Audrey Tang กับการ ‘ผลักดัน’ วิธีใช้ Data ที่ใช่ เพื่อปกป้องประชาชนไต้หวันจาก Covid-19

ในยุคปัจจุบัน หลายคนรู้ว่า Data คือขุมทรัพย์ ไม่ว่าจะยามมีหรือยามยาก แต่การนำ “Data” มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ที่สุดได้นั้นต้องมีทักษะและคุณสมบัติบางอย่างจึงจะเกิด Impact ที่แท้จริง ซึ่งล่าสุดในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ไต้หวันเองก็เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูง แต่การจัดการด้วย Data ช่วยให้ความวุ่นวายอันเกิดจากความเสี่ยงเบาบางลงไปได้มาก

Audrey Tang รัฐมนตรีดิจิทัลของไต้หวัน ได้รับการชื่นชมจากการผลักดัน Platform แสดงข้อมูลสาธารณะเพื่อลดโอกาสการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 โดยนอกจากข้อมูลเบื้องต้นอย่างจำนวนผู้ติดเชื้อหรือวิธีปฏิบัติตัวแล้ว Audrey ยังลงลึกถึงรายละเอียดอย่างการระบุสถานที่เสี่ยง และข้อมูลจำนวนหน้ากากอนามัยด้วย

นับเป็นการใช้ประโยชน์ของ Online Service อย่างเต็มที่ โดย Audrey ได้ร่วมกับ Howard Wu Software Engineer ชาวไต้หวันและ Google นำระบบดังกล่าวแสดงตำแหน่งของร้านค้าที่จำหน่ายพร้อมจำนวนเพื่อให้ประชาชนวางแผนก่อนออกเดินทางไปซื้อจริง ขณะเดียวกันทางร้านค้าก็จะมีแอปพลิเคชันสำหรับใส่ข้อมูลจำนวนหน้ากากขึ้นสู่ระบบ ซึ่งการมีข้อมูลก่อนซื้อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในที่สาธารณะได้มากทีเดียว

ระบบแสดงจำนวนหน้ากากที่เหลือตามร้านค้า

โดยก่อนที่จะระบบจะสมบูรณ์ขนาดนี้ Howard Wu ได้เริ่มทำระบบดังกล่าวด้วยตัวเอง และพบว่ามันอาจไม่สำเร็จ เนื่องจากการต้องใช้เงินมูลค่าราว 600,000 ดอลลาร์ไต้หวัน Audrey จึงเดินทางมาพบพร้อมกับทีมงานวิศวกรของ Google และช่วยผลักดันระบบทั้งหมดให้สำเร็จสมบูรณ์ ซึ่ง Audrey ทำให้ระบบเป็นที่แพร่หลายในประเทศอย่างรวดเร็ว ส่วน Google ก็เปิดให้ใช้บริการบน Platform ฟรี

ระบบแสดงจำนวนหน้ากากแบบรวมพื้นที่

นอกจากนี้ Audrey และ Howard ยังทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาระบบเตือนภัยต่างๆ โดยเฉพาะระบบแจ้งเตือนประชาชนและนักท่องเที่ยวเมื่อเข้าถึงสถานที่เสี่ยงอันเกิดจากนักท่องเที่ยวบนเรือ Diamond Princess เคยเดินทางไปเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งอาจมีเชื้อแฝงอยู่ในสถานที่นั้น

Audrey ยอมรับว่าโครงการออนไลน์ทั้งหมด เธอเพียงแค่รวบรวมไอเดียจากชุมชนและร่างโครงสร้างเว็บแบบคร่าวๆ เท่านั้น ที่เหลือเป็นฝีมือและความช่วยเหลือของเพื่อนๆ และสมาชิกใน Community ต่างๆ ที่ทำมันจนสำเร็จ

ความสำคัญของข่าวนี้ไม่ใช่การย้ำให้เห็นความสำคัญของ Data แต่เป็น “ความคิดสร้างสรรค์” ที่มีต่อ Data ซึ่งช่วยให้เกิด Impact ต่อทุกเรื่อง ไม่ว่าจะสังคมหรือธุรกิจ เพราะหลายครั้ง เราสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายๆ เพียงแค่ส่งผ่านข้อมูลที่จำเป็นระหว่างกันก่อนลงมือทำ อย่างกรณีนี้ เมื่อประชาชนรู้จำนวนหน้ากากและตำแหน่งร้าน ส่วนร้านค้านอกจากจะทำหน้าที่แล้วยังเป็นช่องทางการตลาดชั้นดี ผสานกับการกำกับดูแลที่เหมาะสม โอกาสกักตุนสินค้าเพื่อโก่งราคาก็จะยากขึ้น และเมื่อทุกคนเข้าถึงหน้ากากอนามัย ความกังวลที่ลดลงจะช่วยให้สถานการณ์ฟื้นได้เร็วขึ้นนั่นเอง

เข้าไปดูเว็บไซต์แผนที่และวิธีจัดการของไต้หวันได้ที่นี่ (ภาษาจีน) 

ขอบคุณข้อมูลจาก The News Lens

อ่านข่าวการจัดการแพร่ระบาดของ Covid-19 เพิ่มเติม

COVID-19 ไม่ได้ทำให้การศึกษาจีนชะงัก หลายโรงเรียนหันมาปรับใช้ 'การเรียนออนไลน์'

เกาหลีใต้สร้างแอปฯ ช่วยให้คนหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีคนติดเชื้อ COVID-19

อ่านบทความจาก Keynote Session ของ Audrey Tang ที่งาน Techsauce Global Summit 2019

ประชาธิปไตยไต้หวัน กับเทคโนโลยีของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

นักวิทยาศาสตร์สร้าง Brain Map ละเอียดที่สุดในโลกจากสมองหนู

ค้นพบครั้งประวัติศาสตร์ นักวิทย์สร้างแผนที่สมองที่ละเอียดที่สุดจากสมองหนู ข้อมูลทะลักกว่า 500 ล้านจุด เชื่อมโยง AI-แพทย์อนาคต...

Responsive image

ถอดบทเรียน 3 ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ไทย-ศรีลังกา-บังกลาเทศ จากงานสัมมนา BIMSTEC Young Gen Forum

สรุปจาก 'Innovation & Growth Drivers' หัวข้อเสวนาจากงาน BIMSTEC Young Gen Forum : Where the Future Meets ที่มีผู้นำรุ่นใหม่จาก 3 ประเทศ BIMSTEC มาเล่าวิสัยทัศน์ ความท้าทาย บนเวทีสั...

Responsive image

คืนชีพ Dire Wolf หมาป่าที่สูญพันธ์ไปเมื่อ 12,500 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ทำได้อย่างไร ?

Dire Wolf คือชื่อของหมาป่าสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 12,500 ปีก่อน และในวันนี้ พวกมันได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งอย่างน่าทึ่ง ในฐานะที่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Colossal Bioscie...