เทรนด์ย้ายงานในวัย 40+ กำลังมา ตัวช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ และลดการว่างงานในญี่ปุ่น | Techsauce

เทรนด์ย้ายงานในวัย 40+ กำลังมา ตัวช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ และลดการว่างงานในญี่ปุ่น

Nikkei Asia เปิดเผยว่า ในช่วง 5 ปีมานี้ พนักงานในวัย 40 ปีขึ้นไป มีการเปลี่ยนงาน (Job Hopping) เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในญี่ปุ่น ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ว่าจ้าง เพราะจากผลวิจัย ผู้ประกอบการต่างๆ นั้นต้องการคนที่มีประสบการณ์ การที่คนในวัยกลางคนกล้าย้ายงานจะช่วยสร้างการหมุนเวียน Skilled worker ระหว่างองค์กรได้ ช่วยให้องค์กรเติบโตหลังจากช่วง COVID-19

เป็นที่ทราบกันดีว่า ญี่ปุ่นนั้นเข้าสู่สังคมที่มีโครงสร้างผู้สูงอายุเป็นหลัก (Silver Age Economy) มานานแล้ว ซึ่งในตอนแรกนั้นเป็นที่กังวลว่า ผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับอัตราการเกิดที่ต่ำลงในญี่ปุ่นจะสร้างปัญหาให้ระบบเศรษฐกิจ

แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นมีการอนุมัติการขยายเวลาเกษียณอายุลูกจ้างจาก 65 ปีเป็น 70 ปี ทำให้ในเชิงปฏิบัติ ผู้สูงวัยหรือพนักงานในวัยกลางคนของญี่ปุ่น รู้สึกยินดีที่ยังได้ทำงาน และมีคุณค่าที่เกิดจากความรู้สึกว่า ตนเองนั้นยังสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้ 

แนวคิดการยึดติดกับที่ทำงานเดิมกำลังเปลี่ยนแปลง

ถึงแม้ว่าการได้ทำงานในวัยใกล้เกษียณจะช่วยให้พนักงานชื่นชอบการทำงาน แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ยึดติดว่าจะต้องอยู่กับองค์กรเดิมไปตลอด สาเหตุที่ผู้สูงวัยกล้าย้ายงาน แม้จะอยู่ในช่วงอายุมากกว่า 40 แล้วก็ตามนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทในญี่ปุ่นส่วนใหญ่เลิกแนวคิดการจ้างงานตลอดชีพและเลื่อนตำแหน่งตามระดับอาวุโส (Seniority) แล้ว

โดยดั้งเดิมนั้น พออายุ 35 ขึ้นไป จะถือว่าเป็นช่วงวัยที่เปลี่ยนสายอาชีพได้ยาก เพราะในญี่ปุ่น นั้นจะมีระบบอาวุโสที่เป็นที่ขึ้นชื่อ ซึ่งให้ความสำคัญในลำดับงานตามวัยวุฒิอย่างเข้มข้น โดยผู้ที่อยู่ในสายงานมาอย่างยาวนาน จะได้รับการเลื่อนขั้นจนเป็นหัวหน้างานหรือผู้จัดการแล้ว จึงไม่ค่อยนิยมเปลี่ยนงานกันในวัยนี้ ซึ่งแนวคิดนี้กำลังค่อยๆ เสื่อมความนิยมลง

สมาคมจัดหางานและค้นหาผู้บริหารแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Executive Search and Recruitment Association) ระบุว่า พนักงานสูงอายุราว 10,000 คน หางานใหม่ผ่านหน่วยงานจัดหางาน 3 แห่งในช่วงปี 2020 เพิ่มขึ้น 1.9 เท่า โดยเทียบจาก 5 ปีก่อนหน้า ซึ่งกลุ่มคนอายุระหว่าง 40 ถึง 50 ปี เป็นวัยที่เปลี่ยนงานมากที่สุด

เปอร์เซ็นต์รายได้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในสาขางานต่างๆ Cr. Nikkei Asia

แรงงานในวัยใกล้เกษียณ ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ และลดการว่างงานในญี่ปุ่น

จำนวนคนสูงวัยที่เปลี่ยนงานมากขึ้นนี้ อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะ บริษัทต่างๆ กำลังเร่งการเปลี่ยนโครงสร้าง หรือ Restructure บริษัท โดยมองว่า องค์กรจะสามารถอาศัยทักษะจากพนักงานที่มีประสบการณ์ระยะยาวได้ โดยเฉพาะในการตัดสินใจเฉพาะด้าน จากสาขางานที่ต้องการความเชียวชาญโดยเฉพาะ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมานานกว่า จะสามารถตัดสินใจได้ดี และสร้างผลลัพธ์การทำงานที่ดีกว่า

ขณะเดียวกัน อัตราการว่างงานโดยรวมของญี่ปุ่นได้ลดน้อยลง เนื่องจากมีการสรรหาบุคลากรอย่างต่อเนื่องโดย Startup และบริษัทที่จัดตั้งใหม่ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การเคลื่อนย้ายงานมากขึ้นในหมู่พนักงานวัยกลางคนสามารถช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผ่านจุดพีคของช่วงการระบาด Covid มาแล้ว

“สิ่งที่ทำให้ผู้สูงวัยมีความน่าสนใจคือ ประสบการณ์และทัศนคติที่ยึดมั่นต่อการทำงาน” Akisaburo Ikushima, founder และ CEO ของ Globee ซึ่งนำเสนอสื่อการเรียนรู้ที่ใช้ AI สำหรับการศึกษาภาษาอังกฤษกล่าว

สิ่งสำคัญคือ พนักงานในวัยกลางคน จำเป็นจะต้องปรับปรุงทักษะอยู่เสมอ ผ่านการฝึกฝนและการหาความรู้เพิ่มเติม

อ้างอิง จาก Nikkei , thediplomat

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

True เดินหน้าปั้นผู้นำรุ่นใหม่ 'True Next Gen' ตั้งเป้าเป็น Telco-Tech ชั้นนำในภูมิภาค สู่ Automation 100%

ทรู คอร์ปอเรชั่น เผยเชื่อมั่นศักยภาพของ 'คนรุ่นใหม่' ร่วมเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ Telecom Tech Company ชั้นนำแห่งภูมิภาค พร้อมปรับการทำงานเป็นระบบอัตโนมัติ 100% ปี 2570...

Responsive image

ทำยังไง ถ้าไม่ได้เป็น ‘ลูกรัก’ เจ้านาย

‘ระบบลูกรัก’ ที่ฝังรากลึกในองค์กร เป็นอีกหนึ่งปัญหาช้างในห้อง (Elephant In The Room) ปัญหาใหญ่ที่คนส่วนใหญ่รับรู้ แต่ไม่มีใครอยากพูดถึง หรือพูดไม่ได้ ทำยังไงดี...

Responsive image

รู้จักประโยชน์ Reverse Mentoring ที่ให้คนรุ่นใหม่มาสอนผู้ใหญ่ในองค์กร

เมื่อนึกถึงการทำงานในองค์กรแล้วส่วนใหญ่คนที่อายุมากกว่าหรืออาวุโสจะต้องให้คำแนะนำรุ่นน้อง แล้วถ้ากลับกันลองให้รุ่นน้องเป็นคนแนะนำผู้ใหญ่บ้างจะเป็นอย่างไร?...