เปิดวิสัยทัศน์ผู้บริหาร Pragma & Will Group ที่ปรึกษาด้าน HR ยุคดิจิทัล | Techsauce

เปิดวิสัยทัศน์ผู้บริหาร Pragma & Will Group ที่ปรึกษาด้าน HR ยุคดิจิทัล

เมื่อเราเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีที่เปลี่ยนผ่าน ทุกองค์กรต่างปรับตัวโดยให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเป็นหลัก จนอาจหลงลืมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งยังคงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้เรื่องเทคโนโลยีเช่นกัน แม้แต่องค์กรด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ ๆ อาจไม่ประสบความสำเร็จในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องปรับตัวด้วย

เปิดวิสัยทัศน์ผู้บริหาร Pragma & Will Group ที่ปรึกษาด้าน HR ยุคดิจิทัล

ในครั้งนี้เราได้รับโอกาสพิเศษจาก บริษัทที่ปรึกษาด้าน HR ชั้นนำ โดยคุณภานุวัฒน์ กาญจะโนสถ ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนบริหาร ของบริษัท แพร็กมา แอนด์ วิลล์ กรุ๊ป จำกัด ได้มาร่วมเปิดวิสัยทัศน์ถึงการเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรยุคดิจิทัลนี้ รวมถึงประโยชน์ของการใช้ที่ปรึกษาในยุคดิจิทัล พร้อมทั้งคำแนะนำต่าง ๆ ที่มาจากประสบการณ์จริง

จุดเริ่มต้นและการเติบโตของบริษัท Pragma & Will Group

คุณภานุวัฒน์ : Pragma and Will Group เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญในการช่วยองค์กรปรับเปลี่ยนโครงสร้าง หรือการ Transform องค์กร รวมไปถึงเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ให้องค์กรสามารถไปต่อได้ในยุคดิจิทัล เราตั้งใจให้บริษัทที่มาปรึกษากับเราเกิดผลลัพธ์ที่สำเร็จผล วัดได้จริง ซึ่งเราได้ใส่ความตั้งใจนี้ไว้ในชื่อบริษัทของเราคือ “Pragma” จากคำว่า “Practical (ใช้งานได้จริง)” และ “Will” มาจาก “Will Power (ความตั้งใจ)” ที่ต้องการเข้าไปช่วยให้องค์กรต่าง ๆ อยู่รอดในยุคที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง   

ในเรื่องระยะเวลานั้น ทางบริษัทนั้นได้เริ่มก่อตั้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยมีทีมงานประกอบด้วยบุคลากรจากบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกที่มีประสบการณ์มายาวนานกว่า 15 ปี ทางบริษัทเองมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดและได้รับความไว้วางใจในระดับสากล ซึ่งในภาพรวมถือว่าเราได้รับความสนใจจากทุกองค์กรเป็นอย่างดี 

ปัจจุบัน Pragma & Will ให้บริการอะไรบ้าง 

คุณภานุวัฒน์ : ปัจจุบันทาง Pragma and Will Group แบ่งบริการออกเป็น 4 ด้าน คือ

ส่วนที่ 1 Business Transformation การปรับเปลี่ยนองค์กรให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ทั้งโครงสร้างองค์กร วัฒนธรรมองค์กร และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงาน 

ส่วนที่ 2 Strategy Execution and PMO เรื่องของกลยุทธ์การนำทฤษฎีมาปฏิบัติจริงและการบริหารการเปลี่ยนแปลง

ส่วนที่ 3 Business Optimization & Expansion ซึ่งมีการจัดการรวมไปถึงการช่วยขยายธุรกิจผ่านการควบรวม ซื้อกิจการ (Merger and Acquisition - M&A) ตัวช่วยผสานวัฒนธรรมหลายองค์กรเข้าเป็นหนึ่งในองค์กรเดียวกัน รวมทั้งการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  

ส่วนที่ 4 HR Technology and Transformation การใช้เทคโนโลยีบริหารทรัพยากรบุคคล โดยใช้ข้อมูลเพื่อกำหนดกลยุทธ์ พัฒนาการดำเนินธุรกิจ และสร้างประสบการณ์ให้พนักงาน

กลยุทธ์และจุดแข็งของบริการที่ Pragma & Will นำเสนอ 

คุณภานุวัฒน์ : เรามีกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจแบ่งเป็น 3 กลยุทธ์คือ  

กลยุทธ์ที่ 1 Trust building ร่วมเรียนรู้และเติบโตกับบริษัทที่มาปรึกษา แบบเป็น Long term สร้างความเชื่อมั่นโดยการทำความเข้าใจในทุกขั้นตอน Journey ขององค์กรของลูกค้าด้วย 
กลยุทธ์ที่ 2 Data driven analytic เราใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถจำลองให้องค์กรรู้ว่า บริษัทยังขาดตรงจุดใด รวมไปถึงระบุได้ว่าต้องการคนแบบไหนในอนาคต 
กลยุทธ์ที่ 3 Partnership เราเน้นการเติบโตไปพร้อมกับบริษัทต่าง ๆ ที่มาปรึกษากับเรา ทำให้เราได้สานสัมพันธ์กับหลายองค์กรในลักษณะพาร์ทเนอร์ จนกลุ่มบริษัทของเรามีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

จุดแข็งที่เรามีนั้น เราเน้นการใช้เทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการ Customer-centric คือการเอาข้อมูลที่มาจากองค์กรของลูกค้าเอง มาปรับปรุงโดยมีรายละเอียดเฉพาะองค์กรที่ไม่เหมือนกัน ทางเราจะให้ทีมได้ลงไปพูดคุยกับลูกค้าอย่างเจาะลึก เพื่อที่จะช่วยกันดีไซน์กรอบ Framework ในงานต่าง ๆ ไปตามเส้นทางการเติบโตขององค์กร มีการทำ Workshop มี Assignment ร่วมกัน อย่างเช่น พอสิ้นปีเราก็จะมาวัดผลการเติบโตไปด้วยกันกับบริษัทลูกค้า   

นอกจากนี้ เราได้เรียนรู้จากประสบการณ์ว่า เมื่อก่อนที่ปรึกษาด้าน HR อาจมาร่วมแก้ปัญหาจนได้ทฤษฎีที่เป็นหน้ากระดาษ แต่สุดท้ายลูกค้าอาจจะไปต่อไม่ได้ เพราะเมื่อลงมือตามแล้วไม่สามารถทำได้จริง ทาง Pragma & Will จึงได้เรียนรู้และปรับปรุงกระบวนการกับลูกค้าโดยตลอด ซึ่งตรงนี้ก็เป็นอีกจุดเด่นของเรา 

ความท้าทายที่องค์กรในปัจจุบันต้องเจอ

คุณภานุวัฒน์ : พวกเราอาจจะเคยได้ยินคำที่หลาย ๆ องค์กรเน้นพูดถึง Business Transformation มาสักระยะ แต่ Success rate อยู่ในระดับที่ต่ำ ตรงนี้มองว่าเป็นจุดที่ท้าทาย เพราะการเปลี่ยนแปลงองค์กรไม่ได้หมายถึงแค่ตัว Business plan แต่ต้องเปลี่ยนถึงวัฒนธรรม จริยธรรมองค์กร ชุดความคิด และแนวปฎิบัติขององค์กรด้วย

อีกจุดหนึ่ง คือการที่องค์กรนำกระบวนการ Upskill-Reskill มาใช้ ซึ่งเป็นคำที่แพร่หลายมากในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เเต่เมื่อลงมือปฎิบัติ องค์กรอาจไม่รู้ว่าจะเพิ่มหรือปรับทักษะตรงไหนให้กับแรงงาน เป็นการทำไปตามเทรนด์ เหมือนเป็นแค่การบอกลอย ๆ ว่าเราอยากได้คนเก่ง แต่ไม่รู้ว่าควรจะเสริมให้คนของเราเก่งตรงไหน จุดนี้เป็นสิ่งที่หลายบริษัทจำเป็นต้องให้ความสนใจ 

อนาคตมองเป้าหมายอะไรในทิศทางของบริษัท 

คุณภานุวัฒน์ : ต้องแบ่งเป็น 2 ด้านคือ Short term Goal ทางบริษัทเองได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในระดับสากลหรือระดับโลกมามาก แต่จุดหนึ่ง เมื่อมองย้อนกลับไป ยังได้มองเห็นปัญหาว่า หน่วยธุรกิจแบบท้องถิ่นของไทย หรืออย่าง SMEs เอง ยังไม่สามารถเข้าถึงตัวช่วยจัดการองค์กร หรือเครื่องมือบริหารที่มีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยได้ ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่สะท้อนความขัดแย้งอย่างมากภายในประเทศ เราจึงมี Passion ที่จะช่วยเหลือองค์กรในระดับท้องถิ่น  

ในขณะที่ Long Term Goal ในอนาคตของเรา เป็นสิ่งที่ต้องปรับปรุง โดยกำลังมองหา Partnership อยู่ตลอด ขณะเดียวกันได้มองการระดมทุนเพิ่มเติม หรือหา VC และนักลงทุนเพิ่ม เพื่อที่ในอีก 3-5 ปีข้างหน้าเราจะขยายขนาดบริษัทเพื่อสร้างให้เกิด Impact กับสังคมอย่างแท้จริงได้

ข้อแนะนำที่ฝากถึงบริษัทต่าง ๆ ต้องมีกลยุทธ์อะไรในการบริหารองค์กรในยุคปัจจุบัน 

คุณภานุวัฒน์ : ต้องเรียนก่อนว่า ไม่มีสูตรสำเร็จใดที่ตายตัว หรือหนึ่งคำตอบสำหรับทุกปัญหา แต่หลักสำคัญที่ทุกองค์กรต้องมีคือ   

Flexibilty หรือความยืดหยุ่นที่เกิดจากการปรึกษา หาแนวทางร่วมกัน เราต้องเรียนรู้จากทั้งมุมผู้บริหารเองไปยังแรงงาน หรือผู้เข้ามาทำงานใหม่สู่มุมเจ้าของกิจการเอง ในบางประเด็นที่ดูเหมือนเป็นจุดเล็ก ๆ อย่างเช่น การ Work from home ยังทำให้องค์กรมีข้อขัดแย้งขึ้นมา อย่างที่จะเห็นได้จากที่ทาง Google เตรียมให้พนักงานกลับมาทำงานในสำนักงานอย่างเต็มรูปแบบโดยมีนโยบายกึ่งบังคับ ทำให้พนักงานที่ไม่เห็นด้วยจำนวนหนึ่งลาออกไป ปัญหานี้เป็นสิ่งที่แก้ได้และหาแนวทางแก้ไขร่วมกันได้ในเรื่องของการจัดการคน ซึ่งจุดนี้ยังไม่รวมถึงการทันต่อกระแสที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด   

อยากให้บริหารโดยคิดจากศูนย์กลางที่เป็นมนุษย์ (Human Centric) และความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) ของพนักงาน ปัจจุบันคน Generation Y กลายเป็นรุ่นที่อยู่ในตลาดแรงงานมากที่สุด และ Generation Z กำลังเรียนจบเข้ามาสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น แนวคิดในการทำงานก็เปลี่ยนไปด้วย คนรุ่นใหม่ไม่ได้สนใจทำงานโดยดูจากจำนวนเงินเพียงอย่างเดียว แต่พนักงานจะดูที่สภาพแวดล้อม บรรยากาศการทำงาน ความสุข หรือแนวคิดที่ตรงกับนโยบายของเจ้าของบริษัท ซึ่งอาจไม่ตรงกับคนรุ่นก่อนหน้า (Generation X) ทำให้ต้องปรับตัว ปรับมุมมองเข้าหากัน เพราะในปัจจุบันบริษัทไม่ได้เป็นคนเลือกพนักงานอย่างเดียว แต่พนักงานก็เป็นฝ่ายเลือกบริษัทด้วย  

เน้นการ Balance Environment เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เน้นมาตั้งแต่ต้นว่าการจะขับเคลื่อนองค์กรแม้ว่าในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถเชื่อมต่อพนักงานด้วยกันได้ ด้วย Video Conference และ Metaverse แต่เรื่องกายภาพและทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาไปพร้อมกัน ที่องค์กรต้องหาสมดุลที่เหมาะสมระหว่างการใช้เทคโนโลยีและการมีปฏิสัมพันธ์กันของพนักงาน สิ่งเหล่านี้เป็นทั้งปัจจัยภายในและภายนอกองค์กรที่ต้องสนใจ ตรงนี้เป็นสิ่งที่อยากฝากไว้ในเรื่องวัฒนธรรมองค์กรด้วย 

 

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

งานไม่เคยจบในที่ทำงาน ตามกลับมาบ้านด้วยเสมอ ปัญหาของชาว Hybrid Working ต้องแก้ยังไง?

บทความนี้ Techsauce จึงได้รวบรวม How to ทิ้งงานไว้ที่ออฟฟิศ และทวงคืนชีวิตที่มีคุณภาพของชาว Hybrid Working...

Responsive image

True เดินหน้าปั้นผู้นำรุ่นใหม่ 'True Next Gen' ตั้งเป้าเป็น Telco-Tech ชั้นนำในภูมิภาค สู่ Automation 100%

ทรู คอร์ปอเรชั่น เผยเชื่อมั่นศักยภาพของ 'คนรุ่นใหม่' ร่วมเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ Telecom Tech Company ชั้นนำแห่งภูมิภาค พร้อมปรับการทำงานเป็นระบบอัตโนมัติ 100% ปี 2570...

Responsive image

ทำยังไง ถ้าไม่ได้เป็น ‘ลูกรัก’ เจ้านาย

‘ระบบลูกรัก’ ที่ฝังรากลึกในองค์กร เป็นอีกหนึ่งปัญหาช้างในห้อง (Elephant In The Room) ปัญหาใหญ่ที่คนส่วนใหญ่รับรู้ แต่ไม่มีใครอยากพูดถึง หรือพูดไม่ได้ ทำยังไงดี...