รู้จักกับเวลา ‘Dead Zone’ พนักงานหยุดทำงานไปทำธุระส่วนตัว บริษัทจะทำยังไงดี | Techsauce

รู้จักกับเวลา ‘Dead Zone’ พนักงานหยุดทำงานไปทำธุระส่วนตัว บริษัทจะทำยังไงดี

หลังจากรูปแบบการทำงานในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป บางบริษัทใช้วิธี Hybrid work หรือบางที่ก็ Work from Anywhere การทำงานในรูปแบบใหม่นี้ทำให้เวลาทำงานของพนักงานเปลี่ยนแปลงไปด้วย หัวหน้างานเผยกับ The Wall Street Journal ว่าในช่วง 16.00 - 18.00 น. จะเป็นเวลาที่พนักงานหยุดทำงาน และออกไปทำธุระส่วนตัว หลังจากนั้นจึงกลับมาทำงานที่เหลือต่อหลังเวลาเลิกงานไปแล้ว

ช่วงเวลานี้เรียกว่า ‘Dead Zone’ คือ ช่วงที่การทำงานหยุดลง ทุกอย่างหยุดนิ่ง พนักงานต่างเหนื่อยล้าจาการทำงานมาทั้งวัน จึงใช้เวลาช่วงนี้ออกไปทำธุระหรือพักผ่อนก่อนที่จะกลับมาทำงานให้เสร็จ 

Dead Zone กำลังบอกอะไรกับองค์กร

Dead Zone เป็นสิ่งที่องค์กรต้องให้ความสนใจ มันเป็นสัญญาณที่กำลังบอกว่าพนักงานของคุณต้องการ Work-life balance ที่ดีกว่านี้ และถ้าองค์กรไม่เร่งปรับตัวอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงาน ความพึงพอใจของพนักงาน และความสำเร็จโดยรวมขององค์กร โดยมี 2 สิ่งที่องค์กรจำเป็นต้องให้ความสนใจ ดังนี้

1. พนักงานขาด Work-life balance: การที่พนักงานบางส่วนหายไปจากการทำงานในช่วง Dead Zone ซึ่งเป็นเวลาใกล้เลิกงานเพื่อไปทำธุระส่วนตัว มันสะท้อนให้เห็นว่า การทำงานกินเวลาส่วนตัวมากเกินไป จนพนักงานเหล่านี้ไม่มีแม้กระทั่งเวลาไปจัดการธุระส่วนตัว

บริษัท InFeedo แพลตฟอร์มนายหน้าจัดหางานของอินเดียได้สำรวจความเห็นของคนรุ่นใหม่พบว่า คนรุ่นใหม่เหล่านี้อยากให้บริษัทสร้าง Work-life balance ที่ดีกว่านี้ อย่างการลดเวลาทำงานจาก 8 ชั่วโมง/วัน เหลือ 5 ชั่วโมง/วัน เพื่อที่พวกเขาจะได้มีเวลาออกไปใช้ชีวิตส่วนตัวบ้าง

2. พนักงานอยากมี Flexible working hours: หลังจากที่พนักงานหยุดทำงานไปในช่วง Dead Zone และกลับมาทำต่อหลังเลิกงาน เป็นจุดที่เห็นได้ชัดว่า ความ Productive ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในเวลางาน ซึ่งการวิจัยของ Microsoft พบว่าก่อนหน้านี้จะมีเวลา 2 ช่วงที่พนักงาน Productive มาก ๆ คือ 11:00 และ 15:00 และการค้นพบล่าสุดคือในช่วง 22:00 เวลาเหล่านี้เรียกว่า Triple peak day

นอกจากนี้การเอาเวลาใกล้เลิกงานมาทำธุระส่วนตัว เช่น พนักงานที่มีลูกใช้ช่วงเวลา Dead Zone เพื่อออกไปรับลูก เพราะเวลาเลิกงานกับเวลาเลิกเรียนคาบเกี่ยวกันพวกเขาจึงต้องเลิกงานเร็วขึ้นเพื่อไปรับลูกให้ทัน ทำให้เห็นว่า พนักงานแต่ละคนมีภาระหน้าที่ในชีวิตส่วนตัวแตกต่างกัน การทำงานในช่วงเวลาเดียวกันอาจไม่ตอบโจทย์ทุกคน

และถ้าหากออฟฟิศอยู่ในกรุงเทพ พนักงานหลายคนต้องเจอกับรถติดในช่วงที่ออฟฟิศหลายแห่งเลิกงานพร้อมกัน พวกเขาจึงเลือกกลับบ้านก่อนเวลางานเพื่อเลี่ยงรถติด

ดังนั้น พนักงานส่วนมากจึงอยากให้บริษัทมี Flexible working hours เพราะพนักงานแต่ละคนมีความ Productive ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน มีภาระหน้าที่แตกต่างกัน รวมถึงการเลิกงานตามเวลาออฟฟิศทั่วไปก็ต้องไปเจอกับรถติด ล้วนเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจและทำร้ายสุขภาพจิต

การฝืนให้ทุกคนทำให้งานในช่วงเวลาเดียวกันจึงอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและผลลัพธ์ของงานที่อาจจะไม่ดี 100% 

องค์กรจะทำอะไรได้บ้าง ?

