เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ทุกคนต้องทำ คือ “การแนะนำตัว” เพื่อที่จะบอกให้ผู้สัมภาษณ์ทราบได้ว่าตัวเรานั้นเป็นใคร ซึ่งการเริ่มต้นการสัมภาษณ์ที่ดีของแต่ละคนมักจะแตกต่างกันไป ทั้งการเริ่มต้นด้วยการสนทนาเล็ก ๆ น้อย ๆ การสร้างความประทับใจครั้งแรก (First Impression) เพราะจะเป็นตัวช่วยให้เข้าถึงและเข้าใจผู้สัมภาษณ์มากขึ้น และตัวผู้ถูกสัมภาษณ์เองก็จะได้รู้สึกผ่อนคลายขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการเริ่มต้นที่ดี จะที่สามารถบอกทิศทางของการสัมภาษณ์ว่าเป็นไปอย่างไร และช่วยทำให้การสนทนาเป็นไปอย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น บทความนี้ได้รวบรวมเอา 8 เคล็ดลับสำหรับการแนะนำตัว และเริ่มต้นบนสนทนา เพื่อแสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่า คุณมีความพร้อมที่จะเข้าทำงานในบริษัทนั้นมากแค่ไหน และเคล็ดลับนี้จะช่วยให้คุณสามารถแนะนำตัวเองได้อย่างเป็นมืออาชีพ
เมื่อถึงตอนที่ผู้สัมภาษณ์ให้แนะนำตัว สิ่งสำคัญที่คุณต้องทำคือ ต้องแนะนำสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวคุณและตำแหน่งที่คุณสมัคร เพราะเป็นโอกาสดีในการจะอธิบายให้ชัดเจนว่า ทำไมคุณถึงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับบริษัท การจะอธิบายว่าทำไมคุณถึงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมนั้น จะต้องใช้เวลาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท และหาวิธี รวมถึงหาเหตุผลว่าทำไมคุณถึงสนใจ และอะไรเป็นสิ่งจูงใจให้คุณมาสมัครตำแหน่งนี้ โดยคุณจะต้องปรับคำตอบเหล่านั้นให้สอดคล้องกับหน้าที่ในการทำงานและบริษัท นี่เป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่จะบอกวัตถุประสงค์ของคุณอย่างตรงไปตรงมากับผู้สัมภาษณ์ แต่วัตถุประสงค์นั้นจะต้องสอดคล้องกับหน้าที่ที่จะได้รับในบริษัท ตัวอย่างเช่น คุณสมัครงานตำแหน่ง Marketing ของบริษัทเครื่องสำอางค์ คุณต้องแนะนำตัวเองพร้อมบอกถึงคุณสมบัติว่า คุณชื่นชอบในการแต่งหน้า และใช้สินค้าของบริษัทอยู่หลายอย่าง อีกทั้งคุณยังชื่นชอบแคมเปญเครื่องสำอางค์ของบริษัทนี้มาก เลยสนใจอยากเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในทีมเพื่อจัดทำแคมเปญให้ดียิ่งขึ้นไป เป็นต้น
เนื่องจากการสัมภาษณ์งานเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ ที่จะทำให้คุณได้งานเกี่ยวข้องกับหน้าที่การงานในอนาคตของคุณด้วย ดังนั้นควรจะแสดงความเป็นมืออาชีพในการตอบคำถาม เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าคุณมีการเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี และมีความตั้งใจจริงที่จะทำงานในบริษัทนี้ เพราะฉะนั้นการตอบคำถามที่แสดงถึงความจริงใจ และมั่นใจในช่วงที่มีการสัมภาษณ์ ถึงแม้ว่าคุณจะรู้สึกประหม่า ก็ต้องพยายามที่จะซ่อนความประหม่านี้ไว้เพื่อให้การสัมภาษณ์งานครั้งนี้ผ่านไปได้ด้วยดี
หลาย ๆ คนมีเหตุผลที่แตกต่างกันในการไปสมัครงานแต่ละที่ แต่ส่วนใหญ่แล้วล้วนมาจาก Passion หรือความสนใจของตัวเองทั้งนั้น แต่ Passion นั่นอาจจะไม่ถูกใจหรือจำเป็นกับหลาย ๆ หน่วยงาน เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าคือ Skills และความสามารถ ดังนั้น การจะสร้างคำตอบให้มีความเป็นมืออาชีพนั้น มีอีกสิ่งที่ควรจะนำไปใช้ในการตอบสัมภาษณ์คือ การตอบให้ชัดเจนว่าทำไมคุณถึงอยากจะทำงานที่บริษัทนี้ ถึงแม้ว่าจะเป็น Passion หรือเป็นความชื่นชอบส่วนตัว ส่วนนี้สามารถอธิบายร่วมไปได้ แต่ไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดมาก หากอยากให้ผู้สัมภาษณ์ประทับใจและอยากให้การสัมภาษณ์เป็นที่น่าจดจำควรใส่ใจในคำตอบ ให้มากขึ้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีคำว่า Passion ในคำตอบเสมอ โดยคุณอาจเล่าผ่านเรื่องราว หรือประสบการณ์เพื่อจะช่วยดึงดูดผู้สัมภาษณ์ ตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนเป็นคนเงียบไม่ชอบพบปะผู้คน แต่เมื่ออยากลองเปลี่ยนตัวเองเลยได้มีโอกาสไปทำงาน Part-time ที่ต้องพบปะผู้คนจำนวนมากเลยทำให้เริ่มสนใจงานด้านนี้มากขึ้น และรู้สึกว่าการพูดคุยกับคนแปลกหน้าก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด อีกทั้งตอนเป็นเด็ก ผู้ใหญ่อาจจะสอนว่าอย่าพูดคุยกับคนแปลกหน้า ส่งผลให้จากที่ไม่มีทักษะในการเข้าสังคมพอโตขึ้นมาและได้ลองพูดคุยพบปะผู้คนมากขึ้น เหมือนเป็นการเปิดโลกอีกใบจะเห็นได้ว่าการชอบพบปะพูดคุยก็เป็นอีกหนึ่ง Passion ดังนั้น คุณไม่จำเป็นที่จะต้องพูดถึงมันตรง ๆ มากเกินไป เพียงแค่นำมันมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทของงานเท่านี้ ก็อาจเอาชนะในผู้สัมภาษณ์ได้แล้ว
