Accelerator ในสิงคโปร์เริ่มเฟ้อ การทยอยปิดตัว เมื่อเป้าหมายองค์กรและกระบวนการอิมพลีเมนท์ไม่สอดคล้องกัน | Techsauce

Accelerator ในสิงคโปร์เริ่มเฟ้อ การทยอยปิดตัว เมื่อเป้าหมายองค์กรและกระบวนการอิมพลีเมนท์ไม่สอดคล้องกัน

Singapore_Accelerator

การเกิดขึ้นของ Startup Accelerator ทั่วโลก และโดยเฉพาะแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีองค์กรต่างๆ หันมาสร้าง Accelerator ของตัวเอง หลายองค์กรเกิดความสงสัยว่ามันคือโมเดลที่ควรต้องสร้างใหม่อีกไหม ในเมื่อก็มีหลายโครงการที่ทำอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว และมี Startup ที่ซ้ำไปซ้ำมาเข้าโครงการนั้นที โครงการนี้ที แล้วมันจะเวิร์คจริงหรือไม่? ไปไปมามาโครงการ Accelerator มีจำนวนอัตราส่วนที่มากกว่า Startup หรือไม่

ล่าสุด SPH Plug and Play หนึ่งใน Startup accelerator จากบริษัท Publisher ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของสิงคโปร์ได้ออกมาประกาศว่าจะหยุดโครงการ accelerator แล้ว

มีข่าวรั่วมาจาก Tech in Asia ระหว่างพูดคุยกับ Yeo Siew Chi ว่า SPH Media Fund ยังอยู่แต่ะจะเน้นกลยุทธ์การลงทุนโดยตรง และจะหยุดโครงการ SPH Plug and Play accelerator program แม้ไม่ได้เผยถึงสาเหตุการปิดตัวดังกล่าวก็ตาม

ย้อนรอยกลับมาดูกันสักนิดว่าที่มาของ SPH Plug and Play มาจากไหน

SPH Plug and Play ความร่วมมือระหว่างบริษัทหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ SPH และ Plug and Play Tech Center หนึ่งใน Incubator ชั้นนำสำหรับ Startup มี Startup ร่วมโครงการออกไปแล้ว 16 ทีม

อย่างไรก็ตาม Plug and Play ไม่ได้ปิดตัวลงในสิงคโปร์เสียทีเดียว ยังคงร่วมกับ Mercedes-Benz ในการรันโครงการ AutoBahn Singapore program ซึ่งเน้นสายการพัฒนาบริการใหม่ๆ สำหรับยานยนต์

accelerator นั้นมีมาหลายแบบ รายที่หลายคนคุ้นเคยและถือเป็น accelerator แรกๆ ของเอเชียคือ JFDI ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Infocomm Investments (IIPL) ซึ่งปัจจุบันก็ปิดตัวลงไปแล้ว ในขณะที่ accelator รุ่นปัจจุบันจะเป็นกลุ่มขององค์กรต่างๆ ที่มีฐานลูกค้า มีช่องทางการจัดจำหน่าย ช่องทางการตลาด  ในการทำงานร่วมกับ Startup กลุ่มนี้เรียกว่า Corporate Accelerator ซึ่งสิงคโปร์น่าจะเป็นประเทศที่ขึ้นไปถึงจุดที่มีจำนวนมากเกินความต้องการ จนหลายคนคาดหวังอาจจะมีการปิดตัวเพิ่มอีก

อ้างอิงจาก  TechinAsia

ความคิดเห็นกองบรรณาธิการ

กลยุทธ์ที่ไม่ชัดเจน? ช่วงแห่งการเรียนรู้ของบรรดา Accelerator

การมี Accelerator มากเกินไป ก็เหมือนในทุกๆ สังคม ที่มีทั้งรายที่ทำได้ดี และไม่ประสบความสำเร็จ รายที่ทำได้ดีก็รู้ว่าตนเองจะช่วย Startup อย่างไร ปั้นให้เกิด Startup ที่มีคุณภาพกลับมาพาร์ทเนอร์กับองค์กร

แต่จุดสำคัญคือ เป้าหมายทางธุรกิจขององค์กรคืออะไร และกระบวนการแก้ปัญหาคืออะไร? การค้นหานวัตกรรมใหม่ๆ หรือกระบวนการที่ทำอยู่ กำลังตอบโจทย์และสอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ของธุรกิจอยู่หรือไม่?

