TDRI จี้จุดอ่อนระบบราชการไทยเสนอแก้ระบบปฏิบัติการประเทศให้ตอบสนองความต้องการประชาชนอย่างแท้จริง | Techsauce

TDRI จี้จุดอ่อนระบบราชการไทยเสนอแก้ระบบปฏิบัติการประเทศให้ตอบสนองความต้องการประชาชนอย่างแท้จริง

งานสัมมนาสาธารณะ TDRI ประจำปี 2563 แฮกระบบราชการ เปลี่ยนระบบปฏิบัติการประเทศ: จากบทเรียนการรับมือวิกฤติโควิด-19 สู่ความพร้อมรับมือความท้าทายในโลกใหม่ ในวันที่ 6 ตุลาคม 2563 นักวิชาการ TDRI เสนอหัวข้อ “ระบบราชการในฐานะระบบปฏิบัติการประเทศไทย” วิเคราะห์ระบบราชการไทยว่ามีความมุ่งมั่นปฏิรูประบบมานาน แต่ยังทำงานซ้ำซ้อนและแยกส่วนกัน ไม่สามารถตอบสนองความต้องการประชาชนได้ดีพอ ย้ำระบบราชการรู้อยู่แล้วว่าต้องทำอะไร  จึงมีข้อเสนอเสริมการปฏิรูปว่าควรทำสิ่งเหล่านั้นอย่างไร

ดร.บุญวรา สุมะโน นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวเปรียบระบบราชการ เทียบได้กับระบบปฏิบัติการ (Operating system - OS) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะดึงทรัพยากรทั้ง Hardware และ software ของประเทศมาใช้ให้บริการสาธารณะ หากสมรรถนะของ OS ไม่ทันสมัย หรือไม่ปรับให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ก็จะไม่สามารถประมวลผลออกมาเป็นบริการที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้

ตัวชี้วัดคุณภาพของระบบราชการ (Quality of bureaucracy/institutional effectiveness and Excessive bureaucracy) ที่จัดทำโดย The Economist แสดงให้เห็นว่า คุณภาพและประสิทธิผลของระบบราชการไทยแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา 

“ปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็สะท้อนข้อจำกัดนี้ได้ชัดเจนขึ้น โครงการเราไม่ทิ้งกัน ที่เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบมีปัญหาจากวิธีการช่วยเหลือที่ไม่ได้นำความต้องการหรือความสะดวกของประชาชนเป็นตัวตั้ง และโครงการช่วยเหลืออื่นของภาครัฐก็สะท้อนการทำงานที่ซ้ำซ้อนและแยกส่วนกัน เช่น บริการ e-Service ซึ่งแม้จะช่วยเพิ่มความสะดวกผ่านบริการออนไลน์ แต่ก็ยังเป็นบริการแยกส่วน ส่งผลให้ประชาชนต้องกรอกข้อมูลเดิมซ้ำๆ ที่รัฐเองเคยมีเก็บอยู่แล้ว”

การปฏิรูประบบราชการเป็นสิ่งที่ภาครัฐตระหนักถึงความสำคัญมานานแล้วกว่า 20 ปี นับตั้งแต่การออก ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2540 โดยระบุสิ่งสำคัญที่ต้องการปฏิรูป เช่น การปรับลดกำลังคน ทบทวนบทบาทและภารกิจ ตลอดจนการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ดังนั้น ระบบราชการรู้อยู่แล้วว่าต้องทำอะไร (What to do) ข้อเสนอของ TDRI จึงจะช่วยเสริมว่าควรทำสิ่งเหล่านั้นอย่างไร (How to do)

  • ข้อแรก ลดกำลังคนด้วยการลดงานที่รัฐทำ (ไม่จำเป็น ไม่สามารถ ไม่คุ้มค่า อย่าหาทำ) โดยงานที่ไม่จำเป็น เช่น งานเอกสาร ควรยกเลิกหรือใช้เทคโนโลยีทำแทน งานไม่สามารถคืองานที่ต้องปรับตัวเร็วให้เอกชนนำโดยรัฐอำนวยความสะดวก และงานไม่คุ้มค่าคืองานที่รัฐทำด้วยต้นทุนที่แพงกว่าให้คนอื่นทำ 
  • ข้อสอง ออกแบบและดำเนินการให้บริการดิจิทัลของภาครัฐ (Digital government) ตามความต้องการของประชาชน ประหยัดเวลาด้วยการเชื่อมข้อมูลเพื่อไม่ให้ประชาชนต้องกรอกซ้ำ
  • ข้อสาม เพิ่มอำนาจการตัดสินใจและถ่ายโอนทรัพยากรแก่ท้องถิ่น ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของบริการสาธารณะที่ตอบโจทย์ประชาชนและพื้นที่ได้ตรงจุด
  • ข้อสี่ ทดลองการทำงานแบบใหม่ใน Sandbox เพื่อลองแก้ปัญหาบางประเด็นก่อนที่จะมีการขยายผลการดำเนินงานในพื้นที่ใหญ่ขึ้น การทำงานใน Sandbox จะต้องประกอบไปด้วย (1) ใช้ประเด็นปัญหาเป็นตัวตั้ง (2) ยกเว้นกฎระเบียบเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ (3) ดึงคนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรม ตัวชี้วัด และเป้าหมาย และ (4) รับรองการทำงานใน Sandbox เพื่อไม่ให้ถูกแทรกแซงทางการเมืองและปกป้องคนของรัฐที่เข้ามาร่วมไม่ให้ถูกเอาผิดจากการทดลองเรียนรู้วัฒนธรรมการทำงานใหม่

บทความโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

20 อาชีพทางไกลที่เติบโตเร็วที่สุด คาดโตเกิน 17% ในปี 2025

จากผลสำรวจของ FlexJobs ในปี 2024 พบว่า 81% ของคนทำงานในสหรัฐฯ มองว่าการทำงานแบบรีโมทเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดในการหางานใหม่ แต่ที่น่าสนใจ คือมีคนจำนวนมากวางแผนที่จะลาออกในปีนี้ แต...

Responsive image

บทเรียนความสำเร็จจาก มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก 20 ปีที่ Meta ผ่านมุมมองผู้บริหารคนสนิท

Naomi Gleit ผู้บริหารระดับสูงของ Meta และพนักงานรุ่นบุกเบิกของบริษัท ได้มาเปิดเผยประสบการณ์การทำงานกับ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta ที่ยาวนานเกือบ 20 ปีในพอดแคสต์ชื่อดัง "Le...

Responsive image

วัยเด็ก ‘Sundar Pichai’ การเติบโตและแรงบันดาลใจจากเด็กธรรมดา สู่ซีอีโอ Google

ค้นพบแรงบันดาลใจจากเรื่องราววัยเด็กของ Sundar Pichai เด็กชายจากเจนไนผู้ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่การเป็นซีอีโอของ Google ด้วยพลังแห่งการเรียนรู้และเทคโนโลยี...