AI จะช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการศึกษาอย่างไร ถอด 4 เสาหลักการพัฒนา AI จาก Recursive | Techsauce

AI จะช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการศึกษาอย่างไร ถอด 4 เสาหลักการพัฒนา AI จาก Recursive

Tiago Ramalho CEO Recursive Inc ได้ขึ้นมาบรรยายเกี่ยวกับวิธีการสร้าง AI อย่างไรให้เกิดความยั่งยืนซึ่งเขาได้เริ่มต้นจากเล่าเบื้องหลังของบริษัทตนเองที่เริ่มสร้างสังคมที่เท่าเทียมและยั่งยืนด้วยเทคโนโลยี AI ขั้นสูง

Recursive Inc เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านการปรึกษาทางเทคโนโลยีในประเทศญี่ปุ่น เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเทคโนโลยี AI ที่สร้างขึ้นมาจากชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อใช้สร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ เช่น เสียง ข้อความ รูปภาพ วีดีโอ รวมถึงช่วยให้ธุรกิจสามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน 

โดยการพัฒนาระบบ AI ของบริษัท Recursive ยึดหลักการตาม 4 เสาหลัก ดังนี้ 

1. Accelerating innovation - พัฒนานวัตกรรมที่สามารถช่วยให้ธุรกิจเติบโต 

2. Increasing productivity - พัฒนานวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบซอร์ฟแวร์ ทำให้ใช้พลังงานน้อยลง มลพิษจึงลดลงตามไปด้วย 

3. Deliver better work and education - พัฒนานวัตกรรมที่ช่วยให้คนเข้าถึงการศึกษาและงานที่ดีขึ้น 

4. Prepare and monitor risks - พัฒนานวัตกรรมที่ช่วยคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 

Tiago เผยว่า Recursive กำลังใช้ Generative AI เป็นกุญแจสำคัญช่วยในเรื่องของความยั่งยืน ช่วยในเรื่องการดูแลโลก และรักษาสมดุลของโลก ซึ่งความอัจฉริยะของ AI จะสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง เปรียบเสมือนตัวช่วยสุดล้ำที่สามารถทำงานทุกอย่างได้เอง  

ทางบริษัทได้ใช้แนวทาง 4 เสาหลักมาปรับใช้ในการพัฒนาระบบ AI ให้กับธุรกิจของลูกค้า ดังนี้

Tiago ได้ยกตัวอย่างการใช้ AI ในด้านต่าง ๆ

  • คาดคะเนผลลัพธ์การศัลยกรรมว่าจะออกมาในรูปแบบไหน 
  • ใช้ AI วัดข้อมูลสภาพอากาศ
  • ประเมินการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซลาเซลล์รายปี

ด้านการศึกษา  

  • เด็กมากกว่า 60 ล้านคนทั่วโลก ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานได้
  • เด็กนักเรียนมากกว่า 71% เชื่อว่า AI ผู้ช่วยสอนจะส่งผลดีมากกว่า  
  • ครูใช้เวลาเพียง 49% ของเวลาในการสอนเพื่ออธิบายให้นักเรียนเข้าใจ

สุดท้าย Tiago Ramalho เชื่อว่า Generative AI จะเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและนำมาสู่ความยั่งยืนของโลกในอนาคต  

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สนามบินคันไซ 30 ปีไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย ตั้งแต่เปิดให้บริการตั้งแต่ 1994 จนปัจจุบัน

30 ปีไม่มีพลาด สนามบินนานาชาติคันไซของญี่ปุ่นรักษาสถิติ ‘ไม่เคยทำสัมภาระผู้โดยสารสูญหาย’ เลยสักครั้ง นับตั้งแต่เปิดให้บริการในปี 1994 จวบจนปัจจุบัน...

Responsive image

DeFi เกิดมาเพื่อทำลายระบบธนาคารจริงหรือไม่

เก็บตกประเด็นน่าสนใจจากงานเสวนาในหัวข้อ he Rise of Decentralized Finance (DeFi): Disruption or Distraction? จาก Money 20/20 Asia...

Responsive image

EV จีนวิกฤตหนัก สงครามราคาเดือด รถขายไม่ออก ผู้ผลิตรายเล็กส่อไปไม่รอด

ประเทศจีนเจ้าของตลาดรถยนต์ EV ที่ใหญ่ที่สุดในโลกกำลังตกอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ กำลังเผชิญกับภาวะอุปทานส่วนเกินและการแข่งขันราคาที่ดุเดือด สร้างผลกระทบครั้งใหญ่ให้กับผู้ผลิตร...