อีกด้านของการแข่งขันในองค์กรที่สร้างความ Toxic มากกว่า Productive | Techsauce

อีกด้านของการแข่งขันในองค์กรที่สร้างความ Toxic มากกว่า Productive

การแข่งขันในองค์กร ช่วยกระตุ้นให้พนักงานพยายามทำงานกันอย่างสุดความสามารถ ส่งผลดีต่อภาพรวมขององค์กร แต่ถ้าเพื่อนร่วมงานต้องแข่งกันตลอดเวลา สิ่งนี้อาจแปรเปลี่ยนจากความ Productive ไปสู่ความ Toxic

การแข่งขันกันในที่ทำงานตลอดเวลา ทำให้พนักงานรู้สึกถึงความเป็น Teamwork น้อยลง และมองกันเป็นคู่แข่งมากขึ้น ซึ่งสร้างบรรยากาศที่ตึงเครียดในการทำงาน 

การแข่งขันตลอดเวลาสร้างความ Toxic ยังไง

การมีเพื่อนร่วมงานที่จ้องจะแข่งขันอยู่เสมอ อยากดีกว่า เก่งกว่า ในทุก ๆ เรื่อง แม้แต่ในเรื่องเล็กน้อย คงเป็นสิ่งที่ทำให้ใครหลายคนรำคาญใจ หรือบางครั้งอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังแข่งขันกับคนเหล่านี้อยู่ แต่พวกเขาก็จะทำทุกอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเขาเหนือกว่าคุณ

จากรายงานพบว่า คนส่วนใหญ่ที่ชอบแข่งขันกับผู้อื่น แท้จริงแล้วพวกเขากำลังไม่มั่นใจในความสามารถของตัวเอง จึงต้องการพิสูจน์ตัวเองเพื่อให้คนอื่นยอมรับว่าพวกเขาเก่ง การพยายามทำตัวเองให้ “ดีกว่า เด่นกว่า เก่งกว่า” อาจเป็นแนวทางที่พวกเขาคิดว่าจะทำให้คนชื่นชมและยอมรับได้ แต่มันอาจสร้างบรรยากาศที่ตึงเครียดและอึดอัดในที่ทำงาน

เพราะมองว่า การเป็นคนเก่ง = ทุกคนยอมรับ ในหัวจึงคิดแต่จะเอาชนะ และรับไม่ได้กับความพ่ายแพ้เมื่อทำพลาด จนเกิดเป็นวงจร Toxic ตัวอย่างเช่น ในการประชุมคนเหล่านี้จะรู้สึกไม่พอใจ เมื่อคนในทีมไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาพูด และนำไปสู่ความขัดแย้งกันในอนาคต  ทั้งที่จริง ๆ แล้วการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการทำงานเท่านั้น

เปลี่ยนการแข่งขันที่จริงจังเป็นแรงผลักดันยังไงดี

เห็นได้ว่าเมื่อการแข่งขันระหว่างเพื่อนร่วมงานรุนแรงขึ้น ก็จะส่งผลเสียต่อการทำงานเป็นทีมและผลลัพธ์โดยรวม เพราะคนเหล่านี้จะเน้นไปที่การเอาชนะแทนที่จะทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งสถานการณ์แบบนี้อาจนำไปสู่การที่ไม่ยอมออกความคิดเห็น เพราะอยากเก็บความสำเร็จของตัวเองไว้คนเดียว องค์กรและตัวพนักงานเองจะรับมือกับปัญหาความ Toxic นี้อย่างไร มาดูกัน !

สำหรับองค์กร: ใช้การแข่งขันกันอย่างสร้างสรรค์

มารู้จักกับ Healthy Competition ที่ช่วยกระตุ้นพนักงานให้ช่วยกันทำงานกันอย่างสุดความสามารถ 

1. ทีมต้องมาก่อนเสมอ เป็นสิ่งแรกที่ต้องให้ทุกคนจำไว้ให้ขึ้นใจ ความสำเร็จของทีมต้องมาก่อน ปลูกฝังให้พนักงานตั้งคำถามว่า “สิ่งนี้จะส่งผลดีต่อทีมหรือไม่” ถ้าคำตอบคือใช่ก็ลงมือทำได้เลย 

แม้ว่าเป้าหมายส่วนตัวและความทะเยอทะยานจะมีความสำคัญ แต่ก็ควรสอดคล้องกับเป้าหมายโดยรวมและส่งผลดีต่อทีมเสมอ การทำงานร่วมกันและเคารพกัน จะสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นทีมที่ดี

2. สนับสนุนพนักงานให้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ในฐานะหัวหน้าทีม การมอบหมายงานที่ช่วยให้พนักงานได้พัฒนาทักษะใหม่ ๆ เป็นสิ่งสำคัญ นอกจากจะทำให้พนักงานได้แข่งขันกันพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น ยังทำให้เพื่อนร่วมทีมช่วยเหลือและให้คำปรึกษาซึ่งกันและกันอีกด้วย 

