เปิดเมือง เปิดโรงเรียนอย่างไรดี เมื่ออดีตของคน 1 คน เป็นความเสี่ยงต่ออนาคตของคนทุกคน | Techsauce

เปิดเมือง เปิดโรงเรียนอย่างไรดี เมื่ออดีตของคน 1 คน เป็นความเสี่ยงต่ออนาคตของคนทุกคน

เปิดเมือง เปิดโรงเรียน หรือไม่ อย่างไรดี ? เมื่ออดีตของคน 1 คน เป็นความเสี่ยงต่ออนาคตของคนทุกคน

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีคำถามเกิดขึ้นในกลุ่มไลน์ผู้ปกครองต่อข่าวที่จะให้เปิดโรงเรียนนานาชาติในวันที่ 1 มิถุนายน ที่จะถึงนี้ คำถามก็สะท้อนกลับมาว่า ถ้าโรงเรียนเปิดแล้ว ผมจะให้ลูกไปโรงเรียนในทันทีหรือไม่

แน่นอนอยู่ว่าอาการในเด็กมีน้อยกว่าผู้ใหญ่มาก และหายกลับเป็นปกติได้ค่อนข้างเร็ว และความเสี่ยงในปัจจุบันลดจากเมื่อเดือนมีนาคมลงไปมาก

หลังจากเปิดโรงเรียนได้ไม่ถึงสัปดาห์ นักเรียน 70 คนในฝรั่งเศสถูกตรวจพบเชื้อโควิด-19

ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 มีผู้ป่วย COVID-19 ที่ยังรับการรักษาตัวที่สถานพยาบาลทั่วประเทศอยู่ 57 คน (ยอดสะสม 3,042 คน)

ถ้าพิจารณาทางสถิติเพียงอย่างเดียว การเปิดเมืองแบบสุดซอยมีความเสี่ยงน้อยมาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 57 คนที่ได้รับการดูแลจากบุคลากรทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทยจนกว่าจะหายเป็นปรกติ เชื้อ COVID-19 ก็น่าจะค่อย ๆ ลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ

ถ้าให้เด็ก ๆ ไปโรงเรียน มาตรการที่โรงเรียนต้องกำหนดควรมีอะไรบ้าง ถึงการติดต่อในเด็กจะมีความเสี่ยงน้อย และอาการไม่หนักมาก แต่นักเรียน 70 รายที่ฝรั่งเศสตรวจพบ COVID-19 ภายในช่วงเปิดเรียนสัปดาห์แรก ก็รับเชื้อไปแพร่ต่อให้ผู้ปกครอง หรือผู้สูงอายุที่บ้านต่อไปเพราะอดีตของคน 1 คน เป็นความเสี่ยงต่ออนาคตของคนทุกคน

ผมก็ยังไม่มีคำตอบ และเหมือนทุกครั้งที่เข้าสอบแล้วไม่รู้คำตอบ ผมก็คงรอให้เวลาทำข้อสอบใกล้จะหมด หวังว่าจะมีเหตุการณ์ หรือตัวแปรที่มีนัยสำคัญมาช่วย และถ้ายังไม่มีคำตอบตอนอาจารย์มาถึงกระดาษคำตอบแล้ว ก็คงต้องพึ่งโชคชะตา

ระหว่างที่รอเวลาสอบหมดลงไปอย่างช้า ก็ได้พิจารณาตัวแปรสำคัญต่าง ๆ ที่เป็นคำถามสะท้อนอยู่ในหัวผมมีหลายข้อ อาทิ

เมื่อได้เรียนรู้จากการตอบสนองที่ล่าช้าในการระบาดของ MERS เกาหลีใต้จึงเปิดเมืองพร้อมระบบติดตามที่เข้มข้น และพร้อมรับมือกับการระบาดระลอก 2

ฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) หรือแค่สิ่งผิดปกติ (Abnormal) ชั่วคราว

เรารณรงค์การรักษาสุขอนามัยได้อย่างยอดเยี่ยมในช่วงระบาดหนัก ๆ ช่วงกลางเดือนมีนาคม การล้างมือบ่อย ๆ การใส่หน้ากากผ้า การลดการสัมผัสใบหน้า การมีระยะห่างทางสังคม การใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ที่ผ่านการสัมผัส ล้วนเป็นแนวทางปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปแล้ว ว่าสามารถใช้ป้องกัน COVID-19 อย่างได้ผล

จึงเหลือแต่เป็นประเด็นว่า การรักษาสุขอนามัยในช่วงที่ผ่านมานั้นเป็นการสร้างฐานวิถีชีวิตใหม่แล้วแล้วหรือไม่ มิเช่นนั้นสิ่งที่รณรงค์กันมาอย่างหนักก็จะหย่อนยานไปตามเวลา จนอยู่ในสถานะ “การ์ดตก” และเพลี่ยงพล้ำต่อ COVID-19 ได้

ปกติ หรือ ผิดปกติ

ระบบประเมินความเสี่ยงดีเพียงพอแล้วหรือยัง?

แม้กระทั่งในประเทศที่มีการระบาดมากที่สุด จำนวนคนติดเชื้อก็ยังเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับประชากร ถ้ามีเครื่องมือหรือระบบที่สามารถแยกระดับความเสี่ยงได้ ก็น่าจะทำให้เราใช้ชีวิตตามปกติได้

ระบบนี้เหมือนการทำงานคล้าย ๆ กับเครื่องชั่งน้ำหนักตรงที่ว่า มันไม่ได้บอกว่าเราอ้วนไป ผอมไปหรือไม่ สุขภาพดีหรือไม่ แต่เป็นตัวบอกความเสี่ยงในมิติที่ใช้เครื่องนี้วัด

เราก็อยากจะมีเครื่องมือที่วัดแล้วช่วยเราตัดสินใจว่า ควรจะไปสถานที่นี้หรือไม่ (ถ้าหากรู้ว่ามันอยู่ใกล้ ๆ กับที่ ๆ คนมีความเสี่ยงเดินผ่าน กดลิฟท์ เข้าห้องน้ำ หรือจับราวบันไดเลื่อน) หรือว่าควรจะให้พนักงานคนนี้เข้ามาทำความสะอาดห้องพักในโรงแรมวันนี้หรือไม่ (ถ้ารู้ว่าช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เค้าอยู่ใกล้ผู้ป่วยระยะ 10 เมตร เป็นระยะเวลา 32 นาที)

จากอดีตของคน 1 คน ต่อมาเป็นความเสี่ยงต่ออนาคตของคนทุกคน ในกรณีนี้อาจจะเป็นความเสี่ยงของธุรกิจด้วย

คงจะดีไม่น้อย หากเราแค่มีเทอร์โมมิเตอร์ที่วัดอุณหภูมิย้อนหลังได้ 14 วัน

ความเสี่ยงอยู่กับคน และสถานที่ก็เสี่ยงเพราะคน

มีบทความหลายแหล่งยืนยันว่า เชื้อ COVID-19 อยู่ในอากาศและผิวสัมผัสได้นานเป็นพิเศษ นั่นจึงทำให้สถานที่พลอยมีความเสี่ยงไปด้วย

ช่วงแรก ๆ ที่ COVID-19 ระบาด เราตื่นตระหนกกับสถานที่เสี่ยงกันเป็นที่เอิกเกริก อ้างอิงเป็นสถานที่ เป็นโรงแรม หรือเป็นย่านกันตามสื่อต่าง ๆ แต่เมื่อลองพิจารณาดี ๆ สถานที่เหล่านั้นเสี่ยงก็เพราะคนที่เสี่ยงเดินทางเข้าไป

ถ้าคนที่มีความเสี่ยงเดินเข้าไปในร้านโล่ง ๆ ร้านก็มีความเสี่ยง ในทางกลับกัน ถ้าคนที่ไม่มีความเสี่ยงยัดทะนานเข้าไปในร้านใดร้านหนึ่ง ร้านนั้นก็ไม่มีความเสี่ยง

ความเสี่ยงเกือบทั้งหมดอยู่ที่คน และอยู่กับคน

ระบบติดตามผู้ป่วยดีเพียงพอแล้วหรือยัง?

ประโยชน์ของการมีข้อมูลการพบปะ เคลื่อนย้ายของประชาชนที่รวดเร็ว ครอบคลุม ครบถ้วน คือการติดตามย้อนกลับ หากมีการเก็บข้อมูลเหล่านั้นทางแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ก็ไม่จำเป็นจะต้องระบุตัวตนใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะการติดตามสามารถกระทำได้โดยการย้อนกลับอยู่แล้ว (หรือหากจะเก็บข้อมูลที่ระบุตัวตน และจะใช้ข้อมูลนั้น ก็ควรจะมีวิธีในการยืนยัน เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด)

ยังมีกรณีที่ผู้ปกครองควรสนใจคือ หากข้อมูลเคลื่อนย้ายของผู้มีความเสี่ยงโรค COVID-19 เข้าใกล้พื้นที่โรงเรียน (ต้องใช้คุณสมบัติ GPS ในเครื่อง) ควรจะสามารถแจ้งเตือนไปยังโรงเรียนในพื้นที่หรือไม่

จากอิทธิฤทธิ์ในการแพร่ของเชื้อ COVID-19 นั้น การติดตามผู้มีความเสี่ยงที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ จะทำให้โอกาสที่เชื้อแพร่กระจายน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ

หลายประเทศใช้เทคโนโลยีในการติดตามตัว จากตัวเลือก Bluetooth, GPS หรือ QR Check-in

เรากำลังย้อนกลับไปต้นเดือนมีนาคม

ประเทศไทยมีผู้ป่วย COVID-19 เมื่อ 1 มีนาคม 2563 อยู่ 42 ราย (10 มีนาคม มี 53 ราย / 20 มีนาคม มี 322 ราย / 30 มีนาคม มี 1,524 ราย) สถานการณ์ตอนนี้ (ปลายพฤษภาคม 2563) คงคล้ายกับการย้อนกลับไปเวลานั้น ที่เริ่มมีการปิดเมือง เริ่มมีการให้ทำงานจากที่บ้าน ยกเลิกเที่ยวบินระหว่างประเทศ

ที่ต่างออกไปในทางดีคือความพร้อมด้านสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนที่มีความเข้าใจโรคที่มีเพิ่มมากขึ้น จุดนั้นที่คิดว่าให้ความอุ่นใจพวกเราได้ว่า หมอเอาอยู่ — ในทางกลับกันคือคนที่มีความเสี่ยงแต่ไม่ได้รับการตรวจในปลายเดือนพฤษภาคม น่าจะมีมากกว่าในต้นเดือนมีนาคมอย่างแน่นอน

และเมื่อเราเปิดสนามบิน มีการทำการบินจากโซนที่โรคระบาดยังอาละวาดอยู่ มีคนที่มีความเสี่ยงติดโรคปะปนในจำนวนคนผ่านสนามบินนานาชาติ วันละ 200,000 คนเหมือนตอนต้นปีแล้ว เราจะสามารถยืนยันว่าระบบติดตามทั้งหมดที่เรามีจะ”เอาอยู่”

เพราะอดีตของคน 1 คน เป็นความเสี่ยงต่ออนาคตของคนทุกคน

…ทำให้ต้องคิดวนกลับไปที่คำถามเรื่องการเปิดโรงเรียนนานาชาติอีกครั้ง ผมได้คำตอบแล้วว่าผมคงไม่ไว้ใจเทคโนโลยีที่ภาครัฐได้เตรียมการไว้ ตลอดจนกระบวนการเปิดเมืองที่ปฏิบัติกัน พอที่จะเอาชีวิตหรือสุขภาพของคนในครอบครัวไปเสี่ยง

และคงจะไม่ใช่เฉพาะกรณีนั้นเพียงอย่างเดียว ในไม่ช้าก็จะมีการเปิดทุกโรงเรียน เปิดกิจการทุกประเภท เป็นปกติ ตามฐานชีวิตใหม่หลัง COVID-19 หากตอนนั้นคำตอบประเด็นข้างบนยังไม่มีความชัดเจน เราก็เสียเวลาที่แสนล้ำค่าไป 3 เดือน

บทความโดย คุณฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ (รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Founder Model วิถีผู้นำแบบ Brian Chesky CEO เบื้องหลังความสำเร็จของ Airbnb

Founder Mode เป็นแนวทางการบริหารที่กำลังได้รับความสนใจในวงการสตาร์ทอัพ โดยแนวคิดนี้ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางจาก Brian Chesky, CEO ผู้พา Airbnb เติบโตจนกลายเป็นธุรกิจระดับโลก ด้...

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...