eIQ Insights : แอปพลิเคชันแบบ Native หรือ Hybrid แบบไหนที่เหมาะกับคุณ? | Techsauce

eIQ Insights : แอปพลิเคชันแบบ Native หรือ Hybrid แบบไหนที่เหมาะกับคุณ?

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนผู้จดทะเบียนการใช้โทรศัพท์มือถืออยู่ 854 ล้านเลขหมาย ซึ่งมากกว่าจำนวนประชากรทั้งหมดรวมกันด้วยซ้ำ สิ่งนี้กำลังหมายความว่า

ธุรกิจทุกอย่างควรจะมีแอปพลิเคชันบนมือถือเป็นของตัวใช่หรือไม่?

คำตอบคือ ไม่จำเป็นเสมอไป แม้ว่าโทรศัพท์มือถือจะเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคน แต่ว่าแอปพลิเคชันบนมือถือนั้น เหมาะกับธุรกิจบางกลุ่มเท่านั้น เช่น ธุรกิจแฟชั่น ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะถูกค้นพบและผู้บริโภคมีความถี่ที่จะใช้จ่ายกับสินค้าในหมวดนี้สูง

ภาพจาก Deloitte

แอปพลิเคชันมือถือยังถูกนำไปใช้ในแวดวงการตลาดด้วย เช่น การส่งการแจ้งเตือน (Push Notification) เช่น หากธุรกิจที่มีหน้าร้านต้องการจับกลุ่มผู้ที่เปิดฟังก์ชันแสดงพิกัดพื้นที่ (Location Finder) บนมือถือ ก็สามารถส่งส่วนลดสำหรับสาขาที่อยู่ใกล้ที่สุดไปให้ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เข้าร้านของตนได้

และหากธุรกิจของคุณสามารถใช้แอปพลิเคชันมือถือให้เป็นประโยชน์ได้ ด้านล่างนี้เป็นข้อมูลที่ควรทราบ ก่อนที่จะตัดสินใจสร้างแอปพลิเคชันของคุณขึ้นมา

แอปพลิเคชันแบบ Native หรือ Hybrid ดีกว่ากัน ? แล้วหลักมันต่างกันอย่างไร?

แอปพลิเคชันแบบ Native นั้น ต้องพัฒนาขึ้นมาเฉพาะ โดยสร้างขึ้นมาแยกกันระหว่างระบบปฏิบัติการ iOS และ Android แต่แอปพลิเคชันแบบ Hybrid ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในกรอบที่ทำให้สามารถทำงานได้ทั้งบนเครื่องที่ใช้ iOS และ Android

การที่จะเลือกว่าจะใช้แอปพลิเคชันแบบไหนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผลการดำเนินงานของธุรกิจ และขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน ซึ่งในเรื่องนี้ eIQ ได้พูดคุยกับคุณ Mandy Arbilo Regional Project Manager ที่ aCommerce ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการให้บริการเกี่ยวกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพื่อสอบถามเกี่ยวกับฟีเจอร์และข้อแตกต่างหลักๆ ของแอปพลิเคชันแบบ Native และ Hybrid

แอปพลิเคชันแบบ Native 

ระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนา : 3 – 4 เดือนต่อแพลตฟอร์ม (iOS หรือ Android) ค่าใช้จ่ายในการพัฒนา : 30,000 – 35,000 ดอลลาร์ต่อแอปพลิเคชัน

เหมาะสำหรับ : ผู้ที่มีความต้องการที่จะใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชันอื่นๆ เช่น Google Maps รวมถึงแพลตฟอร์มสำหรับการจ่ายเงินอย่าง Samsung Pay, Android Pay  หรือ Apple Pay นอกจากนี้ยังเหมาะกับธุรกิจที่ต้องการใช้ฟังก์ชันอื่นๆ อย่างการค้นหาที่ตั้งร้านค้า การนำทาง เนื่องจากแอปพลิเคชันแบบ Native จะสามารถทำงานได้แม่นยำและเสถียรกว่าในการทำงานร่วมกับแอปพลิเคชันภายนอกอื่นๆ

สิ่งที่ควรรู้ : บางแบรนด์เลือกที่จะสร้างแอปพลิเคชันสำหรับ iOS ก่อนเพื่อจับกลุ่มผู้ใช้งาน Apple ซึ่งมีกำลังซื้อมากกว่า โดยคนกลุ่มดังกล่าวมักใช้จ่ายบนแอปพลิเคชันมากกว่าผู้ใช้งาน Android ถึง 2.5 เท่า แต่หากแบรนด์ต้องการจะจับกลุ่มลูกค้าที่กว้างกว่า การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับ Android จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภาพจาก Deloitte

ข้อได้เปรียบของแอปพลิเคชันแบบ Native

  • รวดเร็วและตอบสนองได้ดีกว่า ผู้ใช้รู้สึกว่าน่าเชื่อถือกว่าแอปพลิเคชันแบบ Hybrid
  • สามารถส่งการแจ้งเตือนเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ใช้งานให้เปิดใช้แอปพลิเคชันได้
  • มีฟีเจอร์บางชนิดและประสบการณ์ที่แอปพลิเคชันแบบ Hybrid ไม่สามารถลอกเลียนได้
  • ทำงานร่วมกับองค์ประกอบอื่นๆ ได้ดีกว่า จึงสามารถนำฟังก์ชันต่างๆ ของตัวเครื่องมาใช้ได้ เช่น กล้องถ่ายรูป ไมโครโฟน หรือฟังก์ชันการปัด(swipe)
  • แอปพลิเคชันแบบ Native ทำงานร่วมกับฟีเจอร์ต่างๆ ในตัวเครื่อง ดังนั้นมันจึงทำงานได้ง่ายกว่า และทำงานได้ดีกว่า

ข้อเสียเปรียบของแอปพลิเคชันแบบ Native

  • ต้องใช้ Developer เฉพาะในการเขียนโค้ดของแต่ละแพลตฟอร์ม เนื่องจากแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นมาเพื่อระบบปฏิบัติการหนึ่งจะไม่สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการอื่นได้
  • มีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่า เนื่องจากแบรนด์จำเป็นจะต้องสร้าง 2 แอปพลิเคชันสำหรับระบบปฏิบัติการที่แตกต่าง และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาก็สูงเช่นกัน
  • เจ้าของแอปพลิเคชันจำเป็นต้องส่งแอปพลิเคชันไปให้ App Store หรือ Google Play Store ตรวจสอบก่อนเปิดให้ดาวน์โหลด

ตัวอย่างของแอปพลิเคชันแบบ Native

  • Pokemon Go – แอปพลิเคชันเกมบนโทรศัพท์มือถือ
  • Season – มาร์เกตเพลสออนไลน์ของประเทศไทยที่เปิดให้บริการผ่านมือถือเท่านั้น
  • Pomelo – แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่น

แอปพลิเคชันแบบ Hybrid

ระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนา : 3 เดือน ค่าใช้จ่ายในการพัฒนา : 30,000 ดอลลาร์ต่อแอปพลิเคชัน

เหมาะสำหรับ : ผู้ที่กำลังมองหาตัวเลือกที่มีราคาเป็นมิตรกว่าเพื่อเริ่มต้นธุรกิจและต้องการสร้างแอปพลิเคชันเพื่อให้ลูกค้าได้ใช้เร็วที่สุด แอปพลิเคชันแบบ Hybrid นั้น เป็นการสร้างแอปพลิเคชันที่ใช้เงินต่ำที่สุดและมีความคุ้มทุนมากกว่าสำหรับแบรนด์ที่ต้องการจะจับทั้งกลุ่มผู้ที่ใช้งาน iOS และ Android แต่ยังมีงบประมาณไม่มากพอ

สิ่งที่ควรรู้ : วิธีที่ดีที่สุดที่จะอธิบายเกี่ยวกับแอปพลิเคชันแบบ Hybrid ก็คือมันเป็นแอปพลิเคชันลูกผสมระหว่างแอปพลิเคชันแบบ Native และแอปพลิเคชันบนเว็บไซต์

ผู้ใช้งานจะต้องติดตั้งแอปพลิเคชันแบบ Hybrid แบบเดียวกันกับที่ติดตั้งแอปพลิเคชันแบบ Native แต่ที่จริงแล้วแอปพลิเคชันแบบ Hybrid นั้น เป็นเหมือนกับก้อนเบราเซอร์ที่รวมกันอยู่ในแอปพลิเคชัน โดยคุณสามารถเพิ่มฟังก์ชันใหม่ๆ เข้าไปในแอปพลิเคชันแบบ Hybrid ได้ผ่านการเขียนโค้ดเพียงภาษาเดียว

กระบวนการจึงคล้ายกับการสร้างเว็บไซต์แบบ responsive ที่ไม่ซับซ้อนนัก และความเร็วของแอปพลิเคชันแบบ Hybrid นั้นจะขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ ในขณะที่ความเร็วของอินเทอร์เน็ตจะส่งผลต่อแอปพลิเคชันแบบ Native น้อยกว่า

ข้อได้เปรียบของแอปพลิเคชันแบบ Hybrid

  • การพัฒนาแอปพลิเคชันแบบ Hybrid มักจะมีราคาถูกกว่าแอปพลิเคชันแบบ Native
  • แอปพลิเคชันแบบ Hybrid สามารถปรับให้เข้ากับแพลตฟอร์มอื่นได้ง่ายกว่า เช่น Windows Mobile
  • ประหยัดเงินและประหยัดเวลามากกว่า เนื่องจากไม่ต้องการการบำรุงรักษามากเหมือนแอปพลิเคชันแบบ Native ทว่าความเร็วของแอปพลิเคชันนั้นจะขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้งาน

