บทความนี้เป็น guest post โดย Sanjay Popli (CEO - Cryptomind)
เรียกได้ว่าปี 2020 เป็นช่วงขาขึ้นของเหล่าสกุลเงินดิจิทัลเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสกุลเงินดิจิทัลตัวแรกของโลกอย่าง บิตคอยน์ (Bitcoin) ที่แม้ว่าจะมีราคาที่สูงมากอยู่แล้ว แต่ทั้งนักเศรษฐศาสตร์และนักลงทุนต่างก็เห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า นับจากนี้ราคาของบิตคอยน์จะมีแต่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ไปอีก จนถึงขั้นมีนักสถิติบางคนทำนายว่า จากราคาราวเหรียญละราว ๆ ห้าแสนหกหมื่นบาท ณ ตอนนี้ จะสามารถพุ่งทะยานไปจนถึงที่ราคาเหรียญละเก้าล้านบาทได้ภายในสิ้นปี 2021 ได้เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญที่ราคาของบิตคอยน์ได้ทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ราคา 19,8xx เหรียญดอลลาร์สหรัฐ (ตามแต่ราคาเว็บเทรดแต่ละแห่ง) หรือราว ๆ 600,000 บาท และนี่คือ 3 เหตุผลว่าทำไมราคาบิตคอยน์ถึงสามารถพุ่งทะลุเพดานประวัติศาสตร์ได้ ครั้งนี้ Techsauce ได้นำบทความจาก guest post เขียนโดย Sanjay Popli (CEO - Cryptomind) มาให้ได้อ่านกันความสนใจขององค์กรต่าง ๆ
จะเห็นได้ว่าตลอดปี 2020 นี้ มีการเปิดเผยถึงการเข้าซื้อบิตคอยน์เป็นมูลค่าหลายพันล้านของบริษัทและสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่หลายแห่ง อาทิ Grayscale และ MicroStrategy เป็นต้น ข้อมูลดังกล่าวทำให้นักวิเคราะห์ตีความได้ว่า นับจากนี้ไป องค์กรใหญ่ ๆ และผู้จัดการกองทุนหลายแห่งจะเริ่มหันมามองบิตคอยน์ในฐานะ “สินทรัพย์ทางเลือกเพื่อการเก็งกำไร” มากยิ่งขึ้น แล้วยิ่งเมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ อาจกำลังวางนโยบายในการผลิตธนบัตรออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขการชะลอตัวในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อและการเสื่อมมูลค่าของเงินสดลง การเลือกซื้อบิตคอยน์เก็บไว้ในระยะยาวก็อาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะรักษามูลค่าของสินทรัพย์ได้ดีกว่าเก็บในรูปของเงินทั่วไป
ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ทำให้คนหันมาสนใจบิตคอยน์มากที่สุด คงหนีไม่พ้นความเคลื่อนไหวของบริษัทเครือข่ายการชำระเงินระดับโลกอย่าง PayPal ที่ได้ประกาศเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า นับจากนี้ไปแพลตฟอร์มของ PayPal จะเริ่มให้บริการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล นั่นทำให้ร้านค้าและธนาคารกว่า 26 ล้านแห่งทั่วโลกยิ่งหันมาจับจ้องสกุลเงินดิจิทัลตัวนี้มากยิ่งขึ้น มิหนำซ้ำ ข่าวลือเกี่ยวกับการพัฒนาการให้บริการที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลของ PayPal ยังมีออกมาอีกเรื่อย ๆ ทำให้เป็นที่จับตามองอย่างมากว่า นอกเหนือไปจากราคาของบิตคอยน์ที่ถูกปั่นจนสูงขึ้นไปในปลายปี 2020 แล้ว ยังจะมีความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อะไรอีกที่ PayPal กำลังแอบซ่อนเอาไว้
ในระยะหลังมานี้ มีการเปิดเผยรายชื่อของทั้งนักวิเคราะห์และกลุ่มคนมีชื่อเสียงในแวดวงต่าง ๆ ที่ออกมายอมรับและพูดถึงบิตคอยน์ในแง่ดีมากยิ่งขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ Paul Tudor Jones II และ Stanley Druckenmiller ผู้จัดการกองทุนระดับตำนานที่ลงความเห็นว่าบิตคอยน์มีความน่าสนใจอย่างมาก เมื่อพิจารณาในฐานะของสินทรัพย์เพื่อการลงทุนในระยะยาว นอกจากนี้ ยังมีกระแสความเห็นจากผู้คนและนักลงทุนที่กล่าวถึงบิตคอยน์ในเชิงเปรียบเทียบอีกว่า บิตคอยน์อาจเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นตัวประกันมูลค่าสินทรัพย์ในอนาคตได้เช่นเดียวกับทองคำ
ล่าสุด Ray Dalio ตอบ AMA (Ask Me Anything) บน Reddit เรื่อง Bitcoin ซึ่งคราวนี้ดู positive กว่าเมื่อก่อนมาก โดยบอกว่า Bitcoin (และผองเพื่อน) น่าสนใจในการเป็นสินทรัพย์ทางเลือกใหม่ที่คล้ายกับทองคำ มันสามารถใช้เป็นตัวเลือกในการกระจายความเสี่ยงนอกจากการถือทองคำได้สำหรับพอร์ตการลงทุน ซึ่งจุดสำคัญคือการมีสินทรัพย์ประเภทนี้เก็บไว้บ้าง สินทรัพย์ที่มีจำนวนจำกัด เคลื่อนย้ายได้ง่าย และเก็บมูลค่าได้ อีกต้างหาก
หลังจากเผชิญกับปัญหาเกี่ยวกับความเชื่อมั่นของผู้ใช้งานที่มีต่อบริษัทแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง OKex เนื่องจากมีการถอนบิตคอยน์ออกจากระบบไปถึง 24,631 บิต จนบริษัทดังกล่าวถึงกับต้องมีการระงับการถอนสินทรัพย์ออกจากแพลตฟอร์มติดต่อกันถึงห้าสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม หลังการตรวจสอบพบว่า อาจมีความเป็นไปได้ที่จะมี “วาฬ” หรือผู้ถือบิตคอยน์รายใหญ่ได้ทำการวางมือจากตลาดแล้วขายบิตคอยน์ทิ้งเพื่อถอนเงินออกไป
จะเห็นได้ว่า การเดินทางของบิตคอยน์จะสัมพันธ์กับอินเทอร์เน็ตอยู่เสมอ คำกล่าวนี้ใช้ได้จริงอย่างยิ่งเมื่อเราพิจารณาถึงจำนวนการค้นหาคำว่าบิตคอยน์ในเครื่องมือการค้นหา โดยจะเห็นได้ชัดเจนที่สุดเมื่อครั้งที่ราคาของบิตคอยน์ได้พุ่งทะยานสูงสุดเมื่อครั้งก่อนหรือก็คือเมื่อปี 2017 นั่นเอง
นอกจากนี้ เรายังพบว่า สื่อโดยส่วนมากก็เริ่มหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับบิตคอยน์มากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีข่าวของ PayPal ออกมา ก็ยิ่งทำให้กระแสความสนใจในบิตคอยน์ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น
มีการคาดการณ์ว่า ราคาของบิตคอยน์จะต้องสูงขึ้นอีกอย่างแน่นอน เพราะต้องอย่าลืมว่าระบบของบิตคอยน์ยังมีสิ่งที่เรียกว่า “halving” หรือการที่บิตคอยน์จะลดอัตราการเกิดใหม่ลงครึ่งหนึ่งในทุก ๆ 4 ปี (รอบที่ผ่านมาคือเมื่อเดือนพฤษภาคม 2020 และรอบต่อไปคือปี 2024) ซึ่งนอกจากจะเป็นการควบคุมจำนวนบิตคอยน์ในระบบแล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าและอุปสงค์ต่อบิตคอยน์อีกด้วยเมื่อทุกคนรู้ว่ามันจะมีจำนวนจำกัดเช่นเดียวกับทองคำ อย่างไรก็ดี เราอาจจะถือได้ว่าที่ราคามูลค่าเหรียญละ $20,000 คงจะถูกมองว่าเป็นกำแพงขั้นต่อไปที่บิตคอยน์จะต้องฝ่าไปให้ได้ และตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าตลาดบิตคอยน์จะมีสภาพคล่องอย่างมากในช่วงเวลาที่ราคาของมันกำลังขึ้นนั่นเอง ส่วนในอนาคตจะมีการเทขายบิตคอยน์ของนักลงทุนตัวใหญ่หรือ “วาฬ” ให้เห็นอีกหรือไม่ หรือราคาบิตคอยน์จะสามารถทะยานไปได้ไกลแค่ไหน ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องคอยติดตามต่อไป
อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้ ถ้ามีคำถามว่า เราควรเลือกลงทุนกับอะไร ระหว่างทองคำ ซึ่งเป็นสินทรัพย์สะสมตลอดกาล แร่เงินซึ่งที่ก็มีความน่าเชื่อถือ หรือบิตคอยน์ซึ่งป็นตัวแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในยุคนี้ บางกระแสอาจกล่าวว่าอย่างไรทองคำก็มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด แต่บางคนก็อาจแย้งกลับมาว่า แแท้จริงแล้วบิตคอยน์ต่างหากที่จะเป็นความหวังของสินทรัพย์ในโลกอนาคตที่จะยังรักษาและเพิ่มมูลค่าของตัวเองได้ แม้ว่ามูลค่าของเงินสกุลอื่น ๆ จะลดลง แต่ก็ดูเหมือนว่า แนวคิดแบบผสมผสานกำลังถูกจับตามองมากไม่แพ้กันหรือว่าแท้จริงแล้วเราควรซื้อสะสมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทองคำ แร่เงิน หรือบิตคอยน์ แนวคิดการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงนี้ถึงอย่างไรก็ยังคงได้รับการพูดถึงอยู่เสมอ แม้ว่ารูปแบบการลงทุนจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม
บทความนี้เป็น guest post โดย Sanjay Popli (CEO - Cryptomind)
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด