ใครฆ่า GE? ความถดถอยของเครือบริษัทข้ามชาติขนาดยักษ์ ในยุค Digital Disruption | Techsauce

ใครฆ่า GE? ความถดถอยของเครือบริษัทข้ามชาติขนาดยักษ์ ในยุค Digital Disruption

GE กลุ่มบริษัทข้ามชาติเทคโนโลยีและบริการ ที่มีเครือข่ายธุรกิจในกว่า 100 ประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับขาลงจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ถึงแม้ว่า GE จะยังไม่ได้ตายไปเสียทีเดียว แต่รูปแบบธุรกิจของ GE หรือ 'GE model' ที่เคยรุ่งเรืองในอดีต กลับไม่เวิร์คอีกต่อไป บทความโดย Harvard Business Review ได้บรรยายถึงสาเหตุหลายประการที่ทำให้ ‘GE Model’ ไม่สอดคล้องกับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง

บทความนี้แปลจาก Harvard Business Review

เครือ GE คือกลุ่มบริษัทที่รวบรวมอุตสาหกรรมเอาไว้กว่า 10 กลุ่มธุรกิจ โดยเน้นสร้างมูลค่าของธุรกิจด้วยการแชร์ความสามารถและทำงานร่วมกันระหว่างธุรกิจหลากหลายประเภทในเครือ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีรากฐานด้านการผลิตเป็นหลัก

‘GE Model’ เริ่มจากยุคสมัยที่ Reginald Jones เป็น CEO ในช่วงปี 1970 เขาใช้กลยุทธ์ควบคุมธุรกิจจากศูนย์กลาง โดยต่อมาในช่วงปี 1980 ถึง 1990 Jack Welch ผู้รับช่วงต่อก็เสริมแกร่งให้กับ model นี้ ด้วยการเพิ่มกลยุทธ์ปรับโครงสร้างและขยายธุรกิจสู่ด้านการเงิน จนกระทั่งช่วงปี 2000 ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม Jeff Immelt ผู้กุมบังเหียนขณะนั้นก็ยังพยายามคง model ดั้งเดิมเอาไว้ ส่งผลให้ปัจจุบัน John Flannery ต้องเร่งขายธุรกิจทิ้ง คงเหลือไว้เพียงแค่ธุรกิจหลักๆ เท่านั้น

GE Model ถูกหยิบยกมาเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักกลยุทธ์มาอย่างเนิ่นนานว่า ที่จริงแล้ว GE model ควรมีความได้เปรียบสูงแม้ในยุคปัจจุบัน ด้วยปัจจัยที่หลากหลาย เช่น

  • ความได้เปรียบในเรื่องของขนาดและ market position ในธุรกิจอุตสาหกรรม
  • GE มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในแต่ละอุตสาหกรรมที่ซับซ้อน อีกทั้งยังสามารถแชร์เทคโนโลยีให้กันและกันระหว่างเครือธุรกิจ
  • Portfolio ขนาดใหญ่ของ GE ทำให้สามารถเข้าถึงเงินทุนและจัดสรรเงินทุนภายในได้ดีกว่าธุรกิจที่อยู่โดดๆ
  • GE มีระบบการบริหารจัดการมืออาชีพ จากการลงทุนด้านการศึกษาและการพัฒนาผู้บริหาร

แล้วปัจจัยอะไรที่ทำให้ GE model ที่มีความได้เปรียบมากมายขนาดนี้ถูก disrupt?

จีนและประเทศต่างๆ ที่ทำตามกลยุทธ์ของจีน

ยุทธศาสตร์ที่จีนใช้ คือการเสริมแกร่งหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ, ใช้นโยบายอุตสาหกรรม และเพิ่มศักยภาพของตลาดภายในประเทศเพื่อเพิ่มพลังการผลิตของอุตสาหกรรม ซึ่งแท้จริงแล้วกลยุทธ์นี้เริ่มมาจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีในยุค 1980 อีกทั้งยังมีหลายประเทศในตลาดเกิดใหม่ เช่น บราซิล และ อินเดีย นำไปใช้ด้วยเช่นกัน

จีนเอาชนะความได้เปรียบของ GE Model ในธุรกิจทุกด้าน ตั้งแต่ อุปกรณ์ electronic, เครื่องใช้ในบ้าน ไปจนถึงชิ้นส่วนเครื่องยนต์ของรถไฟและเครื่องบิน ถึงแม้ว่า GE จะสามารถคงธุรกิจบางอย่างที่ร่วม JV กับประเทศกำลังพัฒนาเอาไว้ได้บ้าง แต่ธุรกิจหลักกลับโดน disrupt ไปจนหมด

Silicon Valley และการเติบโตของบริษัท IT

ถึงแม้ GE จะเคยส่งสัญญานเพื่อพยายามผันตัวเองสู่ด้าน software อยู่บ้าง แต่ที่ผ่านมาก็ต้องคอยไล่ตามบริษัท software ใหม่ๆ อยู่ตลอด ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจด้าน Healthcare ที่ GE ต้องพ่ายแพ้ให้กับบริษัท software ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่าอย่าง Epic แม้ว่า GE จะอยู่ในวงการมาก่อนด้วยการขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ตาม

ซึ่งหมายความว่า กำลังการผลิต ไม่ได้ถือเป็นความได้เปรียบเหมือนสมัยก่อน และขนาดของบริษัทไม่อาจเอาชนะปัจจัยที่ขับเคลื่อนด้วย network จากภายนอกในยุคที่อุตสาหกรรมด้านข้อมูลรุ่งเรืองเช่นปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ model แบบ conglomerate เสียทีเดียว เพราะใน Silicon Valley ก็มีเครือบริษัทอย่าง Alphabet บริษัทแม่ของ Google ที่ยังคงรุ่งเรืองอยู่ แต่ GE กลับไม่อยู่ในเกมส์เลย

ภาคเอกชนและตลาดทุนใหม่

กลุ่มเครือบริษัทอย่าง GE ยังคงอยู่ได้ในตลาดที่ยังโตไม่เต็มที่และไม่ค่อยมีความโปร่งใสนัก อย่างในประเทศกำลังพัฒนา แต่ขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับความท้าทายของขาลงในประเทศตลาดทุนที่มีประสิทธิภาพกว่า

บทบาทที่เพิ่มขึ้นของภาคเอกชน และนักลงทุนที่ต้องการความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลที่มากขึ้น ทำให้ GE ต้องพิสูจน์ว่าบริษัทมีค่าในตัวเอง แม้จะไม่ได้รวมกันอยู่ ซึ่ง GE พลาดในจุดนี้ นักลงทุนไม่มีความเชื่อมั่นในแต่ละหน่วยธุรกิจของ GE ว่าจะสามารถเพิ่ม value ในตัวเองได้

ความรุ่งเรืองของบริษัทเงินทุนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าขนาดของ GE ไม่ได้เป็นข้อได้เปรียบในการระดมทุนอีกต่อไป

สถาบันธุรกิจ

GE ถือเป็น role model ของโรงเรียนสอนด้านบริหารธุรกิจมาตลอด ทำให้ปัจจุบันมีสถาบันธุรกิจเกิดขึ้นมากมายทั่วโลกที่สอนการบริหารจัดการจาก ‘Best practices’ แบบเดียวกับที่ GE สอน

ภาวะเศรษฐกิจถดถอย

การล่มสลายของระบบการเงินได้ฆ่าธุรกิจหลักของ GE ไปเป็นอย่างแรกๆ นอกจากนี้ยังส่งผลให้ราคาน้ำมันและแก๊สลดลงมาก ทำให้ธุรกิจที่ GE ลงทุนเอาไว้ต่างได้รับผลกระทบ

อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจที่แย่ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักสาเหตุเดียวเท่านั้นที่ทำให้ GE ล่มสลาย แต่คือการเข้ามาของธุรกิจที่แข็งแกร่งและยั่งยืนกว่า

กล่าวโดยสรุป สิ่งที่ฆ่า GE model ก็คือ คู่แข่งจากทั่วโลก, การปฎิวัติทางเทคโนโลยี, พลังของนักลงทุน และจำนวนของนักบริหารมืออาชีพที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น เครือบริษัทที่เดินตามรอย GE ทั่วโลกอาจจะต้องศึกษาถึงข้อผิดพลาดของ GE ก่อนที่จะสายเกินแก้

อ้างอิงภาพและเนื้อหา Harvard Business Review

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ETDA เปิดตัว SMEs GROWTH ชวนผู้ประกอบการไทย ยกระดับนวัตกรรมด้านดิจิทัลเชิงพื้นที่ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจดิจิทัล

ETDA เปิดตัว SMEs GROWTH ชวนผู้ประกอบการไทย ยกระดับนวัตกรรมด้านดิจิทัลเชิงพื้นที่ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจดิจิทัล...

Responsive image

Food Biotechnology “เนื้อจากแล็บ” ทางเลือกของอาหารเพื่อมวลมนุษยชาติ

Blood Free Group บริษัท Biotechnology จากซีรีส์เรื่อง Blood Free เปิดตัว ‘เนื้อจากแล็บ’ ตอบรับเทรนด์อาหารแห่งอนาคต เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพให้กับผู้บริโภค...

Responsive image

เปิดตัว 7 สตาร์ทอัพ FinTech ในงาน Money20/20 Asia เสริมแกร่งอุตสาหกรรมการเงินในภูมิภาค

Money20/20 Asia ผู้จัดงานงานฟินเทคโชว์สุดยิ่งใหญ่เปิดตัวบริษัทสตาร์ทอัพทั้ง 7 ที่เชื่อว่าจะผลักดันพร้อมปฏิวัติโลกของการเงิน...