ทำงานด้านเฉพาะทางมาทั้งชีวิต แต่อยากเริ่มต้นสตาร์ทอัพ ต้องทำอย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ | Techsauce

ทำงานด้านเฉพาะทางมาทั้งชีวิต แต่อยากเริ่มต้นสตาร์ทอัพ ต้องทำอย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ

หลายคนอาจจะตั้งข้อสงสัยว่าการหันมาทำสตาร์ทอัพนั้นจำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับด้านธุรกิจหรือเทคโนโลยีเท่านั้นหรือไม่? แล้วถ้าทั้งชีวิตทำงานทางด้านสายเฉพาะทางมาตลอด จะทำสตาร์ทอัพได้ไหม? Session ต่อไปนี้ มีคำตอบ พูดคุยกับ นพ.คณพล ภูมิรัตนประพิณ (หมอตั้ม) Co-Founder Health At Home ศูนย์กลางหาผู้ดูแลผู้ป่วย/ผู้สูงอายุและคุณณัฐพล อัศว์วิเศษศิวะกุล ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของแพลตฟอร์มการค้าขายอสังหาริมทรัพย์ ZmyHome ที่กระโดดจากโลกเฉพาะทางมาสู่โลกของสตาร์ทอัพ โดยมีคุณ Teri Horn เป็น Moderator ร่วมพูดคุย

startup_essentials_13_30

ความสามารถเฉพาะทาง มีส่วนช่วยให้สตาร์ทอัพคุณประสบความสำเร็จอย่างไรบ้างคะ?

ณัฐพล : ผมคิดว่าการที่มีความรู้เฉพาะทางและมีประสบการณ์เฉพาะด้านนี้มาหลายปี เหมือนเราสามารถคิดได้แบบลัดขั้นตอนเพื่อที่จะพัฒนาโปรดักส์เราเข้าสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเรารู้และเข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้มาเป็นเวลานาน รวมถึงยังเข้าใจคู่แข่ง สามารถพัฒนาโปรดักส์ให้แตกต่างและเพิ่มคุณค่าให้กับโปรดักส์ได้อีกด้วยครับ

หมอตั้ม : สำหรับผม ผมทำงานเกี่ยวกับด้านสุขภาพ ซึ่งด้านสุขภาพนั้น แน่นอนว่าต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านเฉพาะทางอย่างมาก คุณควรต้องรู้เรื่องนโยบายและกฏหมายเกี่ยวกับการแพทย์ ซึ่งการเป็นนายแพทย์ทำให้ผมเข้าใจภาษาทางการแพทย์ รู้เกี่ยวกับเรื่องยาได้เป็นอย่างดี โดยเป็นเรื่องยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจ ซึ่งตรงนี้ช่วยได้มากเลยครับ รวมถึงการที่รู้วิธีการติดต่อกับหมอ กับรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายหรือเงื่อนไขต่างๆด้านการแพทย์

ณัฐพล : อีกหนึ่งสิ่งที่ผมคิดว่ามีประโยชน์ และอยากจะเสริมคุณหมอ คือเรื่อง Network ถ้าคุณทำสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณเคยทำมาแล้ว การมีเพื่อนหรือคนที่รู้จักอยู่ใน Network ก็จะช่วยให้คุณทำอะไรหลายๆอย่างง่ายขึ้น เช่นกันครับ

มีอะไรที่เป็นข้อเสียเปรียบสำหรับการทำงานด้านเฉพาะทาง กับโลกการทำสตาร์ทอัพหรือไม่?

หมอตั้ม  : ผมเรียนหมอมาทั้งชีวิต รู้แต่วิธีการรักษาทางการแพทย์ ไม่มีความรู้เรื่องธุรกิจเลย ไม่ว่าจะเป็นการตลาด การเงิน แต่เราก็สามารถแก้ปัญหาได้โดยการหาทีมที่เก่งและสามารถเข้ากันได้แทน

ณัฐพล : สำหรับผม ผมมีไอเดียนี้มาประมาณ 7 ปี แต่ยังไม่เริ่มสักที มัวแต่รอให้ทุกอย่างพร้อม รอให้มีเงิน รอให้มีโปรแกรมเมอร์ และคิดว่าเมื่อไรจะได้ทำมันสักที จนเมื่อปีทีแล้วได้มีโอกาสเรียน Disrupt University ของคุณกระทิง ซึ่งก็ได้ไอเดียว่าจะเริ่มมันยังไง เลยเริ่มเลย อีกทั้งยังเข้าร่วมโครงการ dtac Accelerate แต่ถึงอย่างไร สำหรับผม การทำสตาร์ทอัพ และพัฒนาโปรดักส์ที่เป็นซอฟแวร์หรือแพลตฟอร์มก็ยังเป็นเรื่องที่ใหม่มากๆ ยังคงต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มต่อไป ซึ่งเป็นอะไรที่แตกต่างจากสิ่งที่ผมเคยทำมากครับ

_MG_7422

มีอะไรทื่อยากให้คำแนะนำสำหรับคนที่ทำงานด้านเฉพาะทางที่อยากจะเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพไหม?

ณัฐพล : คุณต้องหา Passion ของคุณให้เจอ คุณต้องพร้อมตายไปกับมัน ผมสามารถพูดได้ว่าถ้าคุณไม่แข็งแรงพอ มันง่ายมากที่คุณจะยอมแพ้ เนื่องจากคุณกำลังพัฒนาสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้น สำคัญมากจริงๆครับ

หมอตั้ม : สำหรับผม เหมือนคุณณัฐพลที่คุณต้องหาปัญหาที่ต้องการจะแก้ให้เจอและมี Passion กับมัน กับการที่เป็นคนที่ทำงานด้านเฉพาะทางมาหลายปี มันยากมากที่จะกระโดดออกมาเริ่มใหม่ ยิ่งผมเป็นหมอมาเกือบสิบปี ก้าวออกจากอาชีพหมอเป็นเรื่องที่ยากมากๆ เพราะฉะนั้นคุณต้องมั่นใจมากๆว่าปัญหาที่คุณต้องการจะแก้คือปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆ และมีพลังที่อยากทำให้มันเกิดขึ้นมาจริงๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือในเรื่องของการเงิน ที่จะต้องเอามาหมุน

เมื่อเริ่มทำสตาร์ทอัพ คุณมีการรวมทีมอย่างไรบ้าง

หมอตั้ม: สำหรับผม Co-Founder ของผมก็เป็นหมอเช่นกัน แต่เขาสามารถโปรแกรมมิ่งได้ โดยที่เขาเรียนออนไลน์ซึ่งถือว่าเป็นโชคดีของเรามากๆ เพราะเขาสามารถเข้าใจในตัวโปรดักส์ทั้งยังทำแพลตฟอร์มขึ้นมาเองได้ทั้งหมด ส่วนอีกคนก็เป็นนักธุรกิจ ซึ่งเขาเคยทำงานธนาคารมาก่อน และเข้าก็ค่อนข้างเชี่ยวชาญทางด้านนี้ ถือได้ว่าเป็นการผสมผสานที่ดีมากครับ

คุณณัฐพล : สำหรับผม ด้วยความที่ตอนนี้ผมมาสักพักแล้ว ตอนนี้ก็จะเห็นได้ว่า จะมีปัญหาที่เราจะเห็นได้ก็คือ เราได้เสียสตาฟบางส่วนไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ต้องห่วงเรายังสามารถหาคนที่เก่งและสามารถเข้ากับเราได้ตลอดเวลา

ถ้าคุณสามารถกลับไปให้คำแนะนำกับตัวเองได้ในตอนที่เพิ่งเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพ คุณอยากจะบอกอะไร และอยากเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

หมอตั้ม : ผมคงบอกตัวเองไม่ให้ทำครึ่งๆกลางๆ ควรจะตัดสินใจทำแบบเต็มตัวไปเลย เพราะถ้าคุณมั่นใจแล้วจะทำให้คุณโฟกัสและทำได้ดีมากกว่า

ณัฐพล : ผมคงบอกตัวเองว่า ไม่ทำในทุกสิ่งที่เรารู้  เพราะการที่คุณมีความรู้เยอะในบางครั้งคุณก็ต้องการจะให้ลูกค้าทุกอย่างที่คุณมี แต่จริงๆอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ในครั้งแรกที่ผมให้ผู้ใช้สมัครลงทะเบียนกับเว็บไซต์เรา ผมให้กรอกข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับตัวเขา หลังจากนั้นผลที่ออกมามันไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากเราถามคำถามเขามากเกินไป และนั่นเพราะไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ ดังนั้นเราควรโฟกัสไปที่สิ่งที่เขาต้องการให้มาก แล้วเราจะเติบโตรวดเร็วมากขึ้น

นับได้ว่าเป็น Session หนึ่งที่แบ่งปันความรู้และแรงบันดาลใจสำหรับคนที่ทำงานด้านเฉพาะทางมาทั้งชีวิต มันไม่ง่ายเลยที่จะต้องกระโดดออกมาเริ่มต้นใหม่กับสตาร์ทอัพ แต่อย่างที่ทั้ง Co-Founder ทั้งสองคนได้กล่าวไว้ตรงกันว่า Passion อันแรงกล้าเท่านั้นที่จะสามารถทำให้ฝันคุณสำเร็จ รู้แบบนี้แล้วก็หา Passion ของคุณให้เจอ แล้ว JUMP OUT ออกมาเลย! สิ่งดีๆรอคุณอยู่ข้างหน้าเสมอนะ

Session นี้เป็นส่วนหนึ่งของงาน Techsauce Summit ปี 2016 สำหรับงานในปี 2017 เราเรียกมันว่าเป็น Techsauce Global Summit 2017 สำหรับผู้ที่สนใจ เราขอแนะนำให้คุณรีบจองตั๋วเอาไว้ก่อน เพราะปีนี้ราคาตั๋วจะปรับขึ้นทุกเดือน ยิ่งซื้อเร็วจะยิ่งถูกกว่า จองที่นั่งของคุณเลยที่ eventpop.com หรือติดตามรายละเอียดที่ summit.techsauce.co

LOGO_linear trans orange small

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...