เผยผลสำเร็จ NIA SCB IBE รุ่นที่ 1 แย้ม Tech Startup จับคู่ธุรกิจได้จริง พร้อมพัฒนา SME ไทย | Techsauce

เผยผลสำเร็จ NIA SCB IBE รุ่นที่ 1 แย้ม Tech Startup จับคู่ธุรกิจได้จริง พร้อมพัฒนา SME ไทย

เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งคอร์สอบรมพัฒนาธุรกิจที่มีเนื้อหาเข้มข้นตลอด 26 สัปดาห์ สำหรับหลักสูตร Innovation Based Enterprise หรือ NIA SCB IBE รุ่นที่ 1 โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งได้ประกาศพิธีปิดหลักสูตรของรุ่นที่ 1 ไปเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ในรุ่นที่ 1 มีบริษัทด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าร่วมถึง 30 บริษัท ทุกบริษัทจะได้รับการสนับสนุน 4 ด้าน ได้แก่ องค์ความรู้ (Academy) ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน (Banking product and service) เครือข่ายธุรกิจ (Connection) และ ดิจิทัลโซลูชั่น (Digital solution) ซึ่งทุกบริษัทได้รับโอกาสเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ และมีรายหลายที่สามารถจับคู่ธุรกิจสำเร็จตั้งแต่ก่อนปิดโครงการ

Techsauce เป็นหนึ่งในสื่อที่ได้รับโอกาสติดตามความก้าวหน้าของหลักสูตร NIA SCB IBE อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มโครงการ จึงขอสรุปเรื่องราวที่น่าสนใจในวันปิดโครงการให้ทุกท่านได้ติดตามกัน

อ่านบทสรุปเนื้อหาหลักสูตร NIA SCB IBE ได้ที่

สรุปคอร์ส SCB IBE การคิดมูลค่าบริษัท สิ่งที่นักลงทุนมองหา และ Roadmap สู่ยูนิคอร์น 

Global Expansion for Startup พาธุรกิจติดตลาดต่างประเทศให้สำเร็จจาก NIA SCB IBE 

Talent Management แนวคิดการจัดการคนที่สำคัญสำหรับ Tech company

ก่อนที่จะเข้าสู่การมอบรางวัล ทางผู้จัดโครงการยังได้เตรียม Session ความรู้ที่น่าสนใจให้ผู้เข้าร่วมโครงการอีกครั้ง ในหัวข้อ Talent Management จาก รศ.ดร. จุฑามาศ แก้วพิจิตร ผู้อำนวยการหลักสูตร ภาวะผู้นำการจัดการและนวัตกรรม คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

รศ.ดร. จุฑามาศ เริ่มต้นว่า ปัญหาการจัดการบุคลากรที่สหรัฐฯ โดยเฉพาะ Tech company และ Startup ยังมีปัญหาในการจัดทำแผนจัดการบุคลากรที่เป็นแบบแผนชัดเจน หรือใช้คำว่ายังขาด Formal Talent Management ซึ่งสวนทางกับลักษณะธุรกิจที่ทรัพยากรสำคัญของบริษัทเหล่านี้คือ Talent

ทั้งนี้ รศ.ดร.จุฑามาศ ได้เสนอแนวคิดที่เป็นหลักการเบื้องต้นในการบริหาร Talent ให้อยู่กับองค์กรได้นานขึ้น ประกอบด้วย 4 คำ ได้แก่ ทำ มา หา กิน

  • ทำ หมายถึงลักษณะงานที่ทำ มีความยากแค่ไหน สิ่งที่ทำมีคุณค่ากับเขาและองค์กรหรือไม่
  • มา หมายถึงที่มาของ Talent โดยสามารถมาได้ 3 แบบ ได้แก่ Build คือการบ่มเพาะจากภายในองค์กร, Buy คือการซื้อตัวมาอยู่ และ Borrow คือการจ้างชั่วคราวเพื่อใช้ความสามารถในบางช่วง และอาจพัฒนาสู่การ Buy ในอนาคต
  • หา หมายถึงเราจะหา Talent ได้ที่ไหน ซึ่งปัจจุบันมี Platform ออนไลน์อยู่มากมาย ทั้งนี้ รศ.ดร. จุฑามาศ แนะนำว่าเราควรดู Global Talent Competitive Index เพื่อเข้าใจมาตรวัดและปรับรูปแบบองค์กรให้ดึงดูด Talent มากขึ้น
  • กิน หมายถึงความเป็นอยู่ของ Talent เพราะการที่คนทำงานกับองค์กรเรา ไม่ได้มีแค่การจ่ายเงินเดือนอย่างเดียว แต่องค์กรมีส่วนในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นด้วย

ทั้งนี้ รศ.ดร. จุฑามาศ ปิดท้ายว่า แม้ว่าองค์กรจะมองหา Talent ที่เก่งทั้งองค์กรขนาดไหน แต่จริงๆ แล้วเราต้องการพนักงานที่เก่งระดับ Future Leader เพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งเราสามารถสร้างเขาได้จากภายในองค์กรด้วย ทั้งนี้ Talent ก็เป็นทั้ง Cost และ Investment ที่องค์กรต้องบริหาร และไม่มีใครที่ไม่เก่ง ทุกคนล้วนเก่ง แต่เราไม่ได้เก่งเหมือนกัน ซึ่งไม่มีใครเก่งเหมือนกันแม้แต่คนเดียว

สรุปผลสัมฤทธิ์ของโครงการ NIA SCB IBE โดยผู้บริหารจากทั้ง 2 องค์กรพันธมิตร

คุณพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ SME ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า เนื่องจากหลักสูตรจัดขึ้นระหว่างช่วงที่เกิดวิกฤต COVID-19 พอดี ทำให้เกิดความล่าช้าในบางขั้นตอน พร้อมกับเผยว่ามีหลายบริษัทที่เข้าร่วมโครงการสามารถจับคู่ธุรกิจกับ SME ไทยได้สำเร็จตั้งแต่ยังไม่ปิดโครงการ แสดงให้เห็นว่าตัวโครงการมีประโยชน์ต่อทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น Tech startup และ SME อย่างแท้จริง ตามที่ตั้งเป้าไว้

ทั้งนี้ ในช่วง COVID-19 เอง ทาง SCB ก็มีบทเรียนจากการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Tech infrastructure ภายในองค์กรที่ทำให้พนักงานสามารถ Work from home ได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ Platform อย่าง B2P ที่ช่วยให้การจัดซื้อขององค์กรใหญ่และคู่ค้าขนาดกลางและเล็กเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว รวมถึงแอปพลิเคชันล่าสุดอย่าง Robinhood เอง ที่นอกจากจะลงทุนสร้างเทคโนโลยีแล้ว ยังสร้างให้ Partner ที่เป็น Startup มาร่วมบน Platform ได้

ด้าน ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ทาง NIA เองก็มีโครงการสนับสนุน Tech company และ startup อยู่ไม่น้อย ซึ่ง IBE เป็นโครงการหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อร่วมงานกับ Partner อย่าง SCB โดยเฉพาะ ซึ่งทาง SCB มีเป้าหมายที่อยากจะเสริมศักยภาพของธุรกิจ SME ในเครือข่ายด้วยเทคโนโลยี ตรงกับความต้องการของ Startup ไทยที่กำลังมองหาโอกาสใหม่ๆ ในกลุ่มนี้ 

จากซ้ายไปขวา ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และคุณพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ SME ธนาคารไทยพาณิชย์

ความสำเร็จของโครงการ NIA SCB Innovation Based Enterprise แสดงให้เห็นถึงโอกาสใหม่ของไทยผ่านการพัฒนาของบรรดา Tech startup และ SME ที่ต่างมีความต้องการในการพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยี ทาง Techsauce ขอแสดงความยินดีกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการมา ณ ที่นี้ครับ

ติดตามข่าวสารการเปิดรับสมัคร โครงการหลักสูตร NIA SCB IBE-Innovation Based Enterprise รุ่นที่ 2 ได้ที่

Line SCB SME , scbsme.scb.co.th  

โทร Call Center 02-722-2222 

#NIASCB #IBE1 #SCBSME

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

งานวิจัย Accenture ชี้พนักงาน 60% กลัวตกงานเพราะ Gen AI องค์กรควรปรับระบบให้ใช้ AI ได้เต็มประสิทธิภาพ

แม้พนักงานจะเห็นคุณค่าในการทํางานร่วมกับ Generative AI แต่เกือบ 60% กังวลว่าจะตกงาน ข้อมูลนี้มาจากรายงาน 'Work, work, workers: Reinvented in the age of generative AI' ของ Accentur...

Responsive image

KTB ตั้ง ‘กรุงไทย เวนเจอร์ส’ ลุยธุรกิจ Venture Capital

KTB แจ้งตลาดหลักทรัพย์เย็นวานนี้ว่า บริษัท กรุงไทยแอดไวซ์เซอรี่ จำกัด (KTA) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ธนาคารถือหุ้น 99.99% และเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ได้จดทะเบียนจัดต...

Responsive image

ttb เปิดตัว 7 ผู้บริหารรุ่นใหม่นำทัพ ทรานส์ฟอร์มองค์กรรอบด้าน เร่งยกระดับประสบการณ์ด้านการเงินแบบไร้รอยต่อ

ทีทีบี (ttb) ปรับโครงสร้างองค์กรรอบด้าน ส่งคนรุ่นใหม่ 7 ผู้บริหารระดับสูง นำทัพขับเคลื่อนกลยุทธ์ มุ่งเจาะกลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน มนุษย์เงินเดือน และลูกค้า Wealth...