ทางเลือกของโรงแรมในยามวิกฤติ COVID 19 | Techsauce

ทางเลือกของโรงแรมในยามวิกฤติ COVID 19

ถ้าเราย้อนกลับไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน และมีรายงานสรุปประเด็นสำคัญออกมา….

ในรายงานได้มีการสรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมซึ่งหนึ่งในหัวข้อที่สำคัญประเด็นหนึ่งคือการปรับลดประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2564 ลงจากมาตรการเปิดประเทศที่ผ่อนคลายช้ากว่าที่คาดการณ์

วันนี้เราลองมาดูประเด็นสำคัญจากกราฟประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติของธนาคารแห่งประเทศไทยในรายละเอียดกันดีกว่าค่ะ

ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งสมมติฐานการประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยใช้ปัจจัยของช่วงเวลาการกระจายวัคซีน และช่วงเวลาของการเปิดรับนักท่องเที่ยวเป็นตัวแปรที่สำคัญโดยแบ่งช่วงเวลาเป็นรายไตรมาสเริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 จนถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2565 รวมระยะเวลา 3 ปี

ผลการประมาณการในแต่ละช่วงมีดังนี้

  • ไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ประเทศไทยเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย Special Tourist Visa (STV) โดยต้องกักตัว 14 วัน ซึ่ง ณ จุดนั้นจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงเป็นศูนย์ และค่อย ๆ ขยับขึ้นในช่วงปลายไตรมาสที่ 1 ปี 2564
  • ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 เป็นช่วงที่อยู่บนสมมติฐานที่ว่าประเทศที่เรียกได้ว่าเป็น Advance Economies จะได้รับวัคซีนมากกว่า 30% ของประชากร ควบคู่ไปกับมาตรการในการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนโดยไม่ต้องกักตัว แต่ต้องมีใบรับรองการฉีดวัคซีนและการตรวจเชื้อ ซึ่งคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นในหลักแสนต้น ๆ เห็นได้จากกราฟคือ 0.2 ล้านคน
  • ไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 เป็นช่วงที่อยู่บนสมมติฐานที่ว่าประเทศที่เป็นนักท่องเที่ยวหลักของประเทศไทยฉีดวัคซีนมากกว่า 30% และภายใต้มาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนโดยไม่ต้องกักตัว แต่ต้องมีใบรับรองการฉีดวัคซีนและการตรวจเชื้อยังคงมีอยู่นั้น จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นแตะหลักล้าน อยู่ที่ 1.7 ล้านคน
  • ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ซึ่งติดดาวสีเหลืองในกราฟเพราะอยู่ภายใต้สมมติฐานว่าประเทศไทยฉีดวัคซีนได้ประมาณ 20% ของประชากร และยังคงดำเนินมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนไม่ต้องกักตัว จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติขยับเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวจาก 1.7 ล้านคนในไตรมาสที่ 3 เป็น 3.6 ล้านคนในไตรมาสที่ 4
  • ปี 2565 ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 2 ประมาณการนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึง 5.2 ล้านคนเมื่อสิ้นสุดไตรมาสที่ 2 ของปี 2565
  • ไตรมาสที่ 3 ต่อเนื่องไตรมาสที่ 4 มีดาวสีเหลืองเน้นย้ำสมมติฐานที่ว่าภายในครึ่งปีหลังของปี 2565 นี้ประเทศส่วนใหญ่ รวมถึงประเทศไทยได้รับวัคซีนถึงระดับที่มีภูมิคุ้มกันหมู่ (60-70%) แล้ว และเริ่มเปิดประเทศแบบที่สายการบินพาณิชย์เปิดให้บริการได้โดยไม่ต้องมีเงื่อนไขการฉีดวัคซีนและการกักตัว ซึ่ง ณ จุดนี้คาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะจบปี 2565 ด้วยตัวเลข 7.3 ล้านคน

เป็นอย่างไรกันบ้างภายใต้กรอบระยะเวลาในอีก 2 ปีข้างหน้า คือ ปีนี้เกือบเต็มปี (ณ วันที่เขียนบทความ) ไปจนถึงสิ้นปี 2565 ภายใต้สมมติฐานข้างต้นจากธนาคารแห่งประเทศไทยเราจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ 7.3 ล้านคน

คราวนี้เราก็จะเห็นภาพว่า “วัคซีน” เป็นตัวแปรหลักที่สำคัญที่จะทำให้เกิดการเดินทางระหว่างประเทศได้อีกครั้ง ควบคู่ไปกับการผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศของแต่ละประเทศที่จะดำเนินการให้สอดคล้องกับปริมาณการได้รับวัคซีนเพื่อเน้นความปลอดภัยอย่างรอบคอบให้ได้มากที่สุด

ประเด็นต่อมา ภายใต้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ประมาณการนั้น ถ้าเราย้อนกลับไปดูอันดับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในบ้านเราอันดับต้น ๆ แน่นอนว่าคือ ประเทศจีน มาเลเซีย รัสเซีย ญี่ปุ่น และอินเดีย ในแง่การสร้างรายได้สูงสุด 5 อันดับแรกในปี 2562 นั้นประเทศเหล่านี้มีมาตรการในเรื่องวัคซีนโควิด 19 และมาตรการการเดินทางระหว่างประเทศอย่างไร การกำหนดช่วงเวลา(Timeline) ของแต่ละประเทศเป็นอย่างไร

สำหรับประเทศจีนนั้นจากเดิมเคยเดินทางเข้ามาในบ้านเรามากถึง 11.0 ล้านคนต่อปี และจีนเป็นประเทศแรกที่โดนโควิด-19 โจมตี และฟื้นตัวกลับมาได้ ประกอบกับสัมพันธไมตรีที่ประเทศเรามีกับประเทศจีน จึงอาจมองเห็นภาพนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาตั้งแต่ครึ่งปีหลังในปี 2564 เป็นต้นไป คงเป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนที่จะครอบครองส่วนแบ่งในตลาดเช่นเคย

สำหรับโรงแรมและรีสอร์ทที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ยอดนิยมของชาวจีนนั้น ปัจจุบันได้รับผลกระทบอย่างหนักโดยเฉพาะทางภาคใต้ การที่จะวางกรอบระยะเวลาและเลี้ยงธุรกิจให้ไปถึงครึ่งปีหลังของปีนี้นั้นดูจะเป็นทางที่สาหัสทีเดียวโดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมในกลุ่ม SME และรายย่อยทั้งหลายที่ทะยอยปิดให้บริการเพราะไม่สามารถแบกภาระค่าใช้จ่ายต่อไปได้ ทั้งค่าไฟฟ้าและค่าเงินเดือนพนักงาน และลำพังการทำตลาดในประเทศนั้นแน่นอนว่าจำนวนอัตราการเข้าพักและการใช้จ่ายนั้นยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำมากไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ดังนั้น สมมติฐานข้างต้นจากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย คงต้องมาประกอบร่างกับมาตรการอื่น ๆ ทางด้านการเงินที่จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจโรงแรมสามารถยืนต่อไปได้จนถึงเวลาที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเกิดขึ้นตามประมาณการ

การรวมกลุ่มของโรงแรมรีสอร์ทขนาดเล็กถึงขนาดกลางเพื่อรวบรวมปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมพร้อมตัวเลขที่ได้รับผลกระทบ การประเมินทางเลือกต่าง ๆ พร้อมตัวเลขที่ชัดเจนเพื่อนำเสนอต่อสถาบันการเงิน และหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เห็นผลกระทบที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นน่าจะช่วยเพิ่มน้ำหนักและความรวดเร็วในการลงไปแก้ปัญหาอย่างแท้จริง….ลองรวมกลุ่มและนั่งทำตัวเลขร่วมกันดูนะคะ เช่น ในจังหวัดของคุณ มีโรงแรมขนาดต่ำกว่า 50 ห้องกี่โรง จำนวนพนักงานเฉลี่ยต่อโรงแรมอยู่ที่กี่คน วงเงินหมุนเวียนที่ต้องการเฉลี่ยต่อโรงแรมเดือนละเท่าไหร่ เทียบสัดส่วนระหว่างตัวเลขนักท่องเที่ยวในประเทศกับการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติภายใต้กรอบระยะเวลาการได้รับวัคซีนเป็นอย่างไร พื้นที่ไหนที่ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือไม่ใช่จังหวัดหลักที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าพัก ก็อยู่บนตัวเลขนักท่องเที่ยวในประเทศที่ประมาณการควบคู่ไปกับสมมติฐานดังตัวอย่างที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทำ

หรือจะแบ่งกลุ่มเพื่อนๆโรงแรมที่พักในพื้นที่จังหวัดเดียวกันออกเป็นกลุ่ม แยกตามจำนวนห้องพัก หรือแยกตามระยะเวลาที่เปิดให้บริการ เพราะโรงแรมที่เปิดมามากกว่า 5 ปี หรือมากกว่า 10 ปี กับโรงแรมที่เปิดใหม่ ก็มีมุมมองที่แตกต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่าตัวเลขสถิติต่างๆที่เก็บได้จะเห็นภาพชัดเจนถึงวิธีปฎิบัติในช่วงสถานการณ์โควิดที่ผ่านมาว่าแต่ละโรงเลือกที่จะแก้ไขปัญหา ปรับตัวในทิศทางแบบไหน

ถ้าเรามีตัวเลขแต่ละจังหวัดที่ชัดขึ้นในแต่ละภาค เชื่อว่าเราจะสามารถร่วมมือกันฝ่าฟันวิกฤตนี้ร่วมกันไปได้ค่ะ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Founder Model วิถีผู้นำแบบ Brian Chesky CEO เบื้องหลังความสำเร็จของ Airbnb

Founder Mode เป็นแนวทางการบริหารที่กำลังได้รับความสนใจในวงการสตาร์ทอัพ โดยแนวคิดนี้ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางจาก Brian Chesky, CEO ผู้พา Airbnb เติบโตจนกลายเป็นธุรกิจระดับโลก ด้...

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...