สำหรับ SPH ธุรกิจสาย Publisher ซึ่งกำลังประสบปัญหาเฉกเช่นเดียวกับสื่อดั้งเดิมแบบอื่นๆ ซึ่งกำไรนั้นตกลงกว่า 47% ในช่วงไตรมาส 1 ของปีก่อน และต้องปลดพนักงานออก 10% ภายในช่วง 2 ปี และดูยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารก็ออกมากล่าวว่ากำลังโฟกัสเรื่องนวัตกรรม และลงทุนในธุรกิจมีเดียที่เกี่ยวข้อง หาช่องทางรายได้ใหม่ๆ และจัดการ cost ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

กรณีศึกษาของ SPH ถ้ามองเผินๆ แม้กระบวนการหาทางออกทั้งการลงทุนและสร้าง accelerator ดูเหมือนจะสนับสนุนการโฟกัสเรื่องการค้นหานวัตกรรมใหม่ๆ ในการเสริมองค์กร แต่อีกมุมหนึ่งกลับไม่สอดคล้องกับองค์กรที่ต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วนแล้ว โดยเฉพาะธุรกิจ Publisher ที่ประสบปัญหาหนักมากกว่าธุรกิจอื่นๆ ในขณะนี้ แถมเลือดไหลอีกต่างหาก การตั้ง accelerator ดูเหมือนไม่ทันการ และอาจขี่ช้างจับตั๊กแตนเกินไป Startup ที่จบมาอาจไม่ได้ช่วยองค์กรที่กำลังประสบปัญหาได้ทัน หรืออาจไม่มีรายไหนที่มาช่วยได้เลย....และนี่ถือเป็นกรณีที่เป้าหมาย และกระบวนการไม่สอดคล้องกัน

และในอีกมุมหนึ่งนักลงทุนและผู้เล่นอื่นๆ ใน Ecosystem ควรมาช่วยกันคิดว่า จะสร้าง Innovative Startup ให้เกิดเป็นธุรกิจจริงๆ ได้อย่างไร มากกว่าการออกมาบ่นว่าไม่มี Startup ที่มีคุณภาพเพียงพอที่จะให้สนับสนุน/ลงทุน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เรื่องเล่าจาก Tim Cook “...ผมไม่เคยคิดเลยว่า Apple จะมีวันล้มละลาย”

Apple ก้าวเข้าสู่ยุค AI พร้อมรักษาจิตวิญญาณจาก Steve Jobs สู่อนาคตที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรม โดย Tim Cook มุ่งเปลี่ยนโฉมเทคโนโลยีอีกครั้ง!...

Responsive image

วิจัยชี้ ‘Startup’ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จ

บทความนี้ Techsauce จะพาคุณไปสำรวจว่าอะไรที่ทำให้ วัย 40 กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนักธุรกิจและ Startup หลายคน...

Responsive image

ทำไม Fastwork ขาดทุนเกือบทุกปี ? ฟังเหตุผลของ CK Cheong

Fastwork เป็นอีกหนึ่งชื่อธุรกิจที่มาแรงในช่วงเวลานี้ ด้วยความไวรัลบนโลกออนไลน์ของผู้บริหาร CK Cheong (ซีเค เจิง) ที่มักทำคลิปให้ทัศนะเรื่องการเงิน การใช้ชีวิต และธุรกิจ แต่กลับถูกต...