พยายามอย่าเสียเวลากับรายละเอียดของประสบการณ์ที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการสัมภาษณ์ มักจะเสียเวลาไปกับการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ต่าง ๆ จึงสร้างความไม่เหมาะสมให้กับการสัมภาษณ์ ดังนั้น คุณจะต้องคิดและตัดสินใจเองว่าเวลาใดที่เหมาะสมสำหรับการตอบคำถามนั้น อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าคุณไม่จำเป็นต้องเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ผู้สัมภาษณ์ฟัง คิดว่านี่เป็นทีเซอร์ที่กระตุ้นความสนใจของผู้สัมภาษณ์ และเปิดโอกาสให้ผู้สัมภาษณ์ถามคำถามที่เขาสนใจ
เมื่อบริษัทตอบรับใบสมัครงานและติดต่อเพื่อให้คุณไปสัมภาษณ์ การเตรียมตัวเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะผู้สัมภาษณ์สามารถรู้ได้ว่าคุณมีความพร้อมหรือไม่ที่จะเข้าทำงานกับบริษัท การเตรียมความพร้อมในการสัมภาษณ์งานนั้นต้องมีการฝึกฝนหรือฝึกซ้อมก่อนถึงวันสัมภาษณ์จริง เพราะการฝึกตอบคำถามจะทำให้คุณดูมีความเป็นมืออาชีพและน่าเชื่อถือมากขึ้น การฝึกตอบคำถามกับคนอื่นจะเป็นผลดีกว่าการฝึกด้วยตัวเองเพียงลำพัง เพราะการฝึกกับคนอื่นนั้น เขาจะสามารถรับฟัง และแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงช่วยคุณในการเก็งคำถามได้อีกด้วย การขอให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวที่เชื่อถือมาแสดงเป็นผู้สัมภาษณ์ ก็จะช่วยให้เราฝึกฝนได้ เพื่อสร้างความมั่นใจในการตอบคำถามได้มากขึ้น
การสัมภาษณ์หรือการสนทนาในทุกครั้ง คุณจะต้องแน่ใจว่าคนที่กำลังสนทนาด้วยนั้นเป็นใคร โดยเริ่มจากการแนะนำตัวและการพูดคุยเล็กน้อยจึงเข้าสู่ขั้นตอนการสัมภาษณ์ หากผู้สัมภาษณ์ไม่ได้เน้นไปที่ทักษะในการทำงานมากนัก คุณก็สามารถตอบคำถามโดยเน้นไปที่ภาพรวมของทักษะที่มี แต่หากว่าผู้สัมภาษณ์เน้นไปที่ทักษะในการทำงานเป็นส่วนใหญ่ ก็ถือเป็นเรื่องดีที่คุณสามารถบอกเกี่ยวกับทักษะต่าง ๆ ที่มีเพื่อดึงดูดให้ผู้สัมภาษณ์สนใจ นอกจากนี้ ถ้าคุณรู้จักกับผู้สัมภาษณ์ แล้ว ยังสามารถปรับคำตอบ และเจาะจงคำตอบได้มากขึ้นนั่นเอง
หากถูกไล่ออกหรือถูกปลดออกจากงานล่าสุด การไม่พูดถึงเรื่องราวนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการสัมภาษณ์งานใหม่ การสร้างความประทับใจแรกอย่างเป็นมืออาชีพ เป็นการเปิดโอกาสให้กับคุณในการก้าวเข้าไปทำงานในบริษัทใหม่ เมื่อผู้สัมภาษณ์ถามคำถามเฉพาะเจาะจงที่ว่าทำไมคุณถึงเปลี่ยนงาน แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ต้องคิดหนัก แต่เมื่อคุณแสดงความจริงใจและทัศนคติในทางบวกลงไปในคำตอบก็เป็นส่วนช่วยให้ผู้สัมภาษณ์เข้าใจ และสร้างความประทับใจได้
คุณมีโอกาสเพียงครั้งเดียวที่จะสร้างความประทับใจแรกให้กับผู้สัมภาษณ์ การตัดสินใจในการรับเข้าทำงานส่วนใหญ่เกิดขึ้นในนาทีแรก ซึ่งคือการทักทาย การสบตา รวมถึงการแนะนำตัวและการสนทนาเล็ก ๆ น้อย ๆ ร่วมกัน หากทำพลาดตั้งแต่นาทีแรก ให้จำไว้เสมอว่าคุณไม่สามารถย้อนกลับไปได้ในการสนทนาเริ่มต้น ให้พยายามอย่างเต็มที่ในการสร้างความประทับใจแรก หากเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นแล้ว ให้พยายามสร้างความประทับใจในการสัมภาษณ์จากช่วงระยะเวลาที่เหลือให้ได้มากที่สุด ดังนั้น คุณจะต้องมีความมั่นใจ และต้องเตรียมตัวก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนของการสัมภาษณ์เพื่อสร้างจุดเริ่มต้นที่ดี
อ้างอิง : themuse
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด