ที่นี่เราไม่อยู่กันแบบครอบครัว บทเรียนการบริหารจาก CEO Airbnb | Techsauce

ที่นี่เราไม่อยู่กันแบบครอบครัว บทเรียนการบริหารจาก CEO Airbnb

ที่นี่เราอยู่กันแบบครอบครัว บริษัทนี้เราอยู่กันเหมือนพี่น้อง เคยเจอกันไหมแบบนี้ ? วันนี้ Techsauce มีบทเรียนและกรณีศึกษาน่าสนใจจาก Brian Chesky CEO Airbnb ที่จะบอกว่า ทำไมคุณไม่ควรมองคนในบริษัทเป็นครอบครัว ? ไม่ว่าจะรักกันมากแค่ไหน

ที่นี่เรา (ไม่ควร) อยู่กันแบบครอบครัว 

Chesky เล่าเรื่องนี้ไว้ใน podcast “ReThinking” ของ Adam Grant นักจิตวิทยาผู้เขียนหนังสือชื่อดัง Think Again Hidden Potential ฯลฯ ว่าเขาได้บทเรียนนี้มาจากประสบการณ์ของเขาเองในช่วงโควิดระบาด 

ตอนนั้น Airbnb จำเป็นต้องเลิกจ้าง ตัว Chesky ต้องเขียนจดหมายถึงพนักงานเพื่ออธิบายว่าบริษัทจะมีการเลย์ออฟ “ผมรักพวกคุณทุกคนมากนะ” เขาเขียนไว้

“ผมเขียนจดหมายนั้นอย่างรวดเร็ว” Chesky กล่าว “ผมไม่ได้มีเวลาเยอะนัก ดังนั้นผมเลยเขียนว่าผมรู้สึกอย่างไรและนั่นเป็นความรู้สึกจริง ๆ ของผม และผมรู้สึกค่อนข้างสะเทือนใจตอนที่กำลังเขียนจดหมายอยู่ มันถูกแล้วที่บริษัทไม่ใช่ครอบครัว และเราต้องเปลี่ยนแนวคิดนี้”

“เรามักรียกพวกเราเองว่าครอบครัว จากนั้นเราต้องไล่คนออก ไม่ก็มีคนลาออก แต่คุณไม่ไล่สมาชิกในครอบครัวของตัวเอง” เขากล่าวเพิ่ม

‘การทำงานแบบครอบครัว’ เป็นคอนเซ็ปต์ยอดนิยมที่ไว้ใช้สร้างความภักดีในบรรดาบริษัทเทคโนโลยีในช่วงก่อนโควิด มีสวัสดิการต่างๆ เช่น อาหารฟรี ซักแห้งฟรี และใช้ยิมในออฟฟิศได้ฟรี เพื่อเป็นการสนับสนุนให้พนักงานใช้เวลาในออฟฟิศมากกว่าใช้เวลากับครอบครัว

วันนี้ Chesky ได้เปลี่ยนความคิดของเขาไปแล้ว เขาเผยว่า การทำงานแบบครอบครัวเป็นเครื่องมือสร้างแรงจูงใจในการทำงานที่ดี แต่มันก็ถสร้างความยุ่งยากต่อหัวหน้างานและพนักงานในการทำหน้าที่ของพวกเขาเช่นกัน

ทำงานต้องทำแบบ ‘นักกีฬามืออาชีพ’

ตัวอย่างบริษัทหนึ่งที่บริหารจัดการพนักงานได้ดีเยี่ยมคือ Netflix และ Reed Hastings ผู้ร่วมก่อตั้ง เผยว่าเขาจัดการพนักงานแบบ ทีมนักกีฬามืออาชีพ

“คุณต้องจัดระบบตามแนวคิดว่าทุกคนต้องสู้เพื่อตำแหน่งงานของเขาในทุก ๆ ปี เหมือนเป็นนักกีฬามืออาชีพ” Hastings เล่าใน “View From The Top”  เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นซีรีส์สัมภาษณ์ของมหาวิทยาลัย Stanford “ถ้าคุณชนะได้ถ้วยรางวัล Stanley เป็นเพราะว่าคุณรวบรวมผู้เล่นฮอกกี้ที่เจ๋งที่สุดมาไว้ด้วยกันในทีม”

จากมุมมองของหัวหน้า การบริหารธุรกิจแบบคนในครอบครัวจะเป็นปัญหาเมื่อคุณต้องตำหนิ ต้องบังคับใช้กฎระเบียบ หรือต้องเลิกจ้างใครสักคน Hastings กล่าว

“เมื่ออยู่ในครอบครัว คุณต้องดูแลทั้งพี่น้อง พ่อแม่ และลูก ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม” เขากล่าว “พวกเขาจะเข้าคุก หรือพวกเขาจะทำอะไร คุณก็ต้องไปกับพวกเขาเสมอ”

การใช้คำว่า “ครอบครัว” ทำให้หัวหน้าสามารถเอาเปรียบพนักงานได้ง่ายขึ้นด้วย  

Joshua A. Luna ซึ่งเป็นโค้ชสอนพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำเขียนในบทความ Harvard Business Review เมื่อปี 2021 ว่ายิ่งคุณรู้สึกผูกพันกับองค์กรมากเท่าไร ยิ่งเป็นเรื่องง่ายต่อผู้จัดการที่เขาจะร้องขอให้คุณทำอะไรได้มากกว่านี้ เหมือนที่พี่ชายหรือพี่สาวมักจะทำ

ถ้าคุณไม่รับงานเพิ่ม คุณก็จะไม่ได้รับความโปรดปรานหรือถูกไล่ออก Luna เขียนไว้ว่า วิธีการมองของ Hastings ฉลาดกว่านั้น การที่เขาใช้การเปรียบเทียบกับนักกีฬามืออาชีพช่วยสร้างความรู้สึกราวกับเป็นส่วนหนึ่งในที่ทำงาน ขณะเดียวกันก็ยังคงประสิทธิภาพการทำงานกับความสามารถในการผลิตงานซึ่งทั้งสองเป็นสิ่งสำคัญมาก

วัฒนธรรมการทำงานที่ดี คือ “เคารพการที่ธรรมชาติเป็นผู้จัดการความสัมพันธ์นี้เอง” ลูน่าเขียนไว้ 

อ้างอิง: cnbc

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Brian Niccol เจ้าพ่อธุรกิจ Chain Restaurant และ CEO ป้ายแดงของ Starbucks

Starbucks ก็ดึงตัว Brian Niccol (ไบรอัน นิคโคล) ผู้บริหารธุรกิจร้านอาหารมือทองจาก Chipotle Maxican Grill ธุรกิจอาหารแม็กซิกันจานด่วนมาดำรงตำแหน่ง CEO คนใหม่...

Responsive image

บทเรียนผู้นำธุรกิจในยุคที่ AI ครองโลก

วิธีที่ผู้นำธุรกิจ โดยเฉพาะในประเทศไทย จะส่งเสริมการใช้งาน AI และยกระดับศักยภาพองค์กร รวมถึงทักษะที่ผู้นำต้องมีในยุคดิจิทัล...

Responsive image

วิธีปั้นคนในยุค AI ในแบบฉบับ SCBX บริษัทที่ตั้งเป้าใน 3 ปี รายได้ 75% จะมาจาก AI

เคยสงสัยไหมว่าการทำงานในยุคที่ AI เป็นแรงขับเคลื่อนหลัก องค์กรจะสร้างบุคลากรอย่างไรให้เหมาะสมกับยุค ?...