3. ทุกคนคือคนเก่ง ทุกคนมีคุณค่าและทำได้ดีในหน้าที่ของตนเอง การชื่นชมและมองเห็นความพยายามและความตั้งใจของพนักงานทุกคนเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง จากวิจัยพบว่าการที่ทุกคนในทีมได้รับประโยชน์จากการทำงานร่วมกัน มีแนวโน้มที่คนในทีมจะเปลี่ยนจากแข่งขันกันภายใน เป็นแข่งขันกับตัวเองเพื่อทำหน้าที่ของตนให้ดีและทำให้ภาพรวมของทีมออกมาดีด้วย

สำหรับพนักงาน: วิธีรับมือให้ทำงานด้วยกันต่ออย่างราบรื่น

หลายคนที่เจอเพื่อนร่วมงานชอบแข่งขันอาจจะมีความคิดที่อยากแตกหักกันไปข้างหนึ่ง แต่ถ้ายังต้องทำงานด้วยกันต่อไป อย่าลืมว่าผูกมิตรย่อมดีกว่าสร้างศัตรูเสมอ การปรับบรรยากาศในการทำงานให้เป็นมิตรต่อกันมากขึ้นดูจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ดังนี้

1. วางตัวเป็นมืออาชีพและมีน้ำใจต่อกัน ปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยความเคารพและให้การยอมรับ แสดงให้คนเหล่านี้เห็นว่าคุณเองเป็นมิตรและไม่มองว่าเขาเป็นคู่แข่ง การทำแบบนี้จะช่วยให้คนเหล่านี้รู้สึกสำคัญและเป็นที่ยอมรับ รวมถึงพวกเขาก็จะเลิกแข่งขันกับคุณเพราะคุณยอมรับและมองว่าเขาสำคัญ

2. ให้ความสำคัญกับทุกคน ในการทำงานร่วมกันการมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเราเปลี่ยนจาก “ปฏิเสธแนวคิดที่เราไม่เห็นด้วย” เป็น “รับฟังและปรับใช้” ความเห็นจากหลาย ๆ คนเพื่อย่อยออกมาเป็นไอเดียที่ดีที่สุดเพียง 1 อัน ทุกคนในทีมก็จะรู้สึกว่าความคิดเห็นของพวกเขาสำคัญและมีส่วนช่วยให้งานของทีมสำเร็จ 

3. ทำงานอย่างมีเกียรติและให้เครดิตเสมอ คือ การยึดมั่นทำในสิ่งที่ถูกต้องและซื่อตรง ถึงแม้ว่าคนที่ชอบแข่งขันเหล่านี้ทำให้คุณหงุดหงิดรำคาญใจแค่ไหน แต่ถ้าในการทำงานมีส่วนที่พวกเขาช่วยเหลือจนงานสำเร็จลุล่วง ก็ควรให้เครดิตและชื่นชมพวกเขาด้วย แสดงให้เห็นว่าการแข่งขันที่ดีที่สุด คือ บรรลุเป้าหมายโดยไม่พยายามทำร้ายผู้อื่น

อ้างอิง: psychologytoday, hubgets

ถึงเป็นธุรกิจเล็ก วัฒนธรรมองค์กรก็สำคัญ
เริ่มเปลี่ยนวันนี้ก่อนสาย

.
หากองค์กรของคุณกำลังเจอปัญหา … พนักงานหมดไฟ…ทุกการตัดสินใจล่าช้าเพราะต้องรอ CEO … พนักงานลาออกเยอะ แต่ไม่รู้สาเหตุ และอีกมากมายปัญหาในองค์กรที่คุณแก้ไม่ตก
.
Peoplesauce ช่วยธุรกิจ SMEs /Startups ที่กำลัง Scale up สร้าง “คน” และ“Culture” เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

เริ่มเปลี่ยนไปพร้อมกับเราได้ตั้งแต่วันนี้ที่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

"Founder Mode" วิถีแห่งผู้นำยุคใหม่หรือแค่ One-Man Show ที่กำลังจะล้าสมัย?

Silicon Valley ดินแดนแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่ซึ่งไอเดียใหม่ๆ ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด แต่ท่ามกลางกระแสแห่งความคิดสร้างสรรค์นี้เอง กลับมีคำศัพท์ใหม่ที่จุดประกายความขัดแย้งขึ้น นั่นค...

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

รู้จัก Brian Niccol เจ้าพ่อธุรกิจ Chain Restaurant และ CEO ป้ายแดงของ Starbucks

Starbucks ก็ดึงตัว Brian Niccol (ไบรอัน นิคโคล) ผู้บริหารธุรกิจร้านอาหารมือทองจาก Chipotle Maxican Grill ธุรกิจอาหารแม็กซิกันจานด่วนมาดำรงตำแหน่ง CEO คนใหม่...