รวม 10 เทคนิคการทำ Prototype ให้ Startup ของคุณ Test ตลาดได้ว่องไว | Techsauce

รวม 10 เทคนิคการทำ Prototype ให้ Startup ของคุณ Test ตลาดได้ว่องไว

Prototype คือแบบจำลองเพื่อเก็บ Feedback จาก User ก่อนการสร้าง Product จริง กล่าวได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ส่งผลต่อการสร้าง Product ให้น่าพึงพอใจ ทว่าคนส่วนใหญ่มักใช้เวลาในการทำ Prototype นานเกินไป ซึ่งทำให้ Product ออกมาช้ากว่าที่ควร

ในงาน Techsauce Summit เราได้รับเกียรติจากคุณบีม อรรถพงศ์ ลิมศุภนาค CTO ของ HUBBA X มาสอนพวกเราในหัวข้อ "Rapid Prototyping in Practice" เทคนิคการทำ Prototype เพื่อหา Feedback จาก User ได้อย่างรวดเร็ว

beam_techsaucesummit

ทำไมถึงต้องทำ Prototype

ปัญหาหนึ่งที่สตาร์ทอัพเจอนั่นก็คือ เรามีไอเดียมากมายที่อยากจะทำให้เกิดขึ้น เราไม่รู้ว่าไอเดียของเราจะเวิร์คไหม ดังนั้นการทำ Prototyping หรือการสร้างแบบจำลอง จึงเปรียบเสมือนการหาคำตอบให้กับคำถามนี้ จากนั้นค่อยนำสิ่งที่ Test แล้วมาพัฒนาต่อยอดให้ Product ของคุณนั้นดียิ่งขึ้น นอกเหนือจากนั้นการมี Prototype ก็ยังช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำสตาร์ทอัพอีกด้วยเช่น ช่วยในการสื่อสารระหว่างโปรแกรมเมอร์และฝั่งที่คิดไอเดีย หรือแม้กระทั่งการช่วยให้การพัฒนา Product รวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้เห็นผลลัพธ์ก่อนที่จะลงทุนทั้งเงินและเวลาลงไป

10 ตัวอย่างการ Prototyping

วิธีการสร้าง Prototype นั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน คุณบีมได้แชร์ตัวอย่าง Prototype 10 แบบ ให้ชาวสตาร์ทอัพนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจตัวเองดังนี้

