในช่วงที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเป็นที่นิยม Netflix เป็นหนึ่งผู้ให้บริการที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในสนามนี้ ทั้งด้านการนำเสนอคอนเทนต์และด้านธุรกิจที่ต้องปรับตัวอย่างแข่งขัน และ Netflix พร้อมบุคลากรผ่านพ้นการปรับตัวครั้งใหญ่และสร้างมาตรฐานของปรัชญาการทำงานในองค์กร ชุดหลักการจัดการที่ทำให้ Netflix เป็นหนึ่งในบริษัทที่สร้างสรรค์ที่สุดในโลก การปฏิเสธแนวคิดภูมิปัญญาดั้งเดิมที่บริษัทอื่นๆดำรงอยู่ ทำให้ Netflix เป็นกรณีศึกษาด้านการพัฒนาองค์กรและบุคลากรหนึ่งที่สำคัญของโลก
หลังการวางจำหน่าย No Rules Rules:Netflix and the Culture of Reinvention ซึ่งอีรินได้เขียนและเรียบเรียงร่วมกับ Reed Hastings CEO Founder, Netflix โดยบอกเล่าเนื้อหาที่เกี่ยวกับมุมมองและบรรยากาศการทำงานจากภายในองค์กร Netflix โดยการสัมภาษณ์พนักงานจากสาขาต่าง ๆ ทั่วโลกไว้กว่าร้อยครั้ง ทำให้หัวข้อด้านการบริหารบุคคลและองค์กร ไม่ว่าจะเป็น การคัดสรรและรักษาคนเก่ง การมอบผลตอบแทนและค่าชดเชยจำนวนมากที่ตามมาด้วยการรับผิดชอบภาระงานให้มีคุณภาพสูงสุด วัฒนธรรมองค์กรอันเปิดกว้างทางความคิด สามารถตัดสินใจด้วยตนเองอย่างมีอิสระ การเปิดเผยข้อมูลอย่างเท่าเทียมและลดกฎระเบียบที่ไม่จำเป็นให้น้อยที่สุด การมีส่วนร่วมแสดงความเห็นต่อเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างานอย่างตรงไปตรงมา บนหลักการ 4A ซึ่งประกอบไปด้วย Aim to assist, Actionable, Appreciate, Accept or Discard ของ Netflix กลายเป็นหัวข้อร้อนแรงของหลายสำนักข่าว และคนที่ทำงานในสายงาน Human Organization Development ที่ต่างหยิบยกมาพูดคุยและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางถึงความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ในบริบทองค์กรตนเอง ทำให้ No Rules Rules ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นหนังสือธุรกิจแห่งปีของ Financial Times และหนังสือขายดีของ New York Times ในปี 2020
อีริน เมเยอร์ ได้เปิดเผยเรื่องราวที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อน ทั้งความขัดแย้งภายในองค์กร Netflix และความซับซ้อนของความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลายเชื้อชาติที่กลายเป็นความสมบูรณ์ลงตัวขององค์กรหนึ่ง ซึ่งเป็นหัวใจที่ทำให้ Netflix กลายเป็นองค์กรที่น่าจดจำในปัจจุบัน
คลิกซื้อบัตรที่ : https://www.zipeventapp.com/event/ticketing/TSGS2022
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : NO RULES RULES อ่านแล้วคิดต่อ อะไรคือองค์กรที่เต็มไปด้วยคนเก่ง? เราใช่คนเก่งหรือไม่
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด