ถอดบทเรียน การเรียนรู้ตลอดเวลา พัฒนาตนเองไม่ให้ไม่ตกขบวน | Techsauce

ถอดบทเรียน การเรียนรู้ตลอดเวลา พัฒนาตนเองไม่ให้ไม่ตกขบวน

แน่นอนว่าในสถานการณ์เช่นนี้ หลาย ๆ คนอาจจะเริ่มมองเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาตนเอง จากการเกิดขึ้นของการระบาดที่ทำให้หลายคนต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินและทางการงานที่อยู่บนความไม่แน่นอน รวมถึงการเข้ามาของเทคโนโลยีที่ก่อนหน้านี้ก็เริ่มมีการเข้ามาทดแทนการทำงานของมนุษย์บ้างแล้ว แต่ด้วยสถานการณ์ระบาดที่เป็น “ตัวเร่ง” ให้หลายบริษัทและองค์กรต่าง ๆ นั้นนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจากเมื่อก่อนที่การ “Upskill” หรือ “Reskill” อาจจะเป็นแค่ตัวเลือก แต่ในตอนนี้มันกลับกลายเป็นสิ่งที่เราจจะต้องทำเพื่อที่จะสามารถหลุดพ้นจากการเข้ามาของเทคโนโลยี รวมถึงเป็นบุคคลที่องค์กรนั้นยังต้องการอยู่

Techsauce x SEAC จึงได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจาก 3 บริษัทแนวหน้าของประเทศไทย คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม Chief Human Resource Officer จากบริษัท AIS, คุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer จากบริษัท SCG Cement-Building Materials (SCG-CBM) และคุณรัชดา อภิรมย์เดช ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท Simple Work ที่จะพูดคุยและแชร์ประสบการณ์การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ทำให้พวกเขาไม่เคยหยุดพัฒนาและยังสามารถที่จะปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อีกด้วย

ทำไมการเรียนรู้ถึงสำคัญในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง

คุณกานติมาได้เผยถึงตัวแปลสำคัญที่ทำให้เราต้องเรียนรู้อยู่ตลอดก็คือการเปลี่ยนไปของโลกของเรา ทำให้เรานั้นต้องเรียนรู้เพื่อปรับตัวกับบริบทของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาของเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของเราอย่างมาก โดยยังเชื่อว่าการเรียนรู้นั้นเป็นสิ่งที่ “Never Ending”  

ทางคุณอภิรัตน์ก็ได้กล่าวว่า “ความรู้มันเป็นสิ่งที่ Out-dated เร็วมาก เราอาจจะต้อง Unlearn และ Relearn ถึง 5 รอบในการทำงานชั่วชีวิต และที่สำคัญบริบทของสังคมนั้นเปลี่ยนไปเร็วมาก โดยเฉพาะช่วงของการเกิด COVID-19 ที่เราจะเห็นได้ชัดมาก ซึ่งการเรียนรู้จะทำให้เรานั้น Up to Date ได้เร็วมาก และทำให้เราเข้าใจ Context ที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ของสังคม”

โดยคุณรัชดาเน้นย้ำถึงการที่เรานั้นจะชนะเทรนด์ของ Automated Experience โดยการใช้ความรู้ ซึ่งการระบาดของ COVID-19 นั้นเข้ามาเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้การใช้เทคโนโลยีนั้นเพิ่มสูงขึ้น จากที่เราอาจจะให้ในหมู่ธุรกิจต่าง ๆ ที่เริ่มมีความคิดที่จะลงทุนในเทคโนโลยีมากขึ้นในการป้องกันการระบาด รวมถึงผลประโยชน์ในระยะยาวของบริษัท

สกิลที่ต้องพัฒนา ให้รอดพ้นการทดแทนจาก Robot

การที่เราต้องมี Growth Mindset เริ่มจากตัวเอง และหลังจากนั้นจะต้องมีเรื่องของ Adaptability ที่เราจะสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในสถานการณ์เช่นนี้ และทุกวันนี้ด้วยโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและไม่รอใคร เราจะต้องมี Speed หรือความรวดเร็วที่จะทำงานได้อย่างสำเร็จ และเรื่องของความ Perfect” อาจจะไม่ใช่สิ่งสำคัญเสมอไป แต่ต้องเป็นการที่เราสามารถที่จะ “ปรับตัวและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา”