  • Mockup (แบบจำลอง) ตัวอย่างที่คุณบีมแนะนำคือ Popapp เป็น Application ที่เน้นทำ Prototype โดยใช้แอพมือถือเข้ามาช่วย หลักการคือวาด Application ที่เราจะสร้างลงบนกระดาษจากนั้นใช้ Popapp ถ่ายภาพที่วาดและเลือกพื้นที่ที่อยากจะให้ตอบสนอง โดยสามารถกำหนดผ่าน Popappได้เลยนั่นเองอีกตัวอย่างสำหรับ Mock up ที่คุณบีมได้ยกขึ้นมาให้ดูคือ ไอเดีย Nasal Surgery Prototype ของ Ideo ซึ่งเป็นการจำลองเครื่องมือที่ใช้ทำศัลยกรรมจมูกเป็น Mockup แบบง่ายที่ทำให้เข้าใจทั้งผู้ออกแบบและทีมแพทย์
Ideo's Nasal Surgery Prototype
  • User Journey เราสามารถจำลอง User Journey เพื่อที่จำลองกับตลาด ดูว่าเขาชอบหรือไม่ชอบตรงไหน โดยใช้การเล่าเรื่องผ่านวิดิโอหรือ Storyboard ตัวอย่างที่คุณบีมยกมาคือวิดิโอของ Product ตัวหนึ่งที่ชื่อว่า “Wearable Translator” เป็นฮาร์ดแวร์ที่สามารถแปลภาษาจากเสียงที่คุณพูดเป็นอีกภาษาได้ เข้าไปดูวิดีโอตัวอย่างได้ที่นี่
  • Landing Page อีกหนึ่งการทดลองที่เราสามารถทดสอบว่า User ชอบหรือไม่ชอบโดยสร้าง Landing Page หลอกขึ้นมาเพื่อที่จะ Track ดูข้อมูล User ว่าสนใจหรือไม่ เช่น เว็บไซต์ x.ai สร้าง Landing Page ขึ้นมาเพื่อจะ Test และเก็บข้อมูลของคนที่สนใจไอเดียโดยใช้ปุ่ม Subsrcibe บนหน้าเว็บไซต์ ตัวอย่าง Landing page เพื่อวัดจำนวนคนที่สนใจ
  • Pre Sale เทคนิคการทดสอบไอเดียที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่งคือการ ทำโฆษณา Pre-Order สินค้าที่เราอยากทดลองตลาดผ่าน Landing Page และทำโฆษณาให้คนคลิกเข้ามา โดยอันนี้คือตัวอย่างของ Product ที่ชื่อ Reserve Strap ซึ่งเขาได้ตั้งราคา Product นี้ไว้ที่ $250 เป็นการทดสอบว่าจะมีคนสนใจไอเดียนี้หรือไม่ หน้า Pre-sale ของ Reserve Strap
  • Crowdfunding คุณสามารถสร้างไอเดียหรือแคมเปญของคุณผ่านบนเว็บไซต์ Crowdfunding อย่าง Kickstarter หรือ Indiegogo ในต่างประเทศ หรือจะลองดูกับเว็บไซต์ Crowdfunding ของไทยก็ได้ วิธีนี้นอกจากจะใช้วัดจำนวนคนที่สนใจได้แล้ว ยังเป็นการระดมเงินทุนไปด้วย
  • Dropship คือเทคนิคที่ใช้ทั่วไปใน E-Commerce ซึ่งเราสามารถใส่สินค้าลงไปและรอให้มีคนสั่งหลังจากนั้นเราค่อยทำการ Order สินค้าจริง
  • Mock Sale คือการทดสอบที่คล้ายๆกับ Pre sale แต่เป็นการที่ใส่ระบบเครดิตเข้าไปให้ผู้ใช้เข้าใจว่าสามารถสั่งซื้อได้และปรากฏอีกหน้าเพจหนึ่งว่า Out of Stock ถือว่าเป็นไอเดียที่น่าสนใจทีเดียว
  • 3D Printing เทคโนโลยี 3D printing สามารถทำ Prototype ออกมาได้สมจริงในราคาต้นทุนที่ถูกกว่าแถมใช้ระยะเวลาน้อยกว่ามากอีกด้วย
  • Cardboard เมื่อไรที่ Product เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ การใช้กระดาษลังประกอบ Prototype ขึ้นมาก็เป็นไอเดียที่ดีเช่นกัน
  • Letter of Intent เหมาะกับการทำธุรกิจแบบขายให้ธุรกิจ (B2B) วิธีการทำคือคุณเข้าไปติดต่อธุรกิจที่คิดว่าจะใช้สินค้าหรือบริการของคุณ ลองดูว่าไอเดียที่คุณนำเสนอเป็นอย่างไรบ้าง ทำให้เขาเห็นว่าคุณสามารถแก้ปัญหาให้เขาอย่างไรได้บ้าง หลังจากนั้นลองถามถึงเรื่องสัญญาว่า ถ้าหากผลิตภัณฑ์นี้สามารถแก้ไขปัญหาดั่งกล่าวได้จริง เขาจะต้องซื้อผลิตภัณฑ์นี้จากเรา เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงก็ทำการเซ็นสัญญา

สุดท้ายคุณบีมยังฝากถึงการทำ Prototype ได้อย่างน่าสนใจว่า สิ่งที่อยากแนะนำคือ เลือกวิธีที่ค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดและง่ายต่อสำหรับการเรียนรู้ สิ่งที่เขาใช้บ่อยที่สุดก็คือ ดินสอกับปากกา คุณบีมชอบใช้ดินสอวาดมันขึ้นมาแล้วถ่ายรูปไว้เป็น Prototype หรืออีกตัวเลือกเวลาคุณอยากทำ Prototype ในการทำแอปพลิเคชันคือ Popapp อยากฝากไว้ว่าการที่เรายอมเพิ่มเวลากับขั้นตอนการทดลอง Prototype มันคุ้มค่ากว่าการที่เราต้องรื้อสตาร์ทอัพเราใหม่หมดแน่นอน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถกยุทธศาสตร์ AI ไทย หนทางดึงไทยกลับเวทีโลก ควรเริ่มอย่างไร ?

ค้นพบโอกาสและความท้าทายของ AI ที่จะพลิกโฉมเศรษฐกิจและสังคมไทย พร้อมกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาประเทศให้ก้าวทันโลกในยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน!...

Responsive image

รัฐบาลเวียดนามขยับ SME ได้เวลาทวงคืนตลาดแฟชั่นจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจีนอย่าง Shein และ TEMU

รัฐบาลเวียดนามเตรียม "บล็อก" แอปพลิเคชันและโดเมนช้อปปิ้งออนไลน์ของจีนอย่าง Shein และ Temu ถ้าไม่จดทะเบียนอย่างถูกต้องก่อนสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการทวงคืน “อุ...

Responsive image

AI ไม่ได้แทนที่คุณ แต่จะช่วยให้คุณ 'ดีกว่าเดิม'

สำรวจแนวคิด "จิตวิทยาไซบอร์ก" ในการออกแบบระบบมนุษย์-AI เพื่อความรุ่งเรืองของมนุษย์ พร้อมบทบาทของ AI ในการพัฒนาไทยให้เป็น “AI Land” จากมุมมอง ดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร ในงาน THE STANDARD ...