Smart Energy Hackathon Southeast Asia | Techsauce

Smart Energy Hackathon Southeast Asia

จากความร่วมมือนานาชาติระหว่างหลายภาคส่วนได้มีการเปิดตัวงาน Smart Energy Hackathon ซึ่งจะจัดขึ้น ณ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 8-10 กันยายน 2560 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเร่งกระบวนการพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมใหม่โดยใช้ซอฟต์แวร์เป็นทางออกสำหรับความท้าทายด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้ โดยเปิดโอกาสให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักวิเคราะห์ข้อมูลและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจากทั่วภูมิภาคร่วมแข่งขันพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นเวลา 2 วัน เพื่อชิงเงินรางวัลรวมมูลค่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 350,000 บาท งาน Hackathon เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เปิดพื้นที่สำหรับการคิดค้นทางออกใหม่ ๆ เพื่อแก้ปัญหา อีกทั้งเป็นเวทีสำหรับเปลี่ยนประกายความคิดให้เกิดเป็นผลงาน พร้อมทั้งพัฒนาต่อยอดไปสู่ธุรกิจในขั้นต่อไป งานนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ อันได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทเอ็นวิ จำกัด การไฟฟาส่วนภูมิภาค (กฟภ.) บริษัท Lykke บริษัทวาเพา จำกัด และบริษัทบลูโซลาร์ จำกัด งาน Smart Energy Hackathon จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน  ( GIZ​)​, Techgrind, CalCEF/New Energy Nexus, ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ( CU Innovation Hub​) และเคเอ็กซ์แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรื (KX​)

ดิจิทัลคือกุญแจสําคัญ 

ภูมิภาคอาเซียนกําลังเผชิญกับความท้าทายในการรับมือและจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะทําให้พลังงานทดแทนและเทคโนโลยี smart energy มีความสําคัญสูงขึ้น งาน Smart Energy Hackathon เป็นการเปิดเวทีให้เหล่าสตาร์ทอัพได้พัฒนาวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้ซอฟต์แวร์ ซึ่งครอบคลุมทั้งห่วงโซ่ของระบบพลังงานและรวมไปถึง Internet of Things (IoT) การบริหารจัดการระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เทคโนโลยีสมาร์ทกริด (smart grid) การจัดการพลังงาน (Energy Management) การให้บริการลูกค้า ฯลฯ การทําให้อุตสาหกรรมพลังงานของอาเซียนมีความเป็นดิจิทัลจะทําให้กิจการสาธารณูปโภคอย่างการไฟฟ้ามีขีดความสามารถมากขึ้น เช่น มีความยืดหยุ่นในการจัดการการผนวกรวมแหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเข้าสู่ระบบ การดูแลรักษาระบบไฟฟ้า การจัดการระบบ และการบริการลูกค้าที่ดีขึ้น

สร้างระบบนิเวศ 

วิสัยทัศน์ร่วมของผู้สนับสนุนและผู้จัดงาน Smart Energy Hackathon คือการสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียนซึ่งจะสนับสนุนผู้ประกอบการด้านพลังงาน นวัตกรรมขององค์กรและการลงทุนใน Smart Energy ผ่านกระบวนการขับเคลื่อนจากล่างขึ้นบน การสร้างรากฐานที่มั่นคงสําหรับเหล่าสตาร์ทอัพด้านพลังงาน เป็นก้าวแรกที่จะนําไปสู่การยอมรับจากคนหมู่มากและการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน งาน Smart Energy Hackathon จะเพิ่มแรงผลักดันและสร้างความตระหนักถึงความสําคัญของนวัตกรรมด้านพลังงาน

ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าแข่งขันได้แล้วตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2560 จะมีการประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกในวันที่ 17 สิงหาคม 2560 ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ smartenergyhackathon.com​ ​รวมไปถึง  Facebook และ Twitter

คําอ้างอิงจากผู้จัดงาน

“การนํา Smart Energy มาใช้แก้ปัญหาในตลาดพลังงานไม่ได้อยู่ที่ความท้าทายด้านฮาร์ดแวร์อีกต่อไป รูปแบบธุรกิจที่มีนวัตกรรม รวมถึงการให้ซอฟต์แวร์มีบทบาทสําคัญในการแก้ปัญหา ล้วนเป็นกุญแจสําคัญสู่ความสําเร็จ GIZ ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะมีส่วนช่วยในการสร้างระบบนิเวศสําหรับการประกอบธุรกิจในด้าน smart energy ซึ่งจะช่วยสร้างทางออกเชิงนวัตกรรมสําหรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในอาเซียน” โทมัส โครเม็ทซ์กา ผู้อํานวยการโครงการพลังงานทดแทน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ)

“Techgrind พร้อมที่จะพบปะและสนับสนุนเหล่าสตาร์ทอัพที่มุ่งแก้ปัญหาด้านพลังงานและอยากที่จะเติบโตเป็นบริษัทพันล้าน!” พาเวล ลาเลอติน ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนหลัก TechGrind Incubator & Venture Capital

“สําหรับ KX นั้น การสร้างระบบนิเวศด้านพลังงานสะอาดในประเทศไทยเป็นโอกาสสําคัญที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาดและการพัฒนาที่ยั่งยืน เราจําเป็นต้องมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมในด้านนี้เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืนและการกําหนดสัดส่วนพลัง งานของไทยที่เหมาะสมนวัตกรรมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรีไซเคิล พลังงานทดแทน การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รถยนต์ไฟฟ้า เคมีสีเขียว ระบบไฟส่องสว่างและนํ้าทิ้ง ไม่เพียงแต่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศหากแต่ยังเป็นโอกาสสําคัญในการสร้างและลงทุนในธุรกิจ” คริส ชิโนสรณ์ ผู้อํานวยการเคเอ็กซ์แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KX)

“เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมและองค์กรชั้นนําในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจในด้านพลังงานใน อาเซียน งาน Smart Energy Hackathon จะเป็น Game Changer และจะนําไปสู่แนวความคิดใหม่ ๆ รวมถึงจะช่วยดึงความสนใจสู่นวัตกรรมและการทําธุรกิจด้านพลังงานอย่างแน่นอน เราต้องการสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ด้านพลังงานในอาเซียน งาน Hackathon นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของอีกหลาย ๆ กิจกรรมที่น่าสนใจที่เรากําลังวางแผนให้เกิดขึ้นตามมาในภูมิภาคนี้” เฮนดริค ทีซิงกา ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้จัดการโปรแกรม New Energy Nexus

“หนึ่งในเป้าหมายของศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งรวมไปถึงด้านพลังงาน เรามีเป้าหมายที่จะพัฒนาและประสานความร่วมมือให้เกิดระบบนิเวศด้านพลังงานที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งสามารถสนับสนุนธุรกิจและสตาร์ทอัพด้านพลังงาน ผนวกนวัตกรรมและการลงทุนใน smart energy ทั้งในรูปแบบบนลงล่างและล่างขึ้นบน ปัจจุบัน เราไม่สามารถปฎิเสธได้ว่าภูมิภาคอาเซียนยังคงเผชิญความท้าทายในการจัดการปั ญหาด้านพลังงาน โดยเฉพาะความต้องการพลังงานทดแทนและเทคโนโลยี smart energy ที่เพิ่มสูงขึ้น งาน  Smart Energy Hackathon เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สามารถตอบโจทย์ในการก่อให้เกิดหรือจุดประกายแนวคิดทางออกใหม่ ๆ เพื่อให้มีการจัดหาเทคโนโลยีด้าน smart energy ที่ดีขึ้นและเร่งรัดพัฒนาวิธีแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรมโดยใช้ซอฟต์แวร์” ดร.รณกร ไวยวุฒิ ผู้อํานวยการศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

จับตา 18 อุตสาหกรรม พลิกโฉมเศรษฐกิจโลก สร้างรายได้กว่า 48 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2040

ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจดุเดือดกว่าเดิม มีอุตสาหกรรมบางกลุ่มที่กำลังมาแรง และเติบโตแบบก้าวกระโดด เราเรียกอุตสาหกรรมเหล่านี้ว่า 'Arenas' ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโอกาส แต่ก็ต้...

Responsive image

Gemini 2.0 คืออะไร ใช้ทำอะไรบ้าง ? สรุปของใหม่กับ AI ที่เก่งที่สุดของ Google

หลังจาก Google เปิดตัว Gemini 1.0 ซึ่งเป็น AI แบบ Multimodal และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนมีผู้ใช้มากถึง 2 พันล้านคนทั่วโลก ล่าสุดได้มีการอัปเกรดเวอร์ชันใหม่ในชื่อ Gemini 2.0 ซึ่งเป็น...

Responsive image

พลังงานจากหลุมดำ พุ่งชนวัตถุลึกลับในกาแล็กซี เกิดรอยปริศนารูปตัว V

NASA พบร่องรอยแปลกประหลาดจากการพุ่งชนของลำแสงพลังงานสูงที่มาจากหลุมดำขนาดมหึมาในกาแล็กซี Centaurus A (Cen A) ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 12 ล้านปีแสง การค้นพบนี้สร้างความตื่นเต้นให้กับวงการ...