คนไทยกำลังจะมีแพลตฟอร์ม E-commerce ของตัวเอง เข้าถึงชุมชน เงินไม่ไหลออกนอกประเทศ | Techsauce

คนไทยกำลังจะมีแพลตฟอร์ม E-commerce ของตัวเอง เข้าถึงชุมชน เงินไม่ไหลออกนอกประเทศ

ตลอดระยะเวลาที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 รัฐบาลได้มีการออกมาตรการเยียวยาว ช่วยและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนที่ประสบปัญหา และได้รับผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นโครงการในรูปแบบออนไลน์ทั้งสิ้น ตั้งแต่ โครงการเราไม่ทิ้งกัน จากการแพร่ระบาดระลอกแรก มาจนถึงโครงการคนละครึ่ง ที่เป็นกระแสและได้รับผลตอบรับที่ดีมาก จนกระทั่งการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ก็ได้มีโครงการเราชนะเกิดขึ้น แน่นอนว่าโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนนำไปต่อยอดเพื่อประโยชน์ของคนไทยในระยะยาวได้ทั้งสิ้น

thailand-e-commerce

คุณสมคิด จิรานันตรัตน์ ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ Techsauce Live COVID-19 ทางออกคนไทย กับการแพร่ระบาดครั้งใหม่ ว่า โครงการต่างๆ ของรัฐบาลทั้ง ‘คนละครึ่ง’ ‘เที่ยวด้วยกัน’ และ ‘เราชนะ’ ซึ่งโครงการเหล่านี้จะทำให้เข้าถึงคนไทยกว่า 31 ล้านคน ที่จะสามารถใช้งาน Digital platform ได้ดีขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เปรียบเสมือน Training platform ของคนไทย ที่จะทำให้คนไทยคุ้นชินกับการใช้งานเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น

สำหรับการต่อยอดที่จะเกิดขึ้นในระยะที่จะถึงนี้ คือ การสร้างแพลตฟอร์ม E-Commerce  ของไทย  จากการที่ตอนนี้ยังไม่มี Platform ด้านนี้ที่สร้างโดยคนไทย และใช้เองโดยคนไทยเลย ดังนั้น สิ่งที่เราอยากสร้างให้มีคุณภาพดี ให้มีรูปแบบที่มีความแตกต่าง โดยเราได้ศึกษารูปแบบต่างๆ ของ E-Commerce และเราจะเห็นว่าส่วนใหญ่จะมีการใช้งานในรูปแบบของ Supply Driven Platform แต่ก็ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งที่เราสนใจ และโดดเด่นขึ้นมาในช่วงนี้คือ Social Commerce (S-Commerce) ที่จัดอยู่ใน Consumer Driven Platform ที่มีอยู่ตามโซเชียลมีเดียต่างๆ 

จุดเด่นของเราอยู่ที่ Digital Platform ของเราเองอย่างเช่น แอปฯ ‘เป๋าตังค์’ ที่มีคนใช้งานมากกว่า 20 ล้านคน และเราคิดว่าเราสามารถพัฒนาสิ่งนี้ให้เป็น Comsumer Driven Platform ได้ แต่เป็น Platform ที่ไม่ได้โตมาจากโซเชียลมีเดียเหมือนกับ S-Commerce เราก็เลยเรียก Platform นี้ว่า Digital Commerce ซึ่งสินค้าและบริการที่เราจะขายใน Platform นี้ ผู้ขายจะขายสินค้าที่มีเรื่องราวมาเล่า โดยจะเล่าเรื่องราวที่ไม่เกินความจริงให้ผู้ซื้อสนใจและเข้ามาติดตามสินค้า และในส่วนของผู้ซื้อนั้นสามารถเข้ามาติดตามเรื่องเล่าและสามารถ Click เข้าไปเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากเรื่องเล่าที่สนใจได้ 

ความคืบหน้าตอนนี้เรามีการวางแผนและจะทำเป็นตัว Pilot ในอีกไม่เกิน 2 สัปดาห์ข้างหน้าให้มีกลุ่มคนเข้ามาทดลองใช้ และสินค้าที่เราจะนำมาไว้ใน Platform นี้จะเริ่มจากสินค้าของไทยเองที่มีเรื่องเล่า โดยไม่มีการจำกัดประเภทของสินค้า เพราะเราต้องการที่จะช่วยเหลือทุกๆ อาชีพของคนไทย

วิธีการใช้งานของ Platform นี้คือ ฟีเจอร์นี้จะไปอยู่ที่หน้าแรกของแอปพลิเคชั่น ‘เป๋าตังค์’ เมื่อกดเข้าไปคนก็จะเห็นเป็น Story ของสินค้าคล้ายกับในแอปพลิเคชั่น TikTok ที่จะเป็นวิดีโอให้รับชม และสามารถเลือกดูสินค้าจาก Story ที่ร้านค้าเอามานำเสนอได้ และในอนาคตเมื่อมีสินค้าและบริการมากขึ้นใน Platform นี้ เรามีการวางแผนที่จะนำเอา AI เข้ามาช่วยในการทำ Personalization กับลูกค้าแต่ละคน

thailand-e-commerce

ในอนาคต ถ้าคนไทยสามารถปรับตัวกับการใช้งาน Digital platform ได้ดีขึ้น ทางรัฐบาลก็มีการวางแผนที่จะต่อยอดไปทำ Platform ต่างๆ เพิ่ม (ระยะกลาง) ตัวอย่างเช่น E-Commerce ที่จะเปิดโอกาสให้คนไทยไปทำการซื้อขายสินค้าและบริการใน Platform ดังกล่าว เพื่อให้ตัวเงินไหลเวียนอยู่ในระบบของประเทศเอง และในระยะยาวสิ่งนี้สามารถต่อยอดไปเป็น Thailand Digital Platform ได้โดยมองไว้ใน 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ

  • Digital ID: จะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตบนโลก Digital ได้อย่างน่าเชื่อถือ และง่ายดายขึ้น
  • Digital Currency: ทำให้เราสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ข้ามพรมแดนได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
  • Digital Paper: ทำให้เราสามารถทำธุรกรรมต่างๆ กับภาคเอกชน และภาครัฐได้โดยที่ไม่ต้องมีเอกสารส่งถึงกันเลย และสิ่งนี้ยังทำให้สามารถออกแบบบริการต่างๆ ให้ทราบผลตอบรับได้ทันที

โดยสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ เรามองว่าต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนทุกคนและทุกภาคส่วนในการผลักดันให้ Digital Platform ของไทยเกิดขึ้นได้จริงๆ 

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ถือเป็นโจทย์ที่ยังมีความท้าทายอยู่ คือ การสร้างความต่อเนื่องให้คนได้คุ้นชินกับ Digital Platform เพราะ ณ ตอนนี้อาจจะเป็นเพราะ แรงจูงใจ การรักษาระยะห่าง และปัจจัยหลายๆ อย่างที่ทำให้คนไทยจำเป็นต้องหันมาใช้ Digital Platform โดยทางเรามองว่าการที่คนไทยใช้โครงการ ‘คนละครึ่ง’ ในตอนนี้สามารถสร้างนิสัยให้เข้าใจ และใช้งาน Digital Platform ได้ชำนาญมากยิ่งขึ้น และสิ่งนี้ก็ทำให้เกิดโครงการ ‘เราชนะ’ นั่นเอง เพราะเรามองว่า เราไม่อยากให้นิสัยการใช้จ่ายผ่าน Digital Platform ของคนไทยหายไป

ติดตามการสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่  Techsauce Live

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำไมความสำเร็จของ Bruno Mars มาจากความซื่อสัตย์ ไม่ใช่ทักษะทางดนตรี?

หลายคนคงรู้จัก Bruno Mars นักร้องชื่อดังที่มีเพลงฮิตติดหูมากมาย แต่ความสำเร็จในวันนี้ นอกจากความสามารถทางดนตรีแล้ว เจ้าตัวเผยว่า ‘ความซื่อสัตย์’ ต่อสิ่งที่ทำ เป็นคุณสมบัติที่สำคัญท...

Responsive image

ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ มาจากคอนเนคชั่นและการเลือกคบคน บทเรียนสำคัญของ Mark Zuckerberg

Mark Zuckerberg ชี้การเลือกสร้างมิตรภาพและความสัมพันธ์นั้นอาจสำคัญกว่าเป้าหมายเสียอีกเพราะการที่เราจะเติบโตขึ้นไปเป็นใครสักคนหนึ่ง ผู้คนที่เราคบหาส่งผลอย่างมากต่อตัวตนของเรา...

Responsive image

เทียบสวัสดิการหญิง ไทยสู้ใครได้บ้าง?

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามาดูว่าการต่อสู้กว่า 1 ศตวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบัน ‘สิทธิสตรี’ และสวัสดิการหญิงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว...