Startup 101: ดูแลพนักงาน เหมือนที่เราดูแลลูกค้า 5 คำแนะนำสำหรับ Startup | Techsauce

Startup 101: ดูแลพนักงาน เหมือนที่เราดูแลลูกค้า 5 คำแนะนำสำหรับ Startup

หลังจากผ่านช่วงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ หรือเมื่อบริษัทต้องปรับเพิ่มขนาดเพื่อการเจริญเติบโต หนึ่งในสิ่งที่เหล่า Startup ต้องเจอ หรือเคยเจอ คือเรื่องของการจัดการทรัพยากรบุคคล ต้องรับสมัครพนักงานแบบไหน สร้างความสัมพันธ์ในองค์กรอย่างไร ทำอย่างไรพนักงานถึงจะมีความกระตือรือร้น อยู่กับบริษัทไปนาน และที่สำคัญคือเราควรสร้างวัฒนธรรมองค์กรอย่างไร

ดูแลพนักงาน เหมือนที่เราดูแลลูกค้า

Insight และการตอบสนองความต้องการ คือ เรื่องพื้นฐานที่มีความสำคัญมากที่สุด

การทำงานของ Startup มักเริ่มต้นด้วย “Passion” แต่เมื่อเวลาผ่านไป หรือเมื่อมีคนไหลเข้ามา สิ่งที่เคยชัดเจนอาจจะเลือนลาง สิ่งที่เคยเข้าใจ อาจจะกลายเป็นเรื่องที่ขัดใจ

ค้นหาวัฒนธรรมองค์กรร่วมกัน

Aon Hewitt บริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้ให้คำแนะนำว่า เมื่อ Startup มีพนักงานครบ 7 คน ควรประชุมเพื่อหาวิธีการทำงานร่วมกัน

Startup เริ่มต้นการทำงานด้วย “Passion” หรือความเชื่อดังนั้น สิ่งที่เราต้องทำคือการหาจุดร่วมของสิ่งเหล่านั้นให้เจอ ไม่ว่าจะเป็นความชอบ รูปแบบและเป้าหมายในการทำงาน ความมุ่งหวัง หรือสิ่งที่แต่ละคนให้ความสำคัญ

จุดร่วมไม่จำเป็นต้องมีเยอะ แต่ขอให้อธิบายจนเห็นภาพและสามารถนำไปปฏิบัติได้ สิ่งนี้แหละที่จะกลายมาเป็นวัฒนธรรมองค์กรหรือกฎเกณฑ์ที่เราใช้ในการทำงานร่วมกัน เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนสนใจมาสมัครงาน เป็นเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือก พัฒนา ประเมิน และเชิญออก

เมื่อมีพนักงานมากขึ้น บริษัทจะทำการค้นหาวัฒนธรรมองค์กรใหม่อีกครั้งหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ต่อเป้าหมายในอนาคตที่วางไว้ หรือการวางแผนรองรับการเติบโตของบริษัท เมื่อทำการค้นหาครั้งแรก

วัฒนธรรมองค์กรควรเป็นสิ่งที่เราทำเพื่อปัจจุบันและอนาคตโดยไม่เน้นผลลัพธ์ที่เป็นตัวเลข

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาวัฒนธรรมขององค์กรให้คงอยู่คือหัวหน้าหรือเจ้าของบริษัท ที่จะต้องหมั่นสังเกต สื่อสาร และ Feedback กับบุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนจากจุดร่วม รวมถึงลงมือจัดการเมื่อเริ่มเห็นเค้าโครงของปัญหาที่กำลังจะเกิด

Employee’s Journey

การดูแลและตอบสนองความต้องการของพนักงาน ไม่ใช่แค่ช่วงที่เขาเข้ามาทำงานกับเรา แต่มันคือการสร้างความประทับใจตั้งแต่การทำความรู้จัก ไปจนถึงการจากลา

เมื่อเรารู้จักตัวตนของลูกค้ามาก เราก็จะเข้าถึงลูกค้าได้มาก และขายของได้มาก เช่นเดียวกัน หากเราสามารถระบุตัวตนของพนักงานที่เราต้องการร่วมงานได้อย่างชัดเจน เราก็จะหาเขาเจอได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ไม่เสียทั้งเวลาและโอกาสของทุกฝ่าย

ระบุ Persona ของคนที่เราต้องการร่วมงานให้ได้อย่างชัดเจน ต้องการคนลักษณะไหน มีทัศนคติอย่างไร มีความมุ่งหวังอย่างไร มีความสามารถและมีกระบวนการในการทำงานอย่างไร รวมถึงอะไรคือจุดสำคัญที่จะทำให้เราได้รู้ว่านี่แหละคือคนที่ใช่

ยกตัวอย่างเช่น การสร้างสถานการณ์จำลองเพื่อดูปฏิกิริยาการตอบสนองของผู้สมัคร การถามคำถาม การเปิดโอกาสให้ถาม การทำแบบฝึกหัด การเล่นเกม หรืออะไรก็ตาม ที่สามารถช่วยกรองให้เราได้ว่าคนนี้มีคุณลักษณะเดียวกับคนในองค์กร

การรักษาความสัมพันธ์

นอกจากวัฒนธรรมองค์กรแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ทีมอยู่ด้วยกันไปนาน คือการรักษาความสัมพันธ์” .. คำง่าย ที่มีหลายล้านวิธี

ลักษณะเบื้องต้นที่สามารถใช้ตรวจสอบความสัมพันธ์ในองค์กรได้แก่ กาย วาจา และใจ ของพนักงาน พนักงานพูดถึงบริษัทในทางที่ดีอยู่เสมอ ทุ่มเทให้องค์กรมากกว่าที่คาดหวัง และยังเลือกที่จะอยู่แม้ว่าจะมีข้อเสนอที่ดีกว่า

รวมไปถึงบทบาทของผู้นำที่ควรจะทำให้พนักงานทุกคนรู้สึกว่า เขามีความหมายต่อองค์กร มีโอกาสเติบโต มีความเชื่อมั่นในตัวองค์กร รวมไปถึงความรู้สึกที่ว่าผู้นำอยู่เคียงข้างพวกเขาเสมอ เพราะความสุข โอกาส การเงิน และการสนับสนุน คือสิ่งที่พนักงานส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ

โปรโมชั่นลด แลก แจก แถม

สิ่งหนึ่งที่สามารถสร้างเสน่ห์ให้องค์กรได้คือสวัสดิการหรือรางวัลที่พนักงานจะได้รับ ไม่จำเป็นต้องมีครบเหมือนองค์กรอื่นใด ขอให้สามารถตอบสนองความต้องการ จำเป็น ของพนักงานได้ก็เป็นพอ

เช่น ลดรายจ่ายของพนักงานด้วยการเลี้ยงอาหารกลางวัน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พนักงานประหยัดได้แล้ว ยังเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ลดเวลาเดินทาง เพิ่มเวลาพักผ่อน และเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม

หรือจะเป็นเงินสนับสนุนกิจกรรมเพื่อการผ่อนคลาย สวัสดิการดูแลสุขภาพให้คนในครอบครัว เปลี่ยนโอทีเป็นวันหยุด หรือสิทธิ์ลาหยุดในวันเกิด .. อะไรก็ได้ที่คนเป็นพนักงานส่วนใหญ่ต้องการ

สวัสดิการที่ตอบสนองความต้องการได้อย่างน่าสนใจ และไม่เหมือนใคร เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่สามารถทำให้พนักงานตัดสินใจอยู่กับองค์กรระยะยาว

การสื่อสาร

จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นสิ่งที่ขาดไม่ได้คือเรื่องของการสื่อสาร ยิ่งพนักงานเยอะ ผู้นำยิ่งต้องสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะกับพนักงานที่มาก่อนการเปลี่ยนแปลง

สุดท้ายจำไว้เสมอว่า Startup เริ่มด้วย Passion ทำยังไงก็ได้ให้คนที่เข้ามาใหม่และคนที่ยังอยู่มี Passion เหมือนกัน เพราะหากผลิตภัณฑ์และบริการดี แต่พื้นฐานคนไม่แน่น ก็ไปต่อได้ยาก

--------------------------------------------------------------------

สรุปเนื้อหา​: ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์การสร้างวัฒนธรรมองค์กร โดย Aon Hewitt Thailand โดย คุณภาณุวัฒน์เบ็ญเราะมาน ซึ่งเป็นหัวข้อภายใต้โครงการ The Future of Startup โครงการที่คัดเลือกวิสาหกิจเริ่มต้นที่มีความพร้อมในการเติบโต (Startup) และต้องการคําปรึกษาในการพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อประกอบธุรกิจ โดยเรียนเชิญบุคคลกรที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ให้มีความเข้าใจในธุรกิจ การตลาด การบริหารจัดการและกฎหมาย ผ่านการจัดการฝึกอบรม ให้คําปรึกษาและถ่ายทอดประสบการณ์และต่อยอดจนไปถึงการจับคู่ทางธุรกิจเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของ ผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ให้แข็งแกร่งและพร้อมพัฒนาไปสู่การยืนหยัดในระดับโลก และสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สําคัญในการขับเคลื่อนประเทศต่อไปโดยมีหลายหน่วยงานในการร่วมกันสนับสนุน

และในวันที่ 19 สิงหาคม 2561 ณ ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย จะมีงานสัมมนาพิเศษ The Future of Startup อนาคต Startup ไทย สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสำรองที่นั่งด่วนได้ที่นี่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...

Responsive image

VC เผยวิธีมองสตาร์ทอัพให้ขาด ก่อน ORZON Ventures เข้าไปลงทุน

คุยกับ 'คุณณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล ผู้อำนวยการการลงทุน ORZON Ventures' เรื่องการทำงานระหว่าง OR กับ 500 TukTuks, เกณฑ์การพิจารณาสตาร์ทอัพที่น่าลงทุน, เหตุที่บางดีลเกิด/ไม่เกิด รวม...