Xi Jinping พบ Jack Ma รัฐบาลจีนเปลี่ยนท่าที? AI กลายเป็นตัวพลิกเกมเศรษฐกิจ | Techsauce

Xi Jinping พบ Jack Ma รัฐบาลจีนเปลี่ยนท่าที? AI กลายเป็นตัวพลิกเกมเศรษฐกิจ

สี จิ้นผิง เปิดโต๊ะประชุมกับ แจ็ค หม่า และผู้นำธุรกิจจีน ถือเป็นสัญญาณสำคัญว่ารัฐบาลอาจกลับมาสนับสนุนภาคเอกชน หลังจากช่วงหลายปีที่ควบคุมเข้มงวด การพบกันครั้งนี้มี Alibaba, Xiaomi, Meituan, Unitree Robotics และ Huawei พร้อมด้วย นายกรัฐมนตรี หลี่ เฉียง เข้าร่วม 

แจ็ค หม่า คือภาพสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของจีน เขาก่อตั้งอาลีบาบาในปี 1999 และทำให้บริษัทเติบโตเป็นยักษ์ใหญ่ของวงการอีคอมเมิร์ซ แต่ปี 2020 ทุกอย่างเปลี่ยนไป หลังจากเขาวิจารณ์ระบบการเงินของจีน รัฐบาลสั่งระงับ IPO ของ Ant Group และเริ่มควบคุมธุรกิจเทคโนโลยีอย่างเข้มงวด ทำให้หม่าหายไปจากสายตาสาธารณะ

แต่เมื่อเศรษฐกิจจีนเริ่มชะลอตัว รัฐบาลก็ต้องปรับท่าที ปี 2023 หม่าเริ่มกลับมา และปีนี้ อาลีบาบาหันไปลุย AI เต็มตัว โมเดล "Qwen" ของบริษัททำผลงานโดดเด่นจนแม้แต่ Apple ยังเลือกใช้ เทรนด์นี้ช่วยดันมูลค่าตลาดของอาลีบาบากลับขึ้นมากกว่า 90,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 3,000 ล้านบาท

นักวิชาการมองว่าการประชุมครั้งนี้เป็นสัญญาณที่ดี แต่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแบบพลิก 180 องศา จีนกำลังค่อย ๆ ปรับตัวจากการคุมเข้มภาคเอกชนไปสู่การให้การสนับสนุนมากขึ้น และพรรคคอมมิวนิสต์จีนดูเหมือนจะตระหนักว่าการผลักดันเทคโนโลยีและเศรษฐกิจต้องการพลังของบริษัทเอกชน และอาจถึงเวลาที่ต้องปรับจังหวะให้เข้ากับโลกธุรกิจที่เปลี่ยนไป

ภาพรวมภาคเอกชนและ Startup Ecosystem จีน 2024

อ่านบาทความเต็มได้ที่: Startup Ecosystem จีน ถึงจุดต่ำสุด นักลงทุนหาย startup เกิดใหม่น้อย

ช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 เมื่อบริษัทอย่าง Alibaba และ Tencent เติบโตอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นกลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่ระดับโลก จีนจึงเป็นเหมือนสถานที่แห่งความหวังของนักลงทุนและผู้ประกอบการในอดีต แต่ตอนนี้ความหวังเหล่านั้นก็เลือนลางลง ความสำเร็จในระดับนั้นอาจจะไม่เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้

ข้อมูลจาก Financial Times ชี้ว่า

  •  ปี 2018: การลงทุนของ VC เฟื่องฟู มีบริษัท Startup กว่า 51,000 แห่งที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีน
  • ปี 2023: ตัวเลขลดลงเหลือเพียง 1,200 แห่ง และลดลงอย่างต่อเนื่อง

วิกฤตในภาคส่วนนี้สะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว ซึ่งได้รับผลกระทบจาก

1. เศรษฐกิจชะลอตัว

เศรษฐกิจของจีนชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากผลกระทบระยะยาวของการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดจากโควิด-19 ฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์แตก และตลาดหุ้นที่อ่อนแอ ส่งผลให้นักลงทุนจากสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ถอนตัวเนื่องจากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้น และบริษัทต่างๆ จึงเติบโตและดึงดูดการลงทุนได้ยากขึ้น

2. นโยบายทางการเมือง

ภายใต้การนำของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง รัฐบาลได้เข้มงวดการควบคุมธุรกิจเอกชนมากขึ้น เช่น การปราบปรามบริษัทเทคโนโลยีที่ถือว่าผูกขาดหรือไม่สอดคล้องกับค่านิยมของพรรคคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังต้องเผชิญกับการตรวจสอบเงินและการตัดสินใจทางธุรกิจอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการ หรือลงทุนในบริษัทได้อย่างอิสระ