ข้อเสียเปรียบของแอปพลิเคชันแบบ Hybrid

  • ประสิทธิภาพคือ ข้อด้อยที่สุดของแอปพลิเคชันแบบ Hybrid เนื่องจากแอปพลิเคชันแบบนี้จะต้องดาวน์โหลดข้อมูลเหมือนกับเบราเซอร์ ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่เรียกว่า WebView ซึ่งก็หมายความว่าสามารถทำได้แค่ดูหน้าเว็บไซต์เท่านั้น

WebView มีหน้าที่ในการแสดงหน้าตาของเว็บไซต์ต่างๆ และอ่าน JavaScript ซึ่ง Google และ Apple ก็ไม่ได้เปิดให้ WebView สามารถทำงานได้เหมือนกับเบราเซอร์สำหรับโทรศัพท์มือถืออย่าง Chrome หรือ Safari ดังนั้นแอปพลิเคชันแบบ Hybrid จึงไม่สามารถทำงานได้ดีเท่ากับแอปพลิเคชันแบบ Native

  • แอปพลิเคชันแบบ Hybrid จำเป็นต้องทดสอบการทำงานบนแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากมันสามารถเข้าถึงฟังก์ชันต่างๆ ของตัวเครื่องได้น้อยกว่า
  • ประสบการณ์ของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันแบบ Hybrid อาจจะแย่กว่าเนื่องจากองค์ประกอบของแอปพลิเคชันแบบนี้ไม่สามารถปรับแต่งให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน Apple หรือ Android โดยเฉพาะได้

Mandy กล่าวเสริมว่า “แอปพลิเคชันแบบ Hybrid ไม่สามารถปรับแต่งเพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานทั้ง 2 ระบบปฏิบัติการได้ แต่หากคุณพยายามที่จะปรับแต่งมันมากเกินไป สุดท้ายแล้วคุณอาจจะเสียเงินเท่ากับการสร้างแอปพลิเคชันแบบ Native 2 แอปพลิเคชัน”

ตัวอย่างของแอปพลิเคชันแบบ Hybrid

อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างด้านล่างได้แสดงให้เห็นแล้วว่าแอปพลิเคชันแบบ Hybrid เอง ก็สามารถทำงานได้ดีเช่นกัน ซึ่งเป็นผลมาจาก HTML5

  • Evernote
  • Amazon App Store
  • Uber
  • Instagram

Uber app

สรุปแล้วควรเลือกแบบไหนดีล่ะ?

Mandy กล่าวว่า “หากคุณต้องการจะสร้างแอปพลิเคชันสำหรับอีคอมเมิร์ซ หรือใช้งานแพลตฟอร์มที่มีคุณภาพ และคุณมีงบประมาณที่มากพอ คุณก็ควรจะเลือกแอปพลิเคชันแบบ Native เนื่องจากมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า สามารถทำงานกับแอปพลิเคชันอื่นๆ อย่าง Google Maps ได้ดีกว่า และสามารถทำงานในขณะที่ไม่อินเทอร์เน็ตได้” และสำหรับคนที่มีงบประมาณที่น้อยกว่า การสร้างแอปพลิเคชันแบบ Hybrid ก็เป็นตัวเลือกที่ดี หากต้องการจะทดสอบศักยภาพของแอปพลิเคชันว่ามีแนวโน้มที่สมควรจะนำทรัพยากรต่างๆ มาใช้เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันแบบ Nativeหรือไม่ อย่างที่ Facebook เคยทำ

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษที่เว็บไซต์ eCommerceIQ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 เคล็ดลับมองโลก จากผู้นำระดับท็อปที่ประสบความสำเร็จ

แม้ว่าจะไม่สูตรตายตัวที่จะประสบความสำเร็จแต่มี 5 อันดับที่ขาดไม่ได้ของเหล่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกตั้งแต่ Elon Musk , Jeff Bezos จนไปถึง Susan Wojcicki ถ้าอยากรู้ว่า...

Responsive image

5 คนที่ควรมีในชีวิต ถ้าคิดอยากประสบความสำเร็จ

เส้นทางสู่ความสำเร็จ เดินคนเดียวอาจไปถึงช้า จะดีกว่าไหมถ้ามีคนที่ใช่เคียงข้างไปด้วย บทความนี้จะชวนทุกคนตามหา 5 ความสัมพันธ์ที่เราควรมี เพื่อเส้นทางสู่ความสำเร็จ...

Responsive image

ถอด 4 บทเรียนธุรกิจ Taylor Swift ชื่อศิลปินที่มีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท

Taylor Swift ไม่ใช่แค่ของชื่อศิลปินอีกแล้ว กลายเป็น Branding ที่มีมูลค่าสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ความสำเร็จของ Taylor Swift ก็มีส่วนที่หยิบมาใช้ในการพัฒนาโมเดลธุรกิจได้เช่นเดียวกัน...