ทุกวันนี้คำว่า “ยูนิคอร์น” กลายเป็นศัพท์สามัญประจำวงการ Startup ที่แม้แต่คนนอกวงการก็พอจะคุ้นหู แต่รู้ไหมว่าในป่ามหัศจรรย์ของสตาร์ทอัพ ยังมี “ม้าวิเศษ” อีก 4 ตัว ที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อพวกเขามาก่อน
บทความนี้ Techsauce จะพาคุณไปรู้จักกับเหล่า ‘Corn’ ทั้งหลาย ที่ไม่ได้มีแค่ยูนิคอร์น แต่รวมถึง Minicorn, Soonicorn, Unicorn, Decacorn และ Hectocorn สัตว์ในตำนานที่สะท้อนเส้นทางการเติบโตของสตาร์ทอัพจากหลักล้านสู่แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ความจริง ‘Corn’ ต่างๆ พวกนี้ไม่ได้ตั้งขึ้นเล่นๆ แต่สะท้อนสถานะทางการเงินของบริษัทได้ชัดเจน เพราะหากดูจากชนิดของ “คอร์น” ก็จะพอเดาได้ว่าบริษัทนั้นอยู่ในขั้นไหนของการเติบโต มีความมั่นคงแค่ไหน และไปได้ไกลแค่ไหนในตลาด
ระบบลำดับชั้นเหล่านี้จึงเหมือนเครื่องมือช่วยตั้งเป้าหมายให้กับสตาร์ทอัพรายเล็กๆ ได้มองเห็นภาพว่าขั้นต่อไปคืออะไร และจะเป็นยังไงต่อ
Minicorn คือสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าราว 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขึ้นไป แม้จะยังอยู่ในช่วงตั้งไข่ แต่ก็แสดงให้เห็นว่าธุรกิจมีศักยภาพพอสมควร จุดเด่นของ Minicorn คือวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน มีโมเดลธุรกิจที่เริ่มแสดงผล และกำลังอยู่ในเส้นทางการเติบโตที่มั่นคง
Soonicorn หรือ “Soon-to-be-unicorn” คือบริษัทที่อยู่บนเส้นทางเติบโตแบบก้าวกระโดด มักมีมูลค่าประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีโอกาสทะลุหลักพันล้านได้ในเวลาอันใกล้
บริษัทกลุ่มนี้มักมีเงินลงทุนจากนักลงทุนที่เชื่อในศักยภาพล่วงหน้า แม้มูลค่าปัจจุบันยังไม่ถึงยูนิคอร์น แต่แนวโน้มและการเติบโตทำให้มีความน่าจับตาอย่างมาก
ยูนิคอร์นคือบริษัทสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคำนี้ถูกบัญญัติขึ้นในปี 2013 โดย Aileen Lee เพื่อเปรียบบริษัทกลุ่มนี้ว่า “หายากเหมือนสัตว์ในตำนาน” ยูนิคอร์นมักมีโมเดลธุรกิจที่สเกลได้เร็ว มีเทคโนโลยีเป็นแกนกลาง และมีฐานลูกค้าที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังแฝงความเสี่ยง เพราะการแข่งขันสูงและใช้เงินหนัก เช่น Flash Express ขนส่งเอกชนและเป็นยูนิคอร์นตัวแรกของไทย
Decacorn คือยูนิคอร์นที่โตจนมูลค่าแตะ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จุดเด่นคือไม่ใช่แค่มีเงินทุนเยอะ แต่ยังมีผลกระทบในวงกว้าง มีเทคโนโลยีที่ disrupt ตลาด หรือมีฐานลูกค้าระดับโลก เช่น Epic Games เจ้าของเกม Fortnite และ Unreal Engine ระดับโลก
Hectocorn คือบริษัทที่มีมูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก เช่น Apple, Google, Microsoft บริษัทกลุ่มนี้ไม่เพียงเปลี่ยนตลาด แต่เปลี่ยนวิถีชีวิตคนทั้งโลก และถูกจับตาจากภาครัฐ สื่อ และสังคมอย่างเข้มข้น
หรือในยุคปัจจุบันก็เช่น ByteDance เจ้าของ TikTok ที่เปลี่ยนโลกโซเชียล, SpaceX บริษัทที่ตั้งเป้าพามนุษย์ขึ้นดาวอังคาร เป็นต้น
นักลงทุนที่ให้คำแนะนำทางธุรกิจและสนับสนุนเงินให้ Startup ที่เพิ่งเริ่มต้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนอิสระที่ใช้เงินส่วนตัวในการลงทุน สำหรับการเข้ามามีบทบาทกับ Startup นั้นขึ้นอยู่กับการตกลง บ้างก็เข้ามามีส่วนร่วมมาก บ้างก็ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยว แต่ส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนประเภทนี้จะเข้ามาช่วยให้เรื่องของการปั้นธุรกิจเกิดใหม่ให้เติบโต โดยที่ไม่ได้มองแค่ผลตอบแทนจากการลงทุนเพียงอย่างเดียว
Venture Capital หรือ VC คือ แหล่งเงินทุนอีกรูปแบบหนึ่งของการทำธุรกิจที่นอกเหนือจากสถาบันการเงิน ซึ่งดำเนินในรูปแบบของบริษัทเงินร่วมลงทุน โดยจะเป็นการลงทุนในธุรกิจที่มีความต้องการเงินเพื่อไปขยายธุรกิจต่อ อย่าง Startup ที่มีเทคโนโลยี และ แผนธุรกิจที่น่าสนใจ สามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าได้ในอนาคต
โดยส่วนใหญ่ VC จะเข้ามามีบทบาทกับ Startup ตั้งแต่ในรอบการระดมทุนระดับ Series A เป็นต้นไป ซึ่งนอกจากเงินทุนแล้ว VC ยังให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ Startup ในการปลุกปั้นธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้น VC ก็จะหาจังหวะ Exit ทำกำไรด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การขายให้กับบริษัทขนาดใหญ่ การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นต้น
ผู้ที่ให้เงินแก่ Venture Capital (VC) ซึ่งอาจจะเป็นในรูปแบบของหน่วยงาน หรือบุคคลก็ได้ เมื่อได้รับเงินทุนมาแล้วหน้าที่ของ VC คือนำเงินไปบริหารจัดการลงทุนใน Startup เพื่อสร้างผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 6-10 เท่าจากการลงทุนในระยะเวลา 5-10 ปี ดังนั้นการลงทุนใน Startup จึงถือเป็นทางเลือกในการลงทุนอาจจะมีความเสี่ยงสูงมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ผลตอบแทนที่สูงมากเช่นกัน
ลำดับขั้นการเติบโตของธุรกิจที่อิงจากการได้รับเงินระดมทุน ซึ่งก็จะเริ่มต้นตั้งแต่…
อ่านบทความเต็มเกี่ยวกับศีพท์วงการ Startup ต่อได้ที่: https://techsauce.co/tech-and-biz/wording-about-startup-in-start-up-series
อ้างอิง: wise, technews180
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด