ลมเปลี่ยนทิศ ความท้าทายครั้งใหม่ของ HR กับ 8 แนวทางพาองค์กรปรับตัวเข้าสู่ NEW ECONOMY | Techsauce

ลมเปลี่ยนทิศ ความท้าทายครั้งใหม่ของ HR กับ 8 แนวทางพาองค์กรปรับตัวเข้าสู่ NEW ECONOMY

รูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนเดิมในยุคหลังโควิด-19 การปรับตัวของคนเพื่อเข้าสู่สังคมครั้งใหม่จะส่งผลอย่างมหาศาลต่อเศรษฐกิจและสังคมทั่วทั้งโลก องค์กรและบริษัทส่วนใหญ่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน วัน-เวลาเข้างานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และเงื่อนไขที่เปลี่ยนไป อย่างไรก็ตามการกลับมาทำงานครั้งนี้  เราไม่สามารถทำงานแบบปกติเหมือนก่อนได้ องค์กรต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานอีกครั้ง ดังนั้นบทบาทของ HR จึงเปรียบเสมือน “ฮีโร่คนสำคัญ” ในการผลักดันพนักงานและองค์กรให้สามารถทำงานได้อย่างปกติและเดินไปข้างหน้าได้อย่างไม่มีผลกระทบ 

คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “SEAC เชื่อมาเสมอว่า “คน” คือทรัพยากรสำคัญอันทรงคุณค่าในการสร้างสรรค์แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในโลกใบใหม่ที่ไม่อะไรเหมือนเดิมแล้ว HR จะไม่สามารถยึดการทำงานในรูปแบบเดิมอีกต่อไป ในทางกลับกันต้องเน้นการสร้างโอกาสใหม่ๆ ผ่าน Reskill และ Upskill มุ่งเน้นการพัฒนาและเข้าถึงพนักงานในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้องค์กรสามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยได้ศึกษาการปรับเปลี่ยนขององค์กรทั่วโลก เพื่อดูว่า HR ของแต่ละพื้นที่ทั่วโลกได้มีการวางแผนในการปรับองค์กรและพนักงานเพื่อต้อนรับโลกยุค New Economy อย่างไร อาทิ

•    AIRA ผู้เชี่ยวชาญการตลาดดิจิทัลและ Inbound Marketing จากประเทศอังกฤษ เชื่อว่า การสื่อสารคือหัวใจสำคัญ ผ่านการช่วยเหลือของ HR ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้นำองค์กรและพนักงานทุกระดับในบริษัท สร้างโอกาสในการพูดคุยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ลดความเครียดและความกดดันของพนักงานพร้อมสร้างการปฏิสัมพันธ์รูปแบบใหม่ๆ ผ่านกิจกรรมออนไลน์แม้ไม่ได้เจอหน้ากันเหมือนเช่นเคย 

•    GOCO ผู้พัฒนาและคิดค้น HR Platform สำหรับ StartUp ปรับแผนก HR ให้ทำงานเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำเสนอข่าวสารที่ถูกต้อง เน้นการ Reskill และ Upskill กระตุ้นให้พนักงานเปลี่ยนวิธีคิดพัฒนาทักษะเสริม พร้อมเน้นการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนร่วมกัน 

•    และ McDonald’s ที่ฝากความหวังไว้กับคนรุ่นใหม่ คิดค้นโปรแกรมพัฒนาพนักงานรุ่นใหม่กว่า 10,000 คนให้มาช่วยต่อยอดสร้างไอเดียสำหรับอนาคตเมื่อสถานการณ์สงบลง ผ่านการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆ นอกเหนือจากสายงานปฎิบัติเดิมที่ทำเป็นประจำ 

โดย SEAC ได้ถอดรหัสเป็นบทสรุปที่เรียกว่า WORK WELL DONE และนำเสนอ 8 แนวทางพาองค์กรปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิตและการทำงานรูปแบบใหม่ ในลักษณะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก เรียนรู้ที่จะปรับตัวและก้าวไปข้างหน้า พร้อมกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ความต่อเนื่องและพลังงานบวกให้กับพนักงานเมื่อสถานการณ์กลับไปเป็นปกติ

WORK WELL DONE กับ 8 แนวคิดที่เปรียบเสมือน Checklist ให้ HR เดินหน้าต่อ ดังนี้

1.    10x Communication –การสื่อสารระหว่างกัน แบ่งปันข้อมูลข่าวสารที่สำคัญต้องถี่ สม่ำเสมอ และหลากหลายรูปแบบมากขึ้น 

2.    Focus on Well-Being – เริ่มต้นใส่ใจสุขภาพของพนักงานให้มากขึ้นเพื่อกระตุ้นผลลัพธ์ในการทำงาน และถึงแม้ COVID-19 จะหมดไป สิ่งที่เคยทำให้ก็ยังต้องคงไว้อยู่ 

3.    Plan Growth and Development for Your People – ปรับรูปแบบการพัฒนาคน เอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย แต่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เน้นสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

4.    Build A Stronger Communication Regime – สร้างการสื่อสารของผู้นำมากขึ้น และให้พนักงานรับฟังและมีส่วนร่วมมากขึ้น 

5.    Recognize and Reward – สังคมจับถูก จัดกิจกรรมให้รางวัล สร้างความหมาย และจุดยืนให้พนักงาน มากกว่าที่เคยเป็น 

6.    Be More FLEXIBLE – ให้เวลาพนักงานได้มีเวลาส่วนตัวเมื่อต้องทำงานแบบ Social Distancing เข้าอกเข้าใจว่าพนักงานทุกคนมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป

7.    Take Team Building Online – จัดกิจกรรมสร้างทีมผ่านช่องทางออนไลน์ให้มากขึ้น และ HR จะต้องเปิดใจรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของบริษัท

8.    Develop Virtual Community for All Employees – สร้างสังคมออนไลน์ในบรรยากาศที่รีแล็กซ์ให้พนักงานเกิดความรู้สึกอยากมีส่วนร่วม 

“แนวคิดทั้ง 8 ข้อนี้เปรียบเสมือนเป็น ทางออกของการทำงานของ HR ในยุคปัจจุบันที่กำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน การที่จะสร้างพลังบวกให้กับพนักงานเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้ ทั้งในแง่ของการสื่อสารและในแง่ของประสิทธิภาพการทำงาน นอกจากนี้ตัวองค์กรเองนั้นก็ต้องหมั่นบริหาร Mindset (วิธีคิด) และ Skillset (ทักษะ) อย่างต่อเนื่อง ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันได้ทันท่วงที นอกจากนั้นสิ่งสำคัญที่สุดตอนนี้และสำคัญไม่น้อยกว่าการเร่งสร้างคนในองค์กร 

นั่นคือ HR เอง ต้องรีบปรับตัว เสริม Essential Skill  ที่จะช่วยให้ทำงานได้ก้าวหน้ากว่าแต่ก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง 1. Agility หรือการปรับตัวในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง 2. Critical Thinking ความคิดเชิงวิพากษ์ รวมถึง 3. Social and Emotional Intelligence หรือความฉลาดทางสังคมและอารมณ์ เพราะงานของ HR ขณะนี้อยู่ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีใครเคยพบเจอมาก่อน ความรู้เชิงเทคนิคในด้าน HR แบบเดิมๆ อาจจะไม่มีประสิทธิภาพมากพอ HR ยุค New Economy หรือ Next Normal นี้จึงต้องเก่งด้วย Technical Skill และพร้อมด้วย Essential Skill เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลไปได้ถึงระดับองค์กร” นางอริญญา เถลิงศรี  กล่าวสรุป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

MarTech MarTalk 2024 EP.3 จากต้นกล้าสู่ความสำเร็จ ด้วยการพัฒนาคนและ MarTech

ChocoCRM จัดงานใหญ่ส่งท้ายปีกับงาน MarTech MarTalk 2024 EP.3 From Seeds to Success: Driving Business Growth with People and Marketing Technology ได้รับการตอบรับดีอย่างต่อเนื่องเป็น...

Responsive image

ทีทีบี เปิดตัว ttb smart shop พร้อม “ปังปัง” มังกรน้ำเงินมงคล ผู้ช่วยร้านค้าแบบครบวงจร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี นำโดย นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ พร้อมด้วย นางกนกพร จูฑา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารผลิตภัณฑ์ธุรกิจ เปิดตัวฟีเจอร...

Responsive image

ดีลอยท์เผย IPO อาเซียนปี 67 ทรุดหนัก ระดมทุนต่ำสุดรอบ 9 ปี หวังฟื้นตัวหลังดอกเบี้ยลดปี 68

ดีลอยท์ เผย ตลาด IPO ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2567 ยังคงซบเซา แต่มีแนวโน้มฟื้นตัวในปี 2568 กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค และทรัพยากรและพลังงาน มีบทบาทสำคัญในการขับเ...