Desmond Shum นักธุรกิจชาวฮ่องกง ผู้เขียนหนังสือ Red Roulette และอดีตเจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ ชี้ว่า รัฐบาลได้ “ปิดกั้น” ภาคเอกชน โดยเขาอธิบายว่าปัจจุบันธุรกิจที่ประสบความสำเร็จต้องเผชิญกับถูกเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ไม่สามารถย้ายเงินของตนไปยังต่างประเทศได้ กิจกรรมทางการเงินและคำแถลงต่อสาธารณะชนต้องได้รับการตรวจสอบอยู่เสมอ จนเหมือนกับว่า “เงินของพวกเขาคือเงินของประเทศ”

AI กำลังเปลี่ยนท่าทีรัฐบาลที่รัฐบาลมีต่อเอกชน

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า เรื่องราวของภาคเอกชนจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเหมือนรถไฟเหาะ  จากที่เคยรุ่งเรืองสุดขีด กลับต้องเจอกับมาตรการควบคุมเข้มงวดจากรัฐบาล สี จิ้นผิง เล่นงานบริษัทยักษ์ใหญ่โดยเฉพาะภาคเทคโนโลยีจนตลาดหุ้นร่วงหนัก และนักลงทุนต่างชาติพากันกลัว

แต่แล้ว "AI" หรือปัญญาประดิษฐ์ กลับกลายเป็นตัวพลิกเกมที่ทำให้รัฐบาลจีนต้องทบทวนนโยบายของตัวเองอีกครั้ง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ Alibaba ที่กำลังกลับมาเพราะ AI 

โดยเฉพาะ "Qwen" โมเดล AI ของ Alibaba กำลังสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ ไม่เพียงแต่ทำคะแนนดีเยี่ยมในการทดสอบระดับประเทศ แต่ยังได้รับการรับรองจาก Apple ให้ถูกนำไปใช้ใน iPhone ที่ขายในจีน

ซึ่งหากเราลองคิดดูดีๆ Apple ที่เป็นหนึ่งในผู้นำเทคโนโลยีระดับโลก ตัดสินใจให้ AI ของ Alibaba เข้าไปอยู่ในผลิตภัณฑ์ของตัวเอง เท่ากับเป็นสัญญาณว่า จีนไม่ได้เป็นแค่ผู้ตามอีกต่อไป แต่มีโอกาสก้าวขึ้นมาเป็นผู้เล่นสำคัญในสนาม AI ระดับโลก

พอข่าว Apple และ Alibaba ปล่อยออกมา ตลาดหุ้นจีนร้อนแรงสุดๆ หุ้นของ Alibaba กระโดดขึ้นทันทีจนแตะจุดสูงสุดตั้งแต่ปี 2022 ดัชนี Hang Seng China Enterprises กลายเป็นตลาดหุ้นที่ทำผลงานดีที่สุดในโลกในช่วงเดือนที่ผ่านมา

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลจีนตระหนักแล้วว่า AI คืออนาคต และแทนที่จะควบคุมภาคเอกชนอย่างเข้มงวดเหมือนที่ผ่านมา พวกเขากลับเลือกที่จะสนับสนุนให้บริษัทเทคโนโลยีพัฒนา AI ต่อไป

ไม่ใช่แค่ Alibaba ที่ได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่เศรษฐกิจจีนโดยรวมก็กำลังได้รับแรงหนุนจาก AI เช่นกัน จีนต้องการลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ และมุ่งสร้างนวัตกรรมของตัวเองให้แข็งแกร่งขึ้น ซึ่ง AI กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้จีนสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างแท้จริง

อ้างอิง: [1] bloomberg, [2] bloomberg

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน เป็นไปได้จริงด้วย AI ส่องโอกาสและความท้าทายที่ต้องรับมือ

กระแสการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่การจะก้าวไปสู่การทำงานรูปแบบใหม่นี้ได้จริง จำเป็นต้องมีปัจจัยสนับสนุนที่แข็งแกร่ง และหนึ่งในป...

Responsive image

กระทราง DOGE ใต้การดูแลของอีลอน มัสก์ ปลดพนักงานสำนักงานนิวเคลียร์สหรัฐฯ นับ 300 ชีวิต สั่นคลอนความมั่นคงชาติ

เจ้าหน้าที่กว่า 300 คนที่สำนักงานบริหารความมั่นคงนิวเคลียร์แห่งชาติ (NNSA) ถูกปลดออกจากงาน อันเป็นส่วนหนึ่งของการปลดพนักงานของกระทรวงพลังงาน จากการสนับสนุนของ DOGE โดยไม่ทันคิดให้ร...

Responsive image

อดีต CTO OpenAI เปิดตัว Thinking Machines Lab สตาร์ทอัพ AI แห่งใหม่

Mira Murati อดีต Chief Technology Officer (CTO) จาก OpenAI เปิดตัวสตาร์ทอัพใหม่ ชื่อว่า "Thinking Machines Lab" ซึ่งแน่นอนว่าจุดโฟกัสหลักยังคงอยู่ที่ AI...