ร้านอาหารไหวไหม? รับมือ COVID-19 ระลอกใหม่อย่างไร | Techsauce

ร้านอาหารไหวไหม? รับมือ COVID-19 ระลอกใหม่อย่างไร

Techsauce Live COVID-19 ได้มีโอกาสพูดคุยกับหนึ่งในผู้ประกอบการร้านอาหารถึงสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อมาเเชร์เรื่องราวและปัญหา รวมถึงวิธีการรับมือกับสถานการณ์การเเพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบสองในมุมของ คุณธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของร้านอาหาร Penguin Eat Shabu และเจ้าของเพจ Torpenguin ในหัวข้อ ร้านอาหารไหวไหม? รับมือ COVID-19 ระลอกใหม่อย่างไร 

สำหรับคุณต่อสถานการที่เจอตอนนี้ร้านอาหารที่เปิดให้บริการอยู่เรียกว่า ยังเงียบพอสมควรไม่ต่างจากปิดสักเท่าไร ด้วยสถานการณ์ลูกค้าเริ่มไม่ค่อยอยากออกข้างนอกมากนัก ภาพรวมของร้านอาหารตั้งเเต่มีผู้ติดเชื้อที่มากขึ้นรวมถึงภาครัฐมีการประกาศมาตรการด้วยเหมือนเป็นสิ่งที่ทำให้ความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของคนไทยน้อยลงทำให้จำนวนลูกค้าที่ลดลงด้วยความกลัวต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 

หากลองเปรียบเทียบสถานการณ์การระบาดในช่วงเเรกและปัจจุบันเป็นอย่างไร? 

สถานการณ์ปีที่เเล้วคนไทยเองยังไม่มีความรู้เรื่องไวรัสตัวนี้ รวมถึงคนไทย เมื่อเกิดการระบาดประมาณหนึ่งเดือนกว่าๆ ภาครัฐก็ประกาศล็อคดาวน์ทันที ผลกระทบคือการที่เราไม่ได้มีการวางเเผนรับมือไว้ เเต่ข้อดีช่วงนั้นร้านส่วนมากยังพอมีทุนอยู่บ้าง เเละผู้ประกอบการยังพอต่อรองกับผู้ให้เช่าพื้นที่ หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ รวมถึงภาครัฐมีมาตรการเข้ามาช่วยด้วยส่วนหนึ่ง เเละลูกค้ายังพอมีกำลังซื้ออยู่ บางธุรกิจตัดสินใจปิดร้านประมาณสามเดือนเพื่อรอให้สถานการณ์ดีขึ้นเพราะพอคาดการณ์ว่าหากล็อคดาวน์การเเพร่ระบาดของไวรัสคงหมดได้เร็ว ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังสามารถประคองธุรกิจให้รอดในช่วงนั้นมาได้ และกลับมาเปิดธุรกิจได้อีกครั้ง ในส่วนของรายได้ที่กลับมาหลังโควิดช่วงเเรกดีขึ้น ลูกค้าก็ยังกลับมาอยู่ประมาณ 60-80% แต่สำหรับร้านที่พึ่งนักท่องเที่ยวเป็นหลักเรียกได้ว่า ลูกค้าต่างชาติเเทบไม่กลับมา จะเห็นว่าเกิน 50% มีการปิดตัวลงของร้านค้าในย่านท่องเที่ยวเยอะขึ้น

แต่สถานการณ์ในปัจจุบันถึงเเม้เราจะเคยผ่านการเเพร่ระบาดในช่วงเเรกมาเเล้วเเต่ใช่ว่า ผู้ประกอบการที่รอดมาในช่วงเเรกจะมีภูมิต้านทานมากพอที่จะเจอการระบาดของไวรัสโควิดรอบสองนี้ ด้วยหากมาตรการยังไม่เเน่นอนรวมถึงการช่วยเหลือที่ยังไม่มีมาตรการเข้ามาช่วยเหมือนครั้งก่อน รวมถึงสถานการณ์ที่มีการระบาดและมีผู้ติดเชื้อที่มากกว่าเดิมในเเต่ละวันที่ยังไม่มีอัตราที่ลดลง เพราะในช่วงเเรกผู้ประกอบการณ์ยังพอมีเงินทุนอยู่บางและยังมีมาตรการจากภาครัฐที่เข้ามาช่วยบ้างที่จะประคองธุรกิจต่อไปได้  แต่สิ่งหนึ่งที่เรียกความมั่นใจให้ผู้บริโภคกลับมาใช้บริการร้านอาหารได้เร็วคือ ช่วงเวลาการระบาดรอบเเรกที่มีมาตรการที่เเน่นอนกว่ารอบสองทำให้รอบเเรกมีการระบาดของไวรัสได้ไม่นานมากก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ ซึ่งต่างจากรอบสองที่ไม่รู้จะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้เมื่อไหร่ 

สถานการณ์ที่ผู้ประกอบกำลังเจออยู่ตอนนี้

  • ผู้ประกอบการ หรือ SME ที่พึ่งเริ่มฟื้นตัวจากรอบเเรกแต่ยังไม่มีกำไรมากนักเงินทุนกำลังจะหมดเเล้วเมื่อต้องเจอสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบสอง
  • ผู้บริโภคขาดความมั่นใจในระบบการดูเเลและความปลอดภัย รวมถึงการกลัวที่จะตกงาน หรือลดเงินเดือนอีกหรือเปล่า แล้วสถานการณ์นี้จะจบเมื่อไหร่ จึงเน้นเก็บเงินสดไว้ รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคน้อยลง ถึงเเม้จะมีมาตรการจากภาครัฐเข้ามา 
  • ยังไม่มีมาตรการที่ออกมาช่วยผู้ประกอบการสำหรับการระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบสองถึงเเม้ยังไม่มีการประกาศล็อคดาวน์และผู้ประกอบการยังสามารถเปิดกิจการได้ แต่ด้วยสถานการณ์ถึงเปิดได้เเต่ไม่สามารถคืนกำไรเข้ามาได้เท่าที่ควร หรือพออยู่รอดช่วงนี้ ผู้ประกอบการก็ไม่ต่างจากต้องปิดร้าน หรือ ภาครัฐประกาศล็อคดาวน์

สิ่งหนึ่งที่หลายภาคส่วนต้องการคือ ความเเน่นอนมาตรการที่จะช่วยให้เหตุการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 จบลงเร็วที่สุด หรือ มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME หรือ ประชาชน

บทเรียนจากการระบาดรอบเเรก

เราจะเห็นว่าร้านอาหารหลายร้านหันไปพึ่งช่องทาง Delivery มากขึ้น หลายร้านที่ปกติต้องนั่งกินที่ร้านอย่าง ชาบู หมูกระทะ หันมาปรับรูปแบบอาหารให้เป็นอาหารจานเดี่ยวที่สะดวกและได้รับความนิยมใน Delivery

อีกสิ่งหนึ่งที่เราจะเห็นคือ คนหันมาหารายได้จากผ่านระบบ Delivery มากขึ้น ทำให้คู่เเข่งการขายมากขึ้น รูปแบบร้านเเละสินค้ามากขึ้น ทำให้โครงสร้างด้านราคาปรับลดลงเพื่อเรียกความสนใจผู้บริโภค สิ่งนี้เองที่ทำให้ร้านอาหารเเบรนด์ใหญ่ต้องหันมาลดราคาจนบางทีกำไรลดลงมากเกือบเท่าทุน รวมถึงคิดโปรโมชั่น มาแข่งเพื่อให้อยู่รอดในสนามการเเข่งขัน Delivery

ด้วยเหตุการณ์ที่เข้ามาเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมผู้บริโภคทำให้คาดการณ์ได้ว่าถึงเเม้หมดสถาการณ์การเเพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 พฤติกรรมผู้บริโภคคงไม่กลับมาเหมือนเดิม การซื้อเเบบลดราคา หรือ มีโปรโมชั่นจะกลายเป็นเหมือนสิ่งเสพติดด้วยเหตุนี้เองจะทำให้โครงสร้างของราคาเปลี่ยนไปจนเเบรนด์ใหญ่อาจต้องเปลี่ยนวิธีการขาย 

หากมองในอีกด้านเราเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคไม่ได้ แต่เราสามารถสร้างจุดเด่นหรือพัฒนาสินค้าของเราให้เป็นที่น่าสนใจได้เเละสามารถหาได้ที่ร้านเราเท่านั้น มีหลายสินค้าที่เราอาจเคยเห็นมาเเล้วว่า ถึงเเม้จะขายสินค้าที่เป็นชนิดเดียวกับร้านอื่นเเต่สามารถสร้างจุดเด่นที่ผู้บริโภคเลือกที่จะซื้อร้านเราถึงเเม้ราคาจะสูงกว่าและไม่มีโปรโมชันลดราคาแต่สินค้าสามารถสร้างประสบการณ์และคุณค่ากับผู้ประกอบการณ์ได้มากกว่าที่อื่น

ภาระหนี้สินของผู้ประกอบการในช่วงวิกฤต

จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในรอบเเรกผู้ประกอบการหลายรายถึงมีหนี้เพื่อนำมาประคองธุรกิจกันส่วนหนึ่งแต่ในช่วงเเรกมีมาตรการที่ให้พักชำระหนี้ได้ส่วนหนึ่งถึงเเม้ต้องจ่ายดอกเบี้ยอยู่ก็ตาม แต่อย่างน้อยก็ยังช่วยลดภาระในส่วนนี้อีกทั้งมาตรการในช่วงนั้นเข้ามาช่วยเลยพอต่อลมหายใจให้ผู้ประกอบการอยู่ได้อีกนิด แต่การระบาดรอบสองนี้เหมือนมาซ้ำผู้ประกอบการที่ประคองทุนต่างๆ ให้รอดจากการระบาดรอบเเรกมาได้ยังฟื้นตัวได้ไม่มาก ก็ต้องมาเจอวิกฤตอีกทำให้ภาระหนี้สินที่พึ่งพักชำระไปเริ่มกลับมาสร้างภาระให้ผู้ประกอบการอีกครั้งเพราะยังไม่มีกำไรจากการทำธุรกิจมากนักก็เจอวิกฤตซ้ำเข้ามาอีกจนหนี้ที่มีกำลังกลายเป็นหนี้เสีย รวมถึงการระบาดของโควิด-19 รอบสองนี้ภาครัฐบาลและธนาคารก็ยังไม่มีมาตรการช่วยเหลือใดๆ ออกมาช่วยผู้ประกอบการจริงๆการไม่ได้ประกาศล็อคดาวน์ ส่วนหนึ่งสร้างผลกระทบในด้านการเยียวยา และ ภาระที่ผู้ประกอบการหลายที่ต้องเเบกรับไว้ 

มาตรการช่วยเหลืออย่างการต่อรองกับแต่ละภาคส่วน อาทิ เจ้าของพื้นที่, ธนาคาร ที่อยากให้ภาครัฐหันมาช่วยคุยเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการสามารถประคองธุรกิจต่อไปได้ในช่วงนี้ การที่ภาครัฐเป็นคนกลางช่วยต่อรองเหมือนการสร้างความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ผ่านองค์กรด้านการเงิน และเจ้าของพื้นที่ซึ่งเป็นหนึ่งในภาระด้านการเงิน จะช่วยผู้ประกอบการได้อีกมาก การที่ภาครัฐออกมาตรการมาช่วยผู้ประกอบการในช่วยที่ยังพอประคองธุรกิจได้จะให้ให้ภาพรวมเศรษฐกิจให้ยังพอฟื้นตัวได้เร็วกว่า ปล่อยให้ผู้ประกอบการและธุรกิจปิดตัวไปแล้วพึ่งมาช่วยใช่ว่าภาพรวมเศรฐกิจจะสามารถกลับมาเหมือนเดิมได้

นอกจากการรอมาตรการช่วยเหลือ จะทำอย่างไรในช่วงนี้ให้เดินต่อได้หากการเเพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จบลง

ก่อนอื่นเราต้องประเมินตัวเองก่อนว่าตอนนี้เงินทุนที่มีอยู่นั้นเรามีอยู่เท่าไร เเละให้ลองประเมินสถานการณ์ว่าถ้าต้องเปิดร้านไปอีก 3-5 เดือนเงินทุนที่มีนั้นจะคองร้านและมีรายรับอย่างกำไรเข้ามาเพิ่มหรือไม่ หากเรามองเเล้วว่าเปิดร้านต่อไป เเล้วเราไม่ไหวเราอาจเลือกที่จะปิดไปก่อนเพื่อเก็บเงินทุนที่เหลือไว้ รอสถานการณ์ดีขึ้นแล้วค่อยกลับมาเปิดใหม่อีกครั้ง หรือ เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ก็ยังไม่สายไป ในหระหว่างนี้อาจเรียนเพิ่มเติม หรือ หาความรู้ด้านการทำธุรกิจเพื่อมาลุยพัฒนาธุรกิจตัวเองหลังจากที่สถานการณ์ดีขึ้นเเล้วก็ได้ ในส่วนของผู้ประกอบการที่มีเงินทุนที่มากอยู่เเล้วยังมีกำลังสู้ต่อก็ให้ลุยหาเเนวทางและสร้างจุดเเข็งในธุรกิจเพื่อให้สร้างกำไรได้ในสถานการณ์วิกฤตนี้  อาจมีการขยายธุรกิจ หรือ ขายของอย่างอื่นเพิ่มเพื่อหารายได้ช่องทางใหม่ๆ บางที่การทำสิ่งเดิมๆ เเล้วคาดหวังผลลับใหม่คงเป็นไปได้ยาก 

ตอนนี้อาจต้องลองวางเเผนและหาช่องทางใหม่ๆ ในการเข้ามาปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ดีและมีรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อรอดจากช่วงนี้ ไม่อยากให้รอหวังพึ่งภาครัฐมากนักซึ่งเราก็ไม่เเน่ใจว่าจะมีมาตรการมาช่วยมากน้อยเพียงใด หากมีก็ถือว่าเป็นโบนัสให้ผู้ประกอบการแต่หากเป็นไปได้คือ เราต้องพยายามช่วยเหลือและประคองธุรกิจเราเองด้วย

ตอนนี้ทางคุณต่อได้จัดทำทางเพจ Torpenguin - ผู้ชายขายบริการ โดยมีการสร้างช่องทางที่ให้ความรู้ผู้ประกอบการและหาช่องทางใหม่ๆ ให้ธุรกิจร้านอาหารเพื่อช่วยให้รายเล็กๆ สามารถไปต่อได้ด้วยการช่วยทั้งในด้านความรู้และการช่วยเหลือร้านอาหาร SME รายเล็กที่เข้ามาช่วยกันผ่านการเเชร์ ความรู้ออนไลน์

สามารถรับชม Techsauce Live COVID-19 ย้อนหลังได้ที่นี่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Founder Model วิถีผู้นำแบบ Brian Chesky CEO เบื้องหลังความสำเร็จของ Airbnb

Founder Mode เป็นแนวทางการบริหารที่กำลังได้รับความสนใจในวงการสตาร์ทอัพ โดยแนวคิดนี้ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางจาก Brian Chesky, CEO ผู้พา Airbnb เติบโตจนกลายเป็นธุรกิจระดับโลก ด้...

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...