Fujitsu ประยุกต์ใช้ AI - ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ พยากรณ์สึนามิแบบเรียลไทม์ | Techsauce

Fujitsu ประยุกต์ใช้ AI - ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ พยากรณ์สึนามิแบบเรียลไทม์

โตเกียว เซนได และคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านภัยพิบัติระหว่างประเทศ (IRIDeS) ที่มหาวิทยาลัยโทโฮคุ สถาบันวิจัยแผ่นดินไหวที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ฟูจิตสึ และเมืองคาวาซากิ ร่วมมือจัดทำการทดลองภาคสนามของการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ทำงานบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ฟูกากุ (Fugaku) ของ Fujitsu  เพื่อการพยากรณ์สึนามิแบบเรียลไทม์ที่มีความละเอียดสูง สนับสนุนการอพยพสึนามิอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพระหว่างการฝึกซ้อมป้องกันภัยพิบัติในเมืองคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น 

Fujitsu ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ทำงานบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ฟูกากุ (Fugaku) ของ Fujitsu  เพื่อการพยากรณ์สึนามิแบบเรียลไทม์ที่มีความละเอียดสูง สนับสนุนการอพยพสึนามิอย่างปลอดภัย และมีประ

ระหว่างการทดลองภาคสนาม ผู้เข้าร่วมจากชุมชนโดยรอบจะได้รับแจ้งเกี่ยวกับเวลาที่มาถึง รวมถึงความสูงของคลื่นสึนามิที่คาดการณ์ไว้ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนที่พัฒนาโดย Fujitsu 

การฝึกนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อระบุวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นในการแบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้อยู่อาศัย และหลีกเลี่ยงกรณีที่ผู้คนถูกทิ้งไว้เบื้องหลังระหว่างการอพยพ

โครงการนี้แสดงถึงก้าวล่าสุดในการริเริ่มอย่างต่อเนื่อง ตามกรอบข้อตกลงที่ลงนามระหว่างเมืองคาวาซากิและฟูจิตสึในปี 2557 ส่งเสริมการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน เพื่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมวิจัย และพัฒนา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการร่วมมุ่งหวังลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสึนามิโดยใช้ ICT ในพื้นที่ชายฝั่งคาวาซากิ” ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการแบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้เข้าร่วมการทดลองภาคสนามผ่านแอป 

ทั้งสองฝ่ายมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการใช้วิธีการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในทางปฏิบัติที่ใช้ประโยชน์จากความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ (AI) การประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC) และเทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับการพยากรณ์อุทกภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วมีส่วนสนับสนุนให้เกิดสังคมที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

การทำงาน

การทดลองภาคสนามเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการอพยพโดยใช้ข้อมูลพยากรณ์อุทกภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิด้วย AI โดยข้อมูลนี้จะถูกส่งไปยังแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดย Fujitsu  ซึ่งผู้อยู่อาศัย และผู้จัดงานจะอ้างอิงตามเวลาจริงในระหว่างการจำลองการอพยพ การทดลองภาคสนามจะดำเนินการภายใต้การดูแล และคำแนะนำของ ศาสตรจารย์ฟุมิฮิโกะ อิมามูระ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภัยพิบัตินานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยโทโฮคุ และ ศาสตราจารย์ทาเคชิ ฟุรุมุระ จากสถาบันวิจัยแผ่นดินไหวแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว

ผู้เข้าร่วมหลายคนที่บรรยายสรุปก่อนการทดลองภาคสนาม จะทำหน้าที่เป็นผู้นำด้านข้อมูลภัยพิบัติ และรับข้อมูลโดยละเอียด รวมถึงเวลาที่คาดการณ์ไว้ ระดับความสูงของคลื่นสึนามิ ผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ จะได้รับข้อความในแอปพลิเคชัน ซึ่งระบุว่า AI ได้คาดการณ์น้ำท่วมสำหรับตำแหน่งของพวกเขา

เมื่ออพยพ ผู้นำข้อมูลด้านภัยพิบัติสามารถตรวจสอบตำแหน่งปัจจุบันของผู้เข้าร่วมในชุมชนเดียวกัน และแจ้งเตือนผู้ที่อยู่เบื้องหลังในการอพยพโดยใช้ฟังก์ชันการส่งข้อความของแอปพลิเคชัน การทดลองภาคสนามจะตามด้วยหลักสูตรการป้องกันภัยพิบัติออนไลน์ ซึ่งจะมีการทบทวนการดำเนินการอพยพของผู้เข้าร่วม

Application Fujitsu ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ทำงานบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ฟูกากุ (Fugaku) ของ Fujitsu  เพื่อการพยากรณ์สึนามิแบบเรียลไทม์ที่มีความละเอียดสูง สนับสนุนการอพยพสึนามิอย่างปลอดภัย และมีประ

แอปพลิเคชันนี้มีโหมดการแสดงผลสองโหมด 

  • โหมดรายละเอียด ซึ่งข้อมูลคาดการณ์น้ำท่วมจากคลื่นสึนามิที่สร้างโดย AI จะแสดงบนแผนที่ด้วยสีต่างๆ ที่สัมพันธ์กับเวลาที่มาถึง และความสูงน้ำท่วมของสึนามิที่เข้ามา 
  • โหมดการแสดงผลแบบธรรมดา ที่แสดงเฉพาะข้อความเตือนผู้ใช้ในบางพื้นที่เกี่ยวกับอุทกภัยที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดสึนามิ 

แอปพลิเคชันนี้ยังมีฟังก์ชันการส่งข้อความที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบตำแหน่งของสมาชิกในชุมชนคนอื่นๆ บนแผนที่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการสื่อสาร และรวบรวมอย่างปลอดภัยในระหว่างการอพยพ ผู้ใช้สามารถโพสต์ แบ่งปันข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดต่างๆ ตามเส้นทางอพยพที่สันนิษฐานว่าได้รับความเสียหาย ยากที่จะผ่าน จนอพยพ และรวมตัวกันที่ศูนย์อพยพเรียบร้อยแล้ว

แผนการในอนาคต

จากผลตอบรับจากผู้เข้าร่วมการทดลองภาคสนาม ทั้งสี่ฝ่ายจะตรวจสอบวิธีการส่ง และใช้การพยากรณ์ภัยพิบัติของ AI เพิ่มเติมเพื่อให้ทราบถึงการอพยพตามชุมชนที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งส่งเสริมการใช้ และการประยุกต์ใช้ AI ในทางปฏิบัติเพื่อสนับสนุนมาตรการบรรเทาภัยพิบัติ ให้มีส่วนทำให้ชุมชนท้องถิ่นปลอดภัยยิ่งขึ้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...

Responsive image

ม.มหิดล ชูความสำเร็จผลงานนวัตกรรมวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี ชนิดเข็มเดียว เตรียมผลักดันออกสู่ตลาดโลก

โรคไข้เลือด เป็นหนึ่งในโรคประจำถิ่นในทุกประเทศเขตร้อนของโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายหรือยุงรำคาญเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน และในปัจจุบันมีประชากรประม...

Responsive image

ททท. ประกาศผู้ชนะ TAT Travel Tech Startup 2024 ทีม HAUP คว้าชัย ร่วมผลักดัน ท่องเที่ยวไทยกับ 11 ทีม Travel Tech

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประกาศผลผู้ชนะโครงการ TAT Travel Tech Startup 2024 กิจกรรมบ่มเพาะและโจทย์ด้านการท่องเที่ยวสุดท้าทาย ร่วมกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้แนวคิด WORLD...