Innovation Strategy นวัตกรรมของคุณมีกลยุทธ์หรือไม่ ?

บทความนี้เป็น Guest Post โดย Hummingbirds Consulting

คำถามสำคัญสำหรับคนทำงานด้าน Innovation คือ: 

  • ถ้าคุณต้องการให้องค์กร มี innovation ใหม่ ควรเริ่มจากอะไรก่อน?
  • แล้วทำอย่างไรให้ innovation นั้นมี highest impact กับองค์กร ? 
  • สำหรับ startup จะทำอย่างไรให้นวัตกรรมของเรา ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง ?

วันนี้เรามาคุยกันว่าอะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Innovation นั้นเป็นที่ต้องการของ user และ stakeholders กันนะคะ  (เช่น เวปไซต์ แอฟพลิเคชั่น โซลูชัน แพลตฟอร์มเป็นต้น)

ตอนนี้หลายบริษัทตื่นตัว เรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีมากมายเข้ามาใช้ในองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีและสำคัญมาก แต่การสร้างหรือซื้อ Technology เหล่านี้เราต้องใช้ทรัพยากรมากมาย ดังนั้นต้องมั่นใจว่ามาถูกทางและ investment ของคุณจะมี highest impact

บางครั้งเราสร้างหรือนำเทคโนโลยีบางอย่างมาใช้ มองแว๊บแรกน่าตื่นเต้น แต่พอใช้งานจริง มันไม่ได้แก้ปัญหา หรือ สร้างคุณค่าใหม่ๆให้กลุ่มเป้าหมายเลย เป็นเพราะว่าเรายังไม่เข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมาย “อย่างลึกซึ้ง” ว่าปัจจุบัน user ใช้อะไรแก้ปัญหาในเรื่องที่เรากำลังจะ develop แล้วเราแก้ปัญหาได้ “ดีกว่า” ทางเลือกเดิมๆของกลุ่มเป้าหมายจริงหรือไม่? 

เช่น ถ้าคุณต้องการทำ App สำหรับคำนวณภาษีให้มนุษย์เงินเดือน  คำถามที่เราต้องตอบให้ได้ก่อนคือ :

  • WHY : เราต้องเริ่มจากการคิดว่าทำไม คุณต้องสร้าง app นี้ขึ้นมา? มันจะมีคุณค่าใหม่ๆหรือแก้ปัญหาอะไรให้กับ user ได้บ้าง? เริ่มจากการเข้าใจมนุษย์เงินเดือนที่ต้องจ่ายภาษี เพราะ Innovation จะมีค่าต่อเมื่อสามารถทำให้มนุษย์เงินเดือนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีชีวิต “ที่ดีขึ้น” ได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง 
  • WHAT : แล้วค่อยคิดว่า คุณจะทำอะไรในแอฟนี้ จะใส่ functions / features อะไรบ้าง 
  • HOW: แล้วมาลงรายละเอียดว่าคุณจะทำมันอย่างไร เช่น Function คำนวณภาษีต้องทำมันแบบไหน ถึงจะได้ประสบการณ์ที่ดีที่สุด?

แต่ “กับดัก” ที่เจอบ่อยๆในการพัฒนานวัตกรรม คือ  

  • เมื่อคิดว่าจะพัฒนา innovation ใหม่เราไม่ได้ตกผลึกมากพอตรง Why? ทีมงานยังไม่เข้าใจ users และปัญหาของเขาดีพอ ทำให้เราไม่มี Why? ที่แข็งแรง แต่เราคิดข้ามไปที่ What เลย คือ มานั่งถกกันในทีมว่าจะใส่ Feature/Function อะไรบ้าง 
  • เวลาที่เราไม่ start with why? สิ่งที่น่ากลัวคือเราจะพยายามใส่ทุกอย่างให้ดี ให้เยอะ ให้มาก แต่ไร้ทิศทาง = เท่ากับ คุณต้องเสียทรัพยากร จำนวนมาก ทั้งคน เงิน เวลา โดยไม่มีผลลัพธ์ที่ดี
  • เหมือนหลักของ Pareto คุณต้องเข้าใจ 20% ที่มีผลต่อ 80% ของbusiness ก่อน สิ่งนั้นแหละที่คุณควรจะเข้าใจและทุ่มเทในการพัฒนา Innovation
  • ดังนั้น Innovation มันไม่ใช่การทำงานไปเรื่อยๆ มันต้องมี Innovation Strategy ด้วย

การคิด Innovation Strategy จะต้องเข้าใจ 3 เรื่องต่อไปนี้อย่างลึกซึ้ง คือ

1) Consumer Blackbox กล่องดำในใจ ของกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการเข้าใจเขาอย่างลึกซึ้ง ทั้งทางความคิด ความเชื่อ รวมถึงพฤติกรรมในปัจจุบัน = โอกาสของธุรกิจ

2) Our Core Competency จุดแข็งของคุณ ในสายตากลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้คุณ scale up business ได้แบบถูกต้อง 

3) Competitive Landscape การเข้าใจสนามแข่งอย่างแท้จริง และหาวิธีชนะคู่แข่งแบบมีกลยุทธ์ ในจุดที่คุณชนะง่ายกว่า หรือเหนื่อยน้อยกว่า คู่แข่งของคุณ คือสิ่งที่ลูกค้าใช้แก้ปัญหาเดียวกันกับคุณ เช่น Tele-medicine platform คู่แข่งอาจจะไม่ใช่แค่แอฟด้วยกัน แต่มันคือการหาหมอในปัจจุบันของลูกค้า 

ทั้งหมดนี้ คุณต้องประเมินว่า Innovation Strategy ของคุณ อยู่ใน zone ไหน ? แข็งแรงพอหรือไม่ ? จุดที่เราชนะคือ Winning zone 

 ผู้บริหารหรือทีมงานที่ดูแล Innovation ทุกครั้งลองถามตัวเองนะคะ ว่าคุณมี Innovation Strategy ที่แข็งแรงพอให้กับ business คุณแล้วหรือไม่ ? 

  • สิ่งสำคัญคืออย่าคิดว่าการเข้าใจuser คือเรื่องเล็กหรือง่ายๆที่ให้ใครทำเองก็ได้ เพราะบางครั้ง user ก็ไม่ทราบว่าตัวเองต้องการอะไรนะคะ  

  • การค้นหาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย หรือความต้องการในอนาคต มันมีต้องมี Professional techniques มากมายที่ต้องผ่านการฝึกฝน รวมถึงการแปลผลและวิเคราะห์ insight ให้เป็นกลยุทธ์ด้วย 

หากใครกำลัง develop นวัตกรรมใดก็ตาม ลองถามตัวเองดูนะคะ ว่าเรามี Innovation Strategy อยู่ใน Winning Zone แล้วหรือไม่ ? และเราต้องพัฒนา Innovation ด้วยกันเข้าใจมนุษย์กันก่อนนะคะ 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

PFS กับ 30 ปีแห่งนวัตกรรมอาหาร และก้าวต่อไปในยุค Future Food

PFS (บริษัท พรีเซิร์ฟ ฟู๊ด สเปเชียลตี้ จำกัด) จัดงานฉลองครบรอบ 30 ปี PFS's 30 Years: SYNERGY OF SUCCESS เผยวิสัยทัศน์ และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอาหารไทย พร้อมจัดเสวนา...

Responsive image

ก้าวต่อไปด้วย Physical AI การเดิมพันครั้งใหม่สู่อนาคตของ Nvidia

Jensen Huang ซีอีโอของ Nvidia เชื่อว่า AI จะก้าวข้ามขีดจำกัดของโลกดิจิทัล และเข้ามามีบทบาทในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งจะช่วยทำงานซ้ำๆ ให้มนุษย์ ซึ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนา Phys...

Responsive image

TIDLOR แปลงร่างสู่ Tidlor Holdings ขยายศักยภาพการเติบโตไปอีกขั้น พร้อมแลกหุ้น 10 มี.ค. – 16 เม.ย. 68

TIDLOR ผู้นำด้านธุรกิจสินเชื่อและนายหน้าประกันภัย ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านเทคโนโลยีและความเข้าใจความต้องการของลูกค้า มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลู...