เศรษฐกิจไทย เจ็บหนัก เจ็บซ้ำ จะไปอย่างไรต่อ? | Techsauce

เศรษฐกิจไทย เจ็บหนัก เจ็บซ้ำ จะไปอย่างไรต่อ?

เมื่อมาตรการและทิศทางของภาครัฐคือปัจจัยสำคัญที่จะนำพาประเทศให้ผ่านวิกฤตในครั้งนี้ไปได้ Techsauce Live COVID-19 : ได้มีโอกาสมาร่วมพูดคุยกับ คุณกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า และอดีตรมว.กระทรวงการคลังกันในหัวข้อ เศรษฐกิจไทย เจ็บหนัก เจ็บซ้ำ จะไปอย่างไรต่อ? 

การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในรอบเเรกและรอบสองในมุมของมาตรการและเศรษฐกิจ 

รัฐบาลถึงเเม้ปัจจุบันยังไม่ได้ประกาศล็อคดาวน์เหมือนรอบเเรกผู้คนยังสามารถเดินทางทำกิจกรรมนอกที่พักได้อยู่ แต่แน่นอนว่าการไม่ประกาศล็อคดาวน์ก็ยังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่พึ่งฟื้นตัวได้ไม่มากนักจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในรอบเเรกที่เกิดขึ้น ผู้ประกอบการและประชาชนเองก็เริ่มไม่มีทุนประคองธุรกิจรวมถึงผู้ซื้อไม่มีกำลังซื้อของเหมือนเเต่ก่อน 

มาตรการเยียวยาที่ยังมาไม่ถึงมือประชาชนแบบครอบคลุม 

คงต้องยอมรับว่าประเทศไทยอาจมีการ์ดตกบ้างจากปัจจัยภายนอกที่เข้ามาจากมาตรการที่อาจไม่เข้มเเข็งมากพอ การเตรียมความพร้อมในเรื่องของการเตรียมวัคซีน  จนถึงวันนี้ยังมีคำถามเสมอว่าวัคซีนจะเข้ามาเมื่อไหร่ และมีวัคซีนจำนวนเท่าไรถึงเพียงพอหรือไม่? หากยึดตามข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขเราจะได้ฉีดวัคซีนกันประมาณกลางปี และจำนวนการนำเข้าวัคซีนอยู่ที่ 26 ล้านโดสครอบคลุมประชากร 13 ล้านคนซึ่งก็มีคำถามกันเยอะว่าทำไมถึงสั่งครอบคลุมประชากรเพียง 13 ล้านคน เพราะบางประเทศสั่งจองวัคซีนมากกว่าประชากรในประเทศเพื่อเตรียมความพร้อมไว้ ที่ผ่านมาพรรคกล้ามองว่ามาตรการเยียวยาหลายอย่างที่ควรรีบทำดูช้าซึ่งทางพรรคพยายามที่จะเร่งรัฐบาลในเรื่องนี้ โดยมองว่าเป็นสิ่งที่ควรทำเพราะถึงไม่ได้ประกาศล็อคดาวน์แต่ก็ไม่ควรนำสองเรื่องมาเกี่ยวข้องกับมาตรการเยียวยา

หากเราประเมินในเเง่เศรษฐกิจเองตามที่กล่าวไปข้างต้น ถึงเเม้ไม่มีประกาศล็อคดาวน์แต่ด้วยสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบโดยรวมต่อประชาชนและผู้ประกอบการที่เป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะทางรัฐเองก็พยายามที่จะเพิ่มช่องทางการเงินโดยการกู้ยืมเพิ่มเติมมากขึ้น เงินในส่วนนั้นควรนำมาช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการโดยเร็วแต่ทำไมถึงไม่เร่งเยียวยาในส่วนนี้ เพราะสายป่านของผู้ประกอบการบางส่วนสั้นมากซึ่งอาจจะอยู่ไม่รอดในอีกไม่ถึงเดือน หากต้องปิดตัวไปการที่จะช่วยให้กลับมาเหมือนเดิมคงเป็นเรื่องที่ยากแล้ว

การใช้งบประมาณของภาครัฐ กับ เงินกู้ที่ได้มาหายไปไหน?

เราจะเห็นว่าระบบราชการของไทยค่อนข้างช้าซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกรัฐบาลต้องเจอ เเต่ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ค่อนข้างเร่งด่วน มาตรการเเก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการส่งความช่วยเหลือส่งตรงถึงมือประชาชน ปีที่ผ่านมาโครงการที่เราเห็นเเล้วเกิดประโยชน์ส่วนหนึ่งคือ โครงการเยียวยา 5,000 บาทที่ได้เปิดให้ลงทะเบียนถึงเเม้ช่วงเเรกๆ อาจมีติดปัญหาอยู่บ้าง แต่พอรัฐบาลเริ่มนำงบไปใช้ในโครงการที่ต้องเกี่ยวกับระบบราชการสิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ ขั้นตอนต่างๆ ที่อาจทำให้ล่าช้าและเงินไปไม่ถึงทุกภาคส่วนมากนัก ทำให้ตอนนี้เงินกู้ที่ได้มาใช้เบิกจ่ายไปยังไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ซึ่งยังมีเงินเหลืออยู่โดยรัฐบาลได้ทำการเเบ่งเงินกู้ในโครงการต่างๆ ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้  เงินส่วนเเรกคือส่วนเยียวยาที่ส่งตรงถึงประชาชนประมาณ 550,000 ล้านบาท ส่วนที่สองคือ ส่วนฟื้นฟูเป็นการนำเงินไปฟื้นฟูแต่ละภาคส่วนผ่านองค์กรต่างๆ ที่ได้ส่งโครงการมาให้พิจารณาประมาณ 400,000 ล้านบาทส่วนที่สามคือ ส่วนสมทบทุนในด้านสาธารณสุขเพื่อยกระดับมาตรฐานทางการเเพทย์ประมาณ 50,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดต้องทำตามระบบราชการเหมือนกันหมด

ซึ่งเราจะเห็นว่าเงินเยียวยาส่วนหนึ่งได้จัดสรรส่งถึงประประชาชนในรูปแบบโครงการภาครัฐที่ออกมาเบิกจ่ายจริงไปเเล้ว 1,000 ล้านบาทซึ่งข้อดีคือ ยังมีเงินส่วนที่ยังเหลือที่ควรส่งตรงสู่ประชาชนได้อย่างรวดเร็วและทันต่อความลำบากของประชาชน ซึ่งมีกฎหมายที่นายกสามารถทำได้ในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งควรช่วยกลุ่มเปราะบางที่เราเคยมีฐานข้อมูลอยู่เเล้วจากข้อมูลการลงทะเบียนในโครงการก่อนหน้านี้ อาทิ กลุ่มคนไม่มีงานทำ หรือ ตกงาน , ผู้ค้ารายย่อย ซึ่งเราจะเห็นความเดือดร้อนที่เราเเยกเป็นกลุ่มได้ และอีกกลุ่มที่ทางพรรคกล้าได้พึ่งเสนอไปคือ กลุ่มผู้ปกครองที่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากการปรับรูปแบบการเรียน และภาระรายจ่ายที่มีอยู่เดิม 

อีกแง่มุมที่น่าสนใจคืองบเงินในส่วนของฟื้นฟูประมาณ 400,000 ล้านบาทที่ยังไม่เร่งด่วนเท่าการเยียวยาและส่วนสนับสนุนทางการเเพทย์ในด้านของวัคซีน นั้นสามารถทำได้ไหม? ในความเป็นจริงสามารถทำได้ซึ่งมีกฎหมายเขียนไว้รองรับกรณีนี้ว่าสามารถนำเงินฟื้นฟูมาใช้เยียวยาได้ ซึ่งเงินในส่วนนี้สามารถนำมาลงในส่วนเยียวยาประชาชนได้ นอกเหนือจากงบจากเงินกู้มานั้นรัฐบาล ยังมีงบจากปี 64 ที่รัฐบาลได้ตั้งไว้ประมาณ 40,000 ล้านรวมกับงบฉุกเฉินที่ทำไว้อีกประมาณ 100,000 ล้านบาทหากรวมกันจะมีงบอยู่อีก 140,000 ล้านบาท นอกเหนือจากงบเงินกู้หนึ่งล้านล้านบาท ดังนั้นในส่วนของงบประมาณนั้น รัฐบาลมีเงินมากพอแต่ไม่รู้ว่ารออะไรอยู่? ซึ่งอาจยังไม่มีการจัดการที่ชัดเจน

หนี้สาธารณะ กับ การจำเป็นต้องกู้เงินเพิ่มของรัฐบาล

ถ้าจำเป็นในการกู้จริงๆ สามารถทำได้หากเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันนับได้ว่ามีอัตราที่ลดลงครึ่งซึ่งเทียบกับสิบปีที่เเล้วรัฐต้องจ่ายดอกเบี้ยงถึง 4% ซึ่งต่างจากปัจจุบันที่ต้องจ่ายเพียง 2% ซึ่งอยู่ในระดับภาระหนี้สินที่รัฐบาลรับไหวแต่ รัฐบาลจำเป็นต้องสื่อสารให้ชัดเจนในเหตุผลการกู้เงิน รวมถึงชื้อเเจ้งเเต่ละส่วนให้ชัดเจนว่าเเผนการสร้างเงินเพิ่มให้ประเทศจะทำอย่างไรบ้างเพื่อมาทดเเทนในส่วนนี้ 

การช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย กับ การช่วยด้านเงินกู้ผ่านระบบธนาคาร