Mary Czerwinski นักวิจัยของ Microsoft เน้นย้ำว่าพนักงานทุกคนมีภูมิหลังและภาระที่แตกต่างกัน  การให้อิสระพวกเขาเลือกเวลาทำงานที่พวกเขา Productive และไม่กระทบชีวิตส่วนตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรควรสนับสนุนและช่วยเหลือ

ซึ่ง Flexible working hours ก็อาจเป็นแนวทางที่นอกจากจะช่วยให้พนักงานเลือกทำงานในเวลาที่กระตือรือร้นมากที่สุดแล้ว อาจจะเป็นการปรับช่วงเวลาในการทำงานให้เข้ากับชีวิตส่วนตัวของพนักงานแต่ละคนได้ เพื่อเป็นการสร้าง Work-life balance ที่ดีขึ้น 

ด้วยการให้พนักงาน เลือกช่วงเวลาทำงานที่เหมาะกับตัวเอง โดยบริษัทจะกำหนดให้ทำงาน 8 ชม./วัน พนักงานสามารถเลือกช่วงเวลาที่เหมาะกับตัวเองได้ ดังนี้

  • Early bird มนุษย์ตื่นเช้า ไปเร็วกลับเร็ว เลี่ยงรถติด อาจเลือกช่วง 7.00 – 15.00 น. 

  • Night owl มนุษย์ค่ำคืน สมองแล่นตอนดึก ขี้เกียจตื่น อาจเลือกช่วง 10.00 – 18.00 น.

การทำแบบนี้พนักงานก็จะสามารถจัดการงานให้เสร็จในช่วงที่พวกเขาพร้อมจะทำงาน ซึ่งทำให้ผลลัพธ์ของงานออกมาดี และมีเวลาไปจัดการชีวิตส่วนตัว 

อ้างอิง: businessinsider, businessinsider

ถึงเป็นธุรกิจเล็ก วัฒนธรรมองค์กรก็สำคัญ
เริ่มเปลี่ยนวันนี้ก่อนสาย

.
หากองค์กรของคุณกำลังเจอปัญหา … พนักงานหมดไฟ…ทุกการตัดสินใจล่าช้าเพราะต้องรอ CEO … พนักงานลาออกเยอะ แต่ไม่รู้สาเหตุ และอีกมากมายปัญหาในองค์กรที่คุณแก้ไม่ตก
.
Peoplesauce ช่วยธุรกิจ SMEs /Startups ที่กำลัง Scale up สร้าง “คน” และ“Culture” เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

เริ่มเปลี่ยนไปพร้อมกับเราได้ตั้งแต่วันนี้ที่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ที่นี่เราไม่อยู่กันแบบครอบครัว บทเรียนการบริหารจาก CEO Airbnb

ที่นี่เราอยู่กันแบบครอบครัว บริษัทนี้เราอยู่กันเหมือนพี่น้อง เคยเจอกันไหมแบบนี้ ? วันนี้​ Techsauce มีบทเรียนและกรณีศึกษาน่าสนใจจาก Brian Chesky CEO Airbnb ที่จะบอกว่า ทำไมคุณไม่คว...

Responsive image

SCBX กับเส้นทางสู่ AI-first Organization มุ่งสร้างองค์ความรู้และทักษะผ่านงาน SCBX AI EXPO 2024

SCBX กับก้าวย่างสำคัญสู่การเป็น AI-first Organization ในงาน SCBX AI EXPO 2024 ที่รวม use case ของพนักงานภายใต้กลุ่ม SCBX ที่นำเอา AI มาประยุกต์ใช้ในการทำงานและพัฒนาธุรกิจ...

Responsive image

ทำไมองค์กรต้องมี ‘Innovation Culture’ พื้นฐานที่ขาดไม่ได้ถ้าอยากสร้างนวัตกรรม

ในบทความนี้ Techsauce ขอพาผู้อ่านไปรู้จักคำว่า Innovation Culture หรือ วัฒนธรรมนวัตกรรม อีกฟันเฟืองสำคัญของการสร้างนวัตกรรมองค์กรที่ขาดไปไม่ได้...