บัญญัติ 10 ประการสู่ความสำเร็จโดย แจ็ค หม่า แห่ง Alibaba | Techsauce

บัญญัติ 10 ประการสู่ความสำเร็จโดย แจ็ค หม่า แห่ง Alibaba

ในเวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก แจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้ง Alibaba บริษัท e-commerce รายใหญ่ของจีนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากจนทำให้ หม่า กลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศจีน ตัวเขาเองเริ่มจากการมีรายได้เพียงเดือนละ 500 บาท โดยเป็นครูสอนภาษาอังกฤษจนมาวันนี้เขามีทรัพย์สินรวมเป็นมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ วันนี้เรามี 10 คำแนะนำจาก แจ็ค หม่า ที่จะสอนให้เราเรียนรู้ถึงเส้นทางความสำเร็จครับ

https://www.youtube.com/watch?v=9e_mqibZc-Q

1. ทำความเคยชินกับการถูก"ปฏิเสธ"

หม่าเล่าให้ฟังว่าเขาโดนปฏิเสธเวลาไปสมัครงานถึง 30 ครั้ง เขาเคยไปสมัครเป็นตำรวจก็ไม่สำเร็จ มีคนสมัครเป็นตำรวจอยู่ 5 คน มี 4 คนที่ได้รับเข้าทำงานและตัวเขาเองถูกปฏิเสธ แม้กระทั้งตอนที่ KFC เข้ามาในประเทศจีน หม่าก็ไปสมัครซึ่งมีคนสมัครงานถึง 24 คน และมี 23 คนที่ถูกตอบรับ 1 คนที่ไม่ได้ถูกตอบรับก็คือ หม่า รวมไปถึงสมัยก่อน หม่าเคยสมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Harvard แต่ก็ถูกปฏิเสธถึง 10 ครั้งด้วยกัน

2. อย่าละทิ้งความฝัน

เราควรจะฝันถึงความสำเร็จอยู่เรื่อยๆ เพราะว่าวันหนึ่งความฝันนั้นอาจเป็นจริงก็ได้ เหมือนในนิทาน อาลีบาบากับโจรสี่สิบคน แค่คุณท่องคาถา "เซซามีจงเปิด" คุณก็สามารถจะเข้าไปในถ้ำซึ่งเต็มไปด้วยสมบัติ

3. ใส่ใจในวัฒนธรรม

หม่าบอกว่าตัวประกอบหลักของบริษัทก็คือวัฒนธรรม เทคโนโลยีเปรียบเสมือนเครื่องมือ แต่หลักการจริงๆของเราแล้วเรามีพนักงานจาก 18 คน เพิ่มมาเป็น 2 หมื่นกว่าคน เราพยายามอย่างมากที่จะใส่คุณค่าลงไปในตัวบุคคลและบริษัท เพื่อที่เราสามารถมั่นใจได้ว่าทุกคนจะทำงานและช่วยเหลือคนอื่นด้วย นอกเหนือจากการหารายได้

4. อย่าใส่ใจคำครหาของคนอื่น

สมัยก่อนเวลา หม่า ไปคุยเกี่ยวกับธุรกิจ Alibaba กับคนอื่น มีหลายคนบอกว่าไอเดียนี้เป็นไอเดียที่โง่และไม่ได้เรื่องเอาซะเลย จนมาวันนี้มีผู้ใช้งานในระบบ Alibaba ถึง 800 ล้านคน ซึ่งฟังดูแล้วมันก็ไม่ได้เป็นไอเดียที่โง่เสมอไปนะ

5. หาแรงบันดาลใจ

หม่าบอกว่าเขาเองได้แรงบันดาลใจจากหนังหลายๆเรื่อง อย่างเช่นเขาเรียนรู้ถึงเทคนิคการพูดจากหนังเรื่อง Bodyguard หรือแม้กระทั้งหนังเรื่อง The Godfather และหนังที่เขาโปรดปรานที่สุดก็คือ Forrest Gump

6. มีความแน่วแน่

ในหนึ่งวันของเขาจะมีคนมาเสนองานและไอเดียเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็แน่นอนว่าเขาจะต้องปฏิเสธมันบ้างและอาจจะทำให้คนอื่นๆผิดหวัง แต่สิ่งที่สำคัญก็คือรูปแบบของธุรกิจจะต้องมีความชัดเจนและช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น มันไม่ใช่เพียงแค่เป็นรูปแบบธุรกิจของการหาเงินอย่างเดียว

7. ตั้งชื่อบริษัทให้ดีและมีความหมาย

ตอนที่หม่าเริ่มสร้าง Alibaba เขาคิดว่าในเมื่ออินเทอร์เน็ตมันครอบคลุมทั่วโลก เพราะฉะนั้นชื่อของบริษัทก็ควรเป็นชื่อที่มีความหมายและน่าสนใจสำหรับคนทั่วโลกเช่นกัน ตัวเขาเองเลยนึกถึงชื่อ Alibaba ซึ่งมาจากนิทาน อาลีบาบากับโจร 40 คน หม่าได้มีโอกาสไปซานฟรานซิสโกและตอนที่เขานั่งกินข้าวอยู่เขาก็ได้ถามพนักงานเสิรฟคนหนึ่งว่ารู้จัก Alibaba ไหม พนักงานก็ตอบว่า เซซามีจงเปิดไง ทันใดนั้นเขาก็ลองไปเดินถามผู้คนในถนนว่ารู้จัก Alibaba ไหมหลายๆคนก็บอกรู้จักและก็เลยเป็นที่มาของชื่อนี้ รวมไปถึง Alibaba สะกดด้วยตัว A เพราะฉะนั้นถ้าเรียงตามตัวอักษร Alibaba จะขึ้นมาอยู่ข้างบนสุดเสมอ

8. ลูกค้ามาเป็นที่ 1

หม่าเชื่อว่าความสำคัญของลูกค้ามาเป็นอันดับ 1 พนักงานมาเป็นที่ 2 และผู้ถือหุ้นเป็นอันดับ 3 เพราะว่าลูกค้าคือคนที่จ่ายเงินให้เรา ส่วนพนักงานเป็นคนขับเคลื่อนบริษัทไปข้างหน้า และผู้ถือหุ้นบางทีเมื่อเกิดวิกฤตปัญหาต่างๆพวกเขาก็วิ่งหนีหายไป เพราะฉะนั้น ลูกค้ากับพนักงานจะยังอยู่กับเราเมื่อใดที่มีปัญหา

9. พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส

เมื่อใดก็ตามที่มีผู้คนไม่พอใจ มองหาโอกาสที่จะแก้ไขมัน และถ้าที่ไหนที่มีปัญหาเราสามารถจะฉวยโอกาสนี้เพื่อทำให้มันดีขึ้น ที่ใดมีปัญหาที่นั้นแหละมีโอกาส

10. มี passion

หม่า เคยพูดไว้กับเพื่อนร่วมงาน ในสมัยปี 1999 ว่าเราต้องทำงานกันอย่างมีระบบเพื่อที่จะต่อสู้กับพวกอเมริกา เขาบอกว่าทางเดียวที่เราจะสู้กับพวกนั้นได้ก็คือเราจะต้องเสียสละเวลาที่มีในอีก 5-10 ปี ทำงานกันอย่างหนัก ไม่ใช่แค่ว่าทำงาน 8 โมงเช้าแล้วเลิก 5 โมงเย็น พวกเขามีเป้าหมายที่ชัดเจนนั้นก็คือทำให้ Alibaba ออกสู่ตลาดโลกให้ได้

ที่มา: Evan Carmichael

อ่านต่อ: 5 บทเรียนธุรกิจจาก Alibaba ที่ Startup ต้องรู้

อ่านต่อ: 5 บทเรียนธุรกิจจาก Alibaba ที่ Startup ต้องรู้ เวอร์ชันภาพกราฟฟิก

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...