Scott D. Anthony ที่ปรึกษากลยุทธ์ชั้นนำ แนะองค์กรจะอยู่รอดต้อง 'ปรับเปลี่ยน' ไม่ใช่แค่ปรับปรุง

Scott D. Anthony ที่ปรึกษากลยุทธ์ชั้นนำ แนะองค์กรจะอยู่รอดต้อง 'ปรับเปลี่ยน' ไม่ใช่แค่ปรับปรุง

Scott Anthony

เมื่อ COVID 19 ได้เข้ามาเขย่าโลกธุรกิจ ซึ่งถือเป็น Disruptive threats ที่ไม่ว่าจะในองค์กร หรือภาคอุตสาหกรรมไหน ก็ล้วนโดน disrupt ทั้งนั้น แม้กระทั่งผู้ที่คิดมาเสมอว่าปลอดภัยก็ต้องโดนไปตามๆ กัน อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ใช่เรื่องเลวร้ายน่ากลัวเสมอไป มันจะกลายเป็นโอกาสหรืออุปสรรคหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้นำจะพาองค์กรเลือกเดินไปในเส้นทางไหน

ทาง Techsauce ได้มีโอกาสฟังการบรรยายของ Scott D. Anthony หุ้นส่วนบริษัท Innosight บริษัทที่ปรึกษากลยุทธ์การเติบโตชั้นนำ อีกทั้งเป็นผู้เขียน Harvard Business Review Press และหนังสือ Dual Transformation ถึงการจัดการและพัฒนาองค์กรไปสู่นวัตกรรมได้อย่างน่าสนใจ จะมีบทเรียนไหนที่องค์กรสามารถนำไปปรับใช้ได้บ้างมาดูกัน

เมื่อโลกธุรกิจหลัง COVID-19 จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เราจะทำอย่างไร?มาฟัง Scott D. Anthony ได้ที่งาน Techsauce Virtual Summit 2020 รีบซื้อบัตรก่อนที่ราคาจะปรับขึ้นเร็วๆ นี้ ได้ที่ https://bit.ly/2yPtuw3

อุปสรรคของการพัฒนาองค์กรคือ ‘ความเชื่องช้า (Inertia)’

ชีวิตการทำงานวันแรกนั้นจะว่าไปก็เหมือนกับตอนเข้าโรงเรียนวันแรก ทุกคนรู้สึกตื่นเต้น อยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ๆ พร้อมที่จะปล่อยความคิดสร้างสรรค์ รู้ว่าอะไรถูกผิด รู้ว่า ‘นวัตกรรม’ นั้นเป็นสิ่งที่ดี ไม่ต้องมีใครคอยตอกย้ำ คุณตั้งความหวังกับตัวเองทุกๆ วันว่าจะเป็นซูเปอร์ฮีโร่นำนวัตกรรมใหม่เข้ามา สุดท้ายก็สามารถนำองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ แต่แล้วก็ตระหนักได้ว่า ศัตรูร้ายที่สุดที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงที่คุณต้องพบกับมันในทุกๆ วันคือ ‘องค์กรของคุณเอง’ 

คุณฝันที่จะได้เป็นซูเปอร์ฮีโร่ แต่ศัตรูที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงที่คุณต้องพบกับมันในทุกชีวิตประจำวันคือ 'ความเชื่องช้าในองค์กร'

'สัญญาณสำคัญ' ที่บ่งบอกว่าถึงเวลาทำการเปลี่ยนแปลง

  • เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป กำไรเริ่มทรงตัวหรือลดลง
  • เมื่อลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ลดลง เมื่อทำการเปิดผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่และผลตอบรับที่ได้เริ่มลดลง
  • เมื่อผู้เล่นใหม่ประสบความสำเร็จด้วยโมเดลธุรกิจที่ต่างไปไม่เฉพาะเทคโนโลยีเท่านั้นที่มีโอกาสเข้ามา disrupt เมื่อ Startup มีโมเดลธุรกิจใหม่ หรือบริษัทไหนกำลังทำการสร้างนวัตกรรม ล้วนเป็นสัญญาณเตือนที่มีแนวโน้มเข้ามากระทบองค์กรได้ทั้งนั้น
  • เมื่อมีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรม

ทั้งหมดนี้คือสัญญาณเตือนอันดับต้นๆ ว่าธุรกิจกำลังจะถูก disrupt ดังนั้นผู้นำจะทำแค่ปรับปรุงธุรกิจในปัจจุบันให้ดีขึ้นอย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไป แต่ต้องทำการหาจุดยืนใหม่ให้ธุรกิจที่ทำอยู่ในปัจจุบัน (Repositioning Today’s Business) และทำการสร้างธุรกิจใหม่สำหรับอนาคต (Creating Tomorrow’s Business) หรือที่เรียกว่า 'Dual Transformation' นั้นจะเหมาะสมที่สุด

การคิดโมเดลธุรกิจใหม่ถือเป็นความท้าทายของผู้นำยุคนี้ ผู้นำต้องเริ่มมองหาว่าอะไรคือสิ่งที่จะทำให้ธุรกิจใหม่มีศักยภาพที่จะดำเนินต่อไปในเชิงพาณิชย์ได้อย่างยั่งยืน

Dual Transformation

1) การหาจุดยืนใหม่ให้แก่ธุรกิจที่ทำอยู่ในปัจจุบัน (Repositioning Today’s Business)

ธุรกิจที่จำนวนมากต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งการเติบโตในตลาดหลักที่พวกเขาครอบครองอยู่ ขณะเดียวกันก็ได้มีผู้เล่นใหม่เข้ามาเรื่อยๆ ด้วยโซลูชันที่ง่ายกว่าและเข้าถึงได้มากกว่า อย่างกรณีของ Adobe ที่ทำการเปลี่ยนรูปแบบการขายซอฟต์แวร์บนอินเตอร์เน็ต (SaaS) เป็น Adobe Creative Cloud โดยสิ่งที่ต้องทำในการรักษาตำแหน่งธุรกิจปัจจุบันมีดังนี้

  • การระบุหน้าที่ของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน
  • การพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่อยู่เสมอ
  • การกำหนดและหาวิธีวัดผลตัวเลขใหม่
  • การติดตามดำเนินงานอย่างจริงจัง

2) การสร้างธุรกิจใหม่สำหรับอนาคต (Creating Tomorrow’s Business)

การเติบโตนั้นมักจะมาจากการที่ต้องปรับกลยุทธ์และเป้าหมายใหม่ แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย กรณีตัวอย่างจาก Amazon ที่เปิดบริการ Amazon Web Services (AWS) ให้บริการประมวลผลบนระบบคลาวด์ที่น่าเชื่อถือระดับโลก โดยองค์กรสามารถสร้างทรัพยากรที่อำนวยการเติบโตในอนาคตได้ดังนี้

  • การระบุอุปสรรคที่ขวางกั้นการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นคนในทีมไม่มีทักษะที่ต้องการ, เรื่องงบประมาณ, หรือความไม่สะดวกในการเดินทาง
  • การพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อหาตลาดใหม่ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ในอนาคต
  • การสร้าง Ecosystem รอบธุรกิจใหม่ เช่น การสร้างพาร์ทเนอร์ชิพ, การเข้าซื้อกิจการ, การจ้างบุคลากรที่มีทักษะที่ต้องการเพิ่ม

3) การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ (Capability link)

การรู้ว่าจุดแข็งคืออะไร, การจดสิทธิบัตร, การสร้างวัฒนธรรมองค์กร และการปรับกระบวนการทำงาน

การสร้างนวัตกรรมไม่ได้เป็นเกมของ Startup เท่านั้น ใครก็สามารถสร้างสิ่งใหม่ได้ หากรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างความเป็นผู้ประกอบการให้คนในทีม องค์กรใหญ่ต้องมองให้เห็นโอกาสว่าจริงๆ แล้วพวกเขาก็สามารถทำหลายสิ่งที่แม้แต่ Startup ก็ทำไม่ได้

4 คุณสมบัติสำคัญที่ผู้นำต้องมี (4Cs)

  • ผู้นำต้องมีความกล้า (Courage) เมื่อเห็นสัญญาณเตือนหาแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทันทีไม่ต้องรอให้เกิดภัยก่อนแล้วค่อยมาคิดแก้ปัญหาทีหลัง
  • ผู้นำต้องมีความชัดเจนในการทำงาน (Clarity) เพราะการสร้างกลยุทธ์ที่ดีและเหมาะสมนั้นจะมีเป้าหมายที่คลุมเครือไม่ได้
  • ผู้นำต้องมีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในการดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนด (Conviction)
  • ผู้นำต้องมีความตื่นตัวใฝ่รู้เฝ้าสังเกตสิ่งต่างๆ (Curiosity) มีวิสัยทัศน์มองเห็นสัญญาณเตือน และโอกาสในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

กรณีของ Singtel บริษัทด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงจัดการประชุมคณะกรรมการและการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารระดับสูงในกรุงปักกิ่ง เทลอาวีฟ และในซิลิคอนวัลเลย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้นำสามารถสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่ประสบความสำเร็จโดยตรง

คุณสามารถเชิญผู้เชี่ยวชาญมาพูดให้ความรู้คนในทีมกี่คนก็ได้ แต่ไม่มีอะไรมีประสิทธิภาพมากไปกว่าการได้เดินทางไปยังแหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมให้เห็นกับตาว่าคนที่นั่นทำอะไรกันบ้าง

โดยทางเราได้มีโอกาสพูดคุยและสัมภาษณ์ Scott เพิ่มเติมถึงประเด็นที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรได้อย่างน่าสนใจ

ผู้นำจะสามารถบริหารจัดการธุรกิจในปัจจุบัน อีกทั้งจะนำองค์กรไปสู่ประสบความสำเร็จในอนาคตได้อย่างไร?

ทุกอย่างหมุนไปเร็วมาก หากผู้นำโฟกัสทุกอย่างสุดท้ายแล้วจะไม่ได้โฟกัสไปที่อะไรเลย คำแนะนำก็คือ ผู้นำต้องทำการโฟกัสเฉพาะเทรนด์ที่มีแนวโน้มจะเข้ามากระทบกับธุรกิจ สิ่งไหนที่มีแนวโน้มมากอาจทำการศึกษาเรียนรู้มากขึ้น สิ่งไหนที่ดูไม่น่ามีผลกระทบอาจทำการทดลองหรือละเลยมันไป

อีกทั้งกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนว่าใครทำงานในส่วนปัจจุบันหรือในอนาคต การนำคนทำงานอนาคตมาทำงานปัจจุบันนั้นมันไม่ได้ผล ผู้นำต้องทำการแยกปัญหาที่พบในแต่ละส่วนให้ได้อย่างชัดเจน ปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจปัจจุบัน และกับธุรกิจในอนาคตคืออะไร นี่คือเกมคนละเกมที่ต้องใช้กฎกติกาและผู้เล่นที่ต่างกัน

จากประสบการณ์การทำงานกับองค์กรใหญ่ทั่วโลก สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาที่พบทั้งในเอเชียและในตะวันตกคืออะไร?

จากที่ได้ทำงานให้กับบริษัทในเอเชียมา 9 ปีพบว่าในเอเชียมีเรื่องระดับชั้นทางสังคม ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนา เนื่องจากการเกิดไอเดียนวัตกรรมไม่จำเป็นต้องมาจากผู้นำเสมอไป ใครก็สามารถความเปลี่ยนแปลงได้ สิ่งที่มักพบเวลาผู้ที่มีประสบการณ์งานมากกว่าตัดสินใจเรื่องอนาคต ผลลัพธ์ที่ได้มักออกมาจะเลวร้าย ดังนั้นการให้เปิดโอกาสทุกคนในทีมได้แสดงความเห็นนั้นสำคัญ

นอกจากนี้ธุรกิจในเอเชียจะอยู่ในรูปแบบของธุรกิจครอบครัวมากกว่า แต่หากมองอีกมุมการดำเนินธุรกิจในลักษณะนี้จะมีผลต่อการตัดสินใจต่อการเจริญเติบโตที่ต่างกัน หลายองค์กรในเอเชียมีแนวโน้มจะเน้นเป้าหมายระยะยาวมากกว่าบริษัทฝั่งตะวันตก ซึ่งนี่เป็นข้อดีของการสร้างนวัตกรรมในระยะยาว

เราจะทำการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดนวัตกรรมได้อย่างไร?

ภาพจาก Innosight

สร้างสิ่งแวดล้อมที่เปิดให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมมีอำนาจในการตัดสินใจ และกล้าลงมือเสี่ยง ระบุให้ได้ว่าอุปสรรคของการเปลี่ยนแปลงคืออะไร แล้วจะพาคนในทีมก้าวข้ามปัญหาเหล่านั้นไปได้อย่างไร

หนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจจากธนาคาร DBS  เมื่อพนักงานลงความเห็นว่าอุปสรรคต่อการพัฒนาคือ ‘การประชุม’ ที่มากเกินไปและไม่จำเป็น พวกเขาก็ได้ทำการคิดวิธีจัดการประชุมใหม่หรือแบบ MOJO ทุกคนมีหน้าที่ชัดเจน โดยในทุกการประชุมจะมีผู้ที่เป็นเจ้าของการประชุม (Meeting Owner) และผู้ที่ต้องการร่วมประชุมหรือไม่ก็ได้ (Joyful Observer) วิธีนี้ได้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ของคนในทีมได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้การจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนพฤติกรรม หรือที่เรียกว่าการสร้าง BEANs (Behavior, Enabler, Artifact, Nudges) จะเป็นการเปิดให้มีสภาพแวดล้อมเป็นมิตรมากขึ้น ซึ่งการสร้างการจัดการที่ดีนั้นต้องสามารถนำไปปรับใช้ ปรับเปลี่ยนได้ง่าย เชื่อมโยงกับเป้าหมายและกระบวนการทำงาน เป็นรูปธรรมชัดเจน นอกจากนี้คือการทำโค้ชชิงจัดเทรนนิงให้พนักงาน และต้องมั่นใจว่าสิ่งที่ทำไปจะสามารถทำการสเกลได้ในอนาคต

พบกับ Scott D. Anthony ได้ที่งาน Techsauce Virtual Summit 2020

เมื่อโลกธุรกิจหลัง COVID-19 จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เราจะทำอย่างไร? มาฟังคำตอบจาก Scott D. Anthony หุ้นส่วนบริษัท Innosight ที่ปรึกษากลยุทธ์การเติบโตชั้นนำ ผู้เขียน Harvard Business Review Press และหนังสือ Dual Transformation ได้ที่งาน Techsauce Virtual Summit 2020 

รีบซื้อบัตรก่อนที่ราคาจะปรับขึ้นเร็วๆ นี้ ได้ที่ https://bit.ly/2yPtuw3 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

4 เสาหลักสู่นวัตกรรม ความสำเร็จที่ยั่งยืน ที่องค์กรขาดไม่ได้

ปัญหาจริงของการขาดนวัตกรรมคือ "คุณภาพ" รวมถึงวิธีการ ”เลือก” ไอเดียที่เหมาะสมเพื่อนำไปพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าได้จริง จากการวิจัย องค์กรที่ประสบความสำเร็จในด้านนวัตกรรมมักม...

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

เมื่อพายุเศรษฐกิจโหมเข้า CFO จะขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร? ดีลอยท์ชวรรู้จัก CFO Trilemma

CFO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยการสร้างสมดุลระหว่างการฟันฝ่าวิกฤต สร้างคุณค่าระยะยาว และพัฒนาขีดความสามารถของทีม เพื่อความยั่งยืนขององค์กร...