โดยคุณอภิรัตน์ได้เสริมว่าสกิลเซ็ตที่สำคัญคือการสร้างนวัตกรรมในยุค New Normal ด้วยความต้องการของลูกค้าและบริบทนั้นเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจนั้นเริ่มจากการสร้างนวัตกรรมใหม่ ถ้าบริษัทไม่สามารถนวัตกรรมใหม่ก็ไม่สามารถที่จะอยู่รอดได้ในยุค New Normal นี้ ซึ่งการที่จะเกิดนวัตกรรมได้จะต้องมี Growth Mindset และ Agile Mindset มองด้านบวก หาโอกาสในวิกฤติ และปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว

ทางคุณรัชดาก็ได้เสริมถึงอีกหนึ่งทักษะที่ต้องมีก็คือ Critical Thinking หรือความสามารถที่เราจะหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเรา มาประมวลออกมาให้เกิดเป็นการทำ Decision Making ที่แม่นยำและตรงจุดมากขึ้น เพื่อที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าได้อย่างว่องไว

หลักการเรียนรู้แบบตัว “T”

ในการที่เราจะเริ่มการทำนวัตกรรม อย่างแรกที่เราจะต้องทำก็คือการเช็คตัวเองว่าเราไม่รู้อะไร เพื่อที่จะเกิดการเรียนรู้ในขั้นต่อไปได้ และทำตามหลักตัว T ซึ่งจะมีรูปแบบดังนี้

  • แกนตัว T: จะเป็นทักษะหลัก ตามสิ่งที่แต่ละคนนั้นถนัด

  • หัวตัว T: จะเป็นทักษะรอง เพื่อเสริมทักษะหลัก

  • วงกลมที่ 1 ถัดจากตัว T: จะเป็นเรื่องของ Soft Skills เช่น Agility, Growth Mindset, Imagination and Creativity

  • วงกลมที่ 2 ถัดจากตัว T: Mindset ของตัวเราเองที่จะเริ่มลงมือทำ เช่นเรื่องของ Passion หรือ Start with Why ที่จะทำให้เรารอดพ้น New Normal ไปได้

ซึ่งการทำตาม Roadmap เช่นนี้จะช่วยให้เราสามารถเรียนรู้ตามสิ่งที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Soft Skills หรือ Hard Skills ซึ่งเคล็ดลับการเรียนรู้จากคุณอภิรัตน์ก็คือการหาวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการฟัง การอ่าน หรือการดู จงหาวิธีทำตัวเองสนุกที่สุด

ปัญหาของการไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร

คุณกานติมาได้กล่าวว่า การที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้อะไรนั้นเป็นอุปสรรคในการพัฒนาของตัวเอง ดังนั้นสิ่งสำคัญก็คือการที่จะต้องคุยกับตัวเอง ทำการเข้าใจกับตัวเอง และอย่าเข้าใจว่าสิ่งที่เราเข้าใจในตอนนี้คือ New Norms ตอนนี้สิ่งที่เราเจออยู่นั้นคือ Crisis ที่จะผลักดันให้เกิด New Norms ในวันข้างหน้า ดังนั้นหลักในการเรียนรู้ที่สำคัญก็คือหาวิธีการเรียนที่ตัวเองนั้นรู้สึกสนุก แต่อย่าหยุดเรียน จงเรียนเรื่อย ๆ เพราะการเปลี่ยนแปลงที่จะเข้ามานั้นจะเกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

“วิกฤติที่มาในครั้งนี้ไม่แรงเท่ากับการเข้ามาของดิจิทัล ดิจิทัลที่เข้ามาจะแยกคนเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ไปข้างหน้าได้ กับอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกทิ้งไว้ ทั้งนี้ดิจิทัลไม่ได้เป็นคนเลือก แต่ตัวเราเองนั้นเป็นคนเลือกว่าจะเป็นคนที่จะอยู่ในกลุ่มไหน”

โดยทางคุณอภิรัตน์ก็ได้เข้ามาเสริมในเรื่องของ Mindset และ Logic ซึ่งสิ่งที่น่ากลัวคือคนที่คิดว่าตัวเองนั้นรู้ทุกอย่างอยู่แล้ว และคนที่คิดว่าตัวเองไม่ต้องรู้เพิ่มแล้ว โดยในเรื่อง Mindset อย่างแรกที่เราจะต้องทำคือการยอมรับตัวเองว่าเราไม่ได้รู้ทุกอย่าง เพื่อที่จะพัฒนาตัวเองไปข้างหน้า ทำให้เรานั้นต้องเรียนรู้เพิ่มอยู่ตลอดเวลา และอย่างที่สองในเรื่องของ Logic สิ่งที่จะต้องทำคือการออกจาก Comfort Zone ของเรา ไปทำอะไรที่เราไม่เคยทำมาก่อนหรือไม่เคยสนใจมาก่อน ซึ่งนี่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการไปหาว่าเรานั้นไม่รู้อะไรบ้าง และอีกวิธีหนึ่งคือการตามเทรนด์ เช่นในเรื่องของ New Normal ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ดังนั้นเราจะต้องเข้าหาสิ่งและเรียนรู้เหล่านี้ ซึ่งยิ่งในยุคนี้การเรียนรู้นั้นไม่มีขีดจำกัดและมีหลากหลายช่องทางที่เราสามารถเลือกได้

ในยุคเช่นนี้การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญในการที่จะพัฒนาและพาตนเองไปข้างหน้า เมื่อการระบาดจบลง เราจะเป็นผู้ที่เดินไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว หรือเป็นผู้ที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังก็ขึ้นอยู่กับตัวเรา ซึ่งสุดท้ายนี้ทาง 3 ท่านก็ได้ฝากแนวคิดให้กำลังใจผู้ที่กำลังประสบปัญหาและแนวทางในการพัฒนาตนเองในการก้าวไปข้างหน้า

“สำหรับคนที่อยากจะไปข้างหน้าด้วยกัน ทุกครั้งที่มีความยากเกิดขึ้น อย่าฝังจมอยู่กับความทุกข์ และอย่าคาดการณ์แค่เรื่อง Negative แต่กลับมาโฟกัสที่ตัวเองว่าตัวเองนั้นทำอะไรได้ และควรจะปรับและพัฒนาอะไร และตัวเองอยากจะไปสู่จุดไหน เพราะเมื่อวิกฤตินั้นจบลง คนอื่นสามารถก้าวไปข้างหน้าได้ แต่เราจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” - คุณกานติมา

“ในทุกวิฤติมีโอกาส พายุกำลังจะผ่านเราไปแล้ว อย่างแรกคือการที่ทุกท่านควรจะพลิกม่มี Growth Mindset พยายามมองหาด้านบวกของสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว มองไปรอบ ๆ ตัวว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นสร้างโอกาสอะไรบ้าง ดังนั้น 3 อย่างที่อยากจะให้มีคือ Imagination ใน New Normal จะมีโอกาสอะไรเกิดขึ้น สอง Speed หรือ Agility กับ Resilency คือคิดแล้วทำเลย ทำก่อน ทำไปเทสไป และสาม Endurance ค่อย ๆ ทำ ถ้าไม่ได้ก็สามารถปรับได้ ” - คุณอภิรัตน์

“Breaking Brick เป็นเทรนด์ที่หลาย ๆ องค์กรทลายกำแพงทำสิ่งที่ออกจาก Comfort Zone วิกฤตินี้อาจจะทำให้เราหยุด หรือ Halt and Catch Fire คือการหยุดแต่ทำให้เราพุ่งไปข้างหน้าได้เร็วกว่าเดิม ถ้าเรามองเห็นโอกาสและไม่ย่อท้อ” - คุณรัชดา

สมัคร YourNextU เพื่อเสริมทักษะรับ New Normal เรียนคอร์สออนไลน์และ Virtual Classroom แบบไม่จำกัดวันนี้ - 25 พฤษภาคม รับส่วนลดถึง 1,000 บาท

เหลือเวลาอีก 3 วันเท่านั้น สำหรับการใช้สิทธิ์ส่วนลดสมัครเรียน YourNextU ได้ครบทุกทักษะที่ตลาดต้องการ สมัครวันนี้รับส่วนลดถึง 1,000 บาท เมื่อซื้อคอร์สในราคารวม 4,000 บาทขึ้นไป เพียงใช้ CODE: TSFBL1000 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมสมัครได้ที่ www.yournextu.com/FBLiveTechsauceSEAC

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...