รู้จักภาวะ Grumpy Staying เบื่องานที่ทำแต่ไม่มีที่ไปและอาจกลายเป็นเนื้อร้ายขององค์กร | Techsauce

รู้จักภาวะ Grumpy Staying เบื่องานที่ทำแต่ไม่มีที่ไปและอาจกลายเป็นเนื้อร้ายขององค์กร

ไม่อยากอยู่ แต่ก็ไม่มีที่ไป ใครในองค์กรของคุณหรือตัวคุณเองกำลังรู้สึกแบบนี้รึเปล่า ? รู้จักกับภาวะ “Grumpy Staying” ภาวะที่พนักงานไม่มีความสุขกับงานที่ทำ แต่ก็ไม่มีทางไป เลยต้องทนอยู่บริษัทเดิมและแค่ทำงานให้ผ่านพ้นไปวัน ๆ 

ตลาดงานในปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงขึ้น การหาโอกาสใหม่ ๆ ในการทำงานจึงเป็นเรื่องยาก ส่งผลให้ในช่วงในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แรงงานบางส่วนเกิดภาวะ Quiet quitting หรือการที่พนักงานเริ่มไม่พอใจกับงาน แต่เลือกที่จะทำงานต่อแทนการลาออก และไม่แสดงออกว่าไม่พอใจ เนื่องจากไม่สามารถหางานใหม่ได้

เมื่อตลาดงานยังคงมีอัตราการว่าจ้างใหม่ที่ต่ำอยู่ และบริษัทต่าง ๆ ก็เริ่มทยอยเรียกตัวพนักงานให้กลับมาทำงานที่ออฟฟิศ พนักงานบางส่วนตกอยู่ในภาวะ Loud quitting พวกเขาเริ่มที่จะแสดงความไม่พอใจออกมา บ่นถึงสิ่งที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง แต่เลือกที่จะทำงานต่อไปแทนที่จะลาออก จนรุกรามกลายเป็นภาวะ“Grumpy Staying” 

ภาวะ Grumpy Staying

Grumpy Staying หรือภาวะทนอยู่แบบไม่พอใจ หมายถึง ภาวะที่พนักงานรู้สึกไม่มีความสุขและไม่พอใจกับงานที่ทำ แต่ยังคงทำงานที่บริษัทต่อไป เพราะพวกเขาก็ไม่ได้มีทางเลือกมากนัก พนักงานที่เกิดภาวะนี้มักจะเลือกทำงานให้เสร็จ ๆ ไป แทนที่จะใช้ความพยายามและความสามารถทำออกมาให้ดี 

รายงานผลสำรวจประจำปี 2023 จาก Gallup พบว่า พนักงาน 122,416 คนทั่วโลกมีผู้อยู่ในภาวะ Quiet quitting มากถึง 59% และ Loud quitting อีก 18% ภาวะเหล่านี้สามารถแปรเปลี่ยนไปเป็น Grumpy Staying ได้

ซึ่งคนเหล่านี้นอกจากจะขาดแรงจูงใจในการทำงานแล้ว ไม่สนใจและใส่ใจกับคุณภาพของงานที่จำเป็นต้องทำ ยังอาจกลายเป็นเนื้อร้ายขององค์กรที่สร้างบรรยากาศการทำงานที่ Toxic จนทำให้คนดี ๆ ต้องเป็นฝ่ายลาออกไปแทน ซึ่งการที่องค์กรมีพนักงานแบบ Grumpy Staying อยู่จะส่งผลเสียต่อการดำเนินงานและการเติบโตขององค์กรแน่นอน

รับมืออย่างไรกับ Grumpy Staying

หากคิดดูดี ๆ พนักงานเหล่านี้รู้สึกไม่ชอบงานที่ทำอยู่และสาเหตุที่พวกเขาไม่ลาออกและเปลี่ยนไปทำงานที่พวกเขาสนใจก็เป็นเพราะ ยังไม่มีโอกาสดี ๆ ในการทำงานหรือยังไม่มีที่ไป จึงต้องทนทำงานที่ไม่ชอบต่อไป

การแก้ไขปัญหาของภาวะนี้อาจจะดูเป็นเรื่องยาก เพราะเป็นปัญหาที่เกิดเฉพาะตัวบุคคลจริง ๆ แต่สิ่งที่องค์กรทำได้คือการตั้งรับและให้ความช่วยเหลือแก่พนักงานเหล่านี้  โดยอาจจะเริ่มจากการทำความเข้าใจว่า ‘การที่พนักงานอาจจะไม่ได้รู้สึกสนุกกับงานที่ทำนั้นเป็นเรื่องปกติ’ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ทำงานที่ชอบ 

Steve Immelt CEO ของสำนักงานกฎหมายระดับโลกอย่าง Hogan Lovells เผยว่าวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยเหลือพนักงานที่รู้สึกไม่สนุกกับงานที่ทำคือ การสร้างจุดมุ่งหมายและแรงจูงใจในการทำงาน การพูดคุยกับพนักงานเหล่านี้ถึงเป้าหมายและสิ่งที่บริษัทกำลังทำอยู่ให้ง่ายและชัดเจน 

การทำแบบนี้จะช่วยให้ช่วยให้ทุกคนเข้าใจว่า บริษัทกำลังพยายามบรรลุอะไร ต้องการทำอะไร และงานของแต่ละคนมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นอย่างไร ซึ่งจากข้อมูลที่ Immelt สำรวจพบว่า พนักงานที่เข้าใจเป้าหมายขององค์กรกว่า 74% จะมีส่วนร่วมและกระตือรือร้นเกี่ยวกับงานของตนมากขึ้น

แต่ข้อสำคัญคือ อย่าเน้นไปที่การพูดถึงผลลัพธ์มากเกินไป เพราะพนักงานไม่ได้รับแรงจูงใจจากการการบรรลุเป้าหมาย พวกเขาได้รับแรงจูงใจจากความรู้สึกที่ว่างานของพวกเขามีความหมายแก่องค์กร ดังนั้น การสร้างจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนสามารถส่งผลดีต่อทั้งประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละบุคคล และความมุ่งมั่นที่มีต่อองค์กรได้ด้วยนั้นเอง

อ้างอิง: cnbc, businessinsider

ถึงเป็นธุรกิจเล็ก วัฒนธรรมองค์กรก็สำคัญ
เริ่มเปลี่ยนวันนี้ก่อนสาย

.
หากองค์กรของคุณกำลังเจอปัญหา … พนักงานหมดไฟ…ทุกการตัดสินใจล่าช้าเพราะต้องรอ CEO … พนักงานลาออกเยอะ แต่ไม่รู้สาเหตุ และอีกมากมายปัญหาในองค์กรที่คุณแก้ไม่ตก
.
Peoplesauce ช่วยธุรกิจ SMEs /Startups ที่กำลัง Scale up สร้าง “คน” และ“Culture” เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

เริ่มเปลี่ยนไปพร้อมกับเราได้ตั้งแต่วันนี้ที่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Brian Niccol เจ้าพ่อธุรกิจ Chain Restaurant และ CEO ป้ายแดงของ Starbucks

Starbucks ก็ดึงตัว Brian Niccol (ไบรอัน นิคโคล) ผู้บริหารธุรกิจร้านอาหารมือทองจาก Chipotle Maxican Grill ธุรกิจอาหารแม็กซิกันจานด่วนมาดำรงตำแหน่ง CEO คนใหม่...

Responsive image

บทเรียนผู้นำธุรกิจในยุคที่ AI ครองโลก

วิธีที่ผู้นำธุรกิจ โดยเฉพาะในประเทศไทย จะส่งเสริมการใช้งาน AI และยกระดับศักยภาพองค์กร รวมถึงทักษะที่ผู้นำต้องมีในยุคดิจิทัล...

Responsive image

วิธีปั้นคนในยุค AI ในแบบฉบับ SCBX บริษัทที่ตั้งเป้าใน 3 ปี รายได้ 75% จะมาจาก AI

เคยสงสัยไหมว่าการทำงานในยุคที่ AI เป็นแรงขับเคลื่อนหลัก องค์กรจะสร้างบุคลากรอย่างไรให้เหมาะสมกับยุค ?...