ด้วยภาระความเสี่ยงที่ทางธนาคารต้องเเบกรับหลายอย่างซึ่งในส่วนนี้ทางรัฐยังไม่มีงบเข้ามาช่วยเหลือเเบ่งภาระในส่วนนี้ของทางธนาคารจึ่งทำให้การปล่อยสินเชื้อเพื่อผู้ประกอบการจึงมีอัตราที่น้อยเเละยังไม่สามารถช่วยได้มากนัก ซึ่งในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นคือ การช่วยเหลือทางภาครัฐควรมีเงินก้อนหนึ่งที่ภาครัฐพร้อมรับภาระความเสี่ยง 100% ให้ธนาคารในการช่วยผู้ประกอบการได้มากขึ้น เพราะเเน่นอนว่าในปีนี้ต้องช่วยประคองผู้ประกอบการให้อยู่รอด ในสภาวะเช่นนี้

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก

เรียกว่าที่ผ่านมาไม่ใช่เเค่ประเทศไทยที่เกิดภาวะนี้จากข้อมูลของ IMF ที่ออกมาเปิดเผยว่าประเทศที่เข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยเมื่อมี Covid-19 ปี 2020 มี 167 ซึ่งเกือบทั้งหมดที่เหลืออยู่ซึ่งมากกว่าวิกฤตที่เคยผ่านมาซึ่งเราจะเห็นว่า มีผลกระทบหลายอย่างที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยที่ไม่ใช่เเค่ภายในประเทศเเต่เกิดจากประเทศคู่ค้าที่ได้รับผลกระทบภายในประเทศเช่นกัน ดังนั้น การฟื้นฟูเศรษฐกิจ นั้นต้องดูที่ประสิทธิภาพการผลิต วัคซีนโควิด-19 คือ หัวใจสำคัญ ที่จะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมกลับมาดีขึ้น ซึ่งประเทศไทยเองก็ควรเร่งการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ครอบคลุมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศเช่นกัน 

เเนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยหลังจากนี้

ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการรีเเบรนด์ของประเทศไทยในด้านการท่องเที่ยวหลังจากจบปัญหาเรื่องโควิด-19 ซึ่งทั่วโลกเห็นเเล้วว่าประสิทธิภาพทางการเเพทย์ของไทยนั้นถือว่าดีมาก ซึ่งอาจมากกว่าประเทศอื่นๆ ในต่างประเทศซึ่งสร้างความน่าเชื่อถือในกลุ่มนักท่องเที่ยว และในอีกด้านหนึ่งคือ เรามีโอกาสที่จะใช้เวลาช่วงฟื้นฟูนี้มาดูว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยคือ คนจริงๆ หรือไม่เราจะทำอย่างไรให้คนไทยได้ประโยชน์ ซึ่งผมมองว่าประเทศไทยควรดึงเสน่ห์การท่องเที่ยวเเบบไทยให้สามารถอยู่ได้ในระยะยาว รวมถึงการสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของคนไทยที่สร้างผลตอบรับให้คนไทย

โดยเราไม่จำเป็นต้องมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์เดิมๆ เเต่สร้างมูลค่าผ่าน Content สมัยใหม่ อาทิ การสร้าง ซีรี่ย์ ผ่านเเพลตฟอร์มเทคโนโลยี ซึ่งคนไทยเองมีทรัพย์ทางมรดกภูมิปัญญามากมายที่นำมาสร้างสรรค์งานได้ 

นอกจากการพัฒนาและสนับสนุนด้วยประชาชนเเล้ว ภาครัฐเองและข้าราชการในภาคส่วนก็ควรปรับรูปแบบการทำงานและสร้างฐานการพัฒนาปัจจัยขั้นพื้นฐานให้ประเทศมีกำลังและความพร้อมเพื่อให้สามารถเดินหน้าสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

สามารถรับชม Techsauce Live COVID-19 ได้ที่นี่ 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

บทเรียนความสำเร็จจาก มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก 20 ปีที่ Meta ผ่านมุมมองผู้บริหารคนสนิท

Naomi Gleit ผู้บริหารระดับสูงของ Meta และพนักงานรุ่นบุกเบิกของบริษัท ได้มาเปิดเผยประสบการณ์การทำงานกับ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta ที่ยาวนานเกือบ 20 ปีในพอดแคสต์ชื่อดัง "Le...

Responsive image

วัยเด็ก ‘Sundar Pichai’ การเติบโตและแรงบันดาลใจจากเด็กธรรมดา สู่ซีอีโอ Google

ค้นพบแรงบันดาลใจจากเรื่องราววัยเด็กของ Sundar Pichai เด็กชายจากเจนไนผู้ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่การเป็นซีอีโอของ Google ด้วยพลังแห่งการเรียนรู้และเทคโนโลยี...

Responsive image

จดหมายจากปี 1974 ข้อคิดการเลี้ยงลูกจาก LEGO

LEGO ยืนยันว่าจดหมายฉบับนี้เป็นของจริง เนื้อหาในจดหมายเน้นย้ำว่า "เด็